.
Admin'บทความดี' ขอแสดงเพจสุดท้ายในชีวิตแล้ว
Admin'บทความดี' ขอแสดงเพจสุดท้้ายในชีวิตแล้วครับ บัดนี้ร่างกายของผมกำลังเจ็บป่วยและชราร่วงโรยมาก ทำอะไรได้ด้วยตนเองยากมาก จึงขอทิ้งเพจเหล่านี้ให้เป็นแหล่งค้นคว้าในโลกออนไลน์ต่อไป (เหมือนที่มันเคยเป็นมาทุกวัน คือเพจเก่าประมาณ220-700 เพจ ) สมาชิกบางท่านสื่อสารมาว่า ทำไมไม่มอบให้คนอื่นทำต่อ ....ต้องบอกว่า เป็นงานส่วนตัวโดยแท้ คนในครอบครัวยังไม่มีใครรู้ ดังนั้นพวกเขาจึงไม่ควรถูกกลั่นแกล้งจากการเมืองใดๆ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
มันน่าเสียใจที่ผมต้องจากไปในขณะบ้านเมืองย้อนกลับเผด็จการล้าหลัง ฝืนความก้าวหน้าของโลก ...อย่างไรก็ตามตาที่สว่างได้จุดขยายไปทั่วประเทศและทั่วโลก อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน (มีแต่คนตัดสินใจแทะเศษเนื้อค้างกระดูกจึงจะทำเป็นลืมความสว่างนี้) แต่จากกรณีพี่สรรเสริญ นี่แค่ๆคนๆเดียว การต่อสู้ของพี่จะเป็นกำลังใจให้นักประชาธิปไตยที่เลือกการต่อสู้และกดดันหลายรูปแบบ ผม(แน่ๆ)แค้นใจมาก ก็ขอส่งความคิดถึงพี่และนักประชาธิปไตยในวาระท้ายนี้
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
เบื้องหลัง ‘สรรเสริญ ศรีอุ่นเรือน’ ไม่รับสารภาพ คดีระเบิดหน้าศาล
ใน http://prachatai.org/journal/2015/03/58442
. . Wed, 2015-03-18 17:16
สรรเสริญ ศรีอุ่นเรือน มีอาชีพขับแท็กซี่และเคยเป็นแกนนำ นปก.รุ่น 2 ถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจระหว่างเดินทางกลับบ้านย่านพุทธมณฑล ในช่วงกลางคืนวันที่ 9 มี.ค.58 เวลาประมาณ 22.00 น. เขาถูกนำตัวไปกองบัญชาการตำรวจนครบาล
สรรเสริญเข้าใจเอาเองว่าถูกจับจากกฎอัยการศึกเนื่องจากบทบาททางการเมืองที่ผ่านมา เพราะเขาแสดงท่าทีทางการเมืองที่ชัดเจนว่าคัดค้านการรัฐประหารตลอดมาตั้งแต่ปี 2549
เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ส่งมอบตัวเขาให้เจ้าหน้าที่ทหารซึ่งมารับตัวต่อไปยังกรมสารวัตรทหารเวลาประมาณ 23.00 น.ของวันที่ 9 มี.ค.นั้นเอง เมื่อไปถึงกรมสารวัตรทหาร เขาจึงทราบข้อกล่าวหาว่ามีส่วนพัวพันกับคดีขว้างระเบิดที่ศาลอาญา เขาโดนใส่กุญแจมือไพล่หลัง ใช้ผ้าดำปิดตาพร้อมกับเอาถุงดำคลุมหัว และถูกบังคับให้สารภาพว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว
เขาอยู่ในความควบคุมของทหาร 7 วัน ก่อนเจ้าหน้าที่นำตัวไปฝากขังที่ศาลทหารและนำตัวเข้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ในวันที่ 16 มี.ค.58
ในเรื่องการซ้อมทรมานนี้ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 17 มี.ค.ที่ผ่านมา ระบุว่าได้รับการร้องเรียนจากผู้ต้องหาคดีระเบิดหน้าศาลอาญา 4 รายในจำนวน 9 รายว่ามีการซ้อมผู้ต้องหาระหว่างการควบคุมตัวตามกฎอัยการศึก (อ่านรายละเอียดที่นี่)
ย้อนกลับไปในขณะถูกเจ้าหน้าที่จับกุม สรรเสริญได้ยุติการดื่มน้ำและรับประทานอาหาร ซึ่งเป็นมาตรการที่เขาได้เตรียมการไว้ล่วงหน้าหากมีการจับกุมเกิดขึ้น ทั้งยังได้ทำหนังสือไว้กับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าเขาขอมอบร่างกายให้กับคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระบุว่าโครงกระดูกก็มอบให้คณะแพทย์ไว้ใช้สำหรับการศึกษา
และหากมีเศษของร่างกายหลงเหลือจากการใช้เพื่อการศึกษา ให้นำไปฝังไว้ที่ดอยม่อนยะ อ.แม่วาง เชียงใหม่ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการเก็บสำเนาหนังสือมอบอำนาจของเขาไว้
เขาว่าเหตุที่ไปพัวพันกับเหตุการณ์ปาระเบิดศาลอาจเนื่องมาจากเขาได้รับการชวนจากชาญวิทย์ (ถูกจับกุมเช่นกัน) ให้ไปเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องอุดมการณ์ทางการเมืองให้กับกลุ่มผู้สนใจทางการเมืองกลุ่มหนึ่งที่ จ.ขอนแก่น ประมาณสิบกว่าคน โดยที่เขาไม่ได้เคยรู้จักกับกลุ่มดังกล่าวมาก่อนแต่อย่างใด งานดังกล่าวจัดขึ้นในวันที่14-15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ในเขตอำเภอเมือง ชาญวิทย์เขาบอกว่าชาญวิทย์พูดคนเดียวไม่ไหวจึงต้องการให้เขาไปช่วยพูด ขณะที่ทหารรวมถึงตำรวจซึ่งมีการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนได้สรุปรวมว่ากิจกรรมดังกล่าวเป็นการพบปะเพื่อวางแผนก่อเหตุ โดยมีสรรเสริญและชาญวิทย์เป็นคนบรรยายแนวคิด
กระบวนการที่เจ้าหน้าที่พยายามทำให้สารภาพคือ การขู่ตะคอก ตบหน้า ชกเขาที่บริเวณลิ้นปี่และชายโครง รวมถึงเหยียบบริเวณลำตัว รอยช้ำส่วนใหญ่เริ่มจางลงไปไปหมดแล้ว เหลืออยู่เพียงบางส่วน อย่างไรก็ตาม เขายังรู้สึกเจ็บชายโครงที่ถูกชก
สรรเสริญไม่ยอมรับสารภาพว่าเกี่ยวข้องกับเหตุดังกล่าว เจ้าหน้าที่จึงได้ใช้ไฟฟ้าช็อตที่บริเวณต้นขา เขาประมาณว่าถูกช็อตราว 30-40 ครั้ง
สรรเสริญนิยามตัวเองว่าเป็นโซเชียลลิสต์(นักสังคมนิยม) เป็นผู้นิยมในแนวทางของพรรคซินเฟน (Sinn Fein) ชมชอบมาร์ติน ลูเธอร์ คิงส์ ชื่นชมในความเด็ดเดี่ยวของโฮจิมินห์ และเช เกวารา โดยเฉพาะเช เขาว่าหากเชอยู่คิวบาอย่างน้อยก็ต้องได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขแต่เชกลับเลือกที่จะทำการปฏิวัติต่อจนตัวตาย
แนวทางสันติของเขาชัดเจนมาตั้งแต่อดีต ต้นปี 2553 เขาคือหนึ่งในผู้ก่อตั้งพรรค ‘แนวร่วมสังคมประชาธิปไตย’ ซึ่งเน้นเรื่องความเท่าเทียมของโอกาสของผู้คนในสังคม
แต่พรรคที่เขานิยามว่าเป็น ‘พรรคกระยาจก’ นี้ก็ถูกยุบไปหลังจากนั้นเพราะหาสมาชิกไม่ทันตามกำหนด อย่างไรก็ตาม ในห้วงการก่อตั้งพรรคเขาเคยให้สัมภาษณ์ถึงแนวคิดและแนวทางของเขาว่า
“เราพยายามรื้อฟื้นจิตวิญญาณที่ทำเพื่อคนอื่นขึ้นมา คนที่อยากจะทำอะไรเพื่อสังคมยังคงมีอยู่เยอะในสถานการณ์ที่ทางโน้นคนก็ไม่ชอบ ทางนี้คนก็ไม่ชอบ”
“การผลิตที่ทันสมัยเป็นของมนุษยชาติ มีแต่คนไร้เดียงสาเท่านั้นที่จะบอกว่านั่นเป็นของทุน คอนเซ็ปต์เดิมของสังคมนิยมไม่ได้อธิบายเรื่องการผลิต พูดแต่เรื่องการแบ่งปัน
อุดมการณ์เดิมนั้นดูกันที่การแบ่งปัน แต่สำคัญเราต้องทำการผลิตที่ก้าวหน้า แล้วกำหนดกติกาการแบ่งปัน การบริหารจัดการที่ไม่ให้กลุ่มคนต่างๆ เอาเปรียบกัน ที่สำคัญ
ต้องมีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ให้ท้องถิ่นมีทั้งอำนาจ มีเงิน และรับผิดชอบต่อประชาชนโดยตรง”
“พรรคเพื่อไทยรับภารกิจได้ระดับหนึ่ง เขาไม่สะดวกจะทำบางอย่าง เช่น ภาษีก้าวหน้า คนที่จะทำเรื่องพวกนี้ คือพวกที่ไม่มีเนื้อจะเฉือน”
สำหรับการควบคุมตัวในคดีปาระเบิดศาลอาญานี้เจ้าหน้าที่ควบคุมตัวคนอีกหลายคน และปัจจุบันถูกนำเข้าเรือนจำทั้งหญิงและชาย ตำรวจแจ้งข้อกล่าวหาเขาว่า “ร่วมกันพยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน, กระทำให้เกิดระเบิดจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์ของผู้อื่น, มีและใช้เครื่องกระสุนปืนที่ใช้เฉพาะแต่การสงครามซึ่งนายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้มีและใช้ไว้ในความครอบครองโดยผิดกฎหมาย, มีและใช้อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต, พาอาวุธติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุจำเป็นเร่งเด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์, ยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชนและมียุทธภัณฑ์ทางทหารไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
สรรเสริญยืนยันว่าเขาไม่ใช่พวกก่อวินาศกรรม ไม่ใช่พวกวางระเบิด
“ผมไม่ใช่คนแบบนั้น จะให้ผมยอมรับได้อย่างไร " เขากล่าวพร้อมน้ำตา
“ผมพูดได้เท่าที่ผมคิดและผมกระทำ(ต่อต้านการรัฐประหาร) ผมไม่สามารถยอมรับสิ่งที่ผมไม่ได้ทำได้ เขาซ้อมจนผมชนะเขา”
สุดท้ายเจ้าหน้าที่ได้ยุติมาตรการดังกล่าว กักตัวเขาไว้จนครบ 7 วันก่อนนำตัวเขามาแถลงข่าวในเวลาต่อมา ระหว่างนั้นเจ้าหน้าที่พยายามเกลี้ยกล่อมให้เขาดื่มน้ำ รับประทานอาหาร ด้วยคำขอว่า ขอให้เห็นแก่มิตรภาพของเรา
.......................................................................................................................................
ขอจบและลาด้้วยลิสต์ ที่อาจช่วยให้ให้การค้นหัวเรื่องของปีก่อนๆที่เหลื่อมซ้อนกันอยู่ง่ายขึ้น
[2011]2554 www.botkwamdee.blogspot.com/2011/01/1-2.html ทางตันและทางออกของชนชั้นนำไทย (1)(2) โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
2554 www.botkwamdee.blogspot.com/2011/02/blog-post_20.html มรดกโลก มรดกเลือด มรดกเรา มรดกลวง โดย เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์
2554 www.botkwamdee.blogspot.com/2011/03/blog-post_22.html ผีเสื้อกระพือปีก โดยวิษณุ โชลิตกุล
2554 www.botkwamdee.blogspot.com/2011/04/blog-post_07.html นับถอยหลัง...ประชาคมอาเซียน โดย บัณฑิต หลิมสกุล
2554 www.botkwamdee.blogspot.com/2011/05/blog-post.html ประเทศเสรี, สาวสีลม, "ส" ส่งเสริม และ บาปบุญตรงไหน โดย ทราย เจริญปุระ
2554 www.botkwamdee.blogspot.com/2011/06/2011.html การเมืองเรื่องเลือกตั้งฯ และ "เลือกตั้ง 2011" เลือกไปเพื่ออะไร? โดย เทศมองไทย
2554 www.botkwamdee.blogspot.com/2011/07/siu.html จดหมายถึงคุณยิ่งลักษณ์ฯ และ จดหมายถึงพรรคประชาธิปัตย์ฯ โดย SIU
2554 www.botkwamdee.blogspot.com/2011/08/3-unsuspecting-heart.html พิโรธวาทัง,.. UNSUSPECTING HEARTฯ
2554 www.botkwamdee.blogspot.com/2011/09/matichon.html จะเอนเอียงต่อไป, 'ความเป็นกลาง' โดยคอลัมนิสต์ข่าวสด-มติชน
2554 www.botkwamdee.blogspot.com/2011/10/35-sch232.html บทเรียนจากกรณี 6 ตุลาคม โดย สุชีลา
.
บทความดีๆ เพื่อชีวิตเสรี&เวทียุติธรรม
Selected Messages & Good Article for People Ideas and Social Justice .. หวังความต่อเนื่องของพลังประชาธิปไตยและการเลือกตั้งของปวงชนอันเป็นรากฐานอำนาจอธิปไตย เพื่อกำกับกติกาและอำนาจการเมือง-อำนาจตุลาการ ไม่ว่าต่อคนชั่ว(เพราะใคร?) และคนดี(ของใคร?) ไม่ให้อยู่เหนือนิติรัฐของประชาชน
http://BotKwamDee.blogspot.com...webblog เปิดเผยความจริงและกระแสสำนึกหลากหลาย เพื่อเป็นอาหารสมอง, แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมการวิเคราะห์ความจริง, สะท้อนการเรียกร้องความยุติธรรมที่เปิดเผยแบบนิติธรรม, สื่อปฏิบัติการเสริมพลังเศรษฐกิจที่กระจายความเติบโตก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศสู่ประชาชนพื้นฐาน, ส่งเสริมการตรวจสอบและผลักดันนโยบายสาธารณะของประชาชน-เยาวชนในทุกระดับของกลไกพรรคการเมือง, พัฒนาอำนาจต่อรองทางประชาธิปไตย โดยเฉพาะการปกครองท้องถิ่นและยกระดับองค์กรตรวจสอบกลไกรัฐของภาคสาธารณะที่ต่อเนื่องของประชาชาติไทย
2558-05-18
2558-04-28
วิกฤตร่างรัฐธรรมนูญ 2558 โดย รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
.
วิกฤตร่างรัฐธรรมนูญ 2558
โดย รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
ใน http://www.lokwannee.com/web2013/?p=141852
. . On April 28, 2015
ในที่สุดคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญก็ได้เสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ปี 2558 เข้าสู่การพิจารณาของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ระหว่างวันที่ 20-26 เมษายน ซึ่งก็มีเนื้อหาที่ไม่ได้ผิดไปจากความคาดหมาย
เนื้อหาสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญนี้คือ มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 450 คน เป็น ส.ส.แบบแบ่งเขต 250 คน และส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 200 คน โดยระบบบัญชีรายชื่อแบ่งประเทศไทยเป็น 6 ภาค ส.ส. มีอำนาจนิติบัญญัติน้อยลง
ส่วนสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) มีจำนวน 200 คน ประกอบด้วย อดีตปลัดกระทรวง อดีตผู้บัญชาการเหล่าทัพ ตัวแทนวิชาชีพ ท้องถิ่น ชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ 123 คน ส่วนสมาชิกวุฒิสภาจากแต่ละจังหวัดจะมีคณะกรรมการกลั่นกรองทำการคัดเลือกรายชื่อ “ผู้ทรงคุณวุฒิและคุณธรรม” จังหวัดละ 10 รายชื่อ แล้วให้ประชาชนลงคะแนนเลือกมา 1 คน ฉะนั้นสมาชิกวุฒิสภาทั้ง 200 คนก็มาจากการแต่งตั้งนั่นเอง โดยเคลือบคลุมไม่ให้โจ่งแจ้งเกินไปด้วยวิธีการสรรหาและกลั่นกรอง
วุฒิสภามีอำนาจหน้าที่ล้นเหลือ ทั้งตั้งองค์กรอิสระต่างๆ และถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ทุกตำแหน่ง ที่สำคัญคือสามารถเสนอร่างกฎหมายได้เองโดยไม่ต้องรอสภาผู้แทนราษฎร
นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากสภาผู้แทนราษฎร ถ้า “คนนอก” ถูกเสนอชื่อก็จะต้องได้รับคะแนนเสียงในสภาไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ส่วนการตั้งรัฐมนตรี นายกฯต้องส่งรายชื่อรัฐมนตรีให้วุฒิสภาตรวจสอบประวัติคุณธรรมจริยธรรมก่อน
นอกจากบรรดาองค์กรอิสระที่มีอำนาจเหนือสภาที่มาจากการเลือกตั้งเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญ 2550 แล้ว ร่างรัฐธรรมนูญยังกำหนดให้มี “สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศและคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาติ” ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากสภาปฏิรูปแห่งชาติชุดรัฐประหารจำนวน 60 คน จากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ชุดรัฐประหารจำนวน 30 คน และ “ผู้ทรงคุณวุฒิ” อีก 30 คน มีอำนาจจัดทำนโยบายปฏิรูปเสนอให้คณะรัฐมนตรีทำตาม ถ้าคณะรัฐมนตรีไม่ทำก็สามารถจัดให้มีการออกเสียงประชามติในประเด็นนั้นเพื่อบังคับคณะรัฐมนตรีให้ทำ แล้วยังมีอำนาจเสนอร่างกฎหมายปฏิรูปผ่านทางวุฒิสภาได้อีกด้วย
มีองค์กรที่กำหนดให้มีอำนาจ “ตรวจสอบ” มากมายซ้ำซ้อนค้ำคอองค์กรอื่นๆที่มาจากการเลือกตั้ง เช่น “สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ” มาจัดทำ “ประมวลจริยธรรม” มีอำนาจในการสอบสวนและเสนอให้ถอดถอนนักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐทุกตำแหน่งที่ไม่ทำตามประมวลจริยธรรม โดยองค์กรนั้นๆไม่ต้องสอบสวนเพิ่มอีก มีสภาตรวจสอบภาคพลเมืองจังหวัด สมัชชาพลเมือง ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการปฏิรูปสารพัด กำหนดวาระปฏิรูปด้านต่างๆเสนอต่อรัฐสภาหรือรัฐบาล เช่น คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย คณะกรรมการปฏิรูปด้านการเงิน การคลัง และภาษีอากร คณะกรรมการการกระจายอำนาจแห่งชาติ คณะกรรมการนโยบายการศึกษาและพัฒนามนุษย์แห่งชาติ สมัชชาศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ
ร่างรัฐธรรมนูญ 2558 ได้กำหนดให้สืบทอดระบอบรัฐประหาร 2557 ต่อไปอีกคือ มาตรา 310 ให้บรรดาองค์กรอิสระที่ตั้งโดยคำสั่งคณะรัฐประหารยังคงทำหน้าที่ต่อไปจนครบวาระ และมาตรา 315 กำหนดการกระทำทั้งปวงที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 เป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญใหม่นี้ด้วย
ต้นแบบของร่างรัฐธรรมนูญนี้คือ ระบอบรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ 2521 ซึ่งมีวุฒิสภาแต่งตั้งทั้งชุด มีสภาผู้แทนราษฎรที่ประกอบด้วยพรรคการเมืองขนาดเล็กกระจัดกระจาย เลือกตั้งเข้ามาแล้วก็เสนอชื่อเลือก “คนนอก” ซึ่งก็คือ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ มาเป็นนายกรัฐมนตรีต่อเนื่องยาวนานถึง 8 ปี คณะรัฐมนตรีมาจากทั้ง “คนนอก” และจากโควตาพรรคการเมืองที่ยกมือสนับสนุน พล.อ.เปรมนั่นเอง
นี่ยังเป็นต้นแบบให้กับรัฐประหารปี 2534 เมื่อคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) สืบทอดอำนาจผ่านรัฐธรรมนูญ 2534 จัดตั้งพรรคการเมืองของทหารขึ้นคือ พรรคสามัคคีธรรม รวบรวมเสียง ส.ส. จากพรรคอื่นๆรวมกันแล้วยกมือเลือก พล.อ.สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี จนนำไปสู่เหตุการณ์นองเลือดพฤษภาคม 2535 ผู้คนบาดเจ็บล้มตายสูญหายหลายร้อยคน และการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากสภาผู้แทนราษฎรในที่สุด
เช่นเดียวกันคือ ร่างรัฐธรรมนูญ 2558 ถูกจัดทำขึ้นเพื่อสืบทอดอำนาจรัฐประหาร โดยเฉพาะตามรูปแบบข้างต้นมีการเปิดช่องให้ “คนนอก” ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกฯได้เช่นกัน เป็นการ“ถอยหลัง” ที่เลวร้ายยิ่งกว่ารัฐธรรมนูญ 2550 คือย้อนยุคไปถึงปี 2521 และเป็นการกระทืบซ้ำผู้ที่สูญเสียในเหตุการณ์นองเลือดเดือนพฤษภาคม 2535 อีกด้วย
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แสดงท่าทีชัดเจนว่า จะไม่มีการทำประชาพิจารณ์หรือลงเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญนี้อย่างแน่นอน ถ้าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านความเห็นชอบจาก สปช. และ คสช. จนประกาศใช้แล้ว สิ่งที่เราจะได้เห็นก็คือ การจัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อผ่องถ่ายอำนาจคณะรัฐประหารไปสู่รัฐบาลหลังเลือกตั้งโดยผ่านนายกรัฐมนตรี “คนนอก” ดังที่มี “ข่าวลือ” มาเป็นระยะๆแล้วว่า มีการเคลื่อนไหวของนักการเมืองบางกลุ่มที่จะก่อรูปเป็นพรรคการเมืองเพื่อรองรับนายกรัฐมนตรี “คนนอก” และการจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้งครั้งต่อไป ทั้งหมดนี้ทำให้ความสูญเสียเลือดเนื้อและชีวิตในเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 และเมษายน-พฤษภาคม 2553 เป็นโศกนาฏกรรมที่สูญเปล่า
ยิ่งกว่านั้นคือ รัฐธรรมนูญที่ย้อนยุค ฝืนการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยเช่นนี้ มีแนวโน้มที่จะทำให้ความขัดแย้งและวิกฤตปัจจุบันยืดเยื้อรุนแรงยิ่งขึ้น จนในที่สุดรัฐธรรมนูญนี้ก็จะต้องถูกฉีกทิ้งอีกโดยคณะรัฐประหาร หรือโดยประชาชนที่ไม่อาจทนต่อการครอบงำของพวกเผด็จการได้อีกต่อไป
อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มเช่นกันว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้อาจจะถูกคว่ำกลางคันด้วยสาเหตุสำคัญคือ รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ยังไม่ได้บรรลุภารกิจหลักที่ได้วางไว้แต่ต้น ได้แก่ การจัดการ “การเปลี่ยนผ่าน” ให้เป็นไปโดยสงบเรียบร้อยและมั่นคง การปราบปรามกลุ่มคนที่ฝ่ายทหารเชื่อว่าเป็น “พวกล้มเจ้า” การกำจัดนักการเมืองตระกูลชินวัตรไม่ให้หวนคืนสู่การเมือง การสลายพรรคเพื่อไทยและเครือข่ายคนเสื้อแดง โดยเฉพาะ 3 ประการหลังนี้ยังอยู่ในระหว่างดำเนินการที่จะยังไม่เสร็จสิ้นในเวลาอันใกล้นี้
การเห็นชอบและประกาศใช้ร่างรัฐธรรมนูญ 2558 ยังจะทำให้ คสช. สลายตัวและเริ่มต้นการผ่องถ่ายอำนาจไปสู่นายกรัฐมนตรี “คนนอก” ภายหลังการเลือกตั้ง ซึ่งมีอำนาจและความมั่นคงทางการเมืองน้อยกว่าอย่างมาก อีกทั้งยังต้องอิงนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งที่มีความไม่แน่นอน
ถ้าร่างรัฐธรรมนูญนี้ถูกคว่ำกลางคันก็จะต้องแต่งตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่เพื่อเริ่มกระบวนการร่างใหม่ทั้งหมด เป็นการยืดเวลาให้คณะรัฐประหารปฏิบัติภารกิจ 4 ประการข้างต้นให้เสร็จสิ้น แต่การกระทำเช่นนั้นจะทำให้ระบอบรัฐประหารเข้าสู่ภาวะวิกฤต สูญเสียความเชื่อถือจากผู้ที่สนับสนุนจำนวนมากทั้งในหมู่ประชาชน นักธุรกิจ และนักการเมือง ที่ต้องการรื้อฟื้นการเมืองแบบเลือกตั้งโดยเร็ว ตลอดจนจะถูกกดดันจากประชาคมนานาชาติหนักหน่วงยิ่งขึ้น
ร่างรัฐธรรมนูญ 2558 จึงเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญที่จะชี้ว่าระบอบรัฐประหารนี้จะไปสู่จุดจบอย่างไร
.
วิกฤตร่างรัฐธรรมนูญ 2558
โดย รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
ใน http://www.lokwannee.com/web2013/?p=141852
. . On April 28, 2015
ในที่สุดคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญก็ได้เสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ปี 2558 เข้าสู่การพิจารณาของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ระหว่างวันที่ 20-26 เมษายน ซึ่งก็มีเนื้อหาที่ไม่ได้ผิดไปจากความคาดหมาย
เนื้อหาสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญนี้คือ มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 450 คน เป็น ส.ส.แบบแบ่งเขต 250 คน และส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 200 คน โดยระบบบัญชีรายชื่อแบ่งประเทศไทยเป็น 6 ภาค ส.ส. มีอำนาจนิติบัญญัติน้อยลง
ส่วนสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) มีจำนวน 200 คน ประกอบด้วย อดีตปลัดกระทรวง อดีตผู้บัญชาการเหล่าทัพ ตัวแทนวิชาชีพ ท้องถิ่น ชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ 123 คน ส่วนสมาชิกวุฒิสภาจากแต่ละจังหวัดจะมีคณะกรรมการกลั่นกรองทำการคัดเลือกรายชื่อ “ผู้ทรงคุณวุฒิและคุณธรรม” จังหวัดละ 10 รายชื่อ แล้วให้ประชาชนลงคะแนนเลือกมา 1 คน ฉะนั้นสมาชิกวุฒิสภาทั้ง 200 คนก็มาจากการแต่งตั้งนั่นเอง โดยเคลือบคลุมไม่ให้โจ่งแจ้งเกินไปด้วยวิธีการสรรหาและกลั่นกรอง
วุฒิสภามีอำนาจหน้าที่ล้นเหลือ ทั้งตั้งองค์กรอิสระต่างๆ และถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ทุกตำแหน่ง ที่สำคัญคือสามารถเสนอร่างกฎหมายได้เองโดยไม่ต้องรอสภาผู้แทนราษฎร
นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากสภาผู้แทนราษฎร ถ้า “คนนอก” ถูกเสนอชื่อก็จะต้องได้รับคะแนนเสียงในสภาไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ส่วนการตั้งรัฐมนตรี นายกฯต้องส่งรายชื่อรัฐมนตรีให้วุฒิสภาตรวจสอบประวัติคุณธรรมจริยธรรมก่อน
นอกจากบรรดาองค์กรอิสระที่มีอำนาจเหนือสภาที่มาจากการเลือกตั้งเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญ 2550 แล้ว ร่างรัฐธรรมนูญยังกำหนดให้มี “สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศและคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาติ” ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากสภาปฏิรูปแห่งชาติชุดรัฐประหารจำนวน 60 คน จากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ชุดรัฐประหารจำนวน 30 คน และ “ผู้ทรงคุณวุฒิ” อีก 30 คน มีอำนาจจัดทำนโยบายปฏิรูปเสนอให้คณะรัฐมนตรีทำตาม ถ้าคณะรัฐมนตรีไม่ทำก็สามารถจัดให้มีการออกเสียงประชามติในประเด็นนั้นเพื่อบังคับคณะรัฐมนตรีให้ทำ แล้วยังมีอำนาจเสนอร่างกฎหมายปฏิรูปผ่านทางวุฒิสภาได้อีกด้วย
มีองค์กรที่กำหนดให้มีอำนาจ “ตรวจสอบ” มากมายซ้ำซ้อนค้ำคอองค์กรอื่นๆที่มาจากการเลือกตั้ง เช่น “สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ” มาจัดทำ “ประมวลจริยธรรม” มีอำนาจในการสอบสวนและเสนอให้ถอดถอนนักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐทุกตำแหน่งที่ไม่ทำตามประมวลจริยธรรม โดยองค์กรนั้นๆไม่ต้องสอบสวนเพิ่มอีก มีสภาตรวจสอบภาคพลเมืองจังหวัด สมัชชาพลเมือง ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการปฏิรูปสารพัด กำหนดวาระปฏิรูปด้านต่างๆเสนอต่อรัฐสภาหรือรัฐบาล เช่น คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย คณะกรรมการปฏิรูปด้านการเงิน การคลัง และภาษีอากร คณะกรรมการการกระจายอำนาจแห่งชาติ คณะกรรมการนโยบายการศึกษาและพัฒนามนุษย์แห่งชาติ สมัชชาศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ
ร่างรัฐธรรมนูญ 2558 ได้กำหนดให้สืบทอดระบอบรัฐประหาร 2557 ต่อไปอีกคือ มาตรา 310 ให้บรรดาองค์กรอิสระที่ตั้งโดยคำสั่งคณะรัฐประหารยังคงทำหน้าที่ต่อไปจนครบวาระ และมาตรา 315 กำหนดการกระทำทั้งปวงที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 เป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญใหม่นี้ด้วย
ต้นแบบของร่างรัฐธรรมนูญนี้คือ ระบอบรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ 2521 ซึ่งมีวุฒิสภาแต่งตั้งทั้งชุด มีสภาผู้แทนราษฎรที่ประกอบด้วยพรรคการเมืองขนาดเล็กกระจัดกระจาย เลือกตั้งเข้ามาแล้วก็เสนอชื่อเลือก “คนนอก” ซึ่งก็คือ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ มาเป็นนายกรัฐมนตรีต่อเนื่องยาวนานถึง 8 ปี คณะรัฐมนตรีมาจากทั้ง “คนนอก” และจากโควตาพรรคการเมืองที่ยกมือสนับสนุน พล.อ.เปรมนั่นเอง
นี่ยังเป็นต้นแบบให้กับรัฐประหารปี 2534 เมื่อคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) สืบทอดอำนาจผ่านรัฐธรรมนูญ 2534 จัดตั้งพรรคการเมืองของทหารขึ้นคือ พรรคสามัคคีธรรม รวบรวมเสียง ส.ส. จากพรรคอื่นๆรวมกันแล้วยกมือเลือก พล.อ.สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี จนนำไปสู่เหตุการณ์นองเลือดพฤษภาคม 2535 ผู้คนบาดเจ็บล้มตายสูญหายหลายร้อยคน และการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากสภาผู้แทนราษฎรในที่สุด
เช่นเดียวกันคือ ร่างรัฐธรรมนูญ 2558 ถูกจัดทำขึ้นเพื่อสืบทอดอำนาจรัฐประหาร โดยเฉพาะตามรูปแบบข้างต้นมีการเปิดช่องให้ “คนนอก” ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกฯได้เช่นกัน เป็นการ“ถอยหลัง” ที่เลวร้ายยิ่งกว่ารัฐธรรมนูญ 2550 คือย้อนยุคไปถึงปี 2521 และเป็นการกระทืบซ้ำผู้ที่สูญเสียในเหตุการณ์นองเลือดเดือนพฤษภาคม 2535 อีกด้วย
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แสดงท่าทีชัดเจนว่า จะไม่มีการทำประชาพิจารณ์หรือลงเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญนี้อย่างแน่นอน ถ้าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านความเห็นชอบจาก สปช. และ คสช. จนประกาศใช้แล้ว สิ่งที่เราจะได้เห็นก็คือ การจัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อผ่องถ่ายอำนาจคณะรัฐประหารไปสู่รัฐบาลหลังเลือกตั้งโดยผ่านนายกรัฐมนตรี “คนนอก” ดังที่มี “ข่าวลือ” มาเป็นระยะๆแล้วว่า มีการเคลื่อนไหวของนักการเมืองบางกลุ่มที่จะก่อรูปเป็นพรรคการเมืองเพื่อรองรับนายกรัฐมนตรี “คนนอก” และการจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้งครั้งต่อไป ทั้งหมดนี้ทำให้ความสูญเสียเลือดเนื้อและชีวิตในเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 และเมษายน-พฤษภาคม 2553 เป็นโศกนาฏกรรมที่สูญเปล่า
ยิ่งกว่านั้นคือ รัฐธรรมนูญที่ย้อนยุค ฝืนการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยเช่นนี้ มีแนวโน้มที่จะทำให้ความขัดแย้งและวิกฤตปัจจุบันยืดเยื้อรุนแรงยิ่งขึ้น จนในที่สุดรัฐธรรมนูญนี้ก็จะต้องถูกฉีกทิ้งอีกโดยคณะรัฐประหาร หรือโดยประชาชนที่ไม่อาจทนต่อการครอบงำของพวกเผด็จการได้อีกต่อไป
อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มเช่นกันว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้อาจจะถูกคว่ำกลางคันด้วยสาเหตุสำคัญคือ รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ยังไม่ได้บรรลุภารกิจหลักที่ได้วางไว้แต่ต้น ได้แก่ การจัดการ “การเปลี่ยนผ่าน” ให้เป็นไปโดยสงบเรียบร้อยและมั่นคง การปราบปรามกลุ่มคนที่ฝ่ายทหารเชื่อว่าเป็น “พวกล้มเจ้า” การกำจัดนักการเมืองตระกูลชินวัตรไม่ให้หวนคืนสู่การเมือง การสลายพรรคเพื่อไทยและเครือข่ายคนเสื้อแดง โดยเฉพาะ 3 ประการหลังนี้ยังอยู่ในระหว่างดำเนินการที่จะยังไม่เสร็จสิ้นในเวลาอันใกล้นี้
การเห็นชอบและประกาศใช้ร่างรัฐธรรมนูญ 2558 ยังจะทำให้ คสช. สลายตัวและเริ่มต้นการผ่องถ่ายอำนาจไปสู่นายกรัฐมนตรี “คนนอก” ภายหลังการเลือกตั้ง ซึ่งมีอำนาจและความมั่นคงทางการเมืองน้อยกว่าอย่างมาก อีกทั้งยังต้องอิงนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งที่มีความไม่แน่นอน
ถ้าร่างรัฐธรรมนูญนี้ถูกคว่ำกลางคันก็จะต้องแต่งตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่เพื่อเริ่มกระบวนการร่างใหม่ทั้งหมด เป็นการยืดเวลาให้คณะรัฐประหารปฏิบัติภารกิจ 4 ประการข้างต้นให้เสร็จสิ้น แต่การกระทำเช่นนั้นจะทำให้ระบอบรัฐประหารเข้าสู่ภาวะวิกฤต สูญเสียความเชื่อถือจากผู้ที่สนับสนุนจำนวนมากทั้งในหมู่ประชาชน นักธุรกิจ และนักการเมือง ที่ต้องการรื้อฟื้นการเมืองแบบเลือกตั้งโดยเร็ว ตลอดจนจะถูกกดดันจากประชาคมนานาชาติหนักหน่วงยิ่งขึ้น
ร่างรัฐธรรมนูญ 2558 จึงเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญที่จะชี้ว่าระบอบรัฐประหารนี้จะไปสู่จุดจบอย่างไร
.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)