http://BotKwamDee.blogspot.com...webblog เปิดเผยความจริงและกระแสสำนึกหลากหลาย เพื่อเป็นอาหารสมอง, แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมการวิเคราะห์ความจริง, สะท้อนการเรียกร้องความยุติธรรมที่เปิดเผยแบบนิติธรรม, สื่อปฏิบัติการเสริมพลังเศรษฐกิจที่กระจายความเติบโตก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศสู่ประชาชนพื้นฐาน, ส่งเสริมการตรวจสอบและผลักดันนโยบายสาธารณะของประชาชน-เยาวชนในทุกระดับของกลไกพรรคการเมือง, พัฒนาอำนาจต่อรองทางประชาธิปไตย โดยเฉพาะการปกครองท้องถิ่นและยกระดับองค์กรตรวจสอบกลไกรัฐของภาคสาธารณะที่ต่อเนื่องของประชาชาติไทย

2556-02-10

ร้อนแรง-ท้าทาย วิพากษ์ “สื่อไทย-เทศ” กรณีจำคุก “สมยศ” จาก แมลงวันในไร่ส้ม

.

ร้อนแรง-ท้าทาย วิพากษ์  “สื่อไทย-เทศ” กรณีจำคุก “สมยศ”
ใน www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1360499753
. . 10 ก.พ. 2556 22:35:36 น.
จากคอลัมน์ แมลงวันในไร่ส้ม มติชนสุดสัปดาห์ 8-14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ปีที่ 33 ฉบับที่ 1695 หน้า 78


กรณีศาลอาญาจำคุก สมยศ พฤกษาเกษมสุข 10 ปี ในความผิดมาตรา 112 ยังเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์
และมีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจหลายเหตุการณ์


ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มบรรณาธิการสำนักพิมพ์ ที่นำโดย สุชาติ สวัสดิ์ศรี ที่ออกมาตั้งข้อสังเกตต่อการลงโทษสมยศ 
นอกจากนี้ ในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้มีการกางป้ายผ้าขนาดใหญ่ มีข้อความ Free Somyot บนอัฒจันทร์ กลางสนามศุภฯ  กลายเป็นประเด็นน่าสนใจ ยิ่งกว่าขบวนล้อการเมือง

ที่หลายคนเห็นว่า ไม่น่าจะใช่ความคิดของนิสิตนักศึกษาที่ทำกิจกรรมการเมือง

องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนในไทยนั้นชัดเจนมาแต่ไหนแต่ไรว่า มี "เงื่อนไข" ในการปกป้องสิทธิ
เช่นเดียวกับองค์กรสื่อของประเทศไทยก็เข้าใจได้ไม่ยากเช่นเดียวกัน จาก "จุดยืน" ที่แสดงออกอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร 2549 ไปจนถึงการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการหลัง 2549


แม้แต่สื่อต่างประเทศในประเทศไทย ภายใต้ชื่อ สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศในไทย (FCCT-The Foreign Correspondents" Club of Thailand) ก็ไม่ได้ออกมาแสดงท่าที และถูกวิพากษ์วิจารณ์จาก "แอนดรูว์ แม็กเกรเกอร์ มาร์แชล" 
โดยมี ซับเอดิเตอร์ชาวต่างประเทศของเดอะเนชั่น พยายามเข้าไปชี้แจง และถูกโต้กลับอีกครั้ง




วันศุกร์ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เว็บไซต์ข่าวประชาไท เสนอข่าว "โฆษกรัฐบาลสหรัฐชี้ไทยควรพิทักษ์เสรีภาพการแสดงออกตามหลักสากล" 
และเว็บข่าวไทยอีนิวส์ได้นำมาเสนอต่อ มีเนื้อหาบางตอนดังนี้


วิกตอเรีย นูแลนด์ โฆษกรัฐบาลสหรัฐได้ตอบคำถามจากสื่อในระหว่างการแถลงข่าวที่ทำเนียบขาว ณ กรุงวอชิงตัน ในประเด็นนายสมยศว่า สหรัฐอเมริกามีความเป็นห่วงเป็นอย่างยิ่งต่อการตัดสินคดีดังกล่าว และกระตุ้นให้ทางการไทยพิทักษ์เสรีภาพในการแสดงออกตามพันธกรณีระหว่างประเทศ 
"แน่นอนว่าไม่มีใครควรถูกจำคุกจากการแสดงความคิดเห็นอย่างสันติ และเราได้กระตุ้นอย่างสม่ำเสมอ, ทั้งในทางส่วนตัวและสาธารณะ, ให้ทางการไทยรับรองว่า การแสดงออกไม่ใช่อาชญากรรม และพิทักษ์เสรีภาพในการแสดงออกตามพันธกรณีของไทยในทางสากล" นูแลนด์ กล่าว

เว็บข่าวยังระบุว่า ชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ตอบคำถามในระหว่างการสัมมนาเรื่องเสรีภาพในการแสดงออกที่สหภาพยุโรปเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่า สมาคมยังสนับสนุนเสรีภาพในการแสดงออก 
แต่การแสดงออกนั้นต้องอยู่ภายใต้กฎหมายไทย ส่วนการตัดสินคดีเรื่องมาตรา 112 จะเป็นธรรมหรือไม่ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง 

"เรื่องที่ว่าทำไมไม่ได้ออกแถลงการณ์ เรื่องนี้ไม่ได้หยิบยกมา เพราะยังมีความสับสนว่าอะไรเป็นสื่อ ไม่เป็นสื่อ ยังถกเถียงกันภายในสมาคมอยู่ แต่ได้คุยเบื้องต้นว่า สิ่งที่เราต้องพิทักษ์คือสื่อที่นำเสนอรอบด้าน แต่ถ้าสื่อใดจะมีวัตถุประสงค์ทางการเมืองของกลุ่มทางการเมือง เราก็ไม่สามารถคุ้มครองได้" ชวรงค์ กล่าว

ในข่าวเดียวกัน ยังมีคำให้สัมภาษณ์ของ นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่กล่าวว่า ในขณะนี้ กสม. กำลังอยู่ในระหว่างการหารือภายในเรื่องการออกแถลงการณ์ หลังจากที่ได้รับจดหมายสอบถามจากสมาคมนักข่าวเรื่องท่าทีต่อกรณีสมยศ
นพ.นิรันดร์ กล่าวว่า ในฐานะส่วนตัวได้ช่วยเป็นนายประกันและพยานในกรณีการไต่สวนของนายสมยศ และได้ติดตามเข้าเยี่ยมในเรือนจำ แต่ในฐานะองค์กรสามารถทำได้เพียงเท่านี้



ประเด็นเป็นสื่อหรือไม่ใช่สื่อ และข้อความบางตอนในแถลงการณ์ บ.ก.สำนักพิมพ์ ที่ สุชาติ สวัสดิ์ศรี ระบุว่า วอยซ์ออฟทักษิณ ของสมยศ เป็นสื่อเอียงข้างมากกว่าสื่อที่เป็นฐานันดรที่ 4


มีคอมเมนต์จากเฟซบุ๊กของ เกษียร เตชะพีระ ว่า "สื่อเลือกข้างเราคุ้มครอง? สื่อเลือกข้างอื่นไม่คุ้มครอง?" 
พร้อมกับรายละเอียดว่า "...ถ้าการเลือกข้างเป็นเกณฑ์แบ่ง Voice of Thaksin กับ ASTV/Manager ก็เป็นสื่อเลือกข้างเหมือนกันนะครับ เพียงแต่เลือกคนละข้างเท่านั้นเอง" 
"ทำไมจึงถูกปฏิบัติต่อต่างกัน...? เพราะเลือกข้างเรากับเลือกข้างอื่นหรือ?"

"สื่อเลือกข้างเป็นธรรมดาโลก พอๆ กับสื่อที่ตัดสินใจไม่เลือกข้างใดข้างหนึ่งในคู่ขัดแย้ง แต่เสนอมุมมองอื่น จากจุดยืนอื่นในสังคม (ในสังคม ไม่จำต้องมีจุดยืนแค่ 2 ฝ่ายที่ขัดแย้งกัน เพราะมีหลายกรณีขัดแย้งที่ถูกประเมินวัดต่างๆ กันไป)..."

ปัญหาแท้จริงจึงไม่ใช่เลือกหรือไม่เลือกข้าง แต่คือรักษาหรือละเมิดจรรยาบรรณของวิชาชีพสื่อมวลชน (เช่น ไม่โกหก ลงข่าวเท็จ ชวนให้ไขว้เขว ยุให้คนฆ่ากันแบบศาลเตี้ย ฯลฯ) และหลักสิทธิเสรีภาพของตนเองและเคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น

หากยังอยู่ในกรอบของจรรยาบรรณวิชาชีพ สิ่งที่เขาทำนั้นก็ควรได้การคุ้มครอง ในทางกลับกัน หากสิ่งที่เขาทำล่วงละเมิดกรอบจรรยาบรรณวิชาชีพสื่อมวลชน ล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ต่อให้ไม่เลือกข้างหรือเลือกข้างเราหรือข้างใดก็ตาม ก็ไม่ควรไปคุ้มครอง แต่ควรประณาม และหันมาคุ้มครองคนอ่าน, ผู้อื่นที่ถูกสื่อรังแก ไม่ใช่หรือครับ?

อ.เกษียณ ยังระบุว่า ตรรกะเดียวกัน ขณะที่ สุชาติ สวัสดิ์ศรี กล่าวถึง "Voice of Taksin" ว่า "เอียงข้างไปทางตัวบุคคลและกลุ่มการเมืองกลุ่มหนึ่งมากกว่าเป็นสื่อมวลชนในความหมายของฐานันดรที่ 4" ชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย บอกว่า "ยังมีความสับสนว่าอะไรเป็นสื่อ ไม่เป็นสื่อ...สิ่งที่เราต้องพิทักษ์คือสื่อที่นำเสนอรอบด้าน แต่ถ้าสื่อใดจะมีวัตถุประสงค์ทางการเมืองของกลุ่มทางการเมือง เราก็ไม่สามารถคุ้มครองได้" 
"เป็นตรรกะที่...(pathetic) มาก เป็นความใจแคบของวงการนิเทศศาสตร์ไทยที่มองว่า สื่อต้องไม่เอียงข้างทางการเมือง..." เกษียณ ชี้

ก่อนวิพากษ์ต่อไปว่า ทั้งๆ ที่ในตัวตนที่เป็นจริงของทั้งสองคนนี้ หรือคนอื่นๆ เคยทำงานกับสื่อที่ไม่เอียงข้างทางการเมืองจริงหรือ

ไทยรัฐของชวรงค์ไม่เอียงข้างเลยนะ เดลินิวส์ไม่เอียงข้างหาประชาธิปัตย์เหรอ สยามรัฐของคุณชายคึกฤทธิ์ไม่เอียงข้างเหรอ แนวหน้าไม่เอียงข้างเหรอ โพสต์ทูเดย์ล่ะ ฯลฯ ASTV เป็นไง พวกนี้ไม่เอียงเลยนะ

รถ ASTV ถูกยิง สมาคมคุณชวรงค์ออกแถลงการณ์ให้คุ้มครองเสรีภาพสื่อ แต่บรรณาธิการถูกตัดสินจำคุก ทั้งๆ ที่ไม่เขียนบทความ คุณบอกว่าเขาไม่ใช่ "สื่อ"!


นั่นคือส่วนหนึ่งของวิวาทะที่ต่อเนื่องจากกรณี "สมยศ"

ดุเดือด และ "ท้าทาย" หลักคิดของคนในวงการสื่ออย่างแหลมคม



.