http://BotKwamDee.blogspot.com...webblog เปิดเผยความจริงและกระแสสำนึกหลากหลาย เพื่อเป็นอาหารสมอง, แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมการวิเคราะห์ความจริง, สะท้อนการเรียกร้องความยุติธรรมที่เปิดเผยแบบนิติธรรม, สื่อปฏิบัติการเสริมพลังเศรษฐกิจที่กระจายความเติบโตก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศสู่ประชาชนพื้นฐาน, ส่งเสริมการตรวจสอบและผลักดันนโยบายสาธารณะของประชาชน-เยาวชนในทุกระดับของกลไกพรรคการเมือง, พัฒนาอำนาจต่อรองทางประชาธิปไตย โดยเฉพาะการปกครองท้องถิ่นและยกระดับองค์กรตรวจสอบกลไกรัฐของภาคสาธารณะที่ต่อเนื่องของประชาชาติไทย

2555-04-30

ข่าวแรงงานไทย รับวันกรรมกรสากล2555

.

แรงงานไทยนัดเดินขบวน 1 พ.ค. -แรงงานย่านธนบุรีวอนเพิ่มรายได้
เรียบเรียงจาก ข่าวเศรษฐกิจใน www.innnews.co.th วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ.2555 7:54น.


ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เตรียมนำแรงงานเดินขบวนพรุ่งนี้ ประกาศ 3 เจตนารมณ์ เร่งด่วน ช่วยค่าครองชีพ ขณะแรงงานย่านธนบุรีวอนเพิ่มรายได้ หวังช่วยลดค่าครองชีพ 

นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวกับ ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า สถานการณ์แรงงานในปัจจุบัน หลังปรับค่าแรงขั้นต่ำ เป็น 300 บาท มองว่าเป็นเรื่องดี เพราะหากไม่ปรับ ผู้ใช้แรงงานก็จะถูกกระทำด้วยค่าครองชีพที่สูงขึ้น ทั้งนี้ พรุ่งนี้ จะไม่ได้เข้าร่วมในงานวันแรงงานแห่งชาติกับสภาแรงงาน เพราะมีการจัดกิจกรรมเองที่จะสะท้อนปัญหาของกลุ่ม 

อย่างไรก็ตาม ขบวนของกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย พรุ่งนี้ จะเริ่มที่บริเวณหน้ารัฐสภา ไปสิ้นสุดที่ แยกคอกวัว เพื่อประกาศเจตนารมณ์หลัก 9 ข้อ และเจตนารมณ์เร่งด่วน 3 ข้อ เรื่องลดค่าครองชีพ เรื่องการปฏิรูประบบประกันสังคม ค่าจ้างที่เป็นธรรม ยกเลิกแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

ทั้งนี้จากการสำรวจและสอบถามความคิดเห็นของประชาชนผู้ใช้แรงงาน ย่านฝั่งธนบุรี เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม ที่จะมาถึงนี้ พบว่า สิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ อยากให้รัฐบาลดูแล คือ เรื่องของการเพิ่มรายได้ให้กับผู้ใช้แรงงาน ที่ยังมีรายได้น้อย ซึ่งค่าแรงในขณะนี้ ไม่สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น  รวมทั้ง สวัสดิการต่าง ๆ ที่ควรจะดีมากกว่านี้ เนื่องจาก ผู้ใช้แรงงาน ก็เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่สำคัญในการพัฒนาประเทศด้านเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงการบริหารประเทศของรัฐบาลชุดนี้  ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขณะนี้ว่า  ประชาชนมีความคิดเห็นอย่างไร ส่วนใหญ่ กล่าวว่า รู้สึกว่าค่าครองชีพสูงขึ้น แต่ก็ยังให้โอกาสในการทำงาน แต่ต้องจับตาดูว่า จะสามารถดำเนินการลดภาระค่าครองชีพ ของประชาชนให้ลดลง ได้หรือไม่  ..โดยค่าแรงที่เหมาะสมต่อสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ข้าวของแพง ควรจะอยู่ที่ 348 บาท/คน/วัน

ทั้งนี้ นายชาลี กล่าวด้วยว่า ในช่วงเปิดเทอมที่จะถึงนี้ คาดว่าแรงงานที่มีลูก จะต้องประสบปัญหาเรื่องหนี้สินที่เพิ่มขึ้น เพราะมีค่าใช้จ่าย แม้ว่าโรงเรียนของรัฐ จะเปิดโอกาสให้เรียนฟรีก็ตาม แต่ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายในการซื้อชุดนักเรียน



++

แรงงานโอดค่าครองชีพสูง-ของแพงกินอยู่แย่กว่าปี54
จาก www.isnhotnews.com . . เมษายน 30, 2012


สวนดุสิตโพล เผย แรงงานไทย มองชีวิตความเป็นอยู่ปีนี้ แย่กว่าปีที่ผ่านมา จากน้ำท่วม ขณะที่เรื่องสินค้าแพงเป็นปัญหาหนักใจ ด้านประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เตรียมนำแรงงานเดินขบวนพรุ่งนี้

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นจาก ผู้ใช้แรงงานไทย จำนวน 1,440 คนถึงชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงานไทยในปีนี้ เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา พบว่า แรงงานไทย ส่วนใหญ่ร้อยละ 44.45 มองว่า ชีวิตความเป็นอยู่ปีนี้ แย่กว่าปีที่ผ่านมา เพราะได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม รวมทั้งปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น

ขณะที่แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 60.75 มองว่าเรื่องสินค้าราคาแพง ค่าครองชีพที่ปรับเพิ่มขึ้น ถือว่าเป็นความหนักใจของผู้ใช้เแรงงานมากที่สุด รองลงมาคือ เงินเดือนไม่พอใช้ รวมทั้งค่าจ้างที่ได้ไม่สอดคล้อง กับสภาพสังคมในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 45.88 เห็นว่ารัฐบาลควรที่จะขึ้นเงินเดือน ค่าจ้าง และดูแลสวัสดิการต่างๆ ให้เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน รองลงมาคือ การควบคุมราคาสินค้า แก้ปัญหาของแพง จัดงานธงฟ้า และลดค่าสาธารณูปโภค รวมถึงควบคุมดูแลนายจ้าง หรือผู้ประกอบการไม่ให้เอาเปรียบแรงงานไทย
ทั้งนี้ ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 43.26 มองว่า “รัฐบาลยิ่งลักษณ์” กับ “รัฐบาลอภิสิทธิ์” ดูแลผู้ใช้แรงงานพอๆ กัน



++

ศึกษาภัณฑ์ขอนแก่น"ตัวอย่างขึ้นค่าแรง
ใน http://news.voicetv.co.th/business/36948.html . . 20 เมษายน 2555 เวลา 18:32 น.


กรรมการผู้จัดการบริษัทศึกษาภัณฑ์ขอนแก่น ยืนยันว่าการนำร่องปรับขึ้นค่าแรง 300 บาทตั้งแต่เมื่อ 10 เดือนเป็นเรื่องที่คุ้มค่า และไม่ได้ส่งผลกระทบกับบริษัท พร้อมเรียกร้องให้ผู้ประกอบรายอื่นดำเนินการตามนโยบายภาครัฐที่จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม




++

ก.แรงงาน เตือนนายจ้าง ไม่ปรับค่าแรง ต้องจ่ายย้อนหลัง
จาก เวบไซต์ของศูนย์ช่วยเหลือและจัดการวิกฤติแรงงาน : wgal@labourcrisiscenter.com
www.labourcrisiscenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539462071&Ntype=4 . . 4 เมษายน 2555


ปลัด ก.แรงงาน เตือนนายจ้าง จ่ายค่าจ้าง อัตราใหม่ให้ลูกจ้าง ไม่เช่นนั้นต้องจ่ายย้อนหลัง เบื้องต้นได้ขยายศูนย์โปร่งใส ก.แรงงานทั่วประเทศ รับเรื่องร้องทุกข์จากแรงงาน 

นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ขณะนี้ได้สั่งการณ์ให้สำนักงานแรงงานจังหวัดทั่วประเทศ จัดตั้งศูนย์โปร่งใสกระทรวงแรงงานขึ้นในทุกจังหวัด เพิ่มเติมจากส่วนกลางที่กระทรวงแรงงาน เนื่องจากมองว่า ประชาชนและผู้ใช้แรงงานที่ได้รับผลกระทบและความเดือดร้อนต่างๆมีอยู่ทั่วประเทศ โดยให้จัดตั้งที่สำนักงานแรงงานจังหวัด เพื่อให้เกิดความสะดวกและประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

ซึ่งศูนย์นี้จะทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลผลกระทบที่เกิดจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี 2555 และส่งมายังส่วนกลาง ขณะเดียวกันยังทำหน้าที่รับเรื่องร้องทุกจากปัญหาการหลอกลวงแรงงานไทยไปต่างประเทศด้วย

อย่างไรก็ตามตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างอัตราใหม่ ที่ปรับเพิ่มร้อยละ 40 ทั่วประเทศ หากตรวจพบว่าไม่ปฏิบัติตาม ก็จะออกคำสั่งให้ปฏิบัติตามทันทัน แต่หากยังฝ่าฝืนก็จะดำเนินการตามกฎหมาย โดยนายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างย้อนหลังตั้งแต่วันที่เริ่มบังคับใช้ให้กับผู้ใช้แรงงาน

ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า มีแนวคิดที่จะเพิ่มผลิตภาพเครื่องจักร ในการลดต้นทุนการผลิต โดยการจะมีการกำหนดเกณฑ์คุณภาพของเครื่องจักรในประเภทอุตสาหกรรมให้สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ คล้ายแนวคิดการประหยัดไฟเบอร์ 5 โดยที่รัฐบาลจะสนับสนุนการหาผู้มาตรวจสอบและกำหนดเกณฑ์ควบคุม



.
หมายเหตุ มีเหตุทางเทคนิค จึงต้องโพสต์อีกครั้ง

มุกดา: 1 พ.ค.55 ขบวนการแรงงานหายไปไหน?..หรือว่าทุกคนได้ค่าแรง เกินวันละ 300 บาทแล้ว

.
ข่าว sms TPNews - 29-30 เม.ย. ร่วมกิจกรรม " 365 วันพันธนาการสมยศ ฯ" อนุสรณ์สถาน14ตุลา . . 13 - 21 น.

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

1 พ.ค. 55 ขบวนการแรงงานหายไปไหน? ...หรือว่าทุกคนได้ค่าแรง เกินวันละ 300 บาทแล้ว
โดย มุกดา สุวรรณชาติ คอลัมน์ หลักศิลากลางน้ำเชี่ยว
ในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2555 ปีที่ 32 ฉบับที่ 1654 หน้า 20


กำเนิดวันกรรมกรสากล

1พฤษภาคม ค.ศ.1886 (พ.ศ.2429) สหพันธ์แรงงานในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา กำหนดให้ เป็นวันนัดหยุดงานครั้งใหญ่ และจัดการชุมนุมเดินขบวนเพื่อเรียกร้อง "ระบบสามแปด" คือ ทำงาน 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง และศึกษาหาความรู้ 8 ชั่วโมง
การเดินขบวนของแรงงานเกิดขึ้นทั่วทั้งสหรัฐอเมริกา การประท้วงที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่เมืองชิคาโก ซึ่งมีกรรมกรออกมาประท้วงถึง 40,000 คน
มี การชุมนุมในวันที่ 4 พฤษภาคม ที่จัตุรัสเฮย์มาร์เก็ต ศูนย์กลางการค้าของชิคาโก โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจวางกำลังไว้เป็นจำนวนมาก แต่พอตกกลางคืนก็เกิดการปะทะกับตำรวจ ตำรวจ ตาย 8 ผู้ประท้วงตาย 4 บาดเจ็บจำนวนมาก แกนนำถูกจับไป 8 คน ถูกตัดสินประหารชีวิต 5 คน จำคุกตลอดชีวิต 2 คน จำคุก 15 ปี 1 คน
ขบวนการแรงงานของอเมริกาและทั่วโลกประท้วงการพิจารณาคดีครั้งนั้น

เพื่อ เป็นการรำลึกถึงการประท้วงที่เฮย์มาร์เก็ตทำให้ชนชั้นกรรมาชีพทั่วโลกพร้อม ใจกันกำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปีเป็น "วันกรรมกรสากล"
ใน ประเทศไทยกรรมกรก็รู้จักประท้วงในปี พ.ศ.2467 โดยกรรมกรรถรางและมีการตั้งองค์กรแรงงานครั้งแรกเมื่อ 14 ตุลาคม 2475 ชื่อสมาคมรถรางสยาม
ไทยเข้า ร่วมองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ในฐานะสมาชิกก่อตั้ง ILO (International Labor Organization) ตั้งแต่ปี ค.ศ.1919 พ.ศ.2490 มีการจัดงานวันกรรมกรสากล ที่ท้องสนามหลวง เป็นการชุมนุมสำแดงพลังที่สุดมีผู้เข้าร่วมเป็นแสนคน เพื่อเฉลิมฉลองการจัดตั้งสหพันธ์กรรมกรระดับชาติแห่งแรกของประเทศไทย คือ "สมาคมสหอาชีวะกรรมกรแห่งประเทศไทย"

หลังการรัฐ ประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 รัฐบาลเผด็จการก็ห้ามจัดงานวันกรรมกรสากลอีก กระทั่งในปี พ.ศ.2499 กรรมกรได้เรียกร้องให้รัฐบาลถือเอาวันกรรมกรสากลเป็นวันกรรมกรแห่งประเทศไทย ให้กรรมกรเฉลิมฉลองและหยุดงานโดยไม่ถูกตัดค่าแรง
แต่รัฐบาลเผด็จการ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ให้เปลี่ยนชื่อจาก "วันกรรมกรสากล" เป็น "วันแรงงานแห่งชาติ" ทำให้วันกรรมกรสากลของไทยถูกแทรกแซงจากรัฐบาลมาโดยตลอด จนกระทั่งปัจจุบัน

เมื่อถึงยุค จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็ใช้อำนาจเผด็จการทหารยกเลิก พ.ร.บ.แรงงาน พ.ศ.2499 ทำให้องค์กรแรงงานหมดบทบาทลง และ มามีบทบาทอีกครั้งหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งเติบโตต่อเนื่องมาจนถึงการรัฐประหารของ รสช. ในปี พ.ศ.2534 ซึ่งในช่วงเวลานั้นมีสหภาพแรงงานมากกว่า 600 สหภาพ หลังจากนั้น บทบาทของสหภาพแรงงานก็ค่อยๆ เงียบหายไป
ในความขัดแย้งทางการ เมืองตั้งแต่ 2548 ถึงปัจจุบันมีบทบาทของสหภาพแรงงาน รัฐวิสาหกิจแสดงออกมาเพียงเล็กน้อย ในการร่วมกับกลุ่มอำนาจเก่าและในภายหลังก็เงียบหายไป จนถึงปัจจุบันแทบไม่มีข่าวจากกลุ่มแรงงานในประเทศไทย

แม้ แต่เรื่องค่าแรง 300 บาท ซึ่งฝ่ายนายจ้างออกมาโวยวายว่าปรับขึ้นให้เร็วเกินไป ควรจะเลื่อนไปอีกสองปี ขบวนการแรงงานก็ยังคงเงียบๆ ปล่อยให้รัฐบาลออกมารับหน้าแทน
จนถึงวันนี้ทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่าขบวนการแรงงานในประเทศไทยคงไม่หลงเหลืออยู่แล้ว



ความแตกต่างของรายได้วันละ 300 กับวันละ 30,000
ทำให้คิดไม่เหมือนกัน

ปัญหา เรื่องค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท เป็นเรื่องที่ทำความเข้าใจได้ไม่ยากสำหรับคนจนเพราะพวกเขาจะต้องอยู่ให้ได้ ด้วยเงินเดือนเพียงเดือนละ 7,800 บาทเท่านั้น (วันอาทิตย์ไม่ได้ทำงาน)
นั่น หมายความว่าคนงานแทบจะไม่พอกินพออยู่ แต่สภาอุตสาหกรรมฯ สภาหอการค้าไทย และสมาคมธนาคารไทย ได้ออกมาคัดค้านตั้งแต่ปีกลายว่าไม่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าแรง 300 บาทต่อวัน

ทาง ทีมวิเคราะห์ก็มีตัวเลขรายได้ของผู้บริหารในกลุ่มต่างๆ ซึ่งเราคาดว่าอาจเป็นสาเหตุให้เกิดช่องว่างทางชนชั้น ยกตัวอย่างบริษัทมหาชน 10 แห่งที่ได้เดือนละเป็นหลักล้าน

1. บริษัท ทีพีไอ โพลีน มี ผู้บริหาร 5 ราย ได้ค่าตอบแทนรวม 179,524,900 เฉลี่ยคนละ 35,904,980 บาท เฉพาะปี 2553 มีรายได้ต่อคนเดือนละ 2,992,081 บาท

2. บริษัทปูนซิเมนต์ไทย มี 8 ราย รวม 172,077,200 เฉลี่ยคนละ 21,509,650 บาท เฉพาะปี 2553 รายได้ต่อคนเดือนละ 1,792,470 บาท

3. บริษัทปูนซิเมนต์นครหลวง ผู้ บริหาร 7 ราย ค่าตอบแทน 111,145,000 เฉลี่ยคนละ 15,877,857 ต่อปี ต่อคนเดือนละ 1,323,154 บาท

4. ธนาคารกรุงเทพ ผู้บริหาร มี 9 ราย ได้ค่าตอบแทนรวม 244,820,000 เฉลี่ยคนละ 27,202,222 บาทเฉพาะปี 2553 รายได้ต่อคนเดือนละ 2,266,851 บาท

5. ธนาคารไทยพาณิชย์ ผู้บริหารมี 12 ราย รวม 251,410,000 เฉลี่ยคนละ 20,950,833 เฉพาะปี 2553 รายได้ต่อคนเดือนละ 1,745,902 บาท

6. บริษัทสยามแม็คโคร ผู้บริหาร 8 ราย ได้ค่าตอบแทนรวม 107,000,000 เฉลี่ยคนละ 13,375,000 บาทต่อปี ต่อคนเดือนละ 1,114,583 บาท

7. บริษัทบิ๊กซี ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ ผู้บริหาร 13 ราย ได้ค่าตอบแทนรวม 159,354,189 เฉลี่ยคนละ 12,258,015 บาทต่อปี เฉพาะปี 2553 รายได้ต่อคนเดือนละ 1,021,501 บาท

8. บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์อาหาร ผู้บริหาร 17 ราย ได้ค่าตอบแทนรวม 223,210,000 บาท เฉลี่ยคนละ 13,130,000 บาท เฉพาะปี 2553 รายได้ต่อคนเดือนละ 1,094,166 บาท

9. บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น ผู้บริหาร 9 ราย ได้ค่าตอบแทนรวม 116,970,000 เฉลี่ยคนละ 12,996,667 บาทต่อปี เฉพาะปี 2553 รายได้ต่อคนเดือนละ 1,083,055 บาท

10. บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ผู้บริหาร 8 ราย ได้ค่าตอบแทนรวม 98,980,000 ล้านบาท เฉลี่ยคนละ 12,372,500 บาทต่อปี เฉพาะปี 2553 รายได้ต่อคนเดือนละ 1,031,041 บาท

ตัวอย่างบริษัทที่ผู้ บริหารได้คนละ เป็นหลักแสน เช่น ไทยคม ได้เดือนละ 600,000 บาท บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีได้เดือนละ 420,000 โออิชิกรุ๊ปเดือนละ 380,000 น้ำมันพืชไทยเดือนละ 370,000 กระเบื้องตราเพชรเดือนละ 340,000 บริษัทเสริมสุขเดือนละ 620,000 โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เดือนละ 700,000

รายได้ที่เห็นไม่ใช่ตัวเลขกำไรแต่เป็นค่าจ้าง กำไรบริษัทยังมีอีกต่างหาก


มาดูเงินเดือนของข้าราชการประจำ
กับข้าราชการการเมืองกันบ้าง

ประธาน ศาลฎีกา นายกรัฐมนตรี ประธานสภา ประธานศาลปกครอง เดือนละ 75,590 บวกเงินประจำตำแหน่ง 50,000 เท่ากันทุกคน รัฐมนตรีได้ 73,240 บวกเงินประจำตำแหน่ง 42,500 ส.ส. และ ส.ว. ได้เดือนละ 72,300 บวกเงินประจำตำแหน่งอีก 42,330 ข้าราชการทหารระดับนายพล ขั้นสูงจะได้เงินเดือน 70,930 ข้าราชการพลเรือนชั้นสูงจะได้ 69,810

นายก องค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายก อบจ.) ได้ค่าตอบแทนเดือน 75,530 สมาชิก อบจ. ได้เดือนละ 19,440 นายก อบต. ขนาดเล็กเดือนละ 21,860 ขนาดใหญ่ ได้ค่าตอบแทนเดือนละ 26,080 สมาชิก อบต. ขนาดเล็กได้ 6,630 ขนาดใหญ่ได้ 7,920 นายกเทศมนตรี เทศบาลขนาดเล็ก ค่าตอบแทน 20,900 ขนาดกลางได้เดือนละ 40,800 ถ้าขนาดใหญ่ได้ค่าตอบแทน 75,530 สมาชิกสภาเทศบาลขนาดเล็กได้ 5,460 ขนาดกลาง 10,080 ขนาดใหญ่ได้ 19,440
จะเห็นว่ารายได้ของสมาชิกองค์กรส่วนท้องถิ่นขนาดเล็ก ค่อนข้างใกล้เคียงกับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านธรรมดา

ส่วน องค์กรอิสระ เช่น ประธานศาลรัฐธรรมนูญ 65,920 บวกเงินประจำตำแหน่ง 50,000 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 63,860 บวกเงินปะจำ 42,500 ประธาน กกต. 64,890 บวกเงินประจำตำแหน่ง 45,500 ผู้ตรวจการแผ่นดิน 63,860 บวกเงินประจำตำแหน่ง 42,500 ประธาน ป.ป.ช. 63,860 บวกเงินประจำตำแหน่ง 42,500 ประธาน กสทช. 64,890 บวกเงินประจำตำแหน่ง 45,500
ตำแหน่งใหญ่ๆ โตๆ ยังมีสิทธิ์เช่ารถประจำตำแหน่งในราคา 3-5 ล้าน ตลอดระยะเวลาที่ทำงาน โดยใช้เงินภาษีเสียค่าเช่า ข้าราชการสามารถเบิกค่าเดินทาง เช่น ค่ารถและค่าเครื่องบินได้

ที่มีข่าวว่า ส.ว. ไปนั่งเครื่องบินชั้นธุรกิจแล้วแซวเสื้อแดงว่าต้องไปนั่งชั้นประหยัดจึงเป็น เรื่องคุยกันปกติของพวกอภิสิทธิ์ชนที่นั่งเครื่องบินโดยใช้เงินภาษีประชาชน และชอบไปนั่งชั้นแพงๆ คือชั้นธุรกิจ และชั้นเฟิร์สคลาส (ถ้ามี) พวกนี้ในชีวิตปกติจะไม่กล้าจ่ายค่าโดยสารแบบแพงๆ แต่เป็นพวกที่อาศัยบารมีคนอื่นหรือเงินหลวงจ่ายให้ถึงจะมีโอกาสนั่ง จึงเป็นธรรมดาของพวกกิ้งก่าที่ยืมทองโรงรับจำนำมาใส่ ต้องชูคออวดอยู่เสมอ

วันนี้เราเห็นผู้คนแบ่งเป็นชั้นเป็นกลุ่มตามรายได้ กลุ่มแรกคือผู้ที่อยากได้วันละ 300 กลุ่มที่สองได้เกิน 300 แต่ไม่ถึง 1,000 กลุ่มที่สามวันละ 1,000-2,000 กลุ่มที่สี่วันละ 3,000-10,000 กลุ่มที่ห้าวันละ 15,000-50,000 รายได้ต่าง ใช้ชีวิตต่าง ความเห็นก็ต่าง



ทิศทางของค่าจ้างใน 2 ปีนี้

จาก การเปิดเผยผลวิจัยของกลุ่มบริษัทอเด็คโก้ประเทศไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคลแบบครบวงจร จัดทำคู่มือฐานเงินเดือนประจำปี 2555 อ้างอิงจากฐานข้อมูลเงินเดือนของ ปี 2554 พบว่า การเปรียบเทียบเงินเดือนตามหมวดหมู่งานระดับพนักงานอายุ 0-5 ปี ตำแหน่งงานที่มีตัวเลขเงินเดือนสูงสุด/เดือน คือเทคโนโลยีสารสนเทศ 100,000 บาท รองลงมาคือ การตลาด/ประชาสัมพันธ์, ฝ่ายขาย และบัญชี 80,000 บาท นอกจากนั้น เป็นตำแหน่งเลขานุการผู้ดูแลระบบ, บริการลูกค้า, วิศวกรรม, ธุรกิจวิศวกรรม และธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ 60,000 บาท และตำแหน่งการปฏิบัติตามกฎหมาย 50,000 บาท ส่วนที่เหลือเป็นตำแหน่งการเงิน, ทรัพยากรมนุษย์ 45,000 บาท, การผลิตทางด้านเทคนิค 40,000 บาท, ตำแหน่งโลจิสติกส์ 30,000 บาท และตำแหน่งทางการแพทย์ และวิทยาศาสตร์ 25,000 บาท

ในขณะที่ดัชนีวัดจาก "มอ"ไซค์รับจ้างปากซอย" แจ้งว่าหักค่าใช้จ่ายแล้วยังเหลือ 300 เป็นมาตรฐานปานกลาง

ปัจจุบันการขาดแคลนแรงงานที่เป็นคนไทย โดยเฉพาะแรงงานฝีมือยังมีสูงมาก ปัญหาที่ว่าค่าแรง 300 บาทจะทำให้คนตกงานนั้น ทีม วิเคราะห์ของเราเชื่อว่า มีโอกาสเป็นไปได้น้อยมาก และคาดว่าค่าแรงอัตรานี้ภายในปีสองปีนี้ นายจ้างก็ต้องแข่งกันขึ้นเพื่อแสวงหาคนที่เก่งมาทำงาน
ถ้าเข้าสู่ AEC ปี 2558 การแย่งแรงงานฝีมือจะหนักขึ้น


ทุกปัญหาแก้ได้
แต่ต้องรู้จักยืนหยัดสู้บางเรื่อง
ยืดหยุ่นบางเรื่อง

ทีมวิเคราะห์ของเราเคยคุยปัญหาเรื่องแรงงานกับผู้ประกอบการหลายด้าน เมื่อหกเดือนที่แล้วจนถึงปัจจุบัน ปัญหา ก็ยังคงเป็นเช่นเดิมคือการขาดแคลนแรงงานคนไทยที่มีความสามารถ ค่าแรง 300 บาท ที่กำหนดขึ้นนั้นไม่ใช่ประกาศแล้วทุกคนจะแห่กันมาทำ

ส่วน แรงงานต่างชาตินั้นแม้จดทะเบียนแล้วก็ยังมีขอบเขตของการว่าจ้าง ว่าทำได้เฉพาะจังหวัดใด ดังนั้น ถ้าจดทะเบียนในเขตกรุงเทพฯ แต่จะไปส่งของที่ปทุมธานีหรือสมุทรปราการก็จะถูกจับ
แต่มีแรงงานหลายประเภทที่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายไปทำตามจุดต่างๆ เมื่อเป็นเช่นนี้การจ้างแรงงานไทยจึงเป็นเรื่องจำเป็น

ปัญหา ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในโรงงานหลายแห่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ก็คือการที่เงินเดือนของคนเข้าใหม่จะเท่ากับหรือใกล้เคียงกับคนเก่าซึ่งทำ งานมานานสามปีห้าปี ทั้งนี้ เป็นเพราะว่าหลายโรงงานไม่ยอมขึ้นค่าแรงให้คนงานเก่ามานาน หรือขึ้นเพียงเล็กน้อย
ในครั้งนี้มีการปรับค่าแรงขั้นต่ำอย่างก้าวกระโดดจึงเกิดปัญหาค่าแรงเท่าหรือใกล้เคียงกันระหว่างกับคนเก่าคนใหม่
ปัญหา ที่เกิดขึ้นจะต้องแก้ด้วยฝีมือการบริหารบุคคลของเจ้าของกิจการและฝีมือการ เรียกร้องของฝ่ายคนงานเอง เพราะถ้าทางนายจ้างไม่ยอมปรับค่าแรงขึ้น ผู้ชำนาญงานก็จะโยกย้ายไปที่ที่ค่าแรงสูงกว่า

ทุกกลุ่ม มีรายได้มากเท่าไรไม่เห็นมีใครว่า แต่พอคนที่ลำบากที่สุดจะมีรายได้เพียงแค่วันละ 300 กลับมีคนค้าน มองว่ามากไปทำให้ธุรกิจมีปัญหา (ถ้าจะไม่ให้มีปัญหาควรจะลดรายได้พวกวันละ 2-3 หมื่นลงมากกว่า)


ขบวนการแรงงานต้องรู้จักต่อสู้ให้กรรมกรส่วนใหญ่ด้วย ผู้นำสายแรงงานไม่ใช่ได้วันละ 1,000 แล้วไม่กล้าขยับตัว

ส่วนรัฐบาลถ้าทำตามสัญญาไม่ได้ ก็ลาออกไปซะ

ค่าแรงวันละ 300 ไม่มากไปหรอก เพราะนี่เป็นแรงงานมนุษย์ที่ทำผ่านเครื่องมือ ผ่านนิ้วมือ ผ่านสมองและสำนึก มันคุ้มยิ่งกว่าคุ้ม

แรงงานแบบนี้แหละที่สร้างความสุขสบายขึ้นมาในโลกให้ทุกคน



.

2555-04-29

สุจิตต์ วงษ์เทศ : ปรองดอง, เบื้องหลังปฏิวัติ

.
เพิ่ม คอลัมน์ สยามประเทศไทย - ปรองดองของอาจารย์โกร่ง "สุจิตต์ วงษ์เทศ" อ่านแล้วอร่อย !!! 

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

สุจิตต์ วงษ์เทศ : ปรองดอง
จาก www.sujitwongthes.com/2012/04/piece-poem_30042555


ปรองดองไม่ต้องห้ามความคิดต่าง
คิดคนละอย่าง สร้างดาวคนละดวงได้
ฟ้าเดียวกันเสมอภาคไม่มีภัย
ไม่เป็นไรไม่เห็นพ้องไม่ต้องกัน
โฉมเจ้าเอ๋ยเคยสมัครสโมสร
เสวนาสถาพรเพียงสวรรค์
แม้นคิดต่างไม่ต้องร้างห่างสัมพันธ์
ปรองดองอย่างต่างกันนิรันตราย


สุจิตต์ วงษ์เทศ
บ้านช่างหล่อ กรุงธนบุรี
27 เมษายน 2555
10.10 น.



++


สุจิตต์ วงษ์เทศ : เบื้องหลังปฏิวัติ
จากมติชน ออนไลน์  วันจันทร์ที่ 02 เมษายน พ.ศ. 2555 เวลา 15:15:00 น.


ถึงไม่บอกเบื้องหลังปฏิวัติ
รัฐประหารหลัดหลัดให้กระจ่าง
คนก็รู้สิ่งสรรพลับลวงพราง
ไม่กล้าบอกเลยตาสว่างทั้งฟ้าดิน






+++

ปรองดองของอาจารย์โกร่ง "สุจิตต์ วงษ์เทศ" อ่านแล้วอร่อย !!!
จาก ปรองดอง ไม่ต้องขจัดความแตกต่าง โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ
คอลัมน์ สยามประเทศไทย มติชน ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555 เวลา 15:15:09 น.
และที่มา www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1335276362&grpid=&catid=00&subcatid=0000 


ศรัทธา และความเชื่อถูกสร้างโดยคนชั้นนำหรือคนชั้นสูงเพื่อครอบงำคนชั้นล่างซึ่ง เป็นประชาชนชาวบ้านส่วนใหญ่ ให้อยู่ในความควบคุมของคนชั้นสูง
เมื่อคนชั้นล่างตาสว่างเข้าถึงข้อมูลมากขึ้น ก็ไม่ยอมให้คนชั้นสูงครอบงำและควบคุมอีก 


ถึงตรงนี้ "ดร.โกร่ง" วีรพงษ์ รามางกูร เขียนเรื่องการปรองดอง (ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันจันทร์ที่ 23-พุธที่ 25 เมษายน 2555 หน้า 36) อย่างมีรสชาติ ผมอ่านแล้ว "อร่อย" อยากให้คนอื่นอร่อยด้วย จึงจะคัดมาเผยแพร่ต่อ ดังนี้

"คน ชั้นสูงซึ่งเป็นคนส่วนน้อยไม่อาจจะรับเสียงของคนชั้นล่าง ซึ่งเป็นเสียงของคนส่วนใหญ่ได้ เพราะคนส่วนใหญ่ถูกหาว่าเป็นคนโง่ ไม่มีความรู้ ไร้การศึกษา"
"แม้แต่การเสียชีวิตของผู้คนไม่ได้รับการ คัดค้านจากคนชั้นสูง สื่อมวลชนและปัญญาชน เพราะผู้ถูกกระทำเป็นคนชั้นล่างที่โง่เขลา ไร้การศึกษา ขายตัวขายเสียง"
"การ เลือกปฏิบัติ การมีสองมาตรฐานในวงการยุติธรรม ความไม่สมเหตุสมผลของคำตัดสิน หลักนิติธรรม หลักกฎหมายสากลถูกละเมิดโดยการสนับสนุนของคนชั้นสูงในเมือง"
"สำหรับ สังคมไทย ความแตกแยก ความขัดแย้งทางชนชั้นเพิ่งแสดงออก ต่อไปข้างหน้าจะยิ่งมากขึ้นตามระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ การศึกษา และขบวนการโลกาภิวัตน์"

ขณะเดียวกันชนชั้นสูงหรือชนชั้น ปกครองเดิมไม่เข้าใจ ยังหลงใหลกับสถานภาพเดิมของตน จึงพยายามขัดขวางการเปลี่ยนแปลง "ความเชื่อ" และ "ศรัทธา" ที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ไม่เป็นสากล ยังเชื่อว่า "ความเป็นไทยๆ" ยังจะดำรงอยู่ได้ต่อไป
"การปรองดองที่พูดกันอยู่ ฟังดูเหมือนกับจะให้สังคมไทยถอยไปเหมือนเมื่อ 10-20 ปีก่อน จึงเป็นความฝันที่เลื่อนลอย เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะให้ผู้คนชั้นล่างถอยกลับไปมี "ความเชื่อ" และมี 'ศรัทธา' ต่ออุดมการณ์ดังเดิมที่สร้างขึ้นโดยชนชั้นปกครองของแวดวงคนชั้นสูง"


ดร.โกร่ง อธิบายสถานการณ์ปัจจุบันว่า อาการแสดงออกที่ขัดแย้งกันในรัฐสภา ปัญหาความขัดแย้งที่แท้จริงและถาวร เป็นเพียงจำอวดการเมืองของอาการป่วยของสังคม เป็นของชั่วคราว จึงไม่ควรเสียเวลาใส่ใจมากนัก ทุกประเทศทุกสังคมก็ผ่านประสบการณ์ ผ่านการต่อสู้ที่เจ็บปวดอย่างนี้มาแล้วทั้งสิ้น แต่ทำไมสังคมนั้นๆ ไม่ว่าในยุโรป ในแอฟริกา ในอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และเอเชียจึงอยู่กันได้

"การ ปรองดองจึงไม่ได้อยู่ที่การขจัดความเห็นที่แตกต่างกันได้สำเร็จ ความแตกต่างทางความคิดความเห็นยังคงดำรงอยู่และหลากหลายยิ่งขึ้น แต่ท่ามกลางความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ตราบใดที่ชนชั้นของสังคมดำรงอยู่ และจะยังดำรงอยู่ตลอดไป .. "
" .. แต่ที่อยู่กันได้ และปรองดองกันได้ก็เพราะทั้งสองฝ่ายมาตกลงทำสัญญาประชาคมว่าจะมีการปกครองไป ตามหลักกฎหมาย Rule of Law ปกครองโดยกฎหมาย Rule by Law ปกครองโดยเสียงส่วนใหญ่ เสียงส่วนน้อยได้รับการคุ้มครอง ความแตกต่างทางความเห็นได้รับการเคารพ แก้ปัญหาโดยสันติวิธี ไม่ใช่โดยความรุนแรง ชีวิตมนุษย์มีคุณค่าและมีศักดิ์ศรี "


"หยุดกงล้อประวัติศาสตร์ไม่ได้ ชะลอได้ เร่งได้ หลบหลุมไม่ให้ลงเหวได้ แต่กงล้อประวัติศาสตร์ต้องเคลื่อนไปข้างหน้าต่อไป"

อร่อยจริง



.
หมายเหตุ มีเหตุทางเทคนิค ข้อมูลลำดับการโพสต์มีการเปลี่ยนแปลง

หนุ่มเมืองจันท์: ลับมีดให้คม/ สรกล: ความจริง กับการปรองดอง

.
ข่าว sms TPNews - 29-30 เม.ย. ร่วมกิจกรรม " 365 วันพันธนาการสมยศ ฯ" อนุสรณ์สถาน14ตุลา . . 13 - 21 น.

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ลับมีดให้คม
โดย หนุ่มเมืองจันท์ boycitychan@matichon.co.th www.facebook/boycitychanFC
ในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2555 ปีที่ 32 ฉบับที่ 1654 หน้า 24


"ตอนที่เรียนหนังสือ เคยต้องเรียนวิชาที่ไม่อยากเรียนไหม"
ผมถามน้องคนหนึ่งที่มาปรึกษาเรื่องการย้ายงาน
เขาพยักหน้า
น้องคนนี้ทำงานที่บริษัทยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่ง เขาถูกโยกย้ายไปหน่วยงานใหม่ที่ไม่คุ้นเคย แม้ตำแหน่งจะไม่ลดลง และภารกิจงานก็ชัดเจนว่าเจ้านายต้องการให้ไปช่วยอุด "จุดอ่อน" ของหน่วยงานใหม่
แต่ความไม่คุ้นชินกับงานใหม่ ทำให้เขาทุกข์
คนส่วนใหญ่จะรู้สึกแย่เมื่อถูกโยกย้ายไปหน่วยงานใหม่

สมัยที่อยู่กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ทุกครั้งที่ตัดสินใจโยกย้ายนักข่าวจากโต๊ะข่าวหนึ่งไปโต๊ะข่าวหนึ่ง ผมมักจะเจอปัญหานี้เป็นประจำ
ขนาดยังอยู่กองบรรณาธิการเดิม
แค่ย้ายไปโต๊ะใหม่ ยังรู้สึกแย่เลย

โชคดีที่ผมเป็นคนที่มีประสบการณ์โยกย้ายงานไปหน่วยงานต่างๆ เยอะมาก
ถึงวันนี้ก็ 7 หน่วยงานแล้ว ไม่นับจำนวนโต๊ะข่าวในกองบรรณาธิการประชาชาติธุรกิจ ที่ย้ายไปแล้ว 5 โต๊ะข่าว
ด้วยประสบการณ์ที่โชกโชนเช่นนี้ คำพูดในการปลอบน้องที่ถูกโยกย้ายงานจึงมีความขลังพอสมควร
อย่างน้อยก็ไม่มีใครบอกได้ว่า "พี่พูดแบบนี้ได้ เพราะพี่ไม่เคยย้ายไปไหน"
ขืนพูดเมื่อไร เจอเล่า "ตำนานการโยกย้าย" ไม่ต่ำกว่า 10 นาทีอย่างแน่นอน

น้องคนนี้รู้ประวัติของผมเป็นอย่างดี จึงไม่เจอ "ตำนาน 10 นาที"
เมื่อเขาพยักหน้ายอมรับว่าเคยต้องทนเรียนวิชาที่ไม่อยากเรียน
"เคยมีวิชาไหนที่ตอนแรกไม่อยากเรียน แต่เรียนแล้วสนุกไหม"
เขาพยักหน้าอีก
ผมบอกว่าการโยกย้ายไปที่ใหม่ก็เหมือนกับเราเรียนวิชาที่ไม่อยากเรียน
ซึ่งไม่แน่ เราอาจจะชอบก็ได้

"ที่ต่างกันก็คือ ตอนเรียนแม้ไม่อยากเรียน แต่เราก็ต้องจ่ายค่าหน่วยกิต ส่วนการย้ายงาน แม้เราไม่ชอบ แต่เราก็ได้เงินเดือน"
มีคนจ้างให้เราเรียนในวิชาที่เราไม่ชอบ
โชคดีขนาดไหน



ประสบการณ์การโยกย้ายงานของผม มีทั้งชนะ เสมอ
และพ่ายแพ้
ถ้าชนะ ถือว่าโชคดี เพราะได้ทั้งประสบการณ์ใหม่และความสำเร็จ
แต่ถ้าแพ้ ก็ยอมรับว่าแพ้
ยอมรับว่าเราไม่เหมาะกับงานนั้นจริงๆ

ประเด็นสำคัญอยู่ที่เราต้องเต็มที่กับงานทุกครั้ง
หากพ่ายแพ้จะได้ยอมรับความพ่ายแพ้อย่างมั่นใจ
ไม่มีอะไรค้างคาในใจให้แก้มือ

และแม้จะแพ้ แต่สิ่งหนึ่งที่เราได้เหมือนกับชัยชนะ
นั่นคือ "ประสบการณ์"
"ประสบการณ์" เป็นสิ่งหนึ่งที่มีเงินเท่าไรก็ซื้อไม่ได้
จะได้มาต้องแลกด้วยการลงมือทำเท่านั้น


"ธนา เธียรอัจฉริยะ" ที่ตอนนี้ไปเป็นซีอีโอของ "จีเอ็มเอ็มแซด" เคยให้สัมภาษณ์ใน "aday BULLETIN" ว่า วันที่เขาลาออกจากดีแทคไปอยู่ "แม็ค ยีนส์" โอกาสที่เขาจะประสบความสำเร็จและล้มเหลวมีอยู่พอๆ กัน
เมื่อถามว่าการลาออกจาก "แม็ค ยีนส์" นั้น ถือว่าเป็น "แผล" ไหม
"เป็นแผล"
"ธนา" ยอมรับว่าตอนที่อยู่ แม็ค ยีนส์ เขาล้มเหลว แต่ทุกครั้งที่ล้มเหลว เขาได้ประสบการณ์ดีๆ ในชีวิตเสมอ

ครั้งหนึ่ง ตอนที่ทำงานด้านการเงินที่บริษัทเงินทุนแห่งหนึ่ง เขาเคยนำเงินของที่บ้านไปเล่นหุ้นจนเจ๊ง
"ความล้มเหลว" ครั้งนั้น ทำให้วันนี้เขาระมัดระวังเรื่องการเงิน
หรือเมื่อครั้งที่ล้มป่วยเข้าโรงพยาบาล "ความล้มเหลว" ทำให้ "ธนา" หันมาดูแลด้านสุขภาพ ออกกำลังกายครั้งใหญ่จนถึงทุกวันนี้

"ความล้มเหลว" จากการไปทำงานที่ "แม็ค ยีนส์" ก็ทำให้เขาได้ความรู้ใหม่
"ธนา" เล่าว่า ตอนที่ไปจัดบู๊ธขายกล่อง "จีเอ็มเอ็มแซด" ที่ห้างบิ๊กซี อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
พอเห็นรูปแบบการจัดบู๊ธ เขาบอกเลยว่า "ไม่ใช่"
จัดบู๊ธที่บิ๊กซีต้องจัดแบบนี้
จากเดิมที่ใช้คนประกาศขายของแบบสดๆ
"ธนา" บอกว่าไม่ต้อง ให้ใช้อัดเสียงใส่เอ็มพี 3 แล้วเปิดวนไปวนมาแทน
และต้องจัดโปรโมชั่น "นาทีทอง"

พอสั่งเสร็จ ก็นึกสงสัยว่า "ความรู้" เรื่องนี้ เขาได้จากที่ไหน
คำตอบคือจาก "แม็ค ยีนส์"
เพราะ "แม็ค" จัดโปรโมชั่นที่โมเดิร์นเทรดเป็นประจำ

"ธนา" สรุปว่า วันนี้เขามีความรู้เรื่อง "แบรนด์" จาก "ดีแทค"
และมีความรู้เรื่องการจัดกิจกรรมการตลาดแบบ "ออน กราวด์" จาก "แม็ค ยีนส์"
และนำมาใช้กับกล่อง "จีเอ็มเอ็มแซด"
"ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า เราเรียนรู้อะไรจากความล้มเหลวบ้าง"
นั่นคือ บทสรุปของ "ธนา"



ผมบอกน้องที่มาปรึกษาว่า "ความรู้" ในโลกนี้มีอยู่ 2 ด้าน
ด้าน "ลึก" กับด้าน "กว้าง"
ถ้าเราทำสิ่งเดิมๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก เราจะมีความรู้ด้าน "ลึก"
เหมือนที่ "ธนา" ทำงานที่ดีแทคมายาวนาน จนรู้เรื่องการสร้างแบรนด์และโทรศัพท์มือถือเป็นอย่างดี

แต่ถ้าเราได้ทำงานที่ไม่เคยทำมาก่อน เราจะมีความรู้ด้าน "กว้าง"
ประสบการณ์เพียงแค่ 6-7 เดือน ที่ "แม็ค ยีนส์" ของ "ธนา" คือคำตอบที่ดีมาก
แม้จะไม่ประสบความสำเร็จ แต่ "ธนา" ได้ความรู้ใหม่เรื่องเสื้อผ้า
รู้เรื่องผ้ายีนส์เป็นอย่างดี
เสื้อยืดแต่ละตัว ต้นทุนเท่าไร "ธนา" รู้หมด
รวมทั้งความรู้เรื่องการทำกิจกรรมตลาดในโมเดิร์นเทรด
ความรู้เหล่านี้ไม่มีทางที่เขาจะได้ หากยังทำงานที่ดีแทคเหมือนเดิม

ผมบอกน้องว่าการโยกย้ายจะทำให้เราได้ความรู้ใหม่ที่กว้างขึ้น
จะแพ้หรือชนะ ไม่รู้
รู้แต่ว่าความรู้ของน้องเพิ่มขึ้นแน่นอน
ที่สำคัญ อย่ากลัว "ปัญหา"
ทุกครั้งที่เจอ "ปัญหา" ให้คิดเสมอว่า "อุปสรรค" ก็เหมือนกับ "หินลับมีด"

"มีด" ไม่เคยคมขึ้น หากเรานำมีดไปลับกับสิ่งที่มีผิวเรียบ
"หินลับมีด" จึงไม่เคยเรียบลื่น
ผิวของมันจะหยาบและขรุขระ
เพราะผิวที่หยาบและขรุขระจะทำให้มีดคมขึ้น

"ชีวิต" ก็เช่นกัน



++

สรกล อดุลยานนท์ : ความจริง กับการปรองดอง
คอลัมน์ สถานีคิดเลขที่ 12 ในมติชน ออนไลน์ วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2555 เวลา 21:00:00 น.


โลกวันนี้มิอาจปิดฟ้าได้ด้วย "ฝ่ามือ"

ในอดีตกว่าที่ "ความจริง" ของเหตุการณ์ฆ่าหมู่กลางเมืองเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 จะเป็นที่รับรู้อย่างกว้างขวางในสังคมไทยก็ต้องใช้เวลาเกือบ 10 ปี
แต่วันนี้เพียงแค่เวลาไม่ถึง 1 ปี "ความจริง" ของการสั่งใช้กระสุนจริงที่ "ราชประสงค์" เมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 ก็เป็นที่รับรู้กันทั่วไป

"ความจริง" เดินทางเร็วมากในโลกยุคใหม่
ดังนั้น ไม่ใช่เรื่องแปลกเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ประกาศว่า เคารพ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ มาโดยตลอด
โลกไซเบอร์จึงนำคำพูดของ "ทักษิณ" ในอดีต
ทั้งการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน หรือการ "วิดีโอลิงก์" บนเวทีเสื้อแดง ที่พูดถึง พล.อ.เปรม มายืนยัน "ความจริง" ในอดีต

เช่นเดียวกับเมื่อ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ พยายามบอกว่า พล.อ.เปรมไม่เกี่ยวข้องกับการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
"ความจริง" เรื่องการเดินสายเยี่ยมทหารช่วงก่อนการรัฐประหาร พร้อมวาทะ "จ๊อกกี้" กับ "ม้า" ก็ผุดโผล่ออกมาหลอกหลอน
เพราะ "ความจริง" ก็คือ "ความจริง"


การปรองดองเป็นแนวทางที่สังคมไทยต้องเดิน
แต่มิได้หมายความว่าเราจะต้องบิดเบือน "ความจริง"
ยอมรับเถอะว่า "ความขัดแย้ง" ในอดีตเป็นเรื่องจริง

ยอมรับเถอะว่า "คนเสื้อแดง" ส่วนหนึ่งไม่พอใจต่อการเดินสายเข้าพบ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

ฯลฯ

"ความจริง" ไม่ใช่สิ่งที่น่ารังเกียจ
การบิดเบือนความจริงต่างหาก คือ สิ่งที่น่ารังเกียจ
และคนที่เจ็บปวดจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกคนคงยอมรับการบิดเบือน "ความจริง" ไม่ได้

"อัลเบิร์ต ซามูควีเรกา" ผู้อำนวยการองค์การ Never Again Rwanda ในฐานะผู้สูญเสียในเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในประเทศรวันดา บอกในรายการ "พื้นที่ชีวิต" ตอน "รอยเลือดที่รวันดา" ทางไทยพีบีเอสว่า เขาต้องการรู้ความจริงว่าทำไมญาติของเขาจึงถูกฆ่า
"ความจริงอาจจะเจ็บปวด แต่ถึงจุดหนึ่งมันจะช่วยเยียวยาจิตใจคนที่ถูกกระทำได้"

อย่าลืมว่าวันที่ "เนลสัน แมนเดลา" เดินหน้าสู่การปรองดอง เขาไม่เคยปฏิเสธ "ความจริง" ว่าเขาเคยเป็นหัวขบวนของกลุ่มต่อต้านรัฐบาลผิวขาว
เคยใช้ "อาวุธ" และ "ความรุนแรง" ในการต่อสู้กับรัฐบาล
เพราะนั่นคือ "ความจริง"

วันนี้สังคมไทยจำเป็นต้องเดินหน้าสู่เส้นทางของการปรองดอง

แต่เส้นทางแห่งสันติภาพนี้
ต้องไม่มี "ผู้เสียชีวิต" . . ชื่อ "ความจริง"



.

เสวนา “มาตรา 112 ข้อถกเถียงทางกฎหมายสู่ข้อถกเถียงทางสังคม”

.
+ข่าวและแถลงการณ์ - นักกิจกรรมมาเลเซียเรียกร้องให้ปล่อยตัว 'สมยศ' และนักโทษการเมือง
ข่าว sms TPNews - 29-30 เม.ย. ร่วมกิจกรรม " 365 วันพันธนาการสมยศ ฯ" อนุสรณ์สถาน14ตุลา 13-21 น.

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

เสวนา “มาตรา 112 ข้อถกเถียงทางกฎหมายสู่ข้อถกเถียงทางสังคม”
จาก www.prachatai.com/journal/2012/04/40276 . . Sat, 2012-04-28 18:04


เสวนารำลึก ดร. หยุด แสงอุทัย วรเจตน์ระบุ ปัญหาใหญ่ 112 คือปัญหาอุดมการณ์ที่กำกับการตีความตัวบท และไม่มีบทยกเว้นโทษและยกเว้นความผิด ถาวร เสนเนียม เผย ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอแก้มาตรา 112 โดยเพิ่มโทษ ของพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค สมชาย หอมลออ กรรมการ คอป.ระบุปัญหาการใช้ 112 เป็นอุปสรรค จำกัดเสรีภาพการแสดงความเห็น

วันเสาร์ที่ 28 เมษายน 2555 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) จัดงานวิชาการรำลึก ศาสตราจารย์ ดร. หยุด แสงอุทัย โดยเสวนาวิชาการหัวข้อ “มาตรา 112 ข้อถกเถียงทางกฎหมายสู่ข้อถกเถียงทางสังคม” ที่ห้องจี๊ด เศรษฐบุตร คณะนิติศาสตร์ มธ. ท่าพระจันทร์ ผู้ร่วมอภิปรายประกอบด้วย นายถาวร เสนเนียม รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ภาคใต้ สมชาย หอมลออ กรรมการคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ผศ. ดร. กิตติศักดิ์ ปรกติ รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ดำเนินการโดย สาวตรี สุขศรี หัวหน้าภาควิชากฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา คณะนิติศาสตร์ มธ.


สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล คณบดีคณะนิติศาสตร์ กล่าวเปิดการเสวนาว่า หัวข้อเสวนานี้ เป็นหัวข้อที่ถกเถียงกันมากและดูเหมือนจะสร้างความร้าวฉาน แต่เป็นหัวข้อที่สำคัญ และอยากให้คิดว่าในบ้านเมืองต้องหลอมรวมความคิดที่แตกต่างกันให้ได้ โดยไม่ใช้ความรุนแรงใดๆ ทั้งนี้ ดร.หยุด แสงอุทัยก็เขียนงานวิชาการแล้วถูกกล่าวหาว่าเขียนบทความที่เป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่ข้อเท็จจริงไม่มีการสอบสวนและดำเนินการต่อ

ปูนเทพ ศิรินุพงศ์ อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อธิบายเพิ่มเติมกรณีที่ ดร.หยุด แสงอุทัยถูกร้องทุกข์กล่าวโทษโดย ส.ส. ผู้หนึ่ง จากกรณีที่ ดร.หยุด อ่านบทความผ่านทางสถานีวิทยุประจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันอังคารที่ 7 ก.พ. 2499 โดยข้อความที่ถูกกล่าวหาคือ..”องค์พระมหากษัตริย์ไม่พึงรับสิ่งใดอันเป็นปัญหาหรือเรื่องราวที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ การเมือง หรือทางสังคมของประเทศ โดยไม่มีรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลเป็นผู้สนองพระบรมราชโองการ” โดยครั้งนั้น ส.ส. คนหนึ่งส่งบันทึกด่วนถึงอธิบดีกรมตำรวจว่า ดร.หยุดไม่มีสิทธิจะวิจารณ์ แต่ตำรวจให้ความเห็นว่า การวิจารณ์ดังกล่าวไม่เป็นการผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพียงแต่แนะประชาชนให้รู้ฐานะของกษัตริย์ไม่บังควรไปรบกวนให้ปฏิบัติการใด ทั้งจอมพล ป. นายกรัฐมนตรีคณะนั้นก็ได้ให้ความเห็นว่า ดร. หยุดไม่ได้ทำผิดด้วย

000

ถาวร เสนเนียม: อยากให้คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ช่วยขับเคลื่อนผลักดันพฤติกรรมอันน่ารังเกียจของกระบวนการยุติธรรมในสังคมไทย ขณะที่ถ้าจะมีการผลักดันให้มีการแก้มาตรา 112 ก็น่าจะเอามาตราอื่นที่เกี่ยวข้องมาพิจารณา และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนมาพิจารณาประกอบกันด้วย

ถาวร เสนเนียม กล่าวว่า ตลอดมา ประเทศไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งทุกประเทศต้องมีประมุข แต่แบ่งเป็นสองประเภท คือ เป็นพระมหากษัตริย์กับไม่ใช่กษัตริย์ คือประธานาธิบดี สำหรับมาตรา 8 ของรัฐธรรมนูญ นั้นบัญญัติว่ากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะ ละเมิดมิได้ ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางไม่แพ้มาตรา 112 ว่าเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นหรือไม่

เขาตั้งประเด็นว่า ปัจจุบันนี้มีการกระทำผิดมาตรา 112 มากกว่าปกติเพราะอะไร ประการต่อไปคือมีการวิพากษ์วิจารณ์ให้แก้ไข 112 ต้องถามว่าบัญญัติไว้เป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ขัดต่อรัฐธรรมนญไหม ขัดขวางในการแสดงความเห็นและขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนหรือไม่

โดยที่มาตราดังกล่าวห้ามดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย ซึ่งการหมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้ายคนอย่างถาวร เสนเนียม ก็ผิดกฎหมายเช่นกัน

ประเด็นต่อมาคือ การทำผิดที่หลายคนพูดกันติดปากว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นคือ มีองค์ประกอบความผิด 3 ประการ คือ ห้ามดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย กับคน 3 กลุ่มคือ พระมหากษัตริย์ ราชินี และองค์รัชทายาทนั้น ต้องดูหลักคิดที่นำมาใช้บัญญัติกฎหมายดังกล่าว และเทียบเคียงกับกรณีต่างประเทศด้วยว่ามีกฎหมายลักษณะเช่นเดียวกันหรือไม่ ทั้งนี้เขาระบุว่ากฎหมายนั้นแก้ไขได้ และมาตรา 112 ไม่มีใครห้ามแก้ แต่ต้องดูบรรยากาศที่เกิดขึ้นในสังคม ไม่ใช่แก้ด้วยอารมณ์ต้องแก้ด้วยเหตุผล

เมื่อพูดถึงหลักกฎหมาย มาตรานี้คำนึงถึงหลักนิติธรรม ว่าไม่ต้องการให้เกิดผลร้ายกับผู้เสียหายหรือเหยื่อ ความไม่สงบ ความมั่นคงและเศรษฐกิจของสังคมนั้นๆ ด้วย

ประการต่อมา คือประมุขของรัฐต้องได้รับความคุ้มครองเป็นพิเศษ รัฐไทยก็ได้รับความคุ้มครองเป็นพิเศษเช่นเดียวกับต่างชาติ และประมุขของรัฐนั้นได้รับความคุ้มครองในฐานะที่เป็นสถาบัน ประการหนึ่ง และในฐานะบุคคลอีกประการหนึ่ง ซึ่งไม่แตกต่างกับต่างประเทศมากนัก

ถาวรระบุด้วยว่า กฎหมายอาญามาตรา 113 ยังได้บัญญัติคุ้มครองประมุขต่างประเทศด้วย ขณะที่กฎหมายอาญามาตรา 134 ยังบัญญัติคุ้มครองเป็นพิเศษ ต่อผู้แทนรัฐต่างประเทศจากการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้าย

เมื่อเป็นเช่นนี้ ถามว่านี่เป็นสิทธิพิเศษเขียนไว้คุ้มครองกษัตริย์ไทยหรือไม่ ก็ต้องตอบว่าไม่เป็นพิเศษ เพราะเป็นไปตามลักษณะวัฒนธรรมไทยและสอดคล้องกับต่างประเทศ

ขณะที่มีผู้อ้างว่ากฎหมายดังกล่าวนั้นขัดกับปฏิญญาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ แต่ภายใต้ปฏิญญาดังกล่าวก็ยังระบุว่าบุคคลทุกคนย่อมอยู่ภายใต้ข้อจำกัดตามกฎหมาย จึงไม่ใช่ทุกคนจะลุกขึ้นมาหมิ่นประมาทใคร แสดงความอาฆาตมาดร้ายใครก็ทำได้

เขาตั้งคำถามว่า ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีการห้ามหรือการจำกัดสิทธิเสรีภาพในบางเรื่องนั้น ใครถูกใครผิด โดยยกตัวอย่างประเทศมาเลเซีย จะดูหมิ่นพระเจ้า หรือมีพฤติกรรมรักร่วมเพศ ไม่ได้ เป็นความผิด ขณะที่สามารถแสดงพฤติกรรมเช่นนี้ในอเมริกาได้ ดังนั้น ในประเทศประชาธิปไตย การระบุว่าใครถูกใครผิดต้องคำนึงถึงศีลธรรมอันดีและความสงบเรียบร้อยของประเทศนั้นๆ เป็นหลักด้วย

“การจะแก้ไขมาตรา 112 นั้นผมยังไม่เห็นด้วยเพราะส่งผลกระทบไม่ว่าจะต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี” นายถาวรกล่าวย้ำ จากนั้นได้อ้างถึงพระราชดำรัส “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” และแสดงความเห็นว่า “การจะแก้กฎหมายนั้นยังยืนยันว่าแก้ได้ แต่ต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นในสังคม วัฒนธรรมประเพณี การปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้นถูกจำกัดสิทธิมีในทุกประเทศไม่ใช่เฉพาะประเทศไทย”

ถาวรกล่าวต่อไปด้วยว่าระหว่างตัวกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายนั้นเราสับสน เช่นกรณียาเสพติด ที่คนมักอ้างว่ากฎหมายไม่ศักดิ์สิทธิ์ ทั้งนี้ ดร.คณิต ณ นคร เคยกล่าวว่ากระบวนการยุติธรรมไทยมีพฤติกรรมน่ารังเกียจสามอย่าง ประการแรกคือ มักทำงานสบายๆ ประการที่สอง มักกลัวไปหมดทุกอย่าง วันที่ประชาธิปัตย์ทำงาน ก็กลัวว่าสิ่งนั้นผิดสิ่งนี้ผิด พอวันที่ประชาธิปัตย์ไม่ได้ทำงานสิ่งนั้นไม่ผิดเสียแล้ว ประการที่สามมักจะชอบประจบ

โดยเขากล่าวว่า จากประสบการณ์ของตนเองในฐานะที่เคยเป็นอัยการมาก่อน เขาพบว่าหลักดุลพินิจของอัยการในการสั่งฟ้องสั่งไม่ฟ้องนั้นไม่ค่อยได้ใช้ ดังนั้น กรณีการแก้ไขมาตรา 112 นั้น เป็นเรื่องของการใช้กฎหมายเพื่อตอบเป้าหมายในการทำลายคู่แข่งทางการเมืองหรือไม่

ในส่วนของข้อเสนอของพรรค ปชป. ที่พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นผู้จัดทำและเสนอนั้น ถาวระบุว่า ไม่เห็นด้วยทั้งสองประด็น คือการขยายความคุ้มครองไปยังราชวงศ์และการเพิ่มโทษ ทั้งนี้เขาเห็นว่าแม้จะมีการแก้ไขเพิ่มโทษใน พ.ศ. 2519 แต่ที่ผ่านมา ก็จะเห็นว่ามีการพระราชทานอภัยโทษ ดังนั้นมาตรา 112 ไม่น่าจะเป็นปัญหาของการบัญญัติแต่น่จะเป็นปัญหากระบวนการยุติธรรมของสังคมไทย ดังนั้นก็อยากให้คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ช่วยขับเคลื่อนผลักดันพฤติกรรมอันน่ารังเกียจของกระบวนการยุติธรรมในสังคมไทย ขณะที่ถ้าจะมีการผลักดันให้มีการแก้มาตรา 112 ก็น่าจะเอามาตราอื่นที่เกี่ยวข้องมาพิจารณา และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนมาพิจารณาประกอบกันด้วย

ทั้งนี้เขาอธิบายว่า ส.ส. มีอิสระที่จะเสนอแก้กฎหมาย ส.ส. คนหนึ่ง รวบรวมคนได้ 20 คน ก็สามารถเสนอแก้ไขกฎหมายได้


000

สมชาย หอมลออ: ในฐานะนักสิทธิมนุษยชน มาตรา 112 นั้นถูกนำไปใช้และเป็นอุปสรรค จำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นระดับหนึ่ง และในภาวะที่มีความขัดแย้งเป็นขั้วทางการเมืองแล้วก็ถูกนำไปใช้มาก

สมชาย หอมลออ แสดงความเห็นในฐานะกรรมการ คอป. ว่า 112 นี้ตกอยูในสภาวะที่แก้ก็ไม่ได้ ไม่แก้ก็ไม่ได้ เป็นภาวะที่อิหลักอิเหลื่อมาก ประเด็น 112 กลายเป็นประเด็นทางการเมืองและเกือบจะเป็นประเด็นที่จะแบ่งขั้วทางการเมืองของคนในสังคมด้วย ซึ่งหากถูกผลักดันเป็นขั้วขัดแย้งในสังคมแล้วจะลึกและรุนแรงกว่าความขัดแย้งในช่วงที่ผ่านมา แต่หลังจากที่มีคนกลุ่มหนึ่งมีความพยายามที่จะทำอย่างนั้นก็ไม่สำเร็จในการใช้มาตรา 112 มาแบ่งขั้วการเมืองในสังคมไทย แต่ถือเป็นความโชคดีที่ทำไม่สำเร็จ
การถกเถียงทางวิชาการด้วยเหตุด้วยผลจะทำให้การแก้ไขปัญหานี้สามารถทำได้ คือทำให้สภาวะที่แก้ก็ไม่ได้ ไม่แก้ก็ไม่ได้ นั้นหมดไป

ในส่วนของ คอป. นั้นมีภาระหน้าที่ในการตรวจสอบค้นหาความจริงและพยายามเสนอแนะต่อรัฐ สังคมและคู่ขัดแย้งต่างๆ เพื่อจะขจัดขวากหนามหรืออุปสรรคที่จะสร้างความปรองดอง ทำให้ คอป.พบปมขัดแย้งประการหนึ่งที่ดุเดือดขึ้นเรื่อยๆ คือ คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ที่มีผู้ถูกดำเนินคดีมากขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่ม นปช. หรือกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลในช่วงที่มีการชุมนุมเมื่อปี 2553 ซึ่งเขาเองได้ดูสำนวนคดีหลายสำนวนและพฤติกรรมในการดำเนินคดี ก็พบว่าปัญหา 112 เป็นปัญหาทั้งตัวกฎหมาย การบังคับใช้ และการตีความกฎหมายโดยศาล คือไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะการบังคับใช้ แต่เป็นปัญหาที่ตัวบทกฎหมายด้วย จึงเสนอให้แก้ไขในสองประเด็นคือผู้ฟ้อง (เสนอให้ผู้ฟ้องคือสำนักพระราชวัง) และลดโทษลง

ในฐานะนักสิทธิมนุษยชน มาตรา 112 นั้นถูกนำไปใช้และเป็นอุปสรรค จำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นระดับหนึ่ง และในภาวะที่มีความขัดแย้งเป็นขั้วทางการเมืองแล้วก็ถูกนำไปใช้มาก ในขณะที่หลักสิทธิมนุษยชนนั้น เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเป็นเสรีภาพที่มีความสำคัญมากในสังคมประชาธิปไตย

ทั้งนี้ เสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในการพูด หรือการโฆษณา นั้นมีความสำคัญมาก และแม้จะสามารถจำกัดได้ ไม่ได้สัมบูรณ์แต่การจำกัดนั้นจะต้องอยู่ในภาวะที่จำเป็นและด้วยเหตุผลบางประการเท่านั้น คือการรักษาดุลยภาพระหว่างสังคมกับบุคคล

แต่เสรีภาพในการแสดงความเห็นนั้นเกี่ยวโยงอย่างชัดเจนและแยกไม่ออกกับเสรีภาพอีกสองประการ คือเสรีภาพทางวิชาการ ถ้ามีการค้นคว้ามากมายแต่เผยแพร่ไม่ได้ ก็เป็นวิชาการแบบสมัยกาลิเลโอ ไม่สามารถพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าได้ และเสรีภาพอีกประการคือ เสรีภาพทางความคิดความเชื่อ ซึ่งยังถูกจำกัดมาก ยกตัวอย่างเช่น การไปจดทะเบียนพรรคการเมืองในปัจจุบันแม้กฎหมายคอมมิวนิสต์จะเลิกไปนานแล้ว แต่ถ้าจะตั้งพรรคสังคมนิยมก็ตั้งไม่ได้ ซึ่งถ้าความคิดของคนไม่สามรารถเผยแพร่ได้เสียแล้ว ความคิดนั้นย่อมจะมืดบอด ตายไปในที่สุด ทั้งนี้เสรีภาพในทางความเชื่อเป็นเสรีภาพที่สัมบูรณ์ห้ามกันไม่ได้

ประการที่สำคัญอีกประการคือ โดยหลักแล้วเราต้องสนับสนุนเสรีภาพในการแสดงออกเพราะในประวัติศาสตร์ได้พิสูจน์แล้วว่าสังคมที่แตกต่างหลากหลายเป็นสังคมที่สามารถพัฒนาเจริญและยั่งยืน ถ้าสังคมนั้นไม่มีพื้นที่สำหรับความแตกต่างแล้ว สังคมนั้น ถ้าจะต้องเปลี่ยนแปลงซึ่งต้องเปลี่ยนแปลงแน่นอนอยู่แล้ว การเปลี่ยนแปลงนั้นจะรุนแรง การจัดพื้นที่ให้ความแตกต่างจะทำให้ความเปลี่ยนแปลงนั้นลดความเจ็บปวดลง ไม่รุนแรงหรือสุดขั้ว

การที่ถูกจำกัดเสรีภาพในการเสนอความคิดเห็นต่อสถาบันต่างๆ นั้นจะทำให้สถาบันไม่สามารถไปได้ตลอดรอดฝั่ง

สำหรับการใช้บังคับมาตรา 112 ในสภาวะปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ หรืออัยการ ก็จะเตะลูกขึ้นไปข้างบนเพราะไม่กล้า ทั้งๆ ที่มีอำนาจทางกฎหมาย เช่นอัยการมีอำนาจหน้าที่ในการกลั่นกรองคดี จะโทษผู้มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูสังคมด้วย เพราะถ้าบอกว่าไม่ฟ้องโดนแน่ ทั้งการวิพากษ์วิจารณ์และตรวจสอบ พนักงานสอบสวนและอัยการต้องมีความเชื่อมั่นในความเป็นมืออาชีพ แต่ต้องยอมรับว่าแรงกดดันทำให้บุคคลเหล่านี้หวั่นไหวได้ การตีตราก็เกิดตลอดเวลา และเคยเกิดภาวะเช่นนี้เมื่อ 30-40 ปีที่แล้วซึ่งสังคมไทยน่าจะได้เรียนรู้เพื่อไม่ให้เกิดสภาพเช่นนั้นอีก

สมชาย กล่าวต่อไปถึงการตีความว่าคดีดังกล่าวเป็นคดีร้ายแรงแต่เมื่อเทียบกับโทษอื่นๆ เช่นโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต ผู้ถูกกล่าวหากลับได้รับการประกันตัว ขณะที่คดี 112 มีโทษจำคุกสูงสุด 15 ปี เมื่อเทียบแล้วยังเป็นคดีที่ร้ายแรงน้อยกว่า โทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต

กรรมการ คอป. กล่าวถึงกรณี อากง SMS เปรียบเทียบการส่ง SMS กับการออกอากาศทีวี ศาลตัดสินกรณีส่ง SMS ลงโทษจำคุกไม่ต่ำกว่า 3 ปี เพราะกฎหมายกำหนดว่าอย่างต่ำคือ 3 ปี นี่คือตัวอย่างว่ากฎหมายไม่ได้มีช่องว่างให้ศาลใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมเลย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงกฎหมายมาตรานี้เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์รุนแรงปี 2519 คอป. จึงเสนอให้แก้ไข ลดจำนวนโทษ และไม่ใช่ใครก็ได้ไปกล่าวหาเป็นความผิด แล้วพนักงานสอบสวนจะไม่ดำเนินการก็ไม่ได้ เพราะการกดดันทางสังคม การวิพากษ์วิจารณ์จับจ้อง ดังนั้นคดีนี้จึงเป็นคดีที่ไม่ใช่ใครก็ได้ที่จะไปแจ้งความ เพราะลักษณะนี้เป็นผลเสียต่อสังคมและสถาบันด้วย และกลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองไป

ส่วนที่กำหนดว่าทำไมต้องเป็นสำนักพระราชวัง เพราะอ้างอิงจากกรณีที่กฎหมายบัญญัติว่าถ้าจะมีการค้นพระราชฐานต้องได้รับความยินยอมจากสำนักพระราชวัง แต่อาจจะมีหน่วยงานอื่นที่มีความเป็นมืออาชีพในการกลั่นกรองก็ได้


000

กิตติศักดิ์ ปรกติ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เองก็ยังสอนเรื่องเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์น้อยเกินไป และการเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์นั้นควรจะเฉลิมพระเกียรติด้วยความยุติธรรม

กิตติศักดิ์ ปรกติ ระบุว่าปัญหามาตรา 112 นั้นเป็นปัญหาทั้งตัวกฎหมายและการปรับใช้ตัวกฎหมาย แต่เขาไม่เห็นด้วยกับความเห็นของนิติราษฎร์เรื่องการแยกความผิดระหว่างความผิดที่กระทำต่อกษัตริย์กับราชินี

เขากล่าวว่า ปัญหามาตรา 112 หรือความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นเป็นเส้นแบ่งที่สำคัญระหว่างการคุ้มครององค์พระมหากษัตริย์ในฐานะที่เป็นปัจจัยความมั่นคง ในฐานะเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยกับการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็น

การดูหมิ่นเป็นการแสดงความเห็นล้วนๆ แต่การหมิ่นประมาทเป็นการแสดงความเห็นประกอบการยืนยันข้อเท็จจริง ซึ่งต้องไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของคนอื่นด้วย แต่มันไม่ใช่เส้นแบ่งแค่ความมั่นคงกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยเขาเห็นว่า มาตรา 112 ยังเป็นเส้นแบ่งของสถานะพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยด้วย คือจะคุ้มครองกษัตริย์ในฐานะสถาบันทางวัฒนธรรมที่ดำรงอยู่มายาวนาน เป็นคำมั่นสัญญาที่มีมาตั้งแต่ 2475 ว่าจะเปลี่ยนแปลงเป็นประชาธิปไตยและมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับระบอบประชาธิปไตย เป็นการต่อสู้แสวงหาคำนิยามที่พยายามช่วงชิงกันว่า กษัตริย์จะมีสถานะอย่างไรในระบอบประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญ 2475 เป็นต้นมากำหนดชัดแจ้งว่า ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักร และปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยโดยมีกษัตริย์เป็นประมุข

และยังมีการระบุในรัฐธรรมนูญว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย และกษัตริย์ใช้อำนาจนั้นซึ่งต่างกับประเทศอื่นที่ว่า ประชาชนเป็นเจ้าของและเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยนั้น ที่ไทยเขียนแบบนี้ ก็ตอบได้อย่างเดียวว่าเป็นการประนีประนอมระหว่างผู้ถืออำนาจแต่ดั้งเดิมที่เป็นชุมชนทางการเมืองอันประกอบด้วยกษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการ และบรรดาผู้ที่สถาปนาระบอบประชาธิปไตยขึ้น ว่าจะหาทางใช้ระบอบประชาธิปไตยนี้ภายใต้กฎหมายอย่างไร

คำถามคือ ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย แล้วประชาชนให้อำนาจกษัตริย์ใช้อำนาจตั้งแต่เมื่อไหร่ คำตอบคือ ตกลงกันไว้ตั้งแต่ 2475 อย่างไรก็ตาม ชาติกำเนิดไม่ก่อเกิดอภิสิทธิ์ ดังนั้นการคุ้มครองจึงไม่ครอบคลุมถึงราชวงศ์ด้วย การใช้ราชาศัพท์กับพระบรมวงศานุวงศ์นั้นเป็นการแสดงความสุภาพ ดังนั้นหากการแก้มาตรา 112 จึงไม่ควรขยายความคุ้มครองไปยังพระบรมวงศานุวงศ์

กิตติศักดิ์กล่าวต่อไปว่า อีกประเด็นหนึ่งคือ ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับปวงชนชาวไทย ซึ่งปวงชนชาวไทยนั้นมีผู้แทน คือ ส.ส. แต่ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ คือกษัตริย์นั้นเป็นประมุขและเป็นสัญลักษณ์ ขณะที่ผู้แทนปวงชนชาวไทยกลับไม่เป็นที่นิยม

กษัตริย์ในฐานะสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม ในทางข้อเท็จจริง เมื่อมีผู้ทำผิดเกี่ยวกับกษัตริย์ ชาวบ้านก็นินทา แต่นินทาแล้วจะถูกดำเนินคดีหรือไม่ก็อีกเรื่อง ค่านิยมทางวัฒนธรรมนั้นผูกอยู่กับทศพิธราชธรรม คือ ถ้ามีพฤติกรรมที่ขัดกับหลักทศพิธราชธรรมก็จะถูกนินทาเป็นธรรมดา แต่รู้กันว่าจะไม่ทำในที่สาธารณะ เมื่อเกิดการนินทาในทางสาธารณะขณะที่มีความเห็นที่หลากหลาย ก็เกิดความรุนแรงและกระทบต่อความมั่นคงได้ เพราะความเกี่ยวพันระหว่างกษัตริย์ ความเป็นชาติ รัฐ และความมั่นคง ทั้งนี้คำพิพากษาจำนวนไม่น้อยก็โคลงเคลงแกว่งไปมา โดยยกตัวอย่าง นักวิชาการไปกล่าวในวันสิทธิมนุษยชน นักวิชาการกล่าวว่าคนที่เรียกพระเจ้าอยู่หัวเป็นพ่อนั้นไม่ถูกเพราะกษัตริย์ไม่ใช่พ่อ และคนที่กล่าวอ้างนั้นผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเพราะอ้างตัวเป็นพระองค์เจ้า โดยคนที่กล่าวนั้นถูกร้องทุกข์กล่าวโทษ ตำรวจวินิจฉัยว่าการกล่าวเช่นนั้นไม่ผิด ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีของการใช้และการตีความมาตรา 112

กิตติศักดิ์ ระบุว่าถ้าไม่ทำความเข้าใจกันให้ชัดเจนก็จะมีการ “ตู่” กันไปมา อีกประการคือ ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับประชาชน ว่าเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นของปวงชนชาวไทย เขากล่าวว่า กษัตริย์ใช้อำนาจในฐานะที่เป็นองค์กรที่เป็นบูรณาการ ไม่ใช่ทำตามอำเภอใจ ส่วนจะพึงใช้อย่างไรก็เห็นอยู่

กิตติศักดิ์ กล่าวด้วยว่าองค์กรต่างๆ ได้ใช้พระมหากษัตริย์แสวงประโยชน์ส่วนตัวและประโยชน์ทางการเมือง อ้างว่าจงรักภักดี แล้วกล่าวหาคนอื่น ตัวอย่างง่ายๆ ในมหาวิทยาลัย เวลาเสด็จอย่ากราบได้ไหม เพราะตามพระราชบัญญัติสมัย ร. 5 ห้ามกราบ ยังไม่ได้ยกเลิกไป คือห้ามทอดตัวลงบนผืนดินแล้วกราบ เพราะเป็นหลักฐานแสดงการดูถูกเหยียดหยามศักดิ์ศรีของคน แต่ยังมีผู้ไปหูไปนาเอาตาไม่ไร่ มีผู้ทักท้วงว่าอย่าพูดเดี๋ยวจะกลายเป็นไม่จงรักภักดี แต่ผมพูดด้วยความจงรักภักดี กฎหมายเขากำหนดไว้ก็ทำไปตามกฎหมาย ไม่มีข้อที่จะไปกล่าวหาได้ว่าไม่จงรักภักดี

โดยกิตติศักดิ์ ย้ำว่าทุกวันนี้มีคนทำตัวเป็นราชายิ่งกว่าองค์ราชันย์เสียอีก นี่จึงเป็นปัญหาที่ทำให้ต้องแก้มาตรา 112 ทั้งตัวบทและการปรับใช้กฎหมายให้ชอบด้วยเหตุผล และในฐานะที่เป็นมหาวิทยาลัย นายวรเจตน์ได้เสนอแก้กฎหมายแล้ว แม้เขาจะไม่เห็นด้วยบางอย่าง แต่ก็มีประเด็นที่เขาเห็นด้วยคือ ต้องลดโทษลง แต่ตัวเขาเสนอให้กลับไปใช้โทษสมัยสมบูรณาญาสิทธิ์ คือไม่เกิน 3 ปี

กิตติศักดิ์กล่าวในช่วงท้ายว่าประเด็นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์นี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เองก็ยังสอนเรื่องเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์น้อยเกินไป และการเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์นั้นควรจะเฉลิมพระเกียรติด้วยความยุติธรรม


000

วรเจตน์ ภาคีรัตน์: มาตรา 112 นั้นมีปัญหาในหลายระดับทั้งระดับการบังคับใช้ ตัวบท แต่ที่เห็นว่ามีปัญหามากที่สุดคือระดับของอุดมการณ์ที่กำกับการบังคับใช้ตัวบทกฎหมาย

วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ระบุว่ามาตรา 112 นั้นมีปัญหาในหลายระดับทั้งระดับการบังคับใช้ ตัวบท แต่ที่เห็นว่ามีปัญหามากที่สุดคือระดับของอุดมการณ์ที่กำกับการบังคับใช้ตัวบทกฎหมาย การแก้ 112 อาจจะไม่ได้แก้ปัญหาทั้งหมด เพียงแต่บรรเทาลง

โดยเขากล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นว่า เมื่อมีการร้องทุกข์กล่าวโทษ ตำรวจต้องรับเรื่องและทำคดี ไม่สามารถใช้ดุลพินิจ ทุกกระบวนการจะผลักออกจากตัว ในแง่การบังคับใช้กฎหมายนี้มีปัญหาในตัวเอง ไม่ได้เกี่ยวกับตัวบทกฎหมายอย่างเดียว แต่เป็นบรรยากาศ สภาพแวดล้อมทางสังคม

ตัวบทนั้น ใครๆ ก็สามารถจะดำเนินคดี และโทษที่กำหนดไว้นั้นเกินสมควรกว่าเหตุ หลักการนี้เป็นหลักสำคัญในรัฐธรรมนูญ อย่างน้อยที่สุดโทษในมาตรานี้ ขัดกับหลักรัฐธรรมนูญ เพราะการกำหนดโทษไม่สามารถกำหนดโทษได้ตามอำเภอใจของผู้บัญญัติ และปฏิเสธไม่ได้ว่านี่คือโทษที่เป็นผลพวงโดยตรงจากการรัฐประหาร 2519 และไม่ใช่เรื่องนี้เรื่องเดียว แต่ยังพ่วงเรื่องการหมิ่นศาลและดูหมิ่นประมุขของต่างประเทศด้วย ดังนั้นการแก้ 112 ต้องแก้กฎหมายที่เกี่ยวพันกันด้วย เช่น การดูหมิ่นของประมุขของรัฐต่างประเทศ เวลาที่มีการเสนอจึงต้องเป็นไปโดยปริยายในการปรับแก้โทษของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกัน และเป็นหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ

บางคนบอกว่าตัวบทกฎหมายนี้มีมาเป็นสิบๆ ปี ทำไมเพิ่งจะมาแก้กันตอนนี้ ซึ่งเขาเห็นว่ากฎหมายนี้มีปัญหามาตั้งแต่ตอนที่แก้ปี 2519 และมีปัญหามาตั้งแต่มีการบัญญติขึ้นในปี พ.ศ.2500 แต่มันไม่ได้เป็นประเด็นทางสังคม ถ้าพูดก็จะเหมือนกับที่เจอตอนนี้ เพราะมีการรณรงค์บอกว่า แก้ 112 เท่ากับล้มเจ้า ทั้งๆ ที่นี่เป็นตัวบทกฎหมายมาตราหนึ่งเท่านั้น

วรเจตน์กล่าวว่าประเด็นมาตรา 112 ต้องพูดไปอีกหลายเวที และหากทาง คอป. จะจัดการพูดคุยเรื่องนี้ก็จะยินดีอย่างยิ่ง โดยเขาระบุว่า ปัญหาใหญ่ที่สุดของมาตรา 112 คือไม่มีการกำหนดเหตุยกเว้นความผิดหรือเหตุยกเว้นโทษกรณีที่เป็นการติชมโดยสุจริตและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ซึ่งต่างกับกฎหมายหมิ่นทั่วไป การไม่เอาหลักเรื่องนี้มาใช้เป็นผลจาการตีความของศาลด้วย

โดยวรเจตน์ได้ยกเอาคำสอนของอาจารย์กฎหมายรายหนึ่งระบุว่าเมื่อมีการกระทำที่เป็นการหมิ่นประมาทแล้วจะอ้างข้อแก้ตัวตามที่บัญญัติสำหรับคนธรรมดาหาได้ไม่ เพราะกษัตริย์นั้นเป็นที่เคารพสักการะอยู่เหนือการติชม ขณะที่รัชทายาทและราชินีนั้นเป็นเครื่องประกอบ วรเจตน์เห็นว่าการตีความแบบนี้ทำให้ไม่สามารถนำเอาเหตุยกเว้นความผิดหรือยกเว้นโทษได้ วรเจตน์กล่าวว่านี่เป็นการตีความที่เกินตัวบท ดังนั้นหากบุคคลธรรมดาตีความอย่างไร การดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทกษัตริย์ก็ต้องตีความอย่างเดียวกัน ความเข้าใจแบบนี้ ทำให้เกิดการตีความอย่างกว้างและบิดเบือนตัวบท

วรเจตน์ยกตัวอย่างคำพิพากษา จ.นครสวรรค์ อัยการบรรยายฟ้องว่าการหมิ่นพระเทพฯ ผิดตาม 112 ขณะที่ตัวบทคุ้มครอง กษัตริย์ ราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการ โดยศาลชั้นต้น ขยายความคุ้มครองไปถึงพระบรมวงศ์ที่อาจสืบสัตติวงศ์ โดยระบุว่ารัชทายาทแห่งบทบัญญัติมาตรา 112 หมายรวมถึงพระราชโอรส พระราชธิดา ทีอาจสืบสันตติวงศ์ แต่คดีนี้ศาลอุทธรณ์ได้กลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยเห็นว่าพระเทพฯ นั้นไม่ใช่รัชทายาทตามมาตรา 112 เพราะตามกฎมณเฑียรบาลมีตำแหน่งเดียวคือสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

วรเจตน์กล่าวว่าการตีความตัวบทในกรณีของศาลชั้นต้น จ.นครสวรรค์นี้ ก็น่าสงสัยว่าผู้พิพากษาตีความกฎหมายในระบอบการปกครองใด ในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การตีความมีเกณฑ์ ผู้พิพากษาจะเอาทัศนะต่างระบอบกันมาตีความไม่ได้

วรเจตน์กล่าวว่า การคุ้มครองสถานะไม่ใช่เรื่องสถาบัน การตีความต้องชัดเจนว่าตำแหน่งกษัตริย์หมายถึงใคร ซึ่งต้องหมายถึงกษัตริย์พระองค์ปัจจุบัน เพราะถ้าไม่ตีความให้ดีก็อาจจะเกินเลยไปถึงกษัตริย์ในประวัติศาสตร์ได้ ดังนั้นการคุ้มครองจึงต้องเป็นกษัตริย์ที่เป็นประมุขของรัฐ และในความเห็นของตนเองเป็นไปไม่ได้ที่จะอธิบายว่ากษัตริย์เป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทย เพราะกษัตริย์เป็นการกำหนดคอนเซ็ปท์รูปของรัฐ ว่าจะเป็นสาธารณรัฐ หรือเป็นราชอาณาจักร เมื่อเราตัดสินใจเป็นราชอาณาจักรก็ให้กษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ การคุ้มครองกษัตริย์จึงคุ้มครองในฐานะประมุขไม่ใช่เจ้า

อีกประเด็นที่โยงกับมาตราดังกล่าว คือประเด็นเรื่องความมั่นคง ซึ่งเขาเห็นว่าเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง เพราะความมั่นคงนั้นต้องเกี่ยวข้องกับการมีอยู่หรือไม่มีอยู่ของรัฐ และจะดีมากหากอธิบายให้เห็นว่ามันคือความมั่นคงของนิติรัฐ

ข้อโต้แย้งที่ว่าประเทศไทยมีวัฒนธรรมหรือขนบธรรมเนียมเป็นพิเศษ ผมคิดว่าข้อโต้แย้งแบบนี้ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูง หากย้อนกลับไปสมัยที่ใช้กฎหมายตราสามดวงอยู่ ท่านก็จะเห็นว่าโทษนั้นมีอย่างไร เช่น การเปิดกะโหลกเอาถ่านร้อนๆ ใส่เข้าไป ท่านจะยอมรับโทษแบบนี้ได้ไหม คือเราอาจจะมีลักษณะบางอย่างที่เป็นคุณค่าเช่น การแต่งกาย อาหารการกิน แต่เรื่องบางเรื่องก็เป็นเรื่องคุณค่าสากล ที่ไม่ควรจะเอาลักษณะเฉพาะไปอ้างให้มีการกดขี่ เช่นการขว้างหินในประเทศอื่นๆ ก็กำลังมีการต่อสู้กันอยู่ ลักษณะเฉพาะเช่นนั้นก็ไม่ใช่ตัวอย่างที่ดีที่จะเอามาอ้างเพื่อปกป้องสถาบันกษัตริย์ การปกป้องกษัตริย์ควรปกป้องด้วยความจริง เพื่อให้สถาบันอยู่กับประเทศไปอย่างยาวนาน

วรเจตน์ กล่าวย้ำถึงประเด็นสำคัญที่เห็นต่างกับกิตติศักดิ์เรื่องกษัตริย์เป็นผู้แทนปวงชน เพราะเขาเห็นว่ากษัตริย์นั้นเป็นผู้แทนรัฐ แต่ไม่สามารถเป็นตัวแทนปวงชนได้ เพราะการใช้อำนาจอธิปไตยคือ ประชาชนใช้อำนาจโดยตรง หรือใช้อำนาจผ่านองค์กรรัฐ การใช้อำนาจโดยตรงคือการเลือกตั้งและการลงประชามติ การเลือกตั้งจึงสำคัญเพราะเป็นวันที่เจ้าของอำนาจใช้อำนาจของตัวเอง องค์กรนิติบัญญัติ หรือบริหารนั้นจะมีความชอบธรรมเพราะเชื่อมโยงกับประชาชน ส่วนองค์กรตุลาการนั้นมีปัญหาความเชื่อมโยงกับประชาชน และกรณีคำพิพากษาศาลนครสวรรค์นั้นควรจะเป็นกรณีใหญ่ แต่สำหรับสังคมไทยกลับเป็นเรื่องที่ลืมๆ กันไป


อภิปรายเพิ่มเติม

ถาวร เสนเนียม กล่าวย้ำว่าปัญหาหลักของมาตรา 112 คือปัญหาการใช้การตีความตัวบทมากกว่า การกล่าวว่าเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยติธรรมต้องผลักประเด็นนี้ต่อไปยังกระบวนการขั้นสูงขึ้นเพราะแรงกดดันทางสังคมนั้นเป็นเพียงข้ออ้างและขาดความกล้าหาญ โดยได้กล่าวตำหนิกลุ่มนิติราษฎร์ว่าการเสนอแก้ไขกฎหมายนั้นต้องเสนอบริบทกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย โดยการแถลงของนิติราษฎร์ในช่วงแรกนั้นไม่ได้เสนอให้รอบด้าน

ถาวรได้แสดงความไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของ คอป. ว่าการเสนอให้สำนักพระราชวังเป็นผู้ฟ้องนั้นจะยิ่งทำให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทเพราะเป็นองค์กรที่ใกล้ชิด และได้เรียกร้องให้คณะนิติราษฎร์ขับเคลื่อนให้เกิดความเปลี่ยนแปลง โดยเขายืนยันว่ากฎหมายแก้ไขได้เสมอ เมื่อไหร่ที่มีความจำเป็นสังคมจะเป็นตัวชี้ตัวกำหนด

วรเจตน์ ตอบถาวรว่า กรณีข้อเสนอของนิติราษฎร์เมื่อ 18 ก.ย. แล้วมาทำเพิ่มเติมทีหลัง คือวันที่18 ก.ย. นั้นเป็นการเสนอเรื่องลบล้างผลพวงการรัฐประหารแต่มีมาตรา 112 พ่วงมาด้วย แต่ข้อเสนอเรื่องมาตรา 112 นั้นนิติราษฎร์ได้เสนอมาก่อนแล้ว


สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มธ. กล่าวว่า เวลาที่เราพูดกันเรื่องข้อตกลงระหว่างกษัตริย์กับราษฎร หรือพระมหากษัตริย์มีความรับชอบ การอภิปรายเรื่องนี้เป็นการอภิปรายแบบจอมปลอมเพราะเวลาที่เราพูดเรื่องสัญญาและความรับชอบ โดยพื้นฐานต้องมีคอมมอนเซนส์คือการจะกล่าวหาว่าใครผิดสัญญาด้วย ถ้าคุณสามารถพูดว่ารัฐบาลทำผิดสัญญาอย่างไร แต่พูดอีกกรณีหนึ่งไม่ได้ ยังไงก็พูดไม่ได้ ความตลกของเรื่องนี้ทั้งหมด คือคนอย่างอาจารย์กิตติศักดิ์น่าจะรู้ดี เพราะมันพูดในฝ่ายเดียว เกิดผมจะพูดในทางตรงข้ามออกไปก็โดนจับทันที คือการยกนามธรรมอย่างไรก็ได้ ผมฟังแล้วก็ไม่รู้จะเถียงยังไง เถียงก็โดนจับ

ประเด็นสั้นๆ ที่อาจารย์ธีรยุทธพูดและผมเห็นด้วยคือ 112 ไม่ใช่เรื่อง 112 แต่เป็นเรื่องภาพสถาบันกษัตริย์ แต่ประเด็นใหญ่ที่อยากจะพูดคือ ถึงที่สุดแล้วยังมีประเด็นที่ผมไม่เห็นด้วยกับ 112 เพราะข้อเสนอของผมคือยกเลิกไปเลย แต่หัวใจของเรื่องจริงๆ คือเราต้องตั้งคำถามว่า มันมีความจำเป็นแค่ไหนที่ต้องมีกฎหมายพิเศษที่ต้องคุ้มครองประมุขในกรณีหมิ่นประมาท เหตุผลในการตอบคำถามนี้ตรงกันโดยยกกรณีว่านี่เป็นบรรทัดฐานทั่วไปว่าต้องคุ้มครอง แต่ผมไม่เห็นด้วย คนชอบพูดว่าเป็นมาตรฐานสากล นิติราษฎร์เองก็ยกมาตรฐานสากล แต่การยกเรื่องนี้ไม่มีความหมาย เพราะถ้ายกตัวอย่างนั้นจริงๆ ต้องถามว่าประเทศอื่นเขามีอย่างเราไหม เช่น มีการอนุญาตให้ประมุขพูดสดๆ สามารถควบคุมทรัพย์สินของรัฐเป็นหมื่นๆ ล้านได้ไหม และมีการโปรแกรมด้านดีด้านเดียวของสถาบันกษัตริย์ นี่เป็นประเด็นสำคัญเลยว่ามันชี้ขาดอย่างไร
สอง ญี่ปุ่น อเมริกา สหรัฐ ไม่มีกฎหมายแบบนี้
สาม ไม่ว่าจะมีหรือไม่มี แต่ปัญหาที่ต้องตั้งคำถามคือควรใช้บรรทัดฐานอะไรในการพูดถึงประมุข และถามว่าเอาหลักการมาจากไหน นี่ผมถามอย่างซีเรียส

อย่างการยกกรณีตัวอย่างการขู่ประธานาธิบดีอเมริกา ต้องโทษ 5 ปี แต่ถ้าคุณขู่ FBI ต้องโทษ 10 ปีนะ ฉะนั้นการอ้างประมุขต้องได้รับความคุ้มครองมากกว่าปกติจึงไม่จริงเสมอไป
ที่สุดแล้ว เป็นเรื่องบรรทัดฐานของนักวิชาการ คุณต้องเอาบรรทัดฐานที่แท้จริง คือ ทุกวันนี้ใครเกลียดมาร์คเอารูปมาร์คไปใส่หัวควาย ใครเกลียดทักษิณก็ตัอรูปทักษิณไปใส่หัวหมา ถามว่าแล้วมีใครฟ้องไหม ประเด็นคือ ต้องใช้บรรทัดฐานเดียวกับประชาชนทั่วไป ไม่ใช่บรรทัดฐานของนักวิชาการ


กิตติศักดิ์ ตอบประเด็นของสมศักดิ์ ว่าต้องเสนอไปตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ส่วนกรณีที่เยอรมนีนั้นประธานาธิบดีสามารถพูดได้โดยไม่ต้องให้สภาตรวจสอบก่อน ส่วนการเฉลิมพระเกียรติโดยเกินพอดีนั้นควรแก้ไขไหม ก็ต้องแก้ไขโดยการวิพากษ์วิจารณ์ไปตามขอบเขต


วรเจตน์ ตอบประเด็นสมศักดิ์/กิตติศักดิ์ ว่าการเทียบประธานาธิบดีกับกษัตริย์อาจจะเทียบได้ลำบากเพราะประธานาธิบดีของเยอรมนีมีความชอบธรรมในทางประชาธิปไตยเพราะมีการเข้าสู่ตำแหน่ง ประธานาธิบดีนั้นมีสายโซ่ทีเชื่อมโยงกับประชาชนไม่ขาดตอน

สำหรับประเด็นการคุ้มครองประมุขของรัฐนั้น เขาเห็นว่า เกณฑ์ในการวิจารณ์ในระบบทั่วไปไม่ยอมให้มีการด่าหยาบคาย ดูหมิ่น แม้แต่บุคคลธรรมดาก็เป็นสิ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถ้าจะยอมให้มีการดูหมิ่น หมิ่นประมาท ก็ต้องเลิกความผิดต่อบุคคลธรรมดาแล้วเลิกความผิดต่อกษัตริย์

สำหรับกรณีประธานาธิบดีของสหรัฐ เป็นทั้งประมุขของรัฐและฝ่ายบริหาร ดังนั้นการวิจารณ์นั้นแยกยาก และอเมริกาก็เป็นประเทศที่มีความอดทนต่อคำพูดที่ไม่ดีสูงมาก มากกว่าคนอื่นในโลกจนเขาไม่แน่ใจว่าควรจะใช้เกณฑ์ของอเมริกาเป็นมาตรฐานหรือเปล่า

ส่วนกรณีที่คุณทักษิณ หรือมาร์คถูกดูหมิ่นแล้วไม่แจ้งความ “อย่างผมหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งเอาหน้าผมไปใส่หน้าลิง แล้วพาดหัววรเจี๊ยก ลิงหลอกเจ้า ผมก็ไม่ได้ฟ้อง แต่ผมไม่ทำแล้วจะใช้เป็นบรรทัดฐานกับคนทั้งสังคมหรือเปล่า คือเข้าใจว่าควรจะทำเกณฑ์แบบเดียวกันคือเลิกไปเลย แต่ตราบเท่าที่คนในสังคมยังมองเป็นอีกแบบหนึ่ง จะทำอย่างไร”

สำหรับรัฐธรรมนูญญี่ปุ่น ทำโดยฐานที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามแล้วอเมริกาเข้ามาจัดการกฎหมาย ส่วนอังกฤษนั้นเขายอมรับว่ายังไม่ได้ศึกษาให้ชัดเจน

คำถามว่าทำไมประมุขของรัฐถึงถูกคุ้มครองมากกว่าคนธรรมดา เพราะว่าประมุขของรัฐนั้นเป็นตัวแทนรัฐ เป็นสิ่งที่ represent รัฐ ในบริบทของบ้านเราอาจจะมีปัญหาอยู่ แต่ในการทำกฎหมายต้องเอาหลักการเป็นตัวตั้ง

000

สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล คณบดีคณะนิติศาสตร์ กล่าวปิดงานว่า ความคิดเห็นที่หลากหลายต้องได้รับการรับฟังไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย และวิธีการแสดงออกนั้นต้องเคารพผู้อื่นด้วย ถ้าเราจะมีความคิดเห็นร่วมกันต้องแสวงหาความเห็นที่รับฟังกันด้วย เวทีวิชาการอย่างนี้จะทำให้ได้รับความรู้ วันหนึ่งทุกคนก็จะคิดได้เอง และสังคมเราอ่านน้อย ต่อต้านความรุนแรงด้วยวาจาหรือกำลัง แต่สังคมจะเจริญก็ด้วยวัฒนธรรมพลเมือง


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
อ่านความคิดเห็นท้ายบท ที่ www.prachatai.com/journal/2012/04/40276



+++

นักกิจกรรมมาเลเซียเรียกร้องให้ปล่อยตัว 'สมยศ' และนักโทษการเมือง
จาก www.prachatai.com/journal/2012/04/40278 . . Sat, 2012-04-28 18:21


เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 55 ที่ผ่านมาคณะตัวแทนนำโดยพรรคสังคมนิยมมาเลเซีย (PSM) และผู้แทนจากกลุ่ม NGO หลายกลุ่ม ได้ทำการประท้วงหน้าสถานทูตไทย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ และเพื่อแสดงสนับสนุนสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักกิจกรรมแรงงาน ผู้ถูกจับกุมคุมขังจากคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นเวลาเกือบปีแล้ว คณะตัวแทนเหล่านี้ยังเสนอให้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองทุกคนในประเทศไทย

คณะตัวแทนได้มอบจดหมายประท้วงให้กับ นายทรงศักดิ์ สายเชื้อ อัครราชทูต และรองหัวหน้าผู้ปฏิบัติหน้าที่สถานทูตไทยประจำมาเลเซีย พรรคสังคมนิยมมาเลเซีย ยืนยันว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งถูกนำมาใช้คุกคามนักกิจกรรมเพื่อสังคมชาวไทย เป็นอุปสรรคต่อระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย

ผู้มาประท้วงในครั้งนี้ ประกอบไปด้วย S.Arutchelvan (เลขาธิการ พรรคสังคมนิยมมาเลเซีย) Lee Siew Hwa จากกลุ่มมาเลเซียผู้สนับสนุนประชาธิปไตยในประเทศไทย Irene Xavier จากกลุ่มเพื่อนหญิง, ผู้แทนจาก พรรค Suaram และ พรรค PRM

แถลงการณ์ร่วมที่แนบมาด้วยนี้ได้รับความเห็นชอบจากกลุ่มองค์กรต่างๆในมาเลเซียและประเทศต่างๆ

คำประกาศร่วมกัน
26 เมษายน 2012

ปล่อยสมยศและนักโทษการเมืองทั้งหมดในประเทศไทย
ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ


เรา (องค์กรที่ได้ลงชื่อไว้ใต้ล่างนี้) มีความกังวลอย่างยิ่งกับกรณีการคุกคามนักกิจกรรมสังคมจากกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศไทย เช่น สมยศ พฤกษาเกษมสุข นักกิจกรรมแรงงาน ผู้ถูกจำคุกจากกฎหมายนี้ โดยไม่ให้ประกันตัว ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน ปีที่แล้ว จนบัดนี้


พวกเราเป็นเป็นกังวลที่สมยศต้องถูกจองจำเป็นเวลานาน การเคลื่อนย้ายสมยศไปฝากขัง และการที่สมยศถูกปฏิเสธการประกันตัวหลายครั้ง

เป็นที่รู้จักกันว่า สมยศเป็นนักกิจกรรมเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิแรงงานอย่างไม่ย่อท้อ และได้จัดตั้งสหภาพแรงงานเพื่อประชาธิปไตย ในประเทศไทย ปี2007 เขาได้เป็นบรรณาธิการหนังสือ VOICE OF THAKSIN (ขณะนี้ชื่อว่า Red Power) ซึ่งเป็นนิตยสารทางการเมืองที่มีจุดยืนต่อต้านรัฐประหาร นอกจากนั้น สมยศยังเป็นประธานของสหภาพพันธมิตรแรงงานประชาธิปไตย และผู้นำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย ซึ่งเป็นกลุ่มที่ตั้งขึ้นเนื่องจากผลพวงของการรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน ปี 2006


สมยศถูกจับกุมเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2011 โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษหรือ ดีเอสไอ เขาตั้งข้อหาว่า กระทำผิดในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือคดีอาญามาตรา 112 สมยศถูกจับกุม5วัน หลังการเข้าร่วมการถวายฎีกาให้ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา ม.112 ซึ่งสมยศระบุว่าเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับประชาธิปไตย และหลักการสิทธิมนุษยชน ตามเอกสารของฝ่ายโจทก์ สมยศถูกกล่าวหาว่า บทความ 2 เรื่องนิตยสารที่เขาเป็นบรรณาธิกา กกล่าวถึงสถาบันกษัตริย์ในแง่ลบ
ซึ่งเราเป็นห่วงที่การขอประกันตัวเขา ถูกปฏิเสธ เจ้าหน้าที่ยังให้เหตุผลจะคุมขังเขาอีกนาน พวกเราเชื่อว่า สิ่งดังกล่าวเป็นตัวชี้วัดถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานอย่างร้ายแรงที่สุด พวกเราขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทย สั่งการให้ประกันตัวสมยศโดยเร็วที่สุด

สมยศไม่ใช่เหยื่อคนเดียว ที่ถูกคุกคามจากกฎหมายที่รุนแรงนี้ เรากังวลใจอย่างยิ่งว่ามีการใช้กฎหมายนี้มีมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อจัดการปิดปากนักกิจกรรมสังคมและผู้เห็นต่างทางการเมืองในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นับแต่ภายหลังเหตุการณ์รัฐประหาร 2549 เป็นต้นมา เราเชื่อว่าการคุกคามด้วยการใช้กฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนี้เป็นการกลั่นแกล้งทางการเมือง และเป็นอุปสรรคขัดขวางประชาธิปไตยในประเทศไทย จำเป็นต้องมีการทบทวนกฏหมายมาตรานี้ โดยคำนึงถึงมาตรฐานของนานาอารยประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

พวกเราขอเรียกร้องต่อผู้มีอำนาจ ดังนี้ :

-ยกเลิกข้อหาที่มีต่อสมยศ และปล่อยตัวเขาอย่างไม่มีเงื่อนไข
-ยกเลิกการกล่าวโทษ จาก ม.112 ต่อนักกิจกรรม นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ และปัจเจกชนอื่นๆ
-ปล่อยตัวผู้ต้องหาและถูกจองจำจากคดีนี้
-ยกเลิกกฎหมายอาญา ม. 112 เพื่อนำเสรีภาพในการแสดงออก และการแสดงความคิดเห็นกลับมาสู่ประเทศไทยอีกครั้ง


ผู้ร่วมลงนาม ในประเทศ :

Parti Sosialis Malaysia (PSM)
Jaringan Rakyat Tertindas (JERIT), Malaysia
Suara Rakyat Malaysia (SUARAM), Malaysia
Malaysia Support Group for Democracy in Thailand, Malaysia
Community Action Network, Malaysia
Friends of Women, Malaysia
Labour Resource Centre, Malaysia

ลงนามโดย :

Party of the Labouring Masses (PLM), the Philippines
People’s Liberation Party, Indonesia
Reorganize Committee – Working People Association (KPO-PRP), Indonesia
Confederation of Congress of Indonesian Unions Alliance (KASBI), Indonesia
People’s Democratic Party (PRD), Indonesia
Socialist Alliance, Australia
Labour Party Pakistan
Radical Socialist, India
Communist Party of Bangladesh (M-L), Bangladesh
La Aurora – POR Tendency in Izquierda Unida, Spain
Pioneer, Hong Kong
For further enquiries, please contact Chon Kai at +60-19-5669518, e-mail: int.psm@gmail.com


( แปลโดย: เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล )



.

ที่สุดในสามโลก โดย คำ ผกา

.

ที่สุดในสามโลก
โดย คำ ผกา http://th-th.facebook.com/kidlenhentang
ในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2555 ปีที่ 32 ฉบับที่ 1654 หน้า 89


ปีที่แล้วได้ไปพูดที่ธรรมศาสตร์หัวข้อ "เมืองไทยยุคหลังอภิสิทธิ์" ได้สวมบทบาทโหร คำ ผกา ประชดประชันเอาไว้ว่า ประเทศไทยจะวัฒนาสถาพรเพราะเราจะนั่งชื่นชมกับโลกหมุนช้า ไม่ต้องไปสนใจว่าเวียดนามจะไปไหน พม่าจะเปิดประเทศอย่างไร ไม่ต้องพูดถึงมาเลเซีย สิงคโปร์ที่ทิ้งห่างเราไปประมาณสามชาติ
จากนั้นเราจะอธิบายความล้าหลังของเราว่าเป็นเพราะคนไทยรู้จักพอ เราจะวัดความเจริญของประเทศกันด้วยความสุขมวลรวมมิใช่ GDP มิใช่ด้วยรายได้เฉลี่ย และเราจะสะกดจิตตนเองให้มีความสุขกันตามประสาคนไทยที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนใครในโลกนี้

ไม่เพียงเท่านั้น รถไฟไทยที่โคตรช้ากระฉึกกระฉักจะกลายมาเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมเพื่อการส่งออกเพราะมันจะกลายเป็นรถไฟโบราณที่ยังเหลืออยู่ไม่กี่แห่งในโลกนี้ให้นักท่องเที่ยวได้มาชื่นชมอะเมซซิ่ง วี้ดวิ้วกับส้วมในรถไฟไทย แมลงริ้นในรถไฟไทย กลิ่นอับเฉพาะตัวในรถไฟไทย ไม่นับความโกโรโกโสอันเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นกว่าใคร นอกจากนั้น ยังอาจเข้าชิงทำลายสถิติการถึงช้ากว่ากำหนด เช่น ในตั๋วบอกว่าถึงหกโมงเช้า แต่ในความเป็นจริงอาจจะถึงเก้าโมง สิบโมง หรือเลตกว่านั้น
โหรอย่างฉันยังบังอาจทำนายต่อว่า การรถไฟแห่งประเทศไทยจะใช้ความ "ช้า" เป็นจุดขาย เราจะบอกว่ารถไฟช้า-ช้าของเราทำให้มนุษย์ได้มีเวลารื่นรมย์หรรษากับชีวิตมาขึ้น ชิ ไม่รู้หรืออย่างไรว่า ชีวิตเร่งรีบ รวดเร็วนั้นนั้นกลืนกินจิตวิญญาณของมนุษย์
วัยรุ่นในเฟซบุ๊กเค้าอุทานว่า "ทุนนิยม แม่ง เชี่ย จริงๆ"


จําเนียรกาลผ่านไปกะป๊อบกะแป๊บ ท่ามกลางความฝันของปวงชนชาวไทยว่ารัฐบาลใหม่มีความมุ่งมั่นยิ่งนักในการสร้างรถไฟความเร็วสูงให้มีในเมืองไทยให้จงได้
เราเห็นข่าวนายกฯ ไปดูรถไฟความเร็วสูงในจีน
เราก็ตั้งความหวัง
เราเห็นนายกฯ ไปดูชินกันเซ็นควบโอท็อปในญี่ปุ่น
เราก็มีความหวัง

ฉันแทบจะวิ่งไปไหว้พระพิฆเนศวรที่ว่ากันว่าศักดิ์สิทธิ์นักทุกๆ วันว่า "เจ้าประคู้น ชาตินี้ก่อนตายขอให้ได้เห็นเมืองไทยมีรถไฟความเร็วสูงวิ่งปรู๊ดปร๊าดให้เป็นบุญตา แล้วรถไฟเหม็นฉี่หนูฉี่คนฉี่แมลงสาบนั้นขอให้ได้รับการปรับปรุงทั้งคุณภาพและบริการ"
ทั้งหวัง ทั้งฝัน ทั้งบนบานศาลกล่าว และแล้วโฆษณาชิ้นนี้ก็ปรากฏสู่สายตาคนไทย

"ไอ้หน้าหนวด"
ฉันดูแล้วก็ได้ครวญครางกับตัวเองว่า-เฮ้ย เค้าเอาจริง


ท้องเรื่องมีอยู่ประมาณว่า ชายหนุ่มคนหนึ่งท่าทางวิ่งวุ่นร้อนรนตลอดเวลา จนกระทั่งแฟนสาวตัดพ้อว่า เธอไม่มีเวลาให้ฉันเลย ส่วนชายหนุ่มก็รีบจะไปทำงานก่อนจึงบอกว่า "เดี๋ยวกลับมาค่อยคุยกัน" ว่าแล้วกระโดดขึ้นรถไฟ

ในโฆษณาไม่ได้บอกว่านั่งจากไหนไปไหน แต่ไม่ว่าจะใส่แสงสีเสียงให้มันดูโรแมนติกแล้วใครเคยมีประสบการณ์กับรถไฟก็คงดูออกว่าเป็นรถไฟชั้นสาม
คำถามแรกคือ
"เฮ้ย ถ้าเมิงยุ่งขนาดนั้น ไม่มีเวลาขนาดแฟนจะมาขอเลิก แถมยังใช้โทรศัพท์สมาร์ตโฟนสุดจ๊าบ เมิงมานั่งรถไฟชั้นสามทามมายยยยย???" จะว่ามานั่งเพื่อชิลก็ไม่ใช่ เพราะแต่งตัวไปทำงาน แถมตอนก่อนขึ้นรถไฟก็ดูเร่งรีบแบบว่า ต้องไปแล้วเดี๋ยวไม่ทัน ลองใช้สามัญสำนึกตรึกตรองดูอีกสักที ถ้าเรามีงานด่วนขนาดนั้นจะนั่งรถไฟชั้นสามหรือเปล่า?

ในรถไฟยิ่งเจ๋งเลย เนื่องจากภาพจากจอทีวีหรือคอมพิวเตอร์ไม่อาจส่งกลิ่นและอุณหภูมิได้ คนดูจึงเห็นเหล่าผู้โดยสารรถไฟหน้าตาสดใส เต็มไปด้วยรอยยิ้ม ไม่มีใครเหงื่อไหลไคลย้อย หน้ามันแผล็บ ไม่มีกลิ่นควัน กลิ่นน้ำมันเครื่องเก่าๆ เหม็นๆ ช่วยสร้างบรรยากาศ ไม่มีฝุ่นละอองที่ลอยเข้ามาทางหน้าต่าง
ใครสักคนลองนั่งรถไฟชั้นสามจากหัวลำโพงไปพระนครศรีอยุธยาดูจะรู้หากคุณไปถึงที่หมายแล้วโพรงจมูกของคุณจะดำปี๋ไปด้วยฝุ่น ใบหน้าจะเหนอะเหนียว
และยิ่งในเดือนเมษายนเช่นนี้ คงมีหรอกนะรอยยิ้มของคุณตาคุณยาย หลานๆ ที่โดยสารรถไฟราวกับมันคือรถไฟในสวนสนุก

สิ่งที่ไอ้หน้าหนวดได้เรียนรู้จากการนั่งรถไฟครั้งนี้คือ-ความสุขนั้นมีอยู่รอบตัว ความสุขนั้นอยู่ที่การได้ใช้เวลาอันเหลือเฟือ เวลาที่เดินไปอย่างเชื่องช้าไม่รีบร้อนกับคนที่คุณรัก (มีภาพคุณตาคุณยายกุมมือกันในรถไฟด้วยนา แต่จากประสบการณ์จริง ฉันเห็นแต่คนจนที่ใบหน้าเต็มไปด้วยเหนื่อยล้า เสียงขากถุย มือที่คอยโบกพัดไล่อากาศร้อนพร้อมกับภาวนาให้ถึงที่หมายปลายทางเสียที เสียงเด็กร้องไห้กระจองอแง)

และถ้าหากคุณต้องนั่งรถไฟชั้นสามจากหัวลำโพงไปเชียงใหม่ จากหัวลำโพงไปอุบลฯ ลองถามตัวเองด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่งว่าคุณยังสามารถจะรื่นรมย์กับชีวิตช้าๆ ท่ามกลางคนที่คุณรักอย่างที่โฆษณาชิ้นนี้ชวนให้เชื่อหรือไม่?



คงถึงเวลาที่เราต้องยอมรับความจริงกันเสียทีว่าปัญหาการขนส่งมวลชนสำหรับสาธารณะในเมืองไทยนั้น ห่วยแตกเกือบจะที่สุดในสามโลก
เรื่องรถไฟคงไม่ต้องพูดซ้ำเพราะเป็นที่รู้กันดีว่าในวาระจะครบรอบร้อยปีการรถไฟฯ นั้นรถไฟไทยไม่ดีมีอะไรที่ดีขึ้นนักเมื่อเทียบระยะเวลา 100 ปีที่ผ่านไป
และจวบจนถึงทุกวันนี้ทุกจังหวัดในประเทศไทยยกเว้นกรุงเทพฯ ยังไม่มีบริการรถเมล์ที่มีประสิทธิภาพ

รถเมล์ที่มีประสิทธิภาพเป็นอย่างไร คือรถที่สะอาด ปลอดภัย มีตารางการเดินรถที่ไว้ใจได้ ย้ำอีกครั้งหนึ่งว่าในศตวรรษที่ 21 แล้วประเทศไทยยกเว้นกรุงเทพฯ ยังไม่มีรถเมล์ ไม่มีแท็กซี่ ไม่มีรถราง ไม่ต้องพูดถึงรถไฟลอยฟ้าหรือรถไฟใต้ดิน
ย้ำกันอีกรอบว่า แล้วเราเคยตั้งคำถามต่อตัวเองหรือไม่ว่าเหตุใดบริการขนส่งสาธารณะของประเทศนี้จึงเป็นไปไม่ได้?

ทำไมประเทศที่ยากจนและไม่มีน้ำมันเป็นของตัวเองสักหยดเดียวจึงไม่เคยคิดจะพัฒนาการขนส่งมวลชนที่ประหยัดพลังงานได้มากกว่านี้?
ทำไมประเทศเล็กๆ ที่ยากจนอย่างเราจึงกลายเป็นประเทศที่พึ่งพารถยนต์ราวกับเป็นขาที่สามอันงอกมาจากท้องพ่อท้องแม่
ทำไมประเทศนี้จึงไม่ประสบความสำเร็จในการสร้างสังคมที่เดินทางด้วยจักรยาน ทำไมประเทศนี้จึงเป็นประเทศที่มีทางเท้าอันน่าสมเพชเวทนาเกือบจะที่สุดในสามโลก (อีกแล้ว)

สุดท้ายต้องกลับมาถามตัวเองว่าทำไมเราจึงเป็นประชาชนที่ไม่อาจส่งเสียงกดดันให้รัฐบาลเปลี่ยนนโยบายกำหนดการเปลี่ยนแปลงประเทศจากการมีศูนย์กลางอยู่ที่การใช้รถยนต์และถนนเป็นหลักมาสู่การขนส่งในแบบอื่น ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งในระบบรางที่มากขึ้น (รถราง, รถไฟใต้ดิน ฯลฯ)
หรือการกดดันให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับทางเท้าและเลนสำหรับการเดินทางด้วยจักรยาน-จักรยานในที่นี้ไม่ใช่ของเล่นของชนชั้นกลางผู้รักธรรมชาติ แต่คือจักรยานในฐานะที่เป็นยานพาหนะชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับการเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเท่านั้น ไม่ต้องมากไปกว่านี้


สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับการใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ ของฉันคือรถไฟใต้ดิน ใครก็ตามที่ทำให้รถไฟใต้ดินเกิดขึ้นได้ในแผ่นดินไทย สำหรับฉันคุณคือวีรบุรุษ
การเกิดโครงการรถไฟใต้ดินนั้นไม่ง่าย ยิ่งเกิดขึ้นในประเทศสารขัณฑ์ก็ยิ่งยาก แต่ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นกันแล้วว่า มันเป็นไปได้
เพราะฉะนั้น รถไฟความเร็วสูง รถราง เลนจักรยาน และการออกแบบปรับผังเมืองใหม่ให้เป็นเมืองสำหรับการเดินทางด้วยจักรยานและการเดินเท้า-หากมีความจริงใจที่จะทำย่อมไม่เหลือบ่ากว่าแรง

พร้อมกันนั้นประชาชนอย่างเราต้องส่งเสียงให้ดังพอว่า เราต้องการรัฐบาลสำหรับคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับไลฟ์สไตล์แบบประเทศโลกที่หนึ่งนั่นคือไลฟ์สไตล์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงาน และวัฒนธรรมของจักรยานและการใช้ชีวิตรื่นรมย์กับการเดินเท้าในเมืองใหญ่ที่ร่มรื่นไปด้วยพื้นที่สีเขียวกลางเมือง
วัฒนธรรมรถยนต์เป็นวัฒนธรรมด้อยพัฒนา-ย้ำ!

นักการเมืองท้องถิ่นที่มีวิสัยทัศน์อาจนำพาท้องถิ่นของตนให้ศิวิไลซ์กว่ากรุงเทพฯ ได้ด้วยการ "ซื้อใจ" ฐานเสียงในท้องถิ่นด้วยการมอบจินตนาการใหม่ของคำว่า "เมือง" ให้กับท้องถิ่นของเมืองให้กับท้องถิ่นของตน
พอกันทีกับการละลายงบประมาณไปการสร้างป้าย ซุ้มประตู สวนหย่อมตรงสี่แยก รูปปั้นสัตว์ ผลไม้พิลึกกึกกือ ฯลฯ

แต่หันมาให้ความสำคัญกับการสร้างวัฒนธรรมการใช้ชีวิตแบบประเทศที่พัฒนาแล้วด้วยการทำผังเมืองที่เอื้อต่อการมีระบบขนส่งมวลชนสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ

เมืองที่เดินทางด้วยจักรยาน การเดินเท้า ที่จะเอื้อให้เกิด กิจกรรมในชีวิตประจำวันที่แตกต่างออกไป ร้านกาแฟริมทาง ร้านอาหารที่ไม่ต้องมีที่จอดรถ การพลอดรักอย่างโรแมนติกริมแม่น้ำ แฟชั่นบนท้องถนนที่จะเปลี่ยนไป-เชื่อฉันเถอะว่า ชีวิตในเมืองของคนที่สามารถออกมาเดินทางไปไหนต่อไหนด้วยเท้าของตนเองจะเปลี่ยนบรรยากาศและและยกระดับอารมณ์ของประเทศชาติ ให้ละเมียดละไมยิ่งขึ้น

เลิกหลอกตัวเองเสียทีว่าชีวิตที่เป็นอยู่ตอนนี้น่ะดีพอแล้ว!!!!


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ไอ้หน้าหนวด
www.youtube.com/watch?v=ViaP1PbQTPY




.

2555-04-28

55 ปีทุนกองทัพไทย (ตอนที่ 2) โดย กานดา นาคน้อย

.
บทความตอนก่อน - 55 ปีทุนกองทัพไทย (ตอนที่ 1) โดย กานดา นาคน้อย อ่านที่ http://botkwamdee.blogspot.com/2012/04/kd-tmc.html

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

กานดา นาคน้อย: เศรษฐศาสตร์สามัญสำนึก 55 ปีทุนกองทัพไทย (ตอนที่ 2)
ใน http://prachatai.com/journal/2012/04/40226 . . Wed, 2012-04-25 18:09    


กานดา นาคน้อย
25 เมษายน 2555



ในบทความตอนที่แล้ว ดิฉันอธิบายความเป็นกลุ่มทุนของกองทัพไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของทุนนิยมแบบไทยๆ บทบาทของธนาคารทหารไทยในฐานะธุรกิจที่สำคัญที่สุดของกองทัพ และการผูกขาดธุรกิจธนาคารพาณิชย์โดยกองทัพและครอบครัวไม่กี่ครอบครัว ในตอนนี้ดิฉันขอเขียนถึงธุรกิจของกองทัพที่สำคัญรองลงมา กล่าวคือ ธุรกิจฟรีทีวีและธุรกิจวิทยุกระจายเสียง


ใครใหญ่กว่ากัน: ไอทีวี vs. ททบ.5 + ช่อง7สี + ทีวีพูล?

ก่อนรัฐประหารปี 2549 สื่อมวลชนและนักวิชาการบางกลุ่มนำเสนอว่าอดีตนายกฯทักษิณมีพฤติกรรม“เผด็จการ”โดยแทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชนโดยเฉพาะไอทีวีหลังจากที่ชินคอร์ปเข้าไปถือหุ้นไอทีวี วาทกรรมดังกล่าวพยายามสร้างความชอบธรรมให้รัฐประหารและการยกเลิกสัมปทานไอทีวี ทั้งๆที่จริงแล้วกองทัพบกเป็นเจ้าของฟรีทีวี 2 ช่องมา 55 ปีและแทรกแซงฟรีทีวีทุกช่องด้วยโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจหรือทีวีพูล ถ้าเรานิยามว่า“เผด็จการ”คือผู้นำทางการเมืองที่ถือหุ้นฟรีทีวีและแทรกแซงฟรีทีวี กองทัพบกก็เป็น“เผด็จการ”มา 55 ปี ดังนั้นถ้าเปรียบเผด็จการว่าเป็นปิศาจ ก็แปลว่าสื่อมวลชนและนักวิชาการที่สนับสนุนรัฐประหารชื่นชอบปิศาจหน้าเก่าที่สิงทีวีมา 55 ปีมากกว่าปิศาจหน้าใหม่ที่สิงทีวีมา 7 ปี


ฟรีทีวีคือธุรกิจสำคัญของกองทัพบก

ในปีพศ.2500 ธนาคารทหารไทยเริ่มเปิดทำการด้วยการผลักดันของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในปีเดียวกันกองทัพบกก่อตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก(ททบ.)เพื่อทำธุรกิจฟรีทีวีซึ่งมีรายได้จากการให้เช่าเวลาแก่ผู้ผลิตรายการและผู้โฆษณาสินค้า รายได้จากธุรกิจฟรีทีวีในปัจจุบันมีมูลค่ากว่า 3 หมื่นล้านบาท และททบ.ที่กองทัพบกบริหารเองโดยตรงมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 20% [1]
ททบ.มีโครงสร้างผู้ถือหุ้นที่แตกต่างจากธนาคารทหารไทย กล่าวคือ กองทัพบกเป็นเหล่าทัพเดียวที่ถือหุ้นททบ. แต่กองทัพเรือและกองทัพอากาศถือหุ้นธนาคารทหารไทยร่วมกับกองทัพบก แม้ปัจจุบันเอกชนและกระทรวงการคลังร่วมถือหุ้นธนาคารทหารไทยด้วย กองทัพบกก็ยังถือกรรมสิทธิ์ททบ. 5 เพียงผู้เดียวเนื่องจากโครงการถ่ายโอนกรรมสิทธิ์ของ ททบ.5 ไปให้บริษัทโฮลดิ้งคอมปะนีที่ชื่ออาร์ทีเอ เอ็นเตอร์เทนเมนท์จำกัดโดนระงับไปเมื่อ 2 ปีก่อนรัฐประหารครั้งล่าสุด


สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกและรัฐประหารล้มรัฐบาลจอมพลป.พิบูลสงคราม

ททบ.ในยุคแรกรู้จักกันทั่วไปว่า ททบ.7 เนื่องจากถ่ายทอดรายการผ่านช่อง7 ททบ.7เป็นฟรีทีวีช่องที่2ในไทย
ฟรีทีวีช่องแรกคือสถานีไทยทีวีช่อง4ที่ก่อตั้งโดยรัฐบาลจอมพลป.พิบูลสงคราม (ภายหลังกลายเป็นช่อง9 อสมท.และโมเดิร์นไนน์ทีวีในปัจจุบัน) ไทยทีวีช่อง4เป็นธุรกิจของบริษัทไทยโทรทัศน์ซึ่งถือหุ้นโดยหน่วยราชการหลายแห่งรวมทั้งกรมประชาสัมพันธ์ ไทยทีวีช่อง 4 เริ่มถ่ายทอดรายการตั้งแต่ปีพศ. 2498 เพื่อประชาสัมพันธ์ผลงานรัฐบาลจอมพลป. รวมทั้งถ่ายทอดการประชุมรัฐสภาและงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ จอมพลสฤษดิ์จึงผลักดันให้กองทัพบกก่อตั้งททบ.เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมของกองทัพบ้าง
ททบ.7เริ่มถ่ายทอดรายการตั้งแต่ปี 2501 หลังจากที่จอมพลสฤษดิ์ทำรัฐประหารล้มรัฐบาลจอมพลป. หน้าที่ของททบ.7คือการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของกองทัพ พระราชกรณียกิจ และพระราชพิธีที่รื้อฟื้นมาจากยุคสมบูรณาญาสิทธิราช เพื่อเรียกเรตติ้งททบ.7ยุคแรกนำเสนอความบันเทิงในรูปแบบภาพยนตร์จากต่างประเทศและรายการวาไรตี้ที่จัดโดยนายทหารจากกองทัพบก [2] [3]


สัมปทานฟรีทีวีภายใต้รัฐบาลทหาร

ในปี 2510 กองทัพบกภายใต้การนำของจอมพลประภาส จารุเสถียรในตำแหน่ง ผบ.ทบ.ให้สัมปทานความถี่บางส่วนแก่บริษัทกรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุของครอบครัวน้องสาวภรรยา ผบ.ทบ.
น้องสาวภรรยา ทบ.ทบ.สมรสกับทายาทสกุลกรรณสูตซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองสุพรรณบุรีในอดีต สกุลกรรณสูตถือหุ้นบริษัทกรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุร่วมกับสกุลจารุเสถียรและสกุลรัตนรักษ์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นธนาคารกรุงศรีอยุธยา ฟรีทีวีที่กองทัพบกให้สัมปทานคือสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง7หรือช่อง7สี ซึ่งเป็นช่องแรกที่ถ่ายทอดด้วยภาพสี  สกุลกรรณสูตและสกุลรัตนรักษ์ได้สัมปทานช่อง7สีจากกองทัพบกเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

ในปีเดียวกันรัฐบาลถนอมให้สัมปทานความถี่บางส่วนของบริษัทไทยโทรทัศน์(ซึ่งเป็นเจ้าของไทยทีวีช่อง4)แก่บริษัทของสกุลมาลีนนท์ซึ่งถ่ายทอดทีวีทางช่อง 3 ทำให้จำนวนฟรีทีวีเพิ่มเป็น 4 ช่อง
ในปี 2517 ททบ.7 เปลี่ยนชื่อเป็นททบ.5 และหันมาออกอากาศทางช่อง 5 ในขณะที่ไทยทีวีช่อง 4 ก็เปลี่ยนมาออกอากาศช่อง 9 ไม่กี่ปีให้หลัง  รัฐบาลธานินทร์ยุบบริษัทไทยโทรทัศน์และโอนช่อง 9 ให้องค์การสื่อสารมวลชน(อสมท.) กรมประชาสัมพันธ์ในยุครัฐบาลเปรมจึงจัดตั้งทีวีช่อง11ขึ้นมาแทนเพื่อให้เป็นฟรีทีวีของรัฐบาล


การก่อตั้งและบริหารโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจโดยกองทัพบก

กองทัพบกก่อตั้งโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจหรือทีวีพูลในปี 2511 [2] ทำให้กองทัพบกแทรกแซงฟรีทีวีได้ทุกช่องด้วยการเชื่อมเครือข่ายฟรีทีวีเพื่อประชาสัมพันธ์ลัทธิชาตินิยมและการปกครองแบบรวมศูนย์ เพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ในรูปแบบต่างๆ อาทิ ถ่ายทอดพระราชกรณียกิจและพระราชพิธีที่รื้อฟื้นมาจากยุคสมบูรณาญาสิทธิราช ถ่ายทอดกิจกรรมของกองทัพ ถ่ายทอดพิธีกรรมทางศาสนา และถ่ายทอดการแข่งขันกีฬานานาชาติที่มีนักกีฬาไทยร่วมแข่งขัน ในระยะหลังทีวีพูลหันมาถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาที่นักกีฬาไทยไม่ได้เข้ารอบด้วย เช่น การแข่งขันฟุตบอลโลก
แม้ว่าสงครามเย็นจบไปแล้วกว่า 20 ปี อำนาจของกองทัพบกในการแทรกแซงฟรีทีวีทุกช่องด้วยทีวีพูลไม่ได้ลดลงตามกาลเวลา ประธานกรรมการทีวีพูลคือผู้อำนวยการททบ.5 มาจนถึงปัจจุบัน ทีวีพูลกลายเป็นเครื่องมือทำรัฐประหารและประชาสัมพันธ์ชัยชนะของคณะรัฐประหารมาตลอด
หลังจากรัฐประหารล้มรัฐบาลชาติชาติชาย เหตุการณ์พฤษภาทมิฬทำให้เห็นชัดเจนว่าฟรีทีวีทุกช่องโดนควบคุมโดยคณะรัฐประหารและไม่รายงานสถานการณ์ตามความจริง ด้วยเหตุนี้จึงเกิดแรงผลักดันให้จัดตั้งฟรีทีวีที่เป็นอิสระซึ่งก็คือไอทีวี
หลังรัฐประหารล้มรัฐบาลทักษิณไอทีวีโดนยึดสัมปทานไปให้ทีวีช่องใหม่ที่เรียกกันว่าไทยพีบีเอส แน่นอนว่าไทยพีบีเอสก็โดนแทรกแซงโดยทีวีพูลด้วย ความล่าช้าของฟรีทีวีในการเตือนภัยสึนามิเมื่อวันที่ 11 เมษายนที่ผ่านมาบ่งชี้ชัดว่ากองทัพบกในปัจจุบันยังคงแทรกแซงการทำงานของฟรีทีวีทุกช่องด้วยทีวีพูล ตราบใดที่ยังไม่ยุบทีวีพูลก็ยากที่ไทยจะมีฟรีทีวีที่รายงานข่าวอย่างอิสระ


อิทธิพลของททบ.5 และช่อง7สีต่อดารานักแสดงและนักร้อง

เมื่อวัดด้วยรายได้ ททบ.5 มีส่วนแบ่งตลาดฟรีทีวีเป็นอันดับ 3 ส่วนช่อง 7 สีที่กองทัพบกเป็นเจ้าของสัมปทานมีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 2 (อันดับ 1 คือช่อง 3 และอันดับ 4 คือช่อง 9) ส่วนแบ่งตลาดของททบ.5 รวมกับช่อง7สีสูงถึง 43%
ถ้าวัดด้วยเรตติ้งอันดับ 1 คือช่อง7สี ส่วนททบ.5 ติดอันดับ 3 [4] ด้วยเหตุนี้กองทัพบกจึงมีอิทธิพลต่อวงการบันเทิงผ่านรายการของ ททบ.5 และช่อง7สีมานานหลายทศวรรษ อาทิ รายการคอนเสิร์ต รายการวาไรตี้ เกมโชว์ ละครหลังข่าว ฯลฯ ทำให้ดารานักแสดงและนักร้องจำนวนมากอยู่ในสภาวะที่ต้องพึ่งพากองทัพบกและมีผลประโยชน์ร่วมกัน จึงไม่น่าแปลกใจที่ดารานักแสดงและนักร้องมากมายกลายเป็นเชียร์ลีดเดอร์ให้คณะรัฐประหาร


ความเกี่ยวข้องของ ททบ.5กับบริษัทอาร์ทีเอเอ็นเตอร์เทนเม็นท์และธนาคารทหารไทย

ก่อนวิกฤตการเงินในปี 2540 เพียง 3 เดือนกองทัพบกได้จัดตั้งบริษัทโฮลดิ้งคอมปะนีชื่อบริษัทททบ.5จำกัด ในปี 2541 บริษัทททบ.5จำกัดกู้เงินจากสถานีททบ.5 เพื่อนำเงินไปซื้อหุ้นธนาคารทหารไทย กองทัพบกถือหุ้นธนาคารทหารไทย 2 ทาง ทางตรงคือถือหุ้นในนามของกองทัพบกและทางอ้อมคือถือหุ้นผ่านบริษัทโฮลดิ้งคอมปะนี ทำให้กองทัพบกถือหุ้นธนาคารทหารไทยมากกว่าเหล่าทัพอื่นๆ [6] [7]
ต่อมาบริษัทโฮลดิ้งคอมปะนีดังกล่าวกู้เงินจากธนาคารทหารไทยไปลงทุนในธุรกิจทีวีดาวเทียม หลังจากนั้นกองทัพบกยินยอมให้เอกชนเข้ามาถือหุ้นบริษัทททบ.5ร่วมกัน ภายหลังกองทัพบกพยายามถ่ายโอนกรรมสิทธิ์คลื่นความถี่ของททบ.5 เพื่อให้บริษัทททบ.5 จำกัดให้สัมปทานคลื่นความถี่แก่เอกชน และเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็นบริษัทอาร์ทีเอเอ็นเตอร์เทนเมนท์จำกัดเพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อระดมทุน [5] แต่การถ่ายโอนกรรมสิทธิ์คลื่นความถี่ของททบ.5 ให้บริษัทอาร์ทีเอฯกลายเป็นประเด็นสาธารณะที่เอ็นจีโอและสื่อมวลชนบางสังกัดคัดค้านอย่างรุนแรงจนรัฐบาลทักษิณต้องระงับไม่ให้บริษัทอาร์ทีเอฯจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ในปี 2547

ความขัดแย้งกรณีบริษัทอาร์ทีเอฯทำให้อดีตนายกฯทักษิณโดนประนามว่าสมคบกับพลเอกชัยสิทธิ์ ชินวัตรผบ.ทบ.ในขณะนั้นเพื่อฮุบทรัพย์สินสาธารณะไปให้พวกพ้อง แม้ว่ามีความเป็นไปได้ว่าอดีตนายกฯทักษิณอาจจะขอแบ่งผลประโยชน์จากบริษัทอาร์ทีเอฯ
ที่จริงแล้วบริษัทโฮลดิ้งคอมปะนีดังกล่าวเกิดขึ้นภายใต้การนำของพลเอกแป้ง มาลากุล ณ อยุธยาในฐานะผู้อำนวยการททบ.5 ตั้งแต่ปี 2538 ถึงปี 2542 การวางแผนจัดสรรหุ้นให้เอกชนและคนในกองทัพเข้ามาร่วมลงทุนในโฮลดิ้งคอมปะนีก่อนนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ก็เริ่มต้นมาตั้งแต่ยุคนั้น [8] นอกจากนี้บริษัทนี้เกี่ยวข้องกับปัญหาหนี้เสียของธนาคารทหารไทยมาตั้งแต่ก่อนรัฐบาลทักษิณ
ถ้ารัฐบาลทักษิณไม่ระงับการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของบริษัทอาร์ทีเอฯ อดีตนายกฯทักษิณและพวกพ้องจะไม่ได้ประโยชน์จากบริษัทอาร์ทีเอฯเท่ากองทัพบกซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในอาร์ทีเอฯหรือเอกชนที่ร่วมลงทุนกับบริษัทนี้ ตราบใดที่กองทัพบกไม่จัดสรรหุ้นบริษัทอาร์ทีเอฯให้อดีตนายกฯทักษิณและพวกพ้องให้มากกว่าสัดส่วนหุ้นของกองทัพบกและพันธมิตรเอกชน



นอกจากฟรีทีวี 2 ช่อง กองทัพบกมีสถานีวิทยุ 126 สถานีทั่วประเทศ

นอกจากการจัดตั้งโฮลดิ้งคอมปะนีเพื่อถ่ายโอนกรรมสิทธิ์คลื่นความถี่แล้ว กองทัพบกพยายามปกป้องผลประโยชน์จากคลื่นความถี่อย่างชัดเจนผ่านกระบวนการสรรหากรรมการกสทช.หลังรัฐประหารล้มรัฐบาลทักษิณ กล่าวคือ 2 ใน 5 ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกสทช.คือนายทหารจากกองทัพบก [9] เนื่องจากนโยบายของ กสทช.ในอนาคตจะมีผลกระทบต่อกรรมสิทธิ์ของคลื่นความถี่ที่กองทัพถือกรรมสิทธิ์อยู่ในปัจจุบัน
นอกจากคลื่นความถี่ของฟรีทีวี 2 ช่องแล้ว กองทัพบกยังเป็นเจ้าของคลื่นความถี่ของสถานีวิทยุ 126 สถานีทั่วประเทศ [10] อาทิ สถานีวิทยุจส. 100 (ให้สัมปทานแก่บริษัทแปซิฟิกคอร์ปอเรชันจำกัดซึ่งมีนายปีย์ มาลากุล ณ อยุธยาเป็นประธานกรรมการ นายปีย์ มาลากุล ณ อยุธยาคือพี่ชายของพลเอกแป้ง มาลากุล ณ อยุธยา อดีตผอ.ททบ.5 ผู้ริเริ่มการจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้งคอมปะนีททบ.5จำกัด) สถานีวิทยุยานเกราะ (ให้สัมปทานคลื่นความถี่บางส่วนแก่บริษัทจีเอ็มเอ็มมีเดียจำกัด(มหาชน)ซึ่งเป็นบริษัทในเครือแกรมมี่) ฯลฯ


ในตอนต่อไปดิฉันจะเขียนถึงกรรมสิทธิ์ที่ดินของกองทัพและการหากำไรจากกรรมสิทธิ์ที่ดินของกองทัพในรูปแบบต่างๆ


หมายเหตุ

[1]สถิติรายได้ของช่อง 3 และช่อง 9 มาจากงบการเงินของบริษัทบีซีอีเวิร์ลด์ จำกัด (มหาชน)และบริษัทอสมท.จำกัด(มหาชน)จากตลาดหลักทรัพย์:    
    http://www.set.or.th/set/companyhighlight.do?symbol=BEC&language=th&country=TH
    http://www.set.or.th/set/companyhighlight.do?symbol=MCOT&language=th&country=TH
    ส่วนสถิติรายได้ของช่อง 5 และช่อง 7 มาจากการรายงานโดยททบ.5และสื่อมวลชน: http://www.tv5.co.th/news/show2.php?id=2680
    http://www.suthichaiyoon.com/detail/19403
[2]ประวัติของทบบ.5: http://www.tv5.co.th/abhis.html
[3]อนุสรณ์ พ.อ. การุณ เก่งระดมยิ่ง (โฆษกเสียงเสน่ห์และผู้ร่วมขบวนการเสรีไทย):          http://www.lovesiamoldbook.com/product.detail_489893_th_3967526
[4]อสมท.ขึ้นค่าโฆษณา7% มีค.นี้หวังแชร์ตลาดแซงช่อง 5 ปรับผังใหม่ เรตติ้งตกยกออก:  http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1330658046&grpid=&catid=05&subcatid=0503
[5]รายงานผลการสอบข้อเท็จจริงกรณีสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (ททบ.): http://www.ryt9.com/s/cabt/153128
[6]ข้อมูลผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของธนาคารทหารไทยจากธนาคารทหารไทย บริษัทอาร์ทีเอ เอ็นเตอณ์เทนเมนท์ จำกัดในอดีตคือบริษัทททบ.5 จำกัด: http://www.tmbbank.com/ir/share-info/major-shareholders.php
[7]ข้อมูลผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของธนาคารทหารไทยจากตลาดหลักทรัพย์: http://www.set.or.th/set/companyholder.do?symbol=TMB&language=th&country=TH
[8]แป้งปฎิวัติ เงื่อนปมที่รัดแน่น: http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=1489
[9]คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.): http://nbtc.nbtc.go.th/
[10]รายชื่อสถานีวิทยุในเครือกองทัพบก 126 สถานีทั่วประเทศจากศูนย์ข่าววิทยุกองทัพบก: http://radio.tv5.co.th/radionews/index.php?option=com_content&view=article&id=2&Itemid=4


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

มีความคิดเห็นท้ายบท อ่านที่ http://prachatai.com/journal/2012/04/40226



.

ฤๅ “เสียมกุก” ที่เสียมเรียบ คือ “กุกกุฏนคร” เมืองที่สาบสูญไปจากลำปาง? โดย เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์

.

ฤๅ “เสียมกุก” ที่เสียมเรียบ คือ “กุกกุฏนคร” เมืองที่สาบสูญไปจากลำปาง?
โดย ดร.เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์ www.facebook.com/pensupa.sukkatajaiinn คอลัมน์ ปริศนาโบราณคดี
ในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2555 ปีที่ 32 ฉบับที่ 1654 หน้า 76


คาใจมานานหลายปีแล้วกับปรัศนีที่ อาจารย์ศักดิ์ (สักเสริญ) รัตนชัย ปราชญ์นครลำปางเคยถามว่า 
"ใคร่ทราบว่า "กุกกุฏนคร" หรือเมืองไก่ขาว ที่สร้างสมัยหริภุญไชยของลำปางนั้นอยู่ที่ไหน?"

ตามด้วยระเบิดตูมใหญ่ซึ่งฟังดูคล้ายกับเป็นกุญแจไขปริศนาข้อนั้นพอดิบพอดี อ.วิธูร บัวแดง นักวิชาการอิสระด้านมานุษยวิทยา ตั้งข้อสงสัยถามดิฉันว่า
"เป็นไปได้ไหมที่เจดีย์ "กู่กุฏิ" (ปัจจุบันเรียกวัดจามเทวี ลำพูน) คือคำเรียกที่เพี้ยนแผลงมาจาก "กุกกุฏนคร" เพราะวัดนี้ตกแต่งปูนปั้นรูปกินรีรำฟ้อน อันน่าจะเป็นสัญลักษณ์ของไก่ขาว?"

คนหนึ่งถามหาเมืองไก่ขาวซึ่งไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหนในลำปาง อีกคนหนึ่งกลับมาช่วยเฉลยว่าเมืองไก่ขาวนั้นแท้จริงอยู่ที่ลำพูน!
เป็นคำถามและคำตอบที่ต่างกาล ต่างวาระ ต่างบุคคล ต่างสถานที่ แต่โชคดีเหลือเกินที่ดิฉันมีโอกาสได้สดับรับรู้ความแหลมคมจากทั้งสองท่าน

เพราะอะไรหรือ ก็เพื่อที่จะนำปริศนานี้ไปโยนเผือกร้อนใส่ปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญด้านขแมร์ศึกษา ที่ถกเถียงกันเรื่อง "เสียมกุก" คำจารึกบนภาพสลักปราสาทหินนครวัด ที่เสียมเรียบ กัมพูชา กันมานานกว่าห้าทศวรรษ ต่ออีกทอดน่ะซี 
ว่าแท้จริงแล้ว ชาวสยามกุกหรือเสียมกุกที่ จิตร ภูมิศักดิ์ เคยเสนอว่า น่าจะหมายถึง คนไทแห่งลุ่มน้ำกุกนทีแถบเชียงราย-เชียงแสนนั้น
บางที อาจเป็นชาวหริภุญไชย-เขลางค์ แห่ง "กุกกุฏนคร" ก็ได้ใครจะรู้?



เนะ สยำกุก ควรเป็นคนในศตวรรษไหน
ก่อนไทย หรือ ยุครัฐไทยแล้ว?

"เนะ สยำกุก" เป็นภาษาขอมโบราณ แปลเป็นไทยว่า "นี่ เสียมกุก" ไม่ใช่ "สยามก๊ก" (แคว้นไทย) หรือ "สยามกุฏิ" (ห้องชาวสยาม) ตามความเข้าใจเดิมๆ ของคนรุ่นยอร์จ เซเดส์ กับคุณชายคึกฤทธิ์
"กุก" ตัวนี้ลึกซึ้งยิ่งกว่า "ก๊ก" หรือ "กุฏิ" เพราะมันเน้นย้ำระบุชัดยิ่งขึ้นว่า ชาวสยามในภาพสลักนูนต่ำด้านทิศใต้ที่ระเบียงปราสาทนครวัดนั้น มีแหล่งกำเนิดมาจากถิ่นบ้านย่านไหน แค่ "สยาม" ยังไม่พออีกหรือ ไยต้องมี "กุก" ต่อท้าย

จิตร ภูมิศักดิ์ จึงสันนิษฐานว่า อาจหมายถึง ชาวเสียมหรือสยามจากลุ่มแม่น้ำกก ซึ่งมีชื่อเป็นภาษาบาลีว่า "กุกนที"
ปัญหาที่ขบไม่แตกตามมามีอยู่ว่า ชาวไทลาวลุ่มน้ำแม่กกเรียกขานตัวเองหรือถูกคนอื่นเรียกว่า "สยาม" ด้วยล่ะหรือ ประเด็นถัดมาคือชาวไทลาวเหล่านั้นเข้าไปมีบทบาทช่วยกองทัพขอมของพระเจ้าสูริยวรมันที่ 2 แห่งเมืองพระนคร สู้รบกับพระเจ้าชัยอินทรวรมันกษัตริย์แห่งจามปา เมื่อปี พ.ศ.1688 ได้อย่างไรกัน ประวัติศาสตร์หน้านี้มีความสมเหตุสมผลมากน้อยเพียงได ไยจึงยอมจำนนกับเหตุผลด้านนิรุกติศาสตร์แค่คำว่า "กุก" เพียงคำเดียว

ในเมื่อช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 นั้น แผ่นดินด้ามขวานของสยามทั้งหมดจัดเป็นยุคที่เรามักเรียกว่าเป็นรัฐ Pre-Thai หรือเป็นยุคทองของกลุ่มมอญ-ขอม-ละว้า มีรัฐเด่นๆ สองรัฐที่อยู่เหนือลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่มีความสัมพันธ์กับขอมอย่างแนบแน่นคือ รัฐละโว้ และรัฐหริภุญไชย ส่วนรัฐหิรัญนครเงินยาง (เชียงราย) ณ ลุ่มน้ำแม่กกนั้นแทบไม่เคยได้รับการกล่าวขานถึงเลยในจารึกขอมโบราณ

สมมติว่าชาวกุกนทีอาสาหรือถูกชาวขอมเกณฑ์ไปรบจริง พวกเขาก็ต้องเป็นบรรพบุรุษของพระญามังราย ยังไม่ใช่ยุคสมัยที่เราเรียกกันว่า "ล้านนา" และเมื่อคำนวณดู พ.ศ.1688 แล้ว ย่อมตรงกับรัชกาลของ "ลาวเงินเรือง" แห่งเชียงราย ซึ่งร่วมสมัยกับ "ขุนแพง" แห่งพะเยา เป็นยุคที่ต่อเนื่องจากการที่ "ลาวเจิง" (เชียงราย) และ "ขุนเจื๋อง" (พะเยา) เพิ่งชนะศึกล้านช้างและเมืองแกวกลับมาได้ไม่นาน
นักประวัติศาสตร์หลายคนอาจมองว่านี่คือความยิ่งใหญ่หลังจากที่ "ขุนเจื๋อง" ปราบลาวปราบแกวได้แล้ว ก็เท่ากับช่วยสร้างใบเบิกทางเอาไว้ให้ลูกหลานกล้าโกอินเตอร์มากขึ้น บางทีอาจฮึกเหิมตีสนิทอาสาขอมเพื่อร่วมปราบจามปา
นี่! เสียมกุก จึงจบลงด้วยบทสรุปแทบจะเป็นเอกฉันท์ตามที่ จิตร ภูมิศักดิ์ เสนอไว้ตั้งแต่ปี 2508 ว่าหมายถึงชาวเสียมจากกุกนที

โดยที่ไม่ได้มองความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างขอมกับชาวลุ่มน้ำกก ว่ามีความลึกซึ้ง แนบแน่นมากน้อยเพียงไร ถึงขนาดว่าจะสามารถกะเกณฑ์กันมาได้
โดยที่มองข้ามรัฐโบราณไปรัฐหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างละโว้และลุ่มน้ำกก นั่นคือหริภุญไชยนคร ผู้เพรียกขานตัวเองว่า "สามเทศะ" หรือสยามประเทศ มานานนมตั้งแต่ยุคพระนางจามเทวี เป็นชาวสยามที่ใช้อักขระมอญ 
เหตุเพราะปราชญ์ยุคก่อนยังไม่พบเงื่อนงำของคำว่า "กุก" ในที่อื่นใด นอกจาก "กุกนที"



กุกกุฏนคร นครไก่ขัน
เมืองแห่งเทพอารักษ์ลำพูน-ลำปาง 

กุก ก็คือกุ๊กไก่ เป็นคำเดียวกับ "กุฏ" แปลว่าไก่อีกเช่นกัน ตำนานมูลศาสนาและตำนานไฟม้างกัปแห่งเมืองลำปาง เอาคำทั้งสองนี้มาวางเรียงกันเป็น "กุกกุฏ" ยิ่งทำให้เห็น "ก.ไก่" ยั้วเยี้ยเต็มไปหมด แถมออกเสียงยากเย็นเข็ญใจหนักขึ้นไปอีก

ทำไมเมืองนี้ต้องชื่อไก่ เกี่ยวข้องอะไรกับสัญลักษณ์ของ "ไก่ขาว-ลำปาง" หรือ "ไก่แก้ว-ลำพูน" ไหม?
เกี่ยวแน่นอน ขอเริ่มที่เมืองไก่แก้วลำพูนก่อน อาณาจักรหริภุญไชยในยุคของพญาอาทิตยราชนั้น (ราวพุทธศตวรรษที่ 16-17) ตำนานกล่าวว่า เคยมีเทพยดารักษาเมืองเป็น "ไก่แก้ว" ชื่อ "เปตตกุกกุฏ" ไก่ตัวนี้จับอยู่บนยอดไม้ย่างทรายในทุกค่ำคืน และจักขันเสียงใสกังวานปลุกชาวเมืองยามอรุณรุ่งเป็นศรีสวัสดิ์แก่พระนคร ซ้ำยังขับขานเสียงหวานกล่อมชาวเมืองวันละ 6 รอบอีกด้วย ทำให้พระเจ้ากรุงละโว้ซึ่งเป็นศัตรูคู่แค้นกับหริภุญไชยรู้สึกหมั่นไส้ จึงจัดการวางแผนทำลายเสื้อเมืองตนนี้เสียด้วยการลวงไปให้จระเข้กัดตายในแม่น้ำ

หลังจากนั้น ชาวละโว้รบกับหริภุญไชยทีไรก็ชนะทุกครั้ง ผิดกับเมื่อก่อนที่ละโว้มักเป็นฝ่ายแพ้ทุกที เหตุเพราะลำพูนมีไก่แก้วเป็นอารักษ์
จวบจนทุกวันนี้ ยังมีหลักฐานของ "กู่ไก่แก้ว" ซึ่งเชื่อกันว่าชาวหริภุญไชยได้กระทำสรีรกิจสร้างกู่เพื่อบรรจุอัฐิธาตุของอารักษ์เมืองไว้ใกล้กับไม้ย่างทราย (ใกล้วัดสันป่ายางหลวง)

ส่วนไก่ขาวเมืองลำปางนั้นเล่าเป็นมาอย่างไร?
กุกกุฏนคร บ้างก็เขียนว่า กุกุตตนคร หรือนครไก่ขันของชาวลำปางนั้น ปรากฏอยู่ในตำนานวัดศรีล้อม มีลักษณะเป็นตำนานพระเจ้าเลียบโลก ระบุว่าเมื่อพระตถาคตมีพระชันษาได้ 56 ปี ทรงเหาะมายังดอยสละกิตติ หรือม่อนพญาแจ้ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองนครไก่ขัน

ขณะนั้นมีฤๅษีอยู่ 5 ตน ตั้งความปรารถนาจะถวายข้าวบิณฑบาต แต่ให้เผอิญว่าวันนั้นอากาศมืดมัวไร้แสงอาทิตย์ เหล่าฤๅษีจึงเกรงว่าจะล่วงเลยเวลาฉันภัตตาหารเช้า ร้อนถึงพระอินทร์จำต้องเนรมิตกายเป็นไก่ขาวสูงสี่ศอกยาวสองวา มาโก่งคอร้องขันเป็นสัญญาณว่ายังเช้าอยู่
พวกฤๅษีดีใจจึงได้ถวายทานแด่พระพุทธองค์บริเวณใต้ต้นไม้ใหญ่ที่มียักษ์อาศัยอยู่ พระพุทธเจ้าทรงตรัสพยากรณ์ว่า ณ ที่แห่งนี้จักกลายเป็น กุกกุฏนคร ต้นไม้นี้จักกลายเป็นที่สิงสถิตของอารักษ์ไก่ขาวต่อไป

น่าสนใจที่ตำนานไก่แก้ว-ลำพูน กับไก่ขาว-ลำปาง แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง จะเหมือนกันอยู่อย่างเดียวตรงที่ต่างก็เป็นอารักษ์ของเมือง
ชาวลำพูน-ลำปางจึงเกิดความสับสนว่านครไก่ขันนี้ควรตั้งอยู่ที่ไหนกันแน่ อยู่บริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือของลำพูนแถววัดสันป่ายางหลวง หรือเป็นส่วนหนึ่งของเวียงดินที่ซ้อนอยู่ในเมืองเก่านครเขลางค์ หรือว่าจะอยู่ที่อำเภอเมืองยาว แถววัดม่อนไก่แจ้ ซึ่งเป็นเขตรอยต่อกับอำเภอแม่ทาของลำพูน แต่ในอดีตถือว่าเป็นปราการทิศตะวันออกของหริภุญไชยก่อนจะข้ามดอยขุนตานมาแม่น้ำวัง

ข้อสำคัญฤๅษีทั้งห้าตนที่กล่าวถึงนั้น ย่อมหมายถึงฤๅษีชุดเดียวกันกับที่ช่วยสร้างเมืองลำพูน-ลำปาง และมีอยู่ตนหนึ่งชื่อ "ฤๅษีสุพรหมญาณ" ผู้เป็นอวตารของขันทกุมาร (ขัตตคาม-จตุคาม) ฤๅษีตนนี้เองที่มีไก่ขาว (หรือนกยูง) เป็นพาหนะ บำเพ็ญพรตประจำอยู่ทางทิศตะวันออก

การนับถือไก่ของชาวลำพูน-ลำปางในอดีตนี้ นอกเหนือจากการสะท้อนความเชื่ออันตกค้างว่าเคยนับถือเทพฮินดูที่ฝังรากลึกตั้งแต่ยุคสุวรรณภูมิมาก่อนที่รัฐหริภุญไชยจะสมาทานพระพุทธศาสนาแล้ว อีกโสดหนึ่ง ไก่ขาวในมิติทางพุทธศาสนา ยังเป็นสัญลักษณ์ของการกำเนิดพระพุทธเจ้าพระองค์แรกในภัทรกัปอีกด้วย นั่นคือ พระกกุสันโธ

ประเด็นที่ว่า ทำไมแถวเชียงรายจึงมีแม่น้ำชื่อ กุกนที เกี่ยวข้องอะไรหรือไม่กับ กุกกุฏนครของลำพูน-ลำปาง ยังต้องศึกษากันอย่างละเอียดต่อไป  เช่นเดียวกับความเป็นมาของเมืองลอง จังหวัดแพร่ ในอดีตนั้นเป็นแขวงหนึ่งของนครลำปาง และถือเป็นทิศตะวันออกสุดของเขลางค์นคร แถมเมืองลองเดิมยังมีชื่อว่า กุกุฏไก่เอิ๊ก อันเป็นเมืองแห่งพระลอตามไก่อีกด้วย



ไม่ว่า "กุกกุฏนคร" จะอยู่ในลำพูนหรือลำปาง หรือกินพื้นที่ขยายวงกว้างไปถึงเมืองแพร่ก็ตามที แต่เราได้ประจักษ์แล้วว่าเมืองนี้มีอยู่จริงในยุคหริภุญไชย เป็นเมืองที่สร้างอุทิศให้เทพยดาอารักษ์สิงสถิต และเป็นส่วนหนึ่งของหริภุญไชยหรือสามเทศ (สยามประเทศ) เมืองที่มีความชอบธรรมมากพอที่จะเพรียกขานตัวเองว่า "สยามกุก"

ดิฉันลองโยนก้อนหินถามทางเล่นๆ ว่าหากเบนข้อสมมติฐานใหม่มายังกุกกุฏนคร คำอธิบายเรื่อง "เนะ สยำกุก" ก็อาจฟังดูสมเหตุสมผล เป็นประวัติศาสตร์ที่ร่วมสมัยกับขอมแห่งเมืองพระนครมากขึ้น ไม่เหมือนการยกเอา "สยามกุก" ให้เป็นชาวโยนกเชียงแสน ผู้เรียกตัวเองว่า "ลาว" ไม่มีสายสัมพันธ์กับขอม และเพิ่งจะมีบทบาทเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในยุคล้านนาซึ่งกาลเวลาห่างไกลจากสูริยวรมันที่ 2 เกือบสองศตวรรษ 

ส่วนการตั้งข้อสังเกตของ อ.วิธูร บัวแดง เรื่อง "กุกกุฏนคร" ว่าจะมีความเกี่ยวข้องอะไรไหมกับเจดีย์กู่กุฏิ วัดจามเทวี คงต้องยกยอดไปคราวหน้า



.