http://BotKwamDee.blogspot.com...webblog เปิดเผยความจริงและกระแสสำนึกหลากหลาย เพื่อเป็นอาหารสมอง, แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมการวิเคราะห์ความจริง, สะท้อนการเรียกร้องความยุติธรรมที่เปิดเผยแบบนิติธรรม, สื่อปฏิบัติการเสริมพลังเศรษฐกิจที่กระจายความเติบโตก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศสู่ประชาชนพื้นฐาน, ส่งเสริมการตรวจสอบและผลักดันนโยบายสาธารณะของประชาชน-เยาวชนในทุกระดับของกลไกพรรคการเมือง, พัฒนาอำนาจต่อรองทางประชาธิปไตย โดยเฉพาะการปกครองท้องถิ่นและยกระดับองค์กรตรวจสอบกลไกรัฐของภาคสาธารณะที่ต่อเนื่องของประชาชาติไทย

2554-07-31

แพ้ และ ฉันเสียสติ โดย คำ ผกา

.

บทความสั้นๆก่อนบทความหลัก

"ชาญวิทย์-คำ ผกา" ตั้งคำถามกับข่าว "ตัวเงินตัวทอง" บุกสภา ดิสเครดิต "นักการเมืองในระบบ" แล้วไง?
ในมติชน ออนไลน์ วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 23:00:00 น.


หลังจากที่สื่อมวลชนเผยแพร่ข่าวและภาพตัวเงินตัวทอง 2 ตัว นอนประกบในลักษณะผสมพันธุ์กันอยู่บริเวณถนนทางเข้าสู่รัฐสภา เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคมที่ผ่านมา ก็เกิดปฏิกิริยาสะท้อนกลับต่อข่าวและภาพดังกล่าวจากสองนักคิดนักวิชาการต่างรุ่น คือ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคำ ผกา คอลัมนิสต์นักคิดนักเขียนชื่อดัง

โดยชาญวิทย์ได้เขียนบทความขนาดสั้นชื่อ " ตัวเงินตัวทองร่วมรัก เกมเก่าของผู้ดี-คนชั้นสูง-ชั้นกลาง-ชาวกรุง " ลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว ความว่า

ข่าวที่คุณสินสวัสดิ์ ยอดบางเตย สถาบันปรีดีฯ นำมาโพสต์ เรื่อง "ตัวเงินตัวทอง" ร่วมรักกันที่รัฐสภาฯ นั้น เป็นเกมเก่า ที่ใช้ซ้ำแล้วซ้ำอีก ( ด้วยการทรมานสัตว์ จับมาปล่อยให้ถูกจังหวะ/เป็นข่าว ) เพื่อทำลายระบอบประชาธิปไตย ที่ "ปกติ" ต้องมีการเลือกตั้ง และ "ปกติ" ต้องมีนักการเมือง

นี่เป็นที่ถูกอกถูกใจของผู้ดี-คนชั้นสูง-และชั้นกลาง "ชาวกรุง" ที่พอใจโหยหา "อปกติ" คือ นักการเมืองในเครื่องแบบ (ทหาร ตำรวจ และข้าราชการพลเรือน ข้าราชการศาล/อัยการ) และไม่ต้องลงเลือกตั้ง ครับ

สิ่งที่ควรกลับไปสำรวจทางประวัติศาสตร์การเมือง (ตั้งแต่สมัยท่านปรีดี เรื่อยมา) คือ นักการเมืองสวมเครื่องแบบ ที่รังเกียจเลือกตั้ง เช่น ผิน เผ่า สฤษดิ์ ถนอม ธานินทร์ สุจินดา สุรยุทธ ได้ทำอะไร หรือไม่ได้ทำอะไรให้กับ "ประเทศชาติ และประชาชน" บ้าง


Good luck on your wishful non-elcetoral democracy (มติชนออนไลน์ - ขอให้โชคดีกับประชาธิปไตยแบบไม่มีการเลือกตั้งที่พวกคุณปรารถนาถึง )


ขณะที่คำ ผกา ก็ได้โพสต์ข้อความลงในช่องแสดงสถานะของเฟซบุ๊กส่วนตัวหลังข่าวและภาพดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกสู่สาธารณชนว่า

"เหี้ยมีทุกหนทุกแห่งที่มีสภาวะแวดล้อม ความชื้น อากาศที่เหมาะสม การเฝ้าทำข่าวเหี้ยในสภาสะท้อนความอ่อนล้าทางปัญญาในสื่อ และตอกย้ำวาทกรรมนักการเมืองเลว โดยไม่ถามว่ามีวงการไหนที่ไม่มีคนเลว ??????? "


. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .


แพ้
โดย คำ ผกา
ในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 31 ฉบับที่ 1615 หน้า 89


" เขาทำมากี่ปี เขาอยากเป็นอำมาตย์ไม่ใช่หรือ เขามีแก้ว 3 ดวงคือ พรรค เสื้อแดง และกองกำลังติดอาวุธ แล้วสื่อก็ช่วย ปฏิเสธไม่ได้ว่าสื่อช่วยเขา โหมกันใหญ่ ก็คอยดู พวกคุณต้องรับผิดชอบด้วยที่ไปเชียร์เขาเป็นบ้าเป็นหลัง โดยกฎหมายคุณไม่ผิด แต่โดยความรู้สึก อย่าปฏิเสธเลย เพราะมันเห็นอยู่กับตา ก็ไม่เป็นไร เมื่อผลการเลือกตั้งออกมาอย่างนี้ เราก็ยอมรับ และย้อนกลับมาดูตัวเองว่าทำไม ก็ต้องค้นหาความจริง ว่าเราทำแล้ว ทุกคนก็ฮือฮาว่านโยบายนี้ดี แต่เสร็จแล้วเขาให้เงิน ก็ไปเลือกเขา มันเป็นธุรกิจการเมืองขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งน่าเสียดาย "
กัลยา โสภณพนิช ส่งคำถามถึงรากหญ้า ทำไมเขาไม่คิดถึงเรา
www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1311562781&grpid=&catid=80&subcatid=8001


มีเรื่องจะเล่าสู่กันฟัง ฉันมีโอกาสไปนั่งฟังเสวนาโต๊ะกลมในหัวข้อ "การเมืองไทยหลังการเลือกตั้ง "54" ซึ่งนักวิชาการทางรัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ในวันนั้นมีข้อสรุปที่ค่อนข้างตรงกันคือ พฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนไทยโดยทั่วไปมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่มีความสืบเนื่องกันมากกว่าจะพลิกผันผิดความคาดหมาย

เช่น ความกระตือรือร้นในการไปใช้สิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนมาครั้งนี้ที่สูงที่สุด อันเป็นตัวบ่งชี้ว่า คนไทยเห็นแล้วว่าการเลือกตั้งมีความสำคัญ เสียงของตนเองคือสิ่งที่กำหนดทิศทางของประเทศ

คงมีนักวิชาการและปัญญาชนกลุ่มเล็กๆ เท่านั้นที่กลับไม่มีความเชื่อมั่นในการเลือกตั้ง เพราะยังหลงเชื่อว่าประชาชนไร้การศึกษา และลงคะแนนเสียงจากแรงจูงใจที่ไร้คุณภาพ เช่น ในตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือแรงจูงใจจากการซื้อเสียง

ความสืบเนื่องอีกประการหนึ่งที่น่าสนใจคือ เป็นเวลาอย่างน้อย 19 ปีที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยชนะการเลือกตั้ง สำหรับตัวฉันแอบเสริมในใจว่า ถ้าเป็นเช่นนั้นอนาคตของพรรคประชาธิปัตย์ก็ขึ้นอยู่กับว่า พรรคจะประเมินความพ่ายแพ้ของตนเองอย่างซื่อสัตย์แค่ไหน

หากยังประเมินความพ่ายแพ้อย่างบิดเบี้ยว คิดเข้าข้างตนเอง และกระโดดงับวาทกรรมของปัญญาชนที่ยังจมปลักอยู่กับทฤษฎีชาวบ้านโง่และซื้อได้ด้วยเงิน ก็ขอทำนายว่า ประชาธิปัตย์จะยังคงเสี่ยงที่จะพ่ายแพ้อยู่อย่างนี้ร่ำไป

อาจารย์อีกท่านหนึ่งให้ความเห็นว่า ในการเลือกตั้งครั้งนี้ทำให้เราได้เห็นว่ามีความเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพของการตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองเพราะหากเปรียบเทียบนโยบายของแต่ละพรรคแล้วจะเห็นว่ามีนโยบายที่ใกล้เคียงกัน (พักเรื่องใครลอกใครเอาไว้ก่อน)

เพราะฉะนั้น แสดงว่าประชาชนไม่ได้เลือกพรรคการเมืองจากนโยบายหรือผลทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวแต่เลือกจากอุดมการณ์

ประชาชนอาจจะผิดหรือถูกในการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่มีใครบอกได้ ณ วันนี้ แต่ที่แน่ๆ ประชาชนจิ้มไปที่พรรคเพื่อไทยด้วยสมมุติฐานที่ว่าเป็นพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์สอดคล้องกับพวกเขาในประเด็นหลักๆ เช่น ปฏิเสธการรัฐประหาร แก้ไขเรื่องสองมาตรฐานในกระบวนการยุติธรรม ฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน

ส่วนคนเสื้อแดงมองว่าพรรคเพื่อไทยจะยืนเคียงข้างพวกเขาในการเอาความยุติธรรมมาสู่คนเสื้อแดงที่ตาย บาดเจ็บ ถูกจับกุมคุมขัง

ภาระของพรรคเพื่อไทยในวันนี้คือ "สัญญาประชาคม" ที่ประชาชนอยู่ในสภาพ "เตรียมพร้อม" จะตรวจสอบ ทวงถาม ประเมินผลการทำงาน วิพากษ์วิจารณ์ กดดัน

หน้าที่ของพรรคเพื่อไทยในวันนี้คือพิสูจน์ตนเองว่า จะเป็นพรรคการเมืองที่เป็นตัวแทนของประชาชนที่ยึดมั่นในคุณค่าของระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนและผลประโยชน์ของประชาชนสำคัญเป็นลำดับแรกได้หรือไม่?



ยังไม่ทันที่ฉันจะไปตามดูว่าพรรคประชาธิปัตย์ประเมินความพ่ายแพ้ของตนเองอย่างซื่อสัตย์แค่ไหน (เหมือนเวลาเราถูกแฟนบอกเลิก นอกจากนั่งด่าว่าแฟนเราเลวอย่างไร เราต้องประเมินตนเองอย่างซื่อสัตย์ถึงข้อบกพร่องของตนเองอย่างไม่เข้าข้างตนเอง เช่น เอ๊ะ เราอาจจะปากเหม็น, ตดดัง, ด่าไม่ยั้ง, เซ็กซ์ห่วย ฯลฯ - ซึ่งการประเมินตนเองอย่างซื่อสัตย์ เป็นคนละอย่างกับอาการสูญเสียความภาคภูมิใจ (self esteem) และอาการสมเพชเวทนาตนเอง แต่จะนำมาซึ่งการปรับปรุงตนเองให้สดใสไฉไลมากขึ้น)

บทสัมภาษณ์ กัลยา โสภณพนิช ส่งคำถามถึงรากหญ้าทำไมเขาไม่คิดถึงเรา ก็ทำให้ฉันชักจะเป็นห่วงอนาคตของพรรคการเมืองที่มีอายุยืนที่สุดในประเทศพรรคนี้เสียแล้ว

"เราอาจพูดภาษาไม่ชาวบ้านพอ มันจะต้องติดดินหรือคลุกกับดินไปเลย แต่คนที่มีหน้าที่สื่อสารของ ปชป. อาจจะใช้ภาษาดี ภาษาสวย ภาษาราชการเกินไป นี่เป็นการสันนิษฐาน"

โห...อยากจะบอกว่าถ้าคิดได้แค่นี้พรรคของคุณหญิงคงจะแพ้การเลือกตั้งไปอีกอย่างน้อย 20 ปี ไม่นับการกล่าวหาคนเสื้อแดงเรื่องการมีกองกำลังติดอาวุธ เพราะมีพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นรัฐบาล มีกองทัพอยู่ในมือ มีตำรวจ มีดีเอสไอ ดูแลกระบวนการยุติธรรมทั้งหมดในฐานะที่เป็นรัฐบาล มีงบประมาณ เหตุไฉนจึงไม่สามารถจับกุม "กองกำลังติดอาวุธ" ที่ว่าได้เลยแม้แต่คนเดียว


แล้วคนที่พรรคประชาธิปัตย์สมัยเป็นรัฐบาลจับเข้าคุกก็เป็นแกนนำเสื้อแดงที่เข้ามอบตัว จากนั้นก็เป็นชาวบ้านเสื้อแดงที่เป็นเพียงประชาชนสามัญ ปราศจากอาวุธ เป็นคนขับซาเล้ง ขายของเก่า เป็นคนทำงานลูกจ้าง เป็นคนยากไร้ที่ไม่มีศักยภาพจะเรียกร้องต่อกรกับรัฐบาล

พูดภาษาชาวบ้านก็คือ ถ้าหากกองกำลังติดอาวุธมีอยู่จริง นอกจากรัฐบาลจะไม่สามารถติดตามจับกุมได้แล้ว รัฐบาลยัง "รังแก" ประชาชนที่ไร้หนทางต่อสู้อีกด้วย ด้วยการยัดข้อหา "ก่อการร้าย" ให้กับพวกเขา

และหากผู้ก่อการร้ายในเมืองไทยจะเป็นชายแก่วัยหกสิบมีสภาพร่างกายกะปลกกะเปลี้ยบ้าง เป็นเด็กหนุ่มที่มีอาชีพส่งพิซซ่าบ้าง ทั้งไม่ปรากฏว่ามีอาวุธร้ายแรงใดๆ ในการครอบครองบ้าง

เมื่อเป็นอย่างนั้นก็ต้องนับว่ารัฐบาลไทยเผชิญกับ "ผู้ก่อการร้าย" ที่กระจอกที่สุดในโลก


มิหนำซ้ำฝ่ายที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อการร้ายกลับเป็นฝ่ายสูญเสียชีวิตถึง 91 ศพ โดยที่รัฐบาลไม่สามารถนำความกระจ่างใดๆ มาสู่สังคมได้ว่าการฆาตกรรมหมู่กลางเมืองครั้งนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไรและโดยใคร?

นี่ยังไม่นับว่าในบทความ บทเรียนยุทธการกระชับวงล้อม ที่ตีพิมพ์ในวารสาร เสนาธิปัตย์ นั้นตอบคำถามของสังคมต่อเรื่องนี้ได้อย่างกระจ่าง ถ้าคุณหญิงกัลยา และพรรคประชาธิปัตย์ยังไม่ได้อ่านก็เชิญไปอ่านได้ที่
www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1308932303&grpid=01&catid&subcatid

อ่านแล้วจะได้ไม่มาพูดเรื่องแก้วสองดวง แก้วสามดวง กองกำลังติดอาวุธ ฉันฟังแล้วอดจะเห็นใจในวุฒิภาวะทางปัญญาของคนที่พูดอย่างนี้ออกมาไม่ได้


"ภาษาดี ภาษาสวย ภาษาราชการ" น่าทึ่งมากที่ตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์ได้วิเคราะห์ความล้มเหลวของพรรคตนเองว่ามาจากการที่ "พูดดีเกินไป" แต่ก็อาจจะไม่ผิดเสียทีเดียวเพราะพรรคนี้ได้รับการแปะฉลากไว้แล้วว่า "ดีแต่พูด" และไม่ทราบว่ามาตรฐานของภาษาดี ภาษาสวย ภาษาราชการนั้นแปลว่า การพูดจาเป็นพระมะเหลเถไถ ไปไหนมาสามวาสองศอก ถากถาง เหน็บแนม บิดเบือน ป้ายสี

ยกตัวอย่างเช่น

"ท่านถือพาสปอร์ตของอังกฤษหรือเปล่า?"

"ผมไม่ได้ถือสัญชาติมอนเตเนโกร"

มันชวนให้ประหลาดใจเสียจนฉันไม่สามารถเขียนออกมาเป็นถ้อยคำได้ว่า เหตุใดพรรคประชาธิปัตย์จึงวิเคราะห์ความพ่ายแพ้ของตนเองว่า แพ้เพราะทำความดีแต่คนมองไม่เห็น หรือแพ้เพราะชาวบ้านเห็นแก่เงิน ( มิไยที่นักรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา จำนวนไม่น้อย และหนึ่งในนั้นคือ อ.ประจักษ์ ก้องกีรติ ก็ได้ชี้ให้เห็นจากการเลือกตั้งครั้งล่าสุดว่า "การซื้อเสียงเริ่มลดลงและไม่ได้เป็นตัวชี้ขาด" prachatai.com/journal/2011/07/36106 )

หรือแพ้เพราะใช้ภาษาสูงเกินกว่าชาวบ้านจะเข้าใจ อันสะท้อนทัศนคติดูถูกชาวบ้านที่อยู่ในระดับจิตไร้สำนึก!!!



ประหลาดใจยิ่งกว่านั้นคือการที่คุณหญิงกัลยาย้ำแล้วย่ำอีกว่าเป็นเพราะ "สื่อ" ไม่ช่วยพรรคประชาธิปัตย์แต่ไปช่วยอีกฝ่ายหนึ่ง

พิโธ่พิถัง ถ้าหากรัฐบาลที่กุมอำนาจในสื่อของรัฐ อย่าง NBT แถมยังปล่อยให้มีรายการแบบวิทยุยานเกราะกลับชาติมาเกิดหลายต่อหลายรายการในสื่อที่รัฐควบคุมได้

ไม่นับสื่อไพร่ใจนาซีอีกหลายสื่อที่ถืออุดมการณ์ขวาจัด คลั่งชาติ คลั่งศาสนา คลั่งคุณธรรม แต่รังเกียจประชาธิปไตยที่พร้อมยืนใบอนุญาตฆ่าให้กับรัฐทุกวันด้วยวาดภาพการเรียกร้องประชาธิปไตยและการต่อต้านรัฐประหารของประชาชนให้กลายเป็นการก่อการร้าย พ่วงมาถึงพรรคพวกที่สนับสนุนท่านอันประกอบไปด้วย ครู หมอ พระ ที่สวมครุยของนักสันติวิธี แต่ดันมาเรียกร้องสันติวิธีแก่ผู้ถูกกระทำแล้วหันไปเลียไข่ผู้ดีแผล็บๆ

นี่ฉันยังไม่นับนักสตรีนิยมที่ทุรนทุรายว่า อำนาจของสตรีไม่มีผู้ปกป้อง แต่คนตายกลางถนนเกลื่อนเมืองนักสตรีนิยมผู้อ่อนไหวต่อการกดขี่สตรีเพศทั้งหลายนั่งมองศพตาปริบๆ เหมือนศพเหล่านั้นมิใช่ศพของมนุษย์ หรือจะให้ย้อนไปถึงครั้งเกิดการรัฐประหารในปี 2549 ที่ฉันไม่ได้ยินเสียงนักสตรีนิยมคนไหนออกมาร่วมกับขบวนการของประชาชนในการออกมาบอกว่า "เราจะไม่แก้ไขปัญหาการเมืองด้วยการเรียกรถถังออกมารัฐประหาร"

พรรคประชาธิปัตย์พึงถามตนเองว่า ท่ามกลางความได้เปรียบเหล่านี้ ทำไมถึงพ่ายแพ้? มิใช่ทำตัวเป็นผู้หญิงถูกทิ้งแล้วฟูมฟายว่าผู้ชายเลวเหมือนหมา มิใช่ไม่ได้รับการเลือกตั้งแล้วก่นด่าประชาชนว่า "โง่อิบอ๋ายเลยแม่งเห็นแก่เงิน"

พรรคประชาธิปัตย์พึงเรียนรู้ว่า ลำพังการที่รัฐบาลของท่านไม่แสดงความรับผิดชอบต่อการสูญเสียชีวิตของประชาชนที่ชัดเจนว่าตายด้วยสไนเปอร์ ตายด้วยกระสุนจริงนั้นเพียงพอแล้วที่พรรคของท่านจะไม่ได้รับการเลือกตั้งอีกครั้ง

พรรคประชาธิปัตย์พึงเรียนรู้ว่าลำพังการป่ายปีนบันไดพิเศษขึ้นมาเป็นรัฐบาลโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องนั้น และทำได้ทุกอย่างเพื่อให้ตนเองได้อยู่ในอำนาจ การเกิดขึ้นอย่างพิสดารของพรรคภูมิใจไทยและภาพของนายอภิสิทธิ์กอดกับหัวหน้าพรรคภูมิใจไทยตัวจริงโดยปิดบังความระริกระรี้ไว้ไม่มิดก็เพียงพอแล้วที่จะให้ประชาชนจดจำว่า ใครเป็นใคร ใครทำอะไร และลักษณะของพรรคการเมืองที่ไร้อุดมการณ์นั้นเป็นเช่นไร


พรรคประชาธิปัตย์พึงเรียนรู้ว่าเหนือกว่า "เงิน" คือศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ผลงานของท่านในฐานะรัฐบาลที่โดดเด่นอย่างยากจะหารัฐบาลใดมาเทียบเคียงได้คือความสามารถในการทำลาย ลดทอน ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไทย และนี่คือสาเหตุหลักที่ทำให้ท่านพ่ายแพ้ในการเลือกตั้ง

และนี่คือบทเรียนของพรรคการเมืองทุกพรรคว่า หากพวกท่านดูถูกประชาชน หากท่านดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชน เลือกตั้งกี่ครั้ง ท่านก็จะพ่ายแพ้ทุกครั้ง



++

ฉันเสียสติ
โดย คำ ผกา
ในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 31 ฉบับที่ 1614 หน้า 89


ได้อ่านสัมภาษณ์ คุณฐากูร พานิชกุล จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐแล้วประทับใจในคำตอบของเขาต่อคำถามของผู้สัมภาษณ์ว่า "ความเป็นเอเชียเป็นอุปสรรคต่อการสร้างชื่อในวงการแฟชั่นโลกไหม?"

ฐากูรตอบว่า "ผมไม่คิดว่าตัวเองเป็นเอเชียหรือเป็นอเมริกัน เพราะนิวยอร์กเปิดกว้างมาก ให้โอกาสกับดีไซเนอร์รุ่นใหม่ โดยไม่เกี่ยวกับเชื้อชาติ แต่พิสูจน์กันที่ผลงานมากกว่า "
www.thairath.co.th/content/life/186862


อ่านแล้วก็ลองจินตนากาม เอ๊ย จินตนาการว่า หากวันใดวันหนึ่งในอนาคตกาลอันไกลโพ้นประเทศไทยแลนด์ของเราได้ผงาดเป็นประเทศโลกที่ 1 อันรุ่งเรืองศิวิไลซ์ ใกล้เคียงกับนิวยอร์กซิตี้ มีคนร้อยพ่อพันแม่มาอยู่กินทำงานและได้มีส่วนทำให้นิวยอร์กเป็นนิวยอร์ก เอ๊ย กรุงเทพฯ เป็นกรุงเทพฯ ที่น่าตื่นตาตื่นใจอย่างทุกวันนี้ สมมุติแล้วสมมุติอีกว่าในอนาคตกาลนั้น มีดีไซเนอร์นางหนึ่งชื่อ มะขิ่น อพยพมาจาก เมืองละว้า (นามสมมุติ) แล้วมาโด่งดังในกรุงเทพฯ จากนั้นก็มีนักข่าวไปถามนางสาวมะขิ่นว่า "ความเป็นละว้าของคุณเป็นอุปสรรคต่อการสร้างชื่อในวงการแฟชั่นโลกไหม? (แบบว่าตอนนั้นกรุงเทพฯ ศิวิไลซ์เป็นศูนย์กลางโลกไปแล้ว) นางสาวมะขิ่นได้ตอบว่า "เดี๊ยนไม่คิดว่าความเป็นละว้าหรือความเป็นไทยจะมีผลต่อการสร้างชื่อ เพราะกรุงเทพฯ เป็นเมืองที่เปิดกว้างมาก ให้โอกาสกับทุกคน โดยไม่เกี่ยวกับเชื้อชาติ แต่พิสูจน์กันที่ผลงานมากกว่าค่ะ"

กรี๊ดๆๆๆ แค่จินตนาการเฉยๆ ยังเสียวสยิวสุดยอด ถ้ามันเป็นความจริง สงสัยฉันจะน้ำแ_กได้วันละหลายหน

ไม่ต้องไปเรียนให้จบปริญญาให้ได้ชื่อว่ายิ่งเรียนยิ่งโง่และคับแคบ



คําตอบสั้นๆ ของคุณฐากูรที่ว่า "นิวยอร์กเป็นเมืองที่เปิดกว้างกับคนทุกคนไม่ว่าคุณจะมีเชื้อชาติไหนภาษาไหน" ก็น่าจะทำให้เราได้ตระหนักว่าการ "เปิด" นั้นย่อมดีกว่าการ "ปิด" และ การ "กีดกัน" แต่ละสังคมจะผ่านประสบการณ์ ได้เรียนรู้ และเดินไปสู่ความมีวุฒิภาวะเช่นนั้นได้อย่างไร? และสังคมไทย ณ ปัจจุบันนี้มีสภาพเช่นไร?

อย่าลืมว่า ทั้งอเมริกาทั้งประเทศนั้นกว่าจะมีวุฒิภาวะอย่างที่เราเห็นทุกวันนี้ก็ผ่านภาวะเจ็บปวดของการ "ปิด" และ "กีดกัน" มาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ทาส สีผิว ชนชั้น เชื้อชาติ ชนกลุ่มน้อย คนท้องถิ่น (อินเดียนแดง) แรงงานอพยพ ผู้ลี้ภัย สิทธิสตรี สิทธิของคนรักร่วมเพศ ฯลฯ กว่าอเมริกาจะมีประธานาธิบดีที่เป็นคนผิวสีนั้น คนผิวสีในอเมริกาต้องต่อสู้เพียงเพื่อจะให้ได้มาซึ่งที่นั่งในรถเมล์

สังคมไทยทุกวันนี้มีสภาพไม่แตกต่างจากสังคมอเมริกันในยุคที่ยังมีการเหยียดสีผิว ใช้แรงงานทาส ทว่า มันอยู่ในรูปแบบที่ซ่อนเร้น และถูกกลบเกลื่อนไว้ด้วยมายาคติว่าด้วยความสามัคคีกลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายใต้ความเป็นไทย



อัตลักษณ์ของความเป็นไทยเท่าที่จะแหวกม่านมายาคติไปดักจับมาได้มีอะไรบ้าง?

รักชาติ, เป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี, มีความจงรักภักดี, นับถือคนที่ชาติกำเนิด การศึกษา ยังเชื่อในคำพังเพยที่ว่า "สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล", ยึดมั่นในความสามัคคี เชื่อว่าสามัคคีคือพลัง เมื่อเป็นเช่นนี้สังคมไทยจึงปฏิเสธวัฒนธรรมการวิพากษ์วิจารณ์ การตั้งคำถามต่อสิ่งที่เป็น Grand Narrative ในทุกมิติ ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ ศาสนา พระสงฆ์ ไปจนถึงมิติเล็กๆ ทางวัฒนธรรม (แต่ส่งผลสะเทือนสูงทางการเมือง) เครื่องแบบนักเรียน นักศึกษา พิธีกรรมการรับปริญญา การรับน้อง - ทั้งนี้ เพราะสังคมไทยเห็นว่าการวิพากษ์วิจารณ์ การตั้งคำถาม ต่อ Grand Narrative จะนำมาซึ่งความแตกแยก ทำลายความสามัคคีของคนในชาติ เผลอๆ ยังลามปามไปถึงขั้นใช้เรื่องความสามัคคีบวกกับประวัติศาสตร์ภาคพิสดารที่ทางการไทยเขียนเองเออเอง ปลุกกระแสชาตินิยม ทำสงครามกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อหวังผลแพ้-ชนะ ของการเมืองภายในประเทศเสียด้วย

อีกหนึ่งในอัตลักษณ์ความเป็นไทยคือการยึดมั่นถือมั่นในประวัติศาสตร์ไทยฉบับราชการ เช่น เชื่อเรื่อง "เสียกรุง" อย่างเอาเป็นเอาตาย, เชื่อว่าพม่าคือศัตรูหมายเลขหนึ่งและเขมรคือศัตรูหมายเลขสอง ส่วนลาวเป็นลูกกระจ๊อก, มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย คืออะไรเหรอ ไม่รู้จัก ไม่สนใจ ไม่อยู่ในสายตา, เวียดนาม? อ๋อ ... อาหารเวียดนามอร่อยดีนะ ผักเยอะ, อังกฤษ และฝรั่งเศส คือภัยคุกคามจากตะวันตกที่เรารอดจากการเป็นอาณานิคมมาได้ด้วยอัจฉริยภาพของบรรพบุรุษ, เชื่อว่าสุโขทัย เป็นต้นตำรับการปกครองแบบประชาธิปไตย
แบบไทย, มีความภูมิใจว่าเมืองไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใคร เผลอๆ ก็คิดว่าคนไทยเป็นอะไรที่เจ๋งที่สุดในโลก และจะกระดี๊กระด๊าเป็นพิเศษถ้ามีฝรั่งมาชม หรือมีคนไทยไปมีชื่อเสียงในต่างแดน โดยเฉพาะในแดนที่ได้ชื่อว่าเป็นแดนที่พัฒนาแล้ว ว่าฝรั่งเหล่านี้ตาถึงเข้าใจซาบซึ้งในคุณค่าจริงแท้ของความเป็นไทย แต่ในทางกลับกัน ถ้าฝรั่งมาด่าก็จะโกรธมากเป็นพิเศษเช่นกันแล้วพร้อมจะเถียงกลับว่า เป็นฝรั่งอย่ามาสู่รู้เรื่องของคนไทยที่มีลักษณะพิเศษ จำเพาะเจาะจงที่ชาวโลกไม่มีวันจะเข้าถึง (อ้าว ทำไมมัน paradox เช่นนี้)


อาการเหยียดผิว เหยียดชาติพันธุ์ของ "คนไทย" มีให้เห็นตั้งแต่การสร้างภาพเหมารวมให้คนอีสานเป็นคนใช้ เป็นคนขับรถ เป็นตลกในหนังและละครไทย บวกกับการสร้างภาพภาคอีสานกินดิน แห้งแล้ง ยากจน กินกบ เขียด ปลาดิบ เป็นพยาธิใบไม้ในตับ สกปรก กินแมลง เต็มไปด้วยความทุกข์ทน บวกกับภาพเหมารวมจากกลุ่มศิลปินแนวเพื่อชีวิต มาร์กซิสต์รุ่นที่น่าจะเป็นคอมฯ เก่า (ต้องเอาไปซ่อม) คือภาพของคนอีสานยากไร้ถูกกดขี่ ขูดรีดจากนายทุน โง่ จนซ้ำซาก

ส่วนภาคเหนือนั้นไม่ต้องพูดถึง สาวเหนือผูกขาดภาพสาวเครือฟ้าผู้อ่อนแอ อับจน หมดหวัง ฆ่าตัวตาย พ่อแม่ขายลูกสาวกิน และผูกขาดอาชีพโสเภณีประจำชาติ ภาคใต้ไม่ต้องพูดถึงเพราะดูเหมือน "คนไทย" จำนวนหนึ่งยังไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่าในภาคใต้มีภาษาใช้กี่ภาษา มีกี่ชาติพันธุ์ กี่ศาสนา อย่าว่าแต่จะไปรู้จักโลกทัศน์ของคนภาคใต้ที่ไม่มีอะไรสอดคล้องกับภาพเหมารวมของ "ภาคใต้" ในโลกทัศน์ของ "คนไทย"

จากนั้นก็ตามมาด้วยคำคุณศัพท์ "ลาว", "เสี่ยว", "หน้าลาว" ตามมาด้วยอาการรังเกียจความดำคล้ำของสีผิว ทั้งหมดนี้หลอมรวมเป็น "โครงการ" สร้างภาพชาวชนบทออกเป็น 2 ภาพใหญ่คือ

1. ชาวชนบทผู้แสนดี ซื่อใส น่าสงสาร มีน้ำใจ อยู่ในชนบท เป็นภาพโปสการ์ดหรือพิพิธภัณฑ์ที่มีลมหายใจเอาไว้เป็น "วัตถุ" ให้ชาวเมืองเข้าไปเยี่ยมชม ถ่ายรูป ช่วยเหลือ แจกผ้าห่มยามหนาว แจกถุงข้าวยามน้ำท่วม

2. ภาพชาวชนบทตัวดำ หน้าตาเป็นโจร สวมบุคลิกภาพแบบนักเลง พูดจาหยาบคาย มุทะลุดุดัน ก้าวร้าว ไม่เข้าใจความซับซ้อนของการเมือง จึงตกเป็นเหยื่อนักการเมือง

ขบวนการต่อสู้ทางการเมืองของชาวชนบทถูกดิสเครดิตอยู่อย่างสม่ำเสมอว่าเป็นขบวนการที่รับเงินมาจากนักการเมือง



อาการเหยียดสีผิว เหยียดคนจน เหยียดหยามคนชนบทพุ่งสูงขึ้นเป็นพิเศษหลังการเลือกตั้งที่คนรอบข้าง และอดีตเพื่อนฝูงของฉันหลายคนต่างโทมนัสกับผลการเลือกตั้งที่บรรดา "คนจนผู้ไร้เดียงสา" ของพวกเขาต้องตกเป็นเหยื่อนักการเมืองชั่วครั้งแล้วครั้งเล่า

เพื่อนบางคนถึงกับโพสต์ในเฟซบุ๊กด้วยอาการน้ำตาหลั่งรินว่า "ต่อไปนี้เราจะอยู่กันอย่างไร" (อยากตอบไปใจจะขาดว่า ก็อยู่อย่างเคารพในสติปัญญาของคนอื่นบ้าง อย่าดราม่าให้มากนัก)

ว่าแล้วก็สำนึกขึ้นได้ว่าอาการ Racist ในสังคมไทยก็แบ่งออกเป็น 2 ประเภทอีกนั่นแหละคือ ประเภท เหยียดหยามกันซึ่งหน้า ซึ่งเข้าใจง่ายดี คือกลุ่มที่ออกมาบอกว่า "เกลียดพวกควายแดง" หรืออะไรก็ว่ากันไป แบบเปิดหน้าชก ตรงไปตรงมา ไม่อาย ไม่ซ่อนเร้น ไม่ทำ Politically Correct

ข้อดีของคนกลุ่มนี้คือ อย่างน้อยก็จริงใจไม่ดัดจริต


อีกกลุ่มหนึ่ง คือกลุ่มคนที่หลงใหลในวิถีชนบท อยู่กับ Narrative หรือ เรื่องเล่าของนักกิจกรรมรุ่นที่ใหม่กว่าพวก "คอมฯ เก่า" นิดหน่อย ที่เห็นว่าชาวบ้านแลวิถีชีวิตของชาวบ้านถูกรุกรานโดยกลุ่มทุนสามานย์ รังเกียจวัฒนธรรมบริโภคนิยมที่เป็นประหนึ่งปีศาจล่อลวงซื้อเอาความเป็นมนุษย์ของชาวบ้านผู้น่าสงสารเหล่านั้นไป สงสารชาวบ้านที่ต้องไปตายแทนนักการเมือง

คนกลุ่มนี้หลงใหลในแสงเดือนแสงดาว รังเกียจไฟฟ้าเพราะมันทำให้มองเห็นดวงดาวบนท้องฟ้าไม่ชัด ดังนั้น จึงไม่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าแรง เพราะมันทำให้คนเห็นแก่เงิน ไม่เห็นด้วยกับการแจก Tablet เพราะมันทำลายกระบวนการเรียนการสอนแบบที่ให้ "คน" เป็นศูนย์กลาง (แต่หากพรรคการเมืองที่ตนเองชอบ "แจก" ก็จะมีเหตุผลอีกชุดหนึ่งมารองรับว่าดีอย่างนั้น ดีอย่างนี้) อาการอยากแช่แข็งชนบทให้งดงามตามจินตนาการ ฝันอยากเห็นชาวบ้านอยู่บ้านดิน ทำนา เลี้ยงควาย ใช้เงินน้อยๆ

สำหรับฉันเป็นความรุนแรงเชิงอุดมการณ์ที่คนในเมืองมีการศึกษากระทำกับชาวชนบทอย่างโหดเหี้ยม เลือดเย็น และเห็นควรต้องได้รับการชำแหละ รื้อถอน ถอดจินตนาการของพวกเขาออกมาเป็นชิ้นๆ ให้รู้ไส้รู้พุงกันไปข้างหนึ่ง



การหลุดพ้นจากพันธนาการของความเป็นไทยในภาพมายาอันเป็น "โครงการ" ที่ถูก "ปลูกถ่าย" ในจิตสำนึกของคนไทยเพื่อหล่อเลี้ยงอำนาจเก่า และเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจของชนชั้นกลางให้ถูกกักขังไว้ในโลกจารีต (ผลของมันคือ สังคมไทยที่มีชนชั้นกลางทางกายภาพแต่ไม่มีชนชั้นกลางทางอุดมการณ์ ชนชั้นกลางทางกายภาพเหล่านี้มีภาพของ "ชนชั้นสูง" เป็นภาพอุดมคติ พวกเขามีความสุขกับการบริโภคอาหารที่มียี่ห้อ "ผู้ดีเก่า" ต่อท้าย ชอบอ่านบทความและหนังสือเกี่ยวกับชีวิตชาววังสมัยโบราณ หลงรักนิยายเรื่องสี่แผ่นดิน ชอบอ่านนิยายของ ว.วินิจฉัยกุล ชอบตำราอาหารของ ม.ล.เนื่อง นิลรัตน์ แสวงหาตำรายาไทยของผู้ดีเก่า เป็นต้น) จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเรารื้อ "อดีต" จอมปลอมที่หล่อเลี้ยงอุดมการณ์เหล่านี้ลงได้

ประวัติศาสตร์อเมริกานั้นนอกจากขบวนการต่อสู้ของคนดำ กรรมกร คนพื้นเมือง ผู้หญิงผิวสี และอื่นๆ แล้ว วิชาประวัติศาสตร์ที่สอนในโรงเรียนได้รับการ "รื้อ" อย่างเอาจริงเอาจัง หนังสือประวัติศาสตร์เล่มสำคัญเล่มหนึ่งคือ Lies My Teacher Told Me โดย James Loewen ซึ่งได้เข้าไปสำรวจว่า ตำราประวัติศาสตร์อเมริกันที่ใช้สอนนักเรียนอยู่นั้นมีความเป็น Eurocentric และเป็นทั้ง Mythologized นั่นคือเป็นการเขียนประวัติศาสตร์ที่ตั้งอยู่บนโลกทัศน์แบบการเอาเรื่องคนผิวขาว เอายุโรปเป็นศูนย์กลาง และมีลักษณะของการสร้างมหากาพย์ ตำนาน มากกว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ตามข้อเท็จจริง

ไม่รู้ว่าอีกกี่ร้อยปีแสงที่คนไทยและสังคมไทยจะสามารถเขียนหนังสือชื่อ "เรื่องที่ครูสอนเราล้วนแต่เป็นเรื่องโกหก" ออกมาได้ อาจรวมถึง เรื่องที่ปรากฏในสารคดีโทรทัศน์ทั้งหมดล้วนแต่เป็นเรื่องโกหก เรื่องที่หนังสือพิมพ์เขียนทุกวันล้วนแต่เป็นเรื่องโกหก เรื่องที่นักเขียนระดับชาติพูดทุกวันล้วนแต่เป็นเรื่องโกหก ฯลฯ ที่ลงท้ายว่า "ล้วนแต่เป็นเรื่องโกหก"

เพราะมีแต่การรื้อ แยกแยะเอาข้อเท็จจริงออกจากเรื่องเล่า และตำนาน เท่านั้น ที่จะทำให้สังคมเติบโต และก้าวไปสู่ความมีวุฒิภาวะ จนกว่าจะได้กลายเป็น "นิวยอร์ก เมืองที่เปิดกว้างสำหรับคนทุกคน ไม่เกี่ยวกับเชื้อชาติ" ขึ้นมาได้

เอ๊ะ นี่ฉันกำลังพูดเรื่องอะไรอยู่ ????


.

2554-07-30

เรื่องฉาวที่อังกฤษฯ, วอชิงตันเพาเวอร์เพลย์ฯ, รัฐสวัสดิการกับความเกลียดชังฯ

.

เรื่องฉาวที่อังกฤษ ยิ่งคุ้ยยิ่งลึก-ยิ่งสกปรก!
คอลัมน์ ต่างประเทศ
ในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 31 ฉบับที่ 1614 หน้า 102


กรณีที่หนังสือพิมพ์ในอังกฤษเรียกขานว่า "แฮกกิ้ง สแกนดัล" ในเวลานี้นั้น เริ่มต้นจากพฤติกรรมของสื่อมวลชนบางคน บางกลุ่ม ก็จริง แต่เริ่มลุกลามบานปลายออกไปมากมายขึ้นเรื่อยๆ

จากจุดเริ่มต้นที่ เดลี่ เมล์, เดลี่ มิร์เรอร์ ขยายวงกว้างไกลออกเป็น นิวส์ ออฟ เดอะ เวิร์ลด์ ของ นิวส์ อินเตอร์เนชั่นแนล และ นิวส์ คอร์ป. 2 บริษัทในอาณาจักรสื่ออันยิ่งใหญ่ของ รูเพิร์ต เมอร์ด็อก ชาวออสเตรเลีย ลุกลามออกไปยังสหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย แต่ยังไม่ยุติลงแค่นั้น

หลังจากนั้นเรื่องพฤติกรรมฉาวของสื่อ ก็กลายเป็นเรื่องอื้อฉาวในกรมตำรวจ จากสถานีตำรวจเซอร์เรย์ บานปลายกลายเป็นเรื่องของการ "วางเฉย" ของบุคคลระดับผู้บัญชาการตำรวจ ก่อนที่จะแปรสภาพเป็นประเด็นทางการเมืองที่เชื่อมโยงไปถึงรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่ใกล้ชิดกับตัวนายกรัฐมนตรี รวมทั้งตัวนายกรัฐมนตรี เดวิด คาเมรอน จากพรรคคอนเซอร์เวทีฟ ที่เพิ่งอยู่ในตำแหน่งมาได้เพียงแค่ 15 เดือนเท่านั้น

ว่ากันด้วยว่า จากกรณีที่จำกัดอยู่แค่เรื่องการ "แฮ็ก" โทรศัพท์ กรณีนี้กำลังจะกลายเป็นคดียาเสพติดคดีใหญ่ที่เกี่ยวเนื่องกับการลักลอบค้านำโคเคนจำนวน "ไม่จำกัด" เข้าไปยังอังกฤษอีกต่างหาก


เพื่อทำความเข้าใจเรื่องทั้งหมด ต้องจำชื่อ 3 ชื่อเอาไว้ในใจ หนึ่งคือ โจนาธาน รีส สองคือ สตีฟ วิททามอร์ และสุดท้ายคือ เกล็นน์ มัลแคร์

ทั้งหมดเป็นนักสืบเอกชนที่ถูกกล่าวหามายาวนานนักหนาว่า ทำมาหาเลี้ยงชีพอยู่ได้ด้วยการ "ขาย" ข้อมูลที่ได้มาโดยผิดกฎหมายให้กับสื่อมวลชน

รีส ที่มีสำนักงานอยู่ในลอนดอนใต้ ตกเป็นผู้ต้องหารายสำคัญในการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจเมื่อปี 1999 ในข้อหาติดสินบนเจ้าหน้าที่ตำรวจสก็อตแลนยาร์ดเพื่อให้ได้มาซึ่งข่าวที่นำไปขายให้กับหนังสือพิมพ์หลายฉบับ ซึ่งเจ้าตัวบอกว่า "ไม่มีฉบับไหนจ่ายงามเท่า นิวส์ ออฟ เดอะ เวิร์ลด์ อีกแล้ว"

ในเวลาต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจพบว่า นิวส์ ออฟ เดอะ เวิร์ลด์ จ่ายเงินให้กับ โจนาธาน รีส ถึงปีละ 150,000 ปอนด์ หรือราวๆ 4.5 ล้านบาท


วิททามอร์ ถูกเจ้าหน้าที่จากคณะกรรมการด้านข้อมูลข่าวสารแห่งอังกฤษบุกเข้าตรวจค้นสำนักงานเมื่อปี 2003 ยึดเอาไฟล์ข้อมูลจำนวนมากที่กลายเป็นรายงานว่าด้วยพฤติกรรม "การนำข้อมูลลับส่วนบุคคลไปจำหน่ายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย" จากคณะกรรมการด้านข้อมูลข่าวสารแห่งอังกฤษในปี 2006

แต่ปรากฏว่าไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือหน่วยงานอื่นใด นำรายงานชิ้นนั้นมาดำเนินการต่อ ทำให้คณะกรรมการต้องออกมาเปิดโปงรายชื่อของสิ่งพิมพ์ 31 ฉบับ "ที่มีหลักฐานบ่งชี้ได้ว่า" ซื้อข้อมูลจากวิททามอร์

ในรายชื่อของ "ผู้ซื้อ" หรือ "ผู้ว่าจ้าง" ดังกล่าวคือ ชื่อของผู้สื่อข่าว 58 คนของเดลี่ เมล์ พร้อมคำสั่งซื้อ 952 คำสั่ง นิวส์ ออฟ เดอะ เวิร์ลด์ กลับรั้งอยู่ในลำดับที่ 5 ของรายชื่อ มีพนักงาน 19 คนสั่งซื้อข้อมูลรวม 152 รายการ


เกลนน์ มัลแคร์ อดีตนักเตะอาชีพที่ผันตัวมาเป็นนักสืบเอกชน ถูกศาลตัดสินจำคุกไปเมื่อปี 2007 พร้อมกับผู้สื่อข่าวของ นิวส์ ออฟ เดอะ เวิร์ลด์ อีกคน ฐานแฮ็กเข้าไปเพื่อดึงข้อมูลออกจากเจ้าหน้าที่ในราชสำนักพระราชวังบักกิ้งแฮม

ไฟล์ข้อมูล 11,000 ชิ้นที่เจ้าหน้าที่ยึดมาได้นั้นอยู่ในครอบครองของสก็อตแลนด์ยาร์ดมาตั้งแต่ปี 2006 ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลอังกฤษที่เพิ่งลาออกไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีสาเหตุโดยตรงมาจากการละเลย ไม่ใส่ใจต่อหลักฐานทั้งหมดที่อยู่ในมือชิ้นนี้



นี่หากไม่บังเกิดกรณี "มิลลี่ ดาวเลอร์" เด็กสาวที่หายสาบสูญไป และ นิวส์ ออฟ เดอะ เวิร์ลด์ ว่าจ้างให้มีการเจาะเข้าไปในระบบโทรศัพท์มือถือของเธอ ก่อนที่จะลบข้อมูลในโทรศัพท์ดังกล่าวทิ้ง เพราะกลัวว่าจะไม่ได้ข่าว "เอ็กซ์คลูซีฟ" จนเป็นเหตุให้ครอบครัวเข้าใจผิด เชื่อมั่นอย่างผิดๆ ว่า ดาวเลอร์ ยังมีชีวิตอยู่ เกิดขึ้น ยังไม่แน่ใจนักว่าสก็อตแลนด์ยาร์ดจะหันมาสนใจหรือไม่

ไม่เพียงไม่ใส่ใจในหลักฐานที่มีอยู่ในมือ แล้วทำอย่างหนึ่งอย่างใดกับมัน เจ้าหน้าที่ตำรวจเซอร์เรย์ ยังออกมาให้การประหนึ่งปกป้องการกระทำของผู้สื่อข่าว เตรียมผลักดันให้เรื่องนี้อยู่ภายใต้การคุ้มครองของการเปิดเผยกรณีที่ "เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ" แทนที่จะจับกุมผู้สื่อข่าวและดำเนินคดีกับสิ่งพิมพ์ นั่นเป็นเรื่องหนึ่ง

ที่หนักหนาสาหัสกว่าก็คือ ทำไมถึงไม่แจ้งเรื่องต่อครอบครัว การปล่อยให้ครอบครัวผู้รอคอยเข้าใจผิดๆ อยู่อย่างนั้น อำมหิตเลือดเย็นอย่างยิ่ง

ถ้าหากเจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามทุกกรณีที่เห็นได้ชัดว่ามีการกระทำผิดเกิดขึ้นและจับกุมคุมขังผู้สื่อข่าวหลายๆ คนไปตั้งแต่เมื่อปี 1999 คงมีเหยื่อของคนหิวเงินพวกนี้ลดน้อยลงไปกว่านี้เยอะ


ในทัศนะของชาวอังกฤษในเวลานี้ สิ่งที่พวกเขากังขามากกว่าพฤติกรรมของสื่อบางกลุ่ม ก็คือ พฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ผู้ทำหน้าที่รักษากฎหมาย และนั่นทำให้พฤติกรรมฉาวครั้งนี้อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่สำหรับแวดวงตำรวจเมืองผู้ดีติดตามมา

โจนาธาน รีส เอง เคยแม้แต่กระทั่งตกเป็นผู้ต้องสงสัยใช้ขวานฟันคู่นอนตัวเองเสียชีวิตเมื่อปี 1987 คดีที่ยังคงปิดไม่ลงในการดูแลของสก็อตแลนด์ยาร์ด เชื่อกันอย่างไม่เป็นทางการในตอนนั้นว่า คู่นอนรายนั้นจำเป็นต้องตายเพราะกำลังจะเปิดโปงขบวนการค้าโคเคนของเจ้าหน้าที่ตำรวจในเขตตะวันออกเฉียงใต้ของลอนดอน

รีสเอง เคยถูกคุมขังในเวลาต่อมาฐานร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจขี้ฉ้อรายหนึ่งซึ่งถูกจับพร้อมๆ กัน ยัดหลักฐานโคเคนให้กับสตรีผู้หนึ่ง


ฌอน ฮอเร่ ผู้สื่อข่าวของนิวส์ ออฟ เดอะ เวิร์ลด์ ที่ออกมาเปิดโปงกรณี มิลลี่ ดาวเลอร์ เคยบอกเล่าเอาไว้ว่า ที่ "โต๊ะข่าว" ของสำนักงานของหนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ฉบับนี้ มีการเสพโคเคนกันให้ควั่ก

จนไม่มีใครเสียดายแม้แต่น้อยเมื่อจำต้องรูดม่านปิดฉากลง!!



++

วอชิงตัน เพาเวอร์ เพลย์ เดิมพันสูง-ผลกระทบสูง
คอลัมน์ ต่างประเทศ
ในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 31 ฉบับที่ 1615 หน้า 102


การเมืองในละแวกวอชิงตันเวลานี้สนุกยิ่งกว่าละครระดับมหากาพย์หลายเรื่องรวมกัน เป็นเกม "เพาเวอร์ เพลย์" ที่งัดทุกสิ่งทุกอย่างออกมาละเลงกันชนิด ช็อตต่อช็อต คัตต่อคัต แบบไม่ลดราวาศอกกันเลยทีเดียว

สนุกแน่นอน ถ้าหากว่าทั้งหมดเป็นเพียงบทละครหรือบทภาพยนตร์สักเรื่อง ปัญหาก็คือ มันไม่ใช่ละคร เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นจริงเสียยิ่งกว่าจริง ที่สำคัญก็คือ ไม่มีใครรู้ว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจะหนักหนาสาหัสแค่ไหน เพราะสภาวะเช่นนี้ สุ่มเสี่ยงถึงขีดสุดแบบนี้ ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองอเมริกัน

ถึงแม้จะเคยมีปรากฏการณ์คล้ายๆ กันมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ก็ลงเอยได้ถอนหายใจโล่งอกกันได้นานก่อนหน้า "เส้นตาย" มากโขอยู่ทุกครั้งไป

ทิโมธี ไกต์เนอร์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐอเมริกาถึงกับออกปากว่า ไม่นึกไม่ฝันเหมือนกันว่า ทุกฝ่ายจะพากันมากองกันอยู่ริมขอบเหวเหมือนกับที่เป็นอยู่ในเวลานี้


เรื่องทั้งหมดเริ่มต้นที่ "อำนาจ" ในการก่อหนี้ของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาจะหมดลงภายในวันที่ 2 สิงหาคมนี้ เพราะอำนาจในการก่อหนี้เดิมที่สภาคองเกรสมอบมาให้นั้นถูกใช้เต็มเพดานไปแล้ว จะก่อหนี้ใหม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นหนี้ในประเทศหรือนอกประเทศ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบไหน อย่างไร ต้องได้รับความเห็นชอบจากทั้งสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกา ซึ่งตอนนี้รีพับลิกันมีเสียงข้างมากอยู่ กับสภาสูง หรือ ซีเนต ที่ตอนนี้เดโมแครตครองเสียงข้างมากอยู่

ดังนั้น โดยธรรมชาติของการเมือง ส.ส.รีพับลิกันก็ต้องใช้โอกาส "ทอง" นี้ บีบบังคับให้ รัฐบาลจากพรรคเดโมแครต "ยอมรับ" นโยบายของตนเองไปใช้-นั่นคือการปรับลดรายจ่ายภาครัฐลง แล้วก็เป็นธรรมชาติทางการเมืองเช่นกันที่เดโมแครตเองก็ต้องพยายามทำให้ดีที่สุด เพื่อให้แผนขยายเพดานหนี้ของตนเองคลอดผ่านสภาออกมาได้โดยที่ยัง "อยู่ในร่องในรอย" ของนโยบายที่ตนประกาศใช้และรณรงค์หาเสียงมา นั่นคือพลิกฟื้นเศรษฐกิจให้เร็วที่สุดและให้ความช่วยเหลือต่อชนชั้นกลางและล่างให้มากที่สุดด้วยโครงการสารพัดประกันทั้งหลาย

เขาจึงเถียงกันหน้าดำคร่ำเครียดว่า ควรตัดทอนงบประมาณรายจ่ายภาครัฐลงเท่าใด และจะตัดทอนเอามาจากไหนกันบ้าง


เรื่องยิ่งยุ่งยากซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเมื่อปีหน้า 2012 ให้บังเอิญเป็นปีเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา รีพับลิกัน ต้องการใช้ประโยชน์จากเรื่องนี้ในทางการเมืองให้มากที่สุด ดำรงสถานะได้เปรียบเหนือรัฐบาลให้มากที่สุด จึงเสนอขยายเพดานก่อหนี้ "ชั่วคราว" เพื่อให้แน่ใจว่าแนวทางของตนถูกนำไปปฏิบัติจริง

เดโมแครตเชื่อว่าการทำอย่างนั้น นอกจากจะก่อให้เกิดความไม่แน่นอนขึ้นในความรู้สึกของตลาดเงินตลาดทุนแล้ว ยังเหมือนตกเป็นเบี้ยล่างทางการเมือง จึงต้องการให้ไปถกกันใหม่อีกทีหลังเลือกตั้งเสร็จแล้วเป็นอย่างน้อย

เลยมาเถียงกันเรื่องระยะเวลาของการขยายเพดานหนี้อีกประเด็นหนึ่ง

ทั้งหมดนั่นเป็นข้อถกเถียงที่เกิดขึ้นอยู่หน้าฉาก หลังฉากที่ใหญ่โตกว่าก็คือสังคมอเมริกัน ซึ่งตกอยู่ในสภาพ "แบ่งแยกทางความคิด" สูงมาก แหลมคมมากกว่าทุกยุคทุกสมัย

ที่ผ่านมา เคยมีกรณีที่รัฐบาลอเมริกันเตลิดเปิดเปิงไปทางหนึ่ง กลไกทางการเมืองของสหรัฐอเมริกาเปิดโอกาสให้ "รัฐสภา" เป็นผู้ดึงรัฐบาลกลับมาเข้าที่เข้าทาง โดยอาศัยการรวมหัวกันโหวตแบบไม่ต้องยึดแนวทางพรรค แต่ยึดความถูกต้องเป็นหลัก

เคยมีเช่นกันที่ รัฐบาลและรัฐสภา ยึดมั่นแต่ในแนวทางพรรค หัวเด็ดตีนขาดก็ต้องว่าไปตามพรรคใครพรรคมัน การเมืองอเมริกันก็มี "มติมหาชน" ที่สะท้อนออกมาจากการทำโพล เป็นเครื่องบีบคั้น กดดันให้รัฐสภาและ/หรือรัฐบาล ต้องดำเนินการไปตามแนวทางหนึ่งแนวทางใดที่เสียงส่วนใหญ่ต้องการ

ปัญหาที่เกิดขึ้นในเวลานี้ก็คือ "มติมหาชน" ก็แตกออกเป็นเสี่ยงตามแนวทางของพรรคไปอีกเหมือนกันจนไม่เกิดแรงกดดันมากพอ หรือทำให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหยิบไปอ้างอิงได้อย่างทรงพลังพอในการเดินตามแนวทางการเมืองของตนเอง



ผลโพลของ พิว รีเสิร์ช เซ็นเตอร์ สำรวจเมื่อกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาเป็นตัวอย่างที่ดียิ่ง ผลออกมา 40 เปอร์เซ็นต์เห็นว่า "จำเป็นอย่างยิ่ง" ที่ต้องขยายเพดานหนี้ให้ทัน 2 สิงหาคม ซึ่งเป็นไปตามแนวความคิดของเดโมแครต แต่มีอีก 39 เปอร์เซ็นต์ มากพอๆ กันในเชิงสถิติที่เห็นว่า "ไม่จำเป็น" เพราะไม่ขยายก็ไม่น่าจะเกิดอะไรขึ้นใหญ่โต อันเป็นแนวทางของรีพับลิกันเป๊ะ

เกจิทางการเมืองอเมริกันชี้ว่า การเกิดขึ้นของขบวนการ ที ปาร์ตี้ และการได้รับชัยชนะเข้ามามหาศาลในการเลือกตั้งกลางเทอมที่ผ่านมาของตัวแทนที่ขบวนการ ที ปาร์ตี้ หนุนหลัง ทำให้ รีพับลิกันสวิงออกไปทางขวาสุดโต่งมากขึ้น แล้วก็ส่งผลให้ เดโมแครตต้องสวิงไปทางซ้ายสุดโต่งมากขึ้นเช่นกัน เพื่อรักษาฐานเสียงในการเลือกตั้งที่จะมาถึงในปีหน้าไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

แนวทางเสรีนิยมสุดๆ กับอนุรักษนิยมสุดๆ ของทั้งสองขั้วนั้น เดินไปด้วยกันไม่ได้แน่นอน นั่นเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไม เกมชิงอำนาจว่าด้วยเพดานหนี้หนนี้ถึงไม่ลงเอยเสียที


คำถามสำคัญก็คือ แล้วถ้าไม่มีการขยายเพดานหนี้จริงๆ จะเกิดผลกระทบอะไรบ้าง? นักวิเคราะห์ที่เป็นกลางๆ ฟันธงว่ามี และอาจจะหนักหนาสาหัสกว่าที่หลายคนในสหรัฐอเมริกาคิด เพราะสภาวะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาในเวลานี้ อุปมาได้กับคนป่วยหนักที่เพิ่งฟื้นจากโคม่ามาหมาดๆ เท่านั้นเอง

นอกเหนือจากการที่รัฐบาลอเมริกันจะไม่มีเงินใช้แล้ว สิ่งแรกที่จะเกิดขึ้นก็คือ ค่าเงินดอลลาร์ดิ่งลงแน่นอนเป็นลำดับแรกสุด นี่เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมราคาทองคำเมื่อต้นสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาถึงทะยานขึ้นสู่จุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพราะคนที่ถือดอลลาร์อยู่เทขายออกมาเพื่อไปถือทองคำที่แน่นอนกว่ามากแล้วในเวลานี้แทน

ที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือ ดอกเบี้ยในสหรัฐอเมริกาจะสูงขึ้น ที่สูงขึ้นเพราะพันธบัตรรัฐบาลอเมริกันที่เดิมมีหลักประกันมั่นคงอย่างยิ่งและจ่ายผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยน้อยอย่างยิ่ง กลายเป็นไม่มั่นคงขึ้นมาและทำให้ต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงๆ ถึงจะจูงใจผู้ซื้อได้ นั่นทำให้ต้นทุนในการปล่อยกู้ในประเทศสูงขึ้นเป็นเงาตามตัวตามไปด้วย

ปีงบประมาณใหม่นี้คาดกันว่ารัฐบาลสหรัฐอเมริกาจะทำงบประมาณแบบต้องกู้หนี้สูงถึง 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ เอาแค่หาเงินมาจ่ายดอกก็น่าเหนื่อยแทนแล้ว ในขณะเดียวกัน การปล่อยกู้ในระบบการเงินของสหรัฐอเมริกาก็จะชะลอช้าลง หรือปล่อยยากขึ้น

รัฐบาล หาเงินจากการกู้ไม่ได้ก็ต้องจำเป็นอยู่ดีที่จะต้อง "ขึ้นภาษี" และ "ปรับลดรายจ่าย" ลงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ไปคู่กัน เพื่อหารายได้เข้ารัฐ ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจหดตัวลงตามไปอีก

ในอีกด้านหนึ่ง ดอกเบี้ยแพง ทำให้ต้องผ่อนบ้านแพงขึ้น ผ่อนบัตรเครดิตแพงขึ้น ผู้คนก็จะเริ่มใช้จ่ายน้อยลง กระทบต่อการบริโภคตามมา ซึ่งว่ากันว่าจะเร็วและรุนแรงอย่างยิ่ง ผลก็คือ เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาเสี่ยงต่อการตกกลับไปสู่ภาวะถดถอยมากขึ้นกว่าครั้งไหนๆ ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมาตามไปด้วย

ทั้งหมดนี้ไม่เพียงทำให้สถานะทางเศรษฐกิจการเงินในเวทีระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกาสูญเสียไปเท่านั้น ยังส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจโลกชะลอลงตามไปด้วย ไม่มากก็น้อย !



++

รัฐสวัสดิการกับความเกลียดชังมุสลิม เหตุแห่งโศกนาฏกรรม"นอร์เวย์"
คอลัมน์ ต่างประเทศ
ในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 31 ฉบับที่ 1615 หน้า 103


หลายต่อหลายคนรู้จักนอร์เวย์ในนามของ "ดินแดนพระอาทิตย์เที่ยงคืน"

บ้างก็รู้จักว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้ชื่อว่า "ปลอดภัยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก"

แต่บางคนก็รู้จักกันว่านอร์เวย์เป็นหนึ่งในประเทศที่ค่าครองชีพสูงที่สุดในโลก

ไม่เคยมีใครคาดคิดว่า ประเทศที่แสนจะดูดีในกลุ่มสแกนดิเนเวียแห่งนี้ และดูปลอดภัยที่สุดแห่งนี้ จะตกเป็นเป้าของการก่อเหตุรุนแรง ด้วยฝีมือของคนในประเทศเดียวกันเองเสียด้วย

โศกนาฏกรรมที่ถือว่าร้ายแรงที่สุดในยุโรป นับตั้งแต่เหตุระเบิดรถไฟในกรุงมาดริด ประเทศสเปน (เมื่อปี 2547) เกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 15.30 น. ตามเวลาท้องถิ่นของนอร์เวย์ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม

มีรายงานเกิดเหตุระเบิดขึ้นบริเวณพื้นที่ในเขตที่ทำการรัฐบาลและที่ตั้งของหนังสือพิมพ์ชื่อดัง ใจกลางกรุงออสโล เมืองหลวงของนอร์เวย์ มีรายงานผู้เสียชีวิต 8 รายและบาดเจ็บหลายราย

แต่ยังไม่ทันที่ข่าวเรื่องการระเบิดจะคลี่คลาย อีกเกือบ 2 ชั่วโมงต่อมา ก็มีรายงานว่า ที่เกาะอูโทยา ห่างจากกรุงออสโลไม่เท่าไหร่ เกิดเหตุคนแต่งกายเป็นชุดเจ้าหน้าที่ตำรวจ กราดยิงผู้คนที่กำลังเข้าค่ายเยาวชนกันอยู่ ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 68 ราย ส่วนผู้ก่อเหตุถูกจับกุมตัวได้ในที่สุด


แรกเริ่มที่ยังไม่รู้ที่มาที่ไป หลายคนพุ่งเป้าชี้นิ้วไปที่กลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงทั้งหลาย ว่าน่าจะเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการโจมตีครั้งนี้ เพราะแม้ว่านอร์เวย์จะเป็นประเทศที่สงบสุข หากแต่ก็มีส่วนร่วมในการส่งกำลังทหารเข้าไปรบกับองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือหรือนาโต ทั้งในอัฟกานิสถานและลิเบีย

แต่เมื่อตรวจสอบแน่ชัดแล้ว กลับทำให้หลายคนถึงกับอึ้ง เพราะคนที่ก่อเหตุเป็นชาวนอร์เวย์ด้วยกันเอง



ผู้ก่อเหตุชื่อ นายอันเดอร์ส เบห์ริง เบรวิก อายุ 32 ปี ยอมรับว่าเป็นผู้ลงมือคนเดียวในทั้งสองเหตุการณ์ โดยหลังจากวางระเบิดที่กรุงออสโลแล้ว ก็เดินทางไปยังเกาะอูโทยาด้วยการขึ้นเรือเฟอร์รี่ไป เพื่อสังหารผู้คนอีกจำนวนมากอย่างเหี้ยมโหดด้วยการเรียกให้ทุกคนมารวมตัวกันโดยอ้างว่าตัวเองเป็นตำรวจเพื่อมาแจ้งข่าวเรื่องเหตุระเบิดที่กรุงออสโล ก่อนจะกราดยิงทุกคนอย่างไม่เลือกหน้า และยังมีการตรวจสอบดูว่าใครยังไม่ตายหรือแกล้งตาย ก็จะเข้าไปจ่อยิงซ้ำให้ตาย

จากการตรวจสอบประวัติของนายเบรวิก พบว่า เป็นพวกหัวรุนแรงฝ่ายขวาจัด ประเภทชาตินิยม ที่เกลียดชังและต่อต้านพวกมุสลิม และมีเป้าหมายในการโจมตีคือรัฐบาลเสรีนิยมภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี เยนส์ สตอลเทนเบิร์ก

โดยเบรวิกเป็นชาวคริสเตียน ที่มีจุดยืนทางการเมืองฝ่ายอนุรักษนิยม และชื่นชอบหนังสือ "1984" ของ จอร์จ ออร์เวลล์ ผู้เขียนนิยายล้อเลียนการเมืองเรื่อง "การเมืองเรื่องของสัตว์" (Animal Farm) และหนังสือ "The Prince" (เจ้าผู้ปกครอง) ของมาเคียเวลลี

เบรวิก ยังได้เขียนเรื่องราวบนอินเตอร์เน็ตว่าด้วยความเกลียดชังต่อชาวมุสลิมอพยพที่มีความยาวถึง 1,500 หน้า ซึ่งมีเรื่องเกี่ยวกับการเตรียมการ "ปฏิบัติการสังหาร" เอาไว้ตั้งแต่ปี 2552 และยังมีคู่มือเกี่ยวกับวิธีการประกอบระเบิด

บางส่วนก็เป็นการระบายความโกรธแค้นเรื่องความคิดเห็นทางการเมือง และอธิบายถึงรายละเอียดว่าเหตุใดจึงมีทัศนคติต่อต้านมุสลิม อีกทั้งการที่เขาจัดตั้งธุรกิจเหมืองแร่และทำฟาร์มก็เพื่อบังหน้าเตรียมสำหรับการก่อเหตุรุนแรง

โดยระบุว่า "เหตุผลที่ตัดสินใจทำครั้งนี้ก็เพื่อสร้างข้ออ้างที่เชื่อถือได้ในกรณีที่ผมถูกจับกุมในข้อหาซื้อและลักลอบนำระเบิดเข้าประเทศหรืออุปกรณ์ที่ใช้ประกอบระเบิด สิ่งเหล่านี้เป็นสารเคมีที่ใช้ทำปุ๋ยเคมี"

และข้อความที่ว่า "ผมจะต้องถูกตราหน้าว่าเป็นสัตว์ประหลาด (นาซี) ที่โหดร้ายที่สุดที่เคยมีการพบเจอนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา"

ซึ่งในเอกสารดังกล่าวยังมีการกล่าวถึงเพื่อนๆ และรายละเอียดในชีวิตประจำวัน รวมทั้งการที่ต้องดื่มไวน์ราคาแพงก่อนหน้าที่จะก่อเหตุรุนแรงด้วย

เบรวิก ยังได้บอกถึงความเป็นตัวตนของตัวเองว่า สนใจและชื่นชอบเกมคอมพิวเตอร์แนวสงคราม ไม่ว่าจะเป็นเวิลด์ ออฟ วอร์คราฟต์ และโมเดิร์น วอร์แฟร์ 2

ขณะที่ในทวิตเตอร์ของเบรวิก มีข้อความเพียง 1 ข้อความเขียนไว้ เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม อ้างคำกล่าวของ จอห์น สจ๊วร์ต มิลล์ นักปรัชญาชาวอังกฤษ ที่ระบุว่า "บุคคลที่มีศรัทธาเพียงคนเดียวเท่ากับกองทัพคน 100,000 ที่มีเพียงแค่ความสนใจ"



ในการขึ้นให้การต่อศาลของนายเบรวิก เขาบอกว่า พร้อมที่จะใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ในคุก และปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา พร้อมประกาศว่า สิ่งที่ตนได้ทำไปนั้นเป็นความพยายามที่จะปกป้องยุโรปจากการถูกพวกมุสลิมครอบงำ และต้องการจะเรียกร้องให้ทุกคนรู้ว่าการสังหารผู้คนครั้งนี้เพื่อให้ทุกคนได้ตื่นขึ้นมารับรู้ถึงปัญหา

นอกจากเบรวิกจะเป็นพวกต่อต้านมุสลิมแล้ว กลุ่มเฝ้าระวังต่อต้านฟาสซิสต์ยังระบุว่า เบรวิกยังเป็นสมาชิกของเว็บบอร์ดของกลุ่มนีโอนาซีของสวีเดน ที่ชื่อว่านอร์ดิสก์อีกด้วย ซึ่งเว็บบอร์ดนี้จะมีการตั้งหัวข้อในการถกเถียงแสดงความคิดเห็นกันในหลายประเด็น ตั้งแต่แนวดนตรี ไปจนถึงยุทธศาสตร์ทางการเมืองสำหรับระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ล้มเหลว

แนวความคิดในลักษณะเดียวกับเบรวิกที่ต่อต้านรัฐบาลและต่อต้านมุสลิมนั้น ดูเหมือนจะมีเพิ่มมากขึ้นในนอร์เวย์ รวมทั้งในหลายประเทศในยุโรป เนื่องจากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีผู้อพยพจากหลายเชื้อชาติเข้าไปอยู่ในนอร์เวย์เพิ่มมากขึ้นรวมทั้งในอีกหลายประเทศของยุโรป

หากแต่ปัญหาเรื่องผู้อพยพนั้นจริงๆ แล้วไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่หนักหนาสำหรับนอร์เวย์ แต่กลับสร้างความไม่พอใจต่อชาวนอร์เวย์บางส่วนที่เป็นพวกขวาจัดชาตินิยม ที่ไม่พอใจกับพวกคนแปลกหน้าที่เข้ามาแย่งชิงพื้นที่ทำกินในบ้านเกิดของตัวเอง

ในขณะที่พรรคแรงงานซึ่งเป็นพรรครัฐบาลเอง มีนโยบายสนับสนุนความเป็นรัฐสวัสดิการ ที่เกื้อหนุนประชาชนในทุกชนชั้น และเปิดรับผู้อพยพจากนานาประเทศเข้ามาแม้ว่าจะเป็นภาระก็ตาม แต่ผู้อพยพเหล่านี้ก็จะได้รับความช่วยเหลือจากสวัสดิการเช่นกัน เพียงแต่อาจจะน้อยกว่าชาวนอร์เวย์ เป็นเหตุให้คนเหล่านี้ต้องขวนขวายเลี้ยงชีพตัวเองมากขึ้น จนกลายเป็นคนขยันและมั่งคั่งมากขึ้น

เรื่องนี้นี่เองที่สร้างความไม่พอใจให้กับชาวนอร์เวย์บางกลุ่มที่เห็นว่า ผู้อพยพเหล่านี้กำลังแย่งสวัสดิการจากเงินภาษีของตัวเองไป

ยิ่งเมื่อได้เห็นว่าชาวนอร์เวย์ด้วยกันเริ่มตกต่ำลง ก็ยิ่งทำให้เกิดอาการคลั่งเชื้อชาติอย่างรุนแรง และเร่งความนิยมให้กับพรรคที่เป็นฝ่ายขวาจัด ซึ่งประกาศจะลดทอนนโยบายสวัสดิการและปิดประเทศไม่ยอมรับผู้อพยพชาวต่างชาติ

ในยามที่นอร์เวย์เองยังไม่มีองค์กรหรือพรรคการเมืองที่เป็นขวาจัดมาต้านกับนโยบายรัฐสวัสดิการของรัฐบาลได้ การแสดงออกด้วยความรุนแรงจึงสามารถเกิดขึ้นได้ เพื่อแสดงให้เห็นถึงการถูกกดดันโดยไม่มีทางออกมาตลอด

สภาพเช่นเดียวกันนี้ ยังเกิดขึ้นในอีกหลายประเทศของยุโรป ที่ประชาชนเริ่มรู้สึกเครียดกับสถานการณ์รุกรานอย่างเงียบๆ ที่เกิดขึ้น โดยไม่สามารถทำอะไรได้

ที่สุดแล้ว จึงกลายเป็นโศกนาฏกรรมที่หลายคนไม่คาดฝันว่า คนชาติเดียวกันจะลุกขึ้นมาประท้วงคนชาติเดียวกัน ด้วยการ "ฆ่า" คนชาติเดียวกัน !



.

2554-07-29

300 วันอันตรายฯ และ ความขัดแย้งหยุดไม่ได้ฯ โดย มุกดา สุวรรณชาติ

.

300 วันอันตราย วันละ 300 บาท ทำให้ได้ เพื่อคืนความเป็นมนุษย์
โดย มุกดา สุวรรณชาติ คอลัมน์ หลักศิลากลางน้ำเชี่ยว
ในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 31 ฉบับที่ 1614 หน้า 20


ตั้งรัฐบาลได้แน่นอน
แต่ต้องผ่าน 300 วันให้ได้

ไม่อยากให้กังวลเรื่องการเป็นนายกฯ และตั้งรัฐบาลของคุณยิ่งลักษณ์ เชื่อว่าคงไม่มีอะไรขวางได้

ปี 2551 หลังชนะเลือกตั้งไม่มีกำลังอะไรมาต่อรอง กลุ่มอำนาจเก่าจึงใช้มวลชนกดดัน และใช้ตุลาการภิวัตน์ ยึดอำนาจไปจากพรรคพลังประชาชนหลังตั้งรัฐบาล 2 ครั้งซ้อน ในช่วงเวลาประมาณ 300 วัน

แม้รู้ว่าถูกปล้น แต่ประชาชนก็ทำอะไรไม่ได้เพราะถูกปืนกดหัวไว้ แต่พวกเขาจำได้ว่าใครวางแผนร่วมกับโจร และในที่สุด พวกเขาก็ลุกขึ้นสู้จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก

เรื่องการต่อสู้ของโจรและนักสู้กลุ่มนี้จะถูกเล่าขานต่อไปอีกนาน

แต่สถานการณ์ครั้งนี้แตกต่างจากปี 2551 เพราะมีคนหนุนผู้ชนะเลือกตั้งมากมาย ประชาชนมีบทเรียนและพร้อมจะสู้ทุกรูปแบบ ถ้าอีกฝ่ายดำเนินการยึดอำนาจแบบเก่า พวกเขาไม่สนใจว่ามันจะใช้กฎหมายหรือปืน ยังไงก็พร้อมจะต่อต้านทันที ไม่สนใจว่าจะเกิดสงครามหรือไม่ แม้สงครามยืดเยื้อ พวกเขาก็อยู่ได้ แต่อีกฝ่ายอาจไม่มีแม้ข้าวจะกิน สิ่งที่จะสูญเสียสำหรับพวกเขามีน้อยมาก พวกเขาเชื่อมั่นว่า ถึงอย่างไรก็ต้องชนะ

แต่ประเทศไทยไม่ใช่อียิปต์ ถ้ามีปัญหาอาจจะยืดเยื้อแบบลิเบีย ธุรกิจต่างๆ คงพังพินาศ

ดังนั้น ถ้ามีเส้นทางราบเรียบให้เดินถึงเป้าหมาย ก็ควรเดินก่อน

การเปลี่ยนแปลงคงจะมาถึงอย่างแน่นอน เพียงแต่อาจต้องใช้เวลา 3 ปีกับ 300 วัน โอกาสที่ประชาธิปไตยกับความยุติธรรมจะเกิดขึ้นในแผ่นดินนี้มีแน่

300 วันยาวนานพอสำหรับการทำลายระบบประชาธิปไตยที่มีคนบางกลุ่มทำมาแล้ว แต่สั้นเกินไปสำหรับการสร้าง ซึ่งจะต้องเปลี่ยนทั้งความคิดและการปฏิบัติ 300 วันทำได้แค่เตรียมตัว แต่ถ้ามีเวลาอีก 3 ปี ประชาชนจะเข้าไปมีส่วนร่วมบนเส้นทางประชาธิปไตยได้มากมาย ซึ่งจะทำให้ปัญหาต่างๆ ลดลงมาก

วันนี้ไม่มีใครยอมรับการปล้นอำนาจแบบโจรหรือพวกฉ้อโกงอีกแล้ว อย่าไปกังวลให้มากเลย เตรียมตัวได้แต่ต้องใจเย็น มีคนสนับสนุนเยอะทั้งในและนอกประเทศ



ต่างประเทศยอมรับมติของประชาชน
ก่อนองค์กรในประเทศ
คือ แรงบีบจากประชาคมโลก

ต่างประเทศแสดงการตอบรับโดยไม่รอให้ กกต. รับรอง ทูตของประเทศมหาอำนาจ, ประเทศใหญ่, ประเทศเล็ก เดินทางเข้าพบว่าที่นายกฯ หญิงแทบทุกวัน เพื่อเป็นการบอกกับโลกและบอกกับประชาชนไทยว่าพวกเขาสนับสนุนมติของประชาชน ถ้ามีใครทำอะไรที่ไม่ถูกหลักประชาธิปไตย พวกเขาก็จะยังสนับสนุนคนที่ประชาชนเลือกอยู่ดี

วันนี้ประเทศไทยยังคงเป็นจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์ในเอเชียอาคเนย์ เป็นแหล่งผลประโยชน์ของคนไทยและคนต่างชาติ เป็นฐานการผลิตทางอุตสาหกรรมที่สำคัญของภูมิภาค และยังเป็นแหล่งส่งออกทรัพยากรที่จำเป็นของโลกคือ ข้าวและยางพารา

ถ้าเกิดปัญหาขึ้นในประเทศไทย ก็จะสะเทือนถึงคนทั้งโลกเช่นกัน

ประเทศต่างๆ จึงอยากให้ไทยมีหนทางเดินตามระบอบประชาธิปไตยที่สงบเรียบร้อย

พวกเขาไม่ปรารถนาให้เกิดสงคราม และถ้าเกิดสงครามก็จะต้องมีการแทรกแซงอย่างแน่นอน

ถ้าใครไม่รู้จักปรับตัวตามกระแสโลก หลังอำนาจเปลี่ยนแปลงเขาจะสูญเสียทุกอย่าง ไม่เพียงยศ ตำแหน่ง แม้ชีวิตก็ยังยากจะรักษา เป็นอย่างนี้ทั่วทั้งโลก


แต่ไม่มีเวลาฮันนีมูนสำหรับรัฐบาลใหม่ เพราะเวลานี้พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กำลังเมาหมัดคิดว่าตัวเองเป็นฝ่ายค้านเริ่มค้านพรรคเพื่อไทยแล้ว เพื่อไทยควรตามใจ ปชป. หน่อย อย่าไปค้านกลับเดี๋ยวจะงงกันใหญ่

แม้จะรู้ว่าเป็น 300 วันที่อันตราย แต่รัฐบาลใหม่ต้อง ใช้เวลา 300 วันนี้เป็นบันไดก้าวสู่ความสำเร็จขั้นต้น

3 วันต้องยืนได้ 30 วันงานต้องเดิน 300 วันต้องมีผลงาน

วันนี้สิ่งที่ผู้คนสนใจมากก็คือนโยบายขึ้นค่าแรง 300 บาทต่อวันทั่วประเทศ ที่จริง ควรเขียนเรื่องนี้ตอนตั้งรัฐบาลเสร็จแล้ว แต่มีหลายฝ่ายออกมาแสดงความคิดเห็นกันมาก จึงอยากเสนอข้อมูลที่ว่า ไม่มีทางเลือกอย่างอื่น



ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ทั่วประเทศ
ต้องทำ ก่อนคนงานจะแห้งตาย

คําสัญญาในการหาเสียง เรื่องค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศ 300 บาท กลายเป็นประเด็นถกเถียง ทำให้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. แถลงค้านทันทีว่าปรับ 300 บาทไม่ได้ด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นมาก ส่งออกจะขาดทุนระนาวเพราะราคาสูงขึ้นส่งออกไม่ได้ ค่าแรงสูงกว่าประเทศอื่น ต่างชาติก็หนีไปลงทุนประเทศอื่นเสียโอกาสอีก อาจทำให้ SME ที่มีอยู่กว่า 2 ล้านรายทั่วประเทศ ต้องปิดกิจการลงไปกว่าครึ่ง

และเสนอว่าถ้าการฝ่ายเมืองยืนยันจะใช้นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ก็ให้ภาครัฐช่วยเหลือค่าใช้จ่ายที่เป็นส่วนต่างของค่าจ้างที่ปรับขึ้นแก่ผู้ประกอบการ โดยการออกคูปองชดเชยให้ผู้ประกอบการ ในสัดส่วน 70-80% ของค่าแรงที่ปรับเพิ่มขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการนำคูปองนี้ไปใช้จ่ายค่าสาธาณูปโภคต่างๆ หรือเงินที่จะจ่ายสมทบกองทุนประกันสังคม หากไม่มีมาตรการใดรองรับ

และเห็นว่าการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 220-240 บาท ต่อวัน

นี่เป็นความเห็นต่างของเจ้าของกิจการ



ความเหมาะสมของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

มีทฤษฎีของนายทุนตะวันตกที่ย้ายฐานการผลิตมาแถบประเทศด้อยพัฒนา เมื่อ 20-30 ปีก่อนว่าพวกเขาจะสามารถทำกำไรได้สูงสุด ถ้าโรงงานอยู่ในเขตที่อาหารการกิน และพืชเกษตรมีราคาต่ำเพราะจ่ายค่าแรงนิดเดียวคนงานก็มีชีวิตอยู่ได้แล้ว การกดค่าแรงและราคาพืชเกษตร ราคาสินค้าที่เป็นอาหาร จึงมีมานานแล้ว

ไม่กี่ปีมานี้หลายคนอาจได้ยิน ทฤษฎี สองสูง คือปล่อยค่าแรงและราคาสินค้าเกษตรให้สูง เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ เชียร์ทฤษฎีนี้ว่าจะทำให้เศรษฐกิจโต และชาวบ้านจะลืมตาอ้าปากได้ มีกำลังซื้อ

แต่การขึ้นค่าแรงของบ้านเราอยู่ที่การตัดสินใจของไตรภาคีมานานนมแล้ว 10 ปีหลังนี้มีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเฉลี่ยปีละ 2.57% 10 ปีคือ 25.7% แต่อัตราเงินเฟ้อโตขึ้นปีละ 2.76% 10 ปีคือ 27.6%

กลายเป็นว่า 10 ปีมานี้ลูกจ้างที่ได้รับค่าแรงขั้นต่ำได้เงินน้อยลงเมื่อเทียบกับของที่แพงขึ้น

จิตรา คชเดช อดีตผู้นำสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ ให้ความเห็นเรื่องค่าแรงที่เหมาะสมไว้ว่า ค่าแรงขั้นต่ำ ต่ำยังไงก็ต้องให้ผู้ใช้แรงงานอยู่ได้ เมื่อทำงานตามปกติ 8 ชั่วโมง แต่สภาพความเป็นจริงวันนี้ คือไม่พอกิน ยกตัวอย่างกรุงเทพฯ และปริมณฑล ล่าสุดจากวันละ 206 บาทมาเป็น 215 บาท นายจ้างจ่ายค่าจ้างเฉพาะวันทำงานเท่ากับ 26 วันต่อเดือนเท่ากับคนงานมีรายได้ต่อเดือน 5,590 หรือเฉลี่ยวันละ 186 บาทเท่านั้น แต่ค่าอุปโภคบริโภคก็ปรับขึ้นด้วยทำให้ค่าใช้จ่ายมากกว่าค่าจ้างที่ได้รับ


ตัวอย่างค่าใช้จ่ายของคนงาน 1 คน ต่อเดือน

ค่าอาหาร . . 3,000 บาท ค่าอุปโภค . . 500 บาท

ค่าที่อยู่อาศัย . . 1,800 บาท ค่าพาหนะ . . 1,000 บาท

ค่าน้ำประปา+ค่าไฟฟ้า . . 500 บาท ค่าโทรศัพท์ . . 300 บาท

รวม . . 7,100 บาท

จะเห็นว่าคนทำงาน 1 คนยังไม่สามารถได้ค่าตอบแทนไปเลี้ยงตัวเองได้อย่างพอเพียง พวกเขาต้องหาเงินหรือเป็นหนี้เพิ่ม 1,500 บาทต่อเดือน ค่าใช้จ่ายที่บอกมายังไม่รวมเครื่องนุ่งห่ม บันเทิง หรือผ่อนทีวี ตู้เย็นและภาษีสังคม เช่น ซองผ้าป่า กฐิน งานศพ งานแต่ง

ที่จริง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำครั้งแรกในปี 2516 ได้ให้ความหมายไว้ว่า "เป็นค่าจ้างที่แรงงานและสมาชิกในครอบครัวอีก 2 คนมีรายได้เพียงพอเพื่อการใช้จ่าย ให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในสังคม"

แต่อีก 2 ปีต่อมา รัฐบาลก็ได้เปลี่ยนความหมายของค่าจ้างขั้นต่ำเสียใหม่ว่า หมายถึงอัตราจ้างตามความจำเป็นที่ลูกจ้างคนเดียว (ไม่รวมสมาชิกในครอบครัว) สามารถดำรงชีพอยู่ได้ ถ้าตีความตามคำจำกัดความใหม่ซึ่งใช้กันอยู่ ลูกจ้างจะไม่ใช่มนุษย์ คือให้ค่าตอบแทนเพียงเพื่อให้มีชีวิตอยู่ จะได้ใช้งานต่อได้


แต่มนุษย์ไม่ได้เกิดจากกระบอกไม้ไผ่ โดยเฉพาะสังคมไทย ซึ่งผูกพันกับครอบครัวใหญ่ วัฒนธรรมดั้งเดิมจะถูกทำลายเพราะแรงกดดันทางด้านการเงิน พวกเรามีพ่อแม่ มีครอบครัวต้องเลี้ยงดู หลายคนยังต้องส่งเงินกลับไปบ้านนอก ให้พ่อแม่เดือนละ 1,000 บาท ถ้ามีเด็กเล็กก็ต้องเดือนละ 5,000 บาท ลูกโต ขั้นต่ำ 3,000 บาท/เดือน แม้จะอยากช่วยเหลือคนอื่น แต่ค่าจ้างเงินก็จะหมดไปกับค่าอาหารและที่อยู่อาศัย

จิตราบอกว่าเมื่อคนงานส่วนใหญ่มีรายจ่ายมากกว่ารายได้ มีทางออกคือทำงานล่วงเวลา (ถ้ามีให้ทำ) หรือต้องกู้เงินนอกระบบ และส่วนใหญ่มีหนี้สินล้นพ้นตัว เพราะเป็นหนี้สะสมมาอย่างยาวนาน เช่น หนี้ ธ.ก.ส. ถ้าไม่มีงานล่วงเวลาก็ต้องหาอาชีพอื่นเสริม เช่น ธุรกิจขายตรง ขายประกัน เสิร์ฟอาหาร หรือขับวินมอเตอร์ไซค์ ขับแท็กซี่ เพื่อหาเงินให้พอใช้ จึงเกิดธุรกิจรายย่อย เช่น การปล่อยเงินกู้ดอกแพง หรือการตั้งตัวเป็นคนรับหวยเถื่อนเพื่อกินเปอร์เซ็นต์ และส่งต่อเจ้าใหญ่ เพราะทางออกอีกอย่างของคนที่รายได้ไม่พอ คือการเสี่ยงโชค สภาพของแรงงานส่วนใหญ่ จึงมีแต่ความเครียด

แม้ขึ้นค่าแรงเป็น 300 บาท คนงานก็ยังไม่พอกินอยู่ดี การปรับค่าจ้างต้องควบคู่ไปกับการควบคุมราคาสินค้า จัดสวัสดิการให้ด้วย เช่น เรียนฟรี อาหารกลางวันฟรี ค่ารถโรงเรียนฟรี อุปกรณ์และเครื่องแบบ เพื่อแบ่งเบาภาระผู้ปกครอง ค่าที่อยู่อาศัยราคาถูก ค่าน้ำค่าไฟ รัฐต้องควบคุมราคาที่เหมาะสมกับพื้นที่และค่าจ้าง

ผู้ใช้แรงงานสนับสนุนการขึ้นค่าแรงครั้งนี้ ไม่ใช่เพียงแค่ได้ค่าจ้างเพิ่ม แต่ได้แสดงว่า รัฐบาลเห็นคุณค่าของแรงงาน เราเชื่อว่าจะต้องมีการคัดค้าน และนี่อาจจะเป็นครั้งแรกที่คนงานกับรัฐบาลยืนอยู่ข้างเดียวกันในเรื่องค่าแรง



ขึ้นค่าแรง 300 บาท จะดำเนินการอย่างไร?

เรื่องความจำเป็นและเหมาะสมคงไม่ต้องอธิบายเพิ่ม เชื่อว่าคนที่ค้านเรื่องนี้ก็ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยเงินวันละ 215-240 บาท แต่เมื่อค่าแรงถูกกดไว้นานมาก พอจะปรับแบบก้าวใหญ่ ก็เกิดการไม่เคยชิน และมีผลกระทบต่อเจ้าของกิจการ

แต่ไม่ว่าจะมีปัญหาใดขวางอยู่ ทุกคนก็ถูกบังคับให้ช่วยกันแก้ไข เพราะถ้าไม่ปรับค่าแรงขึ้นไป คนส่วนใหญ่ของสังคมก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่อย่างมนุษย์ได้ นั่นหมายถึงความขัดแย้งจะขยายถึงขั้นเปลี่ยนโครงสร้างทางสังคม

การทำงานแต่ได้ค่าจ้างไม่พอที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ของคนส่วนใหญ่เปรียบเหมือนต้นเหตุของโรคร้ายที่จะขยายไปสร้างปัญหาสังคมด้านต่างๆ เช่น อาชญากรรม รัฐบาลต้องกล้าตัดสินใจแก้ปัญหานี้

มีผู้เสนอวิธีการขึ้นค่าแรงหลายแบบ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและทำได้จริง แต่พวกเราซึ่งมีทั้งเจ้าของกิจการ ลูกจ้าง นักวิชาการได้คุยกันมาแล้ว เห็นว่าทำได้แน่นอน และมีข้อเสนอดังนี้

1. รัฐบาลต้องยืนยันขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ เพราะปัจจุบัน ค่าครองชีพในต่างจังหวัดก็มิได้ถูกกว่าในกรุงเทพฯ มากนัก สินค้าบางอย่างแพงกว่าด้วยซ้ำ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาแรงงานย้ายถิ่น และทำให้เกิดการกระจายรายได้ แต่ควรมีผลประโยชน์ตอบแทนผู้ลงทุนในเขตต่างจังหวัดไกลๆ

2. ให้สำรวจผลกระทบ ซึ่งอาจทำให้บางบริษัทหรือบางประเภทธุรกิจที่มีปัญหาไม่สามารถดำเนินกิจการต่อได้ ซึ่งรัฐจะต้องให้ความช่วยเหลือ

วิธีการคือ ให้เจ้าของกิจการที่ได้รับผลกระทบ แจ้งขอความช่วยเหลือเข้ามา และไปสำรวจการดำเนินการ ณ สถานที่จริง การให้ความช่วยเหลือ รัฐต้องตรวจสอบกิจการที่แจ้งขอความช่วยเหลือย้อนหลัง 5 ปี โดยเทียบข้อมูลซึ่งเจ้าของกิจการแจ้งมากับฐานข้อมูลทางภาษีจากสรรพากร ฐานข้อมูลของกระทรวงแรงงาน และฐานข้อมูลต้นทุนจากกระทรวงพาณิชย์และกรมศุลกากร ก็จะรู้ตัวเลขเฉลี่ยว่ากิจการเหล่านั้นมีผลกระทบมากน้อยเท่าไหร่ ต้องช่วยอย่างไร

เชื่อว่าผู้ประสบปัญหาคงมีจริง แต่ไม่มากมายอย่างที่อ้างกัน

3. การช่วยเหลือควรให้เป็นคูปองชดเชยเพื่อใช้ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่ผลิตในประเทศจะได้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอีกต่อหนึ่ง และควรกำหนดกรอบเวลาว่านานเท่าไร

รัฐบาลอย่าลืมว่าได้ลดอัตราภาษีรายได้ของกิจการต่างๆ จาก 30% เหลือ 23% และเหลือ 20% ในปีถัดไป แต่ฝ่ายเจ้าของกิจการน่าจะได้รับผลตอบแทนจากการลดภาษี ก็ต้องเป็นเดือนพฤษภาคม 2555

4. ควรมีมาตรฐานของงานที่กำหนดต้องจ่ายค่าแรงขั้นต่ำ เพื่อจะได้กำหนดความแตกต่างของค่าแรง เช่น คนที่เพิ่งเข้ามาทำงานยังทำอะไรไม่เป็นเลย ควรได้ค่าแรงเท่าไรในขั้นทดลองงาน เมื่อเป็นแล้วควรได้เท่าไร ถ้ามีความชำนาญหรือผ่านไป 3 ปีแล้ว ควรได้เท่าไร ค่าแรงขั้นต่ำไม่ควรนำมาใช้กับทุกๆ คนเท่ากัน ทั้งเพิ่งจะมาทำงานหรือทำงานมาแล้ว 5 ปี เพราะจะกลายเป็นเครื่องมือในการกดค่าแรงคนเก่า

5. ส่วนกิจการที่คิดจะมาขูดรีดแรงงานราคาถูกและอยากจะย้ายการผลิตไปที่อื่น ไม่ควรดึงไว้ เก็บทรัพยากรไว้ส่งเสริมให้คนไทยทำดีกว่า



รัฐบาล คือตัวแทนคน 20 ล้าน
ที่ต้องทำงานให้ไทยทั้งประเทศ

วันนี้การตั้งรัฐบาลบนฐานเสียงสนับสนุนของ ส.ส.ประมาณ 300 คนคือเสียงสนับสนุนเกือบ 20 ล้านคน รัฐบาลใหม่ได้รับการคาดหวังจากคนหลายกลุ่ม อยากให้แก้หลายปัญหา แต่ปัญหาของประเทศไทยไม่ใช่แก้กันง่ายๆ ที่สำคัญ ยังมีปฏิปักษ์ทางการเมืองคอยค้านและปัดแข้งปัดขาตลอดเวลา คนพวกนี้ จะกดดันให้ทำสิ่งที่ยากอย่างรวดเร็วเพื่อให้พลาด และจะขัดขวางสิ่งที่พอทำได้ให้เกิดปัญหา

ดังนั้น 300 วันแรก รัฐบาลใหม่จะต้องเลือกทำในสิ่งที่คนส่วนใหญ่ต้องการ ต้องกล้ายืนหยัดความถูกต้องให้ ส.ส. 300 คน ในสภาหนุนหลังให้คน 35 ล้านคนที่มาลงคะแนนเห็นความสามารถและทำให้คน 65 ล้านได้รับประโยชน์ให้พวกเขารู้ว่าประชาธิปไตยมีผลต่อชีวิตของพวกเขาจริงๆ

ถ้าทำเรื่องค่าแรง 300 บาทสำเร็จ จะมีผลโดยตรงต่อผู้ใช้แรงงานหลายล้านคนทันที และมีผลโดยอ้อมต่อการยกระดับค่าแรงงานทั้งประเทศ ผลในทางเศรษฐกิจ ทางสังคม คงมีผู้เชี่ยวชาญเก็บข้อมูลเพื่อประเมินกันต่อไป ส่วนผลทางการเมืองคงมีเยอะพอสมควร แต่เทียบไม่ได้กับการได้ช่วยคนทุกข์คนยาก

ถ้าราคาข้าวขึ้นสูง อีกไม่นานเราจะได้เห็นผลของทฤษฎี สองสูง ซึ่ง เจ้าสัวธนินท์คิด ยิ่งลักษณ์ ทำ

ความเห็นของพวกเรา...นโยบาย ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท ไม่ใช่เรื่องประชานิยม แต่เป็นการคืนความยุติธรรมบางส่วนให้แก่ผู้สร้างสังคมมนุษย์ตัวจริง พรรคการเมืองที่มีจุดยืนอย่างนี้ ถูกยุบก็จะไม่สูญหาย ผู้นำตายพรรคก็อยู่ อย่าว่าแต่ 300 วันเลย 300 เดือนก็อยู่ได้ ถ้าไม่เปลี่ยนจุดยืน



++

ความขัดแย้งหยุดไม่ได้ จากการเมือง...เพิ่มเรื่องปากท้อง
โดย มุกดา สุวรรณชาติ คอลัมน์ หลักศิลากลางน้ำเชี่ยว
ในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 31 ฉบับที่ 1615 หน้า 20


การระเบิดและสังหารหมู่ในนอร์เวย์ทำให้คนช็อกไปทั้งโลก เหมือนปีก่อนที่มี เหตุการณ์สลายการชุมนุมในประเทศไทยเป็นข่าวและเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ไปทั่วโลก ไม่เพียงมีผู้เสียชีวิตเกือบร้อยรายเหมือนกัน แต่เหตุการณ์ในประเทศไทยยังมีการถ่ายทอดโทรทัศน์ไปทั่วโลก คนทั้งโลกเลยได้เป็นพยานและติดตามถามข่าวจนรู้เรื่องราวสาเหตุในประเทศไทย

ต้องขอแสดงความเสียใจให้กับการเสียชีวิตทั้งผู้ใหญ่และเด็กชาวนอร์เวย์ ซึ่งเหตุที่เกิดโหดร้ายเกินกว่าที่คนธรรมดาจะรับได้

ชาวนอร์เวย์คงไม่รู้จักการทำบุญสะเดาะเคราะห์ ถ้าเป็นเมืองไทยคงต้องทำบุญกันครั้งใหญ่

แต่วันนี้ที่เมืองไทย กองทัพบกควรทำบุญเพราะการที่เฮลิคอปเตอร์ตกถึง 3 ลำซ้อน 3 รุ่น 3 ยี่ห้อ สูญเสียกำลังพลไปถึง 17 นาย ซึ่งรวมนายทหารชั้นผู้ใหญ่ด้วย ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ แม้จะคิดว่าเป็นเรื่องของอากาศและเครื่องยนต์ แต่ก็ไม่เคยมีเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้น

การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรน่าจะเป็นเรื่องดี และถ้าได้ทำสิ่งดีๆ เพื่อลดความรุนแรงในชาติก็จะเป็นกุศลมหาศาล



ความขัดแย้งใหม่...ความขัดแย้งพื้นฐาน

ปี 2554 เรามี "แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 วัฏจักร โง่ จน เจ็บ" ของชนชั้นผู้ยากไร้แม้ยังคงมีอยู่แต่ชาวบ้านก็รู้สึกดีขึ้น เมื่อมี 30 บาทมารักษาโรคภัย ความรู้ที่ได้รับก็ทำให้หายโง่ เหลือเพียงแต่ความยากจน ซึ่งที่จริง ทุกรัฐบาลที่ผ่านมาก็ชูนโยบายแก้ปัญหานี้ แต่ก็ยังทำไม่สำเร็จ

ครั้งนี้พรรคเพื่อไทยใช้ยาแรง ประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ หวังให้คนชั้นล่าง ลืมตา อ้าปากได้ แต่กลุ่มทุนก็คัดค้าน

ปัญหาเรื่องการแบ่งผลประโยชน์จึงปรากฏเด่นชัดขึ้น

นี่คือความขัดแย้งใหม่ ณ ช่วงเวลานี้ ซึ่งเป็นความขัดแย้งพื้นฐานของมนุษย์

ที่จริง นโยบายขึ้นค่าแรง 300 บาทเป็นนโยบายปฏิรูปทั้งเศรษฐกิจและสังคม แต่ก็ยังถูกต่อต้านเพราะกลุ่มทุนมองผลประโยชน์เฉพาะหน้า

แน่นอนว่าในทางการเมือง กลุ่มอำนาจเก่าก็คงต่อต้านด้วย เพราะได้ประโยชน์ทั้งเรื่องการเมืองและยังเป็นเจ้าของทุนขนาดใหญ่อยู่ด้วย

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็น 2 กลุ่มแรกที่ออกมาคัดค้านนโยบายเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท ต่อมาก็มีสมาคมธนาคารไทย ออกมาร่วมคัดค้านด้วย 3 กลุ่มนี้มีทรัพย์สินรวมกันมากมายมหาศาล มีอิทธิพลยิ่งใหญ่คับประเทศ

แต่คนที่เป็นลูกจ้างก็มีจำนวนมากมายมหาศาลเช่นกัน

ความขัดแย้งนี้จึงหยุดไม่ได้ แต่จะต่อสู้และพัฒนาความสัมพันธ์อันใหม่ขึ้นมาให้เหมาะสมและยอมรับกันได้ ซึ่งจะเป็นผลดีแก่การพัฒนาสังคม



ความสัมพันธ์ของผู้ผลิต, ผู้ค้า, ธนาคาร และลูกจ้าง

มีผู้ผลิตสินค้าที่ไปจดทะเบียนเป็นสมาชิกสภาอุตสาหกรรมไม่มากนัก ประมาณ 7,000-8,000 แห่ง แต่กิจการขนาดเล็กที่ทำการผลิตสินค้าอยู่ทั่วประเทศ มีมากมายหลายหมื่นแห่ง ก็ต้องถือว่าสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นตัวแทนของผู้ผลิตสินค้าในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย

สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยก็เช่นกัน ถือว่าเป็นตัวแทนของคนทำมาค้าขาย ชีวิตคนในโลกปัจจุบัน ดำเนินอยู่ได้เพราะมีผู้ผลิต ผู้ขาย ผู้ซื้อ เจ้าของทุนและลูกจ้างแรงงานทุกระดับเป็นกลไก

แต่คนที่ร่ำรวยพอที่จะทำได้ทุกอย่างคือเป็นทั้งเจ้าของทุน เป็นผู้ผลิต เป็นผู้ค้าส่ง มีอยู่ไม่กี่คน ไม่กี่กลุ่ม เช่น กลุ่มผู้ผลิตสุรา กลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ กลุ่มซิเมนต์ไทย แต่ส่วนใหญ่ของผู้ประกอบการต้องพึ่งทุนจากธนาคาร และผู้ผลิตกับผู้ค้าก็จะเป็นคนละคนกัน แต่ในทุกระบบต้องมีลูกจ้างและผู้ใช้แรงงานเป็นตัวขับเคลื่อนงานทั้งหมด ซึ่งคนเหล่านี้คือผู้ผลิตและผู้ซื้อตัวจริงที่ไม่มีโอกาสกำหนดราคาสินค้าและค่าแรงของตัวเอง ผู้ที่เป็นลูกจ้างจึงไม่รู้จักคำว่ากำไร แต่จะทำงานเพื่อให้ได้รับค่าจ้างเลี้ยงชีวิตครอบครัวไปวันหนึ่งๆ เท่านั้น

เมื่อดูความสัมพันธ์แล้ว ทุกกลุ่มพึ่งพากันยิ่งกว่าครอบครัวโดยมีผลประโยชน์เป็นตัวเชื่อมที่สำคัญ ถ้าขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไปก็จะเป็นปัญหา ธนาคารได้ดอกเบี้ยและค่าบริการทางการเงินจากทุกกลุ่ม ผู้ผลิตได้กำไรจากผลผลิต ผู้ค้าได้กำไรจากส่วนต่างของราคา ลูกจ้างได้ค่าตอบแทนจากแรงงานและความสามารถอื่นๆ ทั้ง 4 กลุ่มมีคนรวยมาก รวยน้อย ปานกลาง และยากจน

ในกลุ่มธนาคารมีแต่คนรวย ในกลุ่มผู้ผลิตมีคนรวยกับปานกลาง ในกลุ่มผู้ค้าก็มีทั้งคนรวยและปานกลาง

แต่ในกลุ่มลูกจ้าง ส่วนใหญ่จะเป็นคนจนถึง 90% จะมีฐานะปานกลางไม่ถึง 10% ลูกจ้างที่มีรายได้สูง ซึ่งเป็นผู้บริหาร มีน้อยนับเป็นเปอร์เซ็นต์ไม่ได้

วันนี้กลุ่มลูกจ้างซึ่งทำงานหนัก ร้องขอว่าไม่พอกินอยากได้เงินมากขึ้น ถ้าไม่ได้ก็คงจะอดตายแน่ รัฐบาลเห็นปัญหานี้และสนับสนุน แต่สามกลุ่มผู้ร่ำรวยคัดค้าน บอกว่าจะสร้างปัญหาให้กับระบบผลิตและการค้า ถ้ารัฐบาลเดินหน้าเรื่องค่าแรง 300 บาท และกลุ่มลูกจ้างสนับสนุน ก็คงมีการต่อสู้ทางการเมืองเกิดขึ้น แต่ถึงที่สุด คาดว่าทุกกลุ่มก็จะอยู่ได้


กลุ่มที่อยู่ได้แน่นอนไม่มีปัญหากระทบจากการขึ้นค่าแรงเลยคือกลุ่มธนาคาร

สมาคมธนาคารไทย มีสมาชิกอยู่เพียง 16 ธนาคาร แต่กำไรปีละเป็นแสนล้าน ปีที่แล้วได้กำไรประมาณ 123,000 ล้านบาท ที่จริง กำไรส่วนใหญ่อยู่ที่ 4 ธนาคารขนาดใหญ่ ยกตัวอย่างครึ่งปีแรกของปีนี้ (2554)

ธนาคารไทยพาณิชย์มีกำไร . . 21,183 ล้านบาท

ธนาคารกรุงเทพ . . 13,874 ล้านบาท

ธนาคารกสิกรไทย . . 13,432 ล้านบาท

ธนาคารกรุงไทย . . 10,730 ล้านบาท

รวม 4 ธนาคารใหญ่ ทำกำไรเกือบ 6 หมื่นล้านบาทเพียงครึ่งปีเท่านั้น ถ้ารวมทั้งระบบ ทั้งปี ต้องทำกำไรได้ไม่น้อยกว่า 1.4-1.5 แสนล้านบาทอย่างแน่นอน


ถ้ารัฐบาลลดภาษีให้ 10 เปอร์เซ็นต์ ก็จะมีกำไรสุทธิเพิ่ม ประมาณ 1.4 หมื่นล้าน ก็ยังสงสัยอยู่ว่าจะเอาเงินก้อนนี้มาจ่ายพนักงานเพิ่มหรือไม่

ถ้าสมาคมธนาคารอยากช่วยสภาอุตสาหกรรมฯ และสภาหอการค้าฯ ก็เพียงลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงบ้าง ผู้ประกอบการก็จะได้ลดต้นทุนลง ทุกวันนี้ผู้ฝากเงิน ได้รับดอกเบี้ย .75-2.5% แต่ธนาคารได้ดอกเบี้ยเงินกู้ถึง 7.125% กำไรของธนาคารจึงเพิ่มขึ้นทุกปี คาดว่าปีนี้ จะทำกำไรมากกว่าปีที่แล้ว 40-50%

สมาคมธนาคารไทยที่มีเงินกำไรเป็นแสนล้าน จะมารู้ชีวิตทุกเข็ญของคนยากไร้ที่มีเงินไม่พอกินในแต่ละวันได้อย่างไร

และถ้าไม่รู้จริง แต่อยากจะเลือกข้าง ก็ขอให้คิดให้หนักว่า เงินกำไรของธนาคารทุกวันนี้มาจากไหน มาจากทางตรงของคนจน ซึ่งต้องจ่ายดอกเบี้ยบัตรเครดิตปีละเท่าไหร่

มาจากทางอ้อม ผ่านเหงื่อของคนจนที่ทำงานในกิจการต่างๆ อีกเท่าไร

และวันนี้ทั้งสังคมก็มีความเห็นเหมือนกันว่ากำไรจากส่วนต่างดอกเบี้ยมากเกินไป

รัฐบาลสมควรเข้าไปดูแลเรื่องนี้ได้แล้ว เพื่อลดต้นทุนของทุกกิจการ



ประเทศไทยมีคนอยากมาลงทุนมากมาย
แต่คนไทยควรได้ประโยชน์ด้วย

ความคิดที่คิดว่าคนต่างชาติจะไม่เข้ามาลงทุน เป็นเรื่องที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงของยุคสมัย ถ้ามีคนย้ายทุนออกไป ก็มีคนจ้องเข้ามาลงทุนอีกเยอะแยะเพราะประเทศไทยยังอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากร มีวัตถุดิบ มีแรงงานที่มีความรู้ มีช่างที่ชำนาญด้านอุตสาหกรรมซึ่งมีประสบการณ์ระดับเกินกว่า 10 ปีหลายสาขา

ไม่มีความเสี่ยงจากภูเขาไฟและแผ่นดินไหว สภาพอากาศสามารถทำงานได้ตลอดทั้งปี

ช่วงเวลานี้ ญี่ปุ่นและประเทศตะวันตกก็ยังสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยอยู่ ถ้าเพิ่มค่าแรงแล้วธุรกิจในประเทศจะเจ๊ง เราคงเห็นไต้หวันและเกาหลีใต้เจ๊งไปเมื่อ 20 ปีที่แล้ว

รายงานล่าสุด พบว่าในครึ่งปีแรกนี้อุตสาหกรรมต่างๆ ขยายตัวอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้ส่งออกซึ่งมีสัดส่วนมากถึง 65% ของอุตสาหกรรมทั้งหมด สามารถส่งออกได้มี มูลค่าเกือบ 3.5 ล้านล้านบาทเพิ่มขึ้นเกือบ 15%

ถ้าคาดคะเนกำไรคงได้ไม่น้อยกว่า 3 แสนล้านบาท ถ้ารวมทั้งปีเครื่องคิดเลขธรรมดาคำนวณไม่ได้ก็แล้วกัน แสดงให้เห็นว่าการเข้ามาลงทุนในประเทศไทยยังสามารถทำกำไรได้อย่างมหาศาล แบ่งเงินตรงนี้มาให้คนงานบ้างนิดหน่อยจะเป็นไรไป

(ขณะที่เขียนถึงตรงนี้ก็มีโทรศัพท์มาจากต่างประเทศให้ช่วยหาคนไปบรรยายให้กลุ่มผู้ลงทุนจากเมืองฝรั่งฟังหน่อย เอาแบบเรื่องจริงห้ามโกหก พวกเขาคงอยากจะรู้ว่าการเมืองเรากำลังจะปรับเปลี่ยนอย่างไร)


วันนี้ ต้องปรับแนวทางนโยบายสำหรับการส่งเสริมการลงทุนกันใหม่เพื่อให้คนไทยได้รับประโยชน์อย่างคุ้มค่า นานมาแล้วที่ได้ยินแต่คำพูดว่ามีเงินเข้ามาลงทุนกี่แสนล้าน แต่อยากรู้ว่าลงทุนแล้วคนไทยส่วนใหญ่ได้อะไร ที่ผ่านมา เห็นแต่ต่างชาติได้ไปเกือบทั้งหมด มีคนไทย 3-4 คนที่ได้แบ่งมาบ้างเล็กน้อย และอย่าคิดว่า จะเก็บภาษีพวกนี้ได้ เพราะได้รับยกเว้นถึง 8 ปี (สำหรับบริษัทคนไทยธรรมดาจะไม่มีใครมาโอบอุ้ม มีกำไรเมื่อไรต้องเสียภาษี 30% ถ้ามีจ่ายไม่พอต้องเสียดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือน)

นโยบายส่งเสริมการลงทุนแบบ เพื่อนายทุนต่างชาติที่มีคนไทยไม่กี่คน ไม่กี่ตระกูลได้ประโยชน์แต่คนไทยส่วนใหญ่ที่เป็นลูกจ้างต้องมีความเป็นอยู่อย่างยากลำบาก สมควรจะเลิกได้แล้ว ไม่ใช่เรื่องที่น่าภาคภูมิใจที่มีนายทุนต่างชาติมาใช้ที่ดิน น้ำ ไฟฟ้า ก๊าซ ทรัพยากร แรงงานราคาถูก ของประเทศเรา แล้วหอบกำไรกลับไปเมืองนอก ทิ้งขยะไว้ให้อีกต่างหาก

ส่งเสริมกันมากี่ปีกี่ชาติแล้ว ยังเป็นขี้ข้าเขาอยู่ถึงทุกวันนี้ ในขณะที่เกาหลีใต้และไต้หวัน พัฒนาไปไกลลิบ



ความขัดแย้งจากเรื่องค่าแรง 300 บาท
มีทั้งที่ต้องยืดหยุ่นและต้องยืนหยัด

สําหรับนโยบายการขึ้นค่าแรงครั้งนี้ รัฐบาลต้องยืนหยัดสู้ ถ้าธุรกิจใดได้รับความเดือดร้อนจริง รัฐก็ต้องช่วย เอาตัวเลขย้อนหลัง 5 ปีมาตรวจสอบก็จะพบความจริง

แต่อยากให้ทุกกิจการที่ได้รับผลกำไรทั้งแบบเปิดเผยและแบบใต้ดิน ช่วยเห็นใจคนทำงานบ้าง ถ้าคนเสียภาษีเยอะๆ จะรู้ว่าการได้ลดภาษี 7-10 เปอร์เซ็นต์ นับว่าไม่น้อยเลยทีเดียว อยากรู้เหมือนกันว่าจะมีกี่แห่งที่เข้ามาให้ตรวจสอบย้อนหลังเพื่อแจ้งว่ากิจการได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงจนอยู่ไม่ได้

ส่วนภาครัฐควรทบทวนเรื่องสวัสดิการซึ่งฝ่ายนายจ้างให้กับลูกจ้าง เช่น การกินการอยู่ ว่าจะสามารถนำมาหักชดเชยได้อย่างไรบ้าง เพราะถ้านายจ้างตัดส่วนนี้ทิ้งไป อาจทำให้ลูกจ้างลำบากมากขึ้นและก็อาจไม่สะดวกกับการทำงาน

เรื่องคนจบปริญญาตรีได้เงินเดือนหมื่นห้า ต้องกำหนดรายละเอียดให้ดี เพื่อหาทางออกให้ผู้ที่เรียนจบไม่ตรงสายงานแต่อยากทำงาน เพราะจะไม่มีนายจ้างรับคนงานเหล่านี้เข้าทำงานในอัตราเงินเดือน 15,000 ถ้าจัดการไม่ดี คนเหล่านี้จะตกงานกันหมด

การต่อสู้เรื่องค่าแรง 300 บาทจะสร้างแนวร่วมและคู่ขัดแย้งให้กับรัฐบาลมากพอสมควร และการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นก็จะถูกเร่งให้เร็วขึ้น ถ้าไม่มีการเล่นนอกกติกา การปฏิรูปก็จะเป็นไปอย่างสันติ แต่ฝ่ายที่เร่งการเปลี่ยนแปลง กลับเป็นฝ่ายต่อต้านเนื่องจากตามการเปลี่ยนแปลงของโลกไม่ทัน



สรุปสถานการณ์ปัจจุบัน

ความขัดแย้งทางการเมืองดั้งเดิมที่ดำรงอยู่ ยังเป็นความขัดแย้งหลัก เรื่องนโยบายต่างๆ จะขยายความขัดแย้งใหม่ให้กระจายออกไปยังกลุ่มผลประโยชน์ เปิดเวทีให้ต่อสู้กันทางการเมือง และในการต่อสู้ก็จะถูกแทรก ถูกหนุนโดยคู่ขัดแย้งเจ้าเก่าดั้งเดิมทั้งสองฝ่าย เพราะกลุ่มอำนาจเก่า มิได้ยอมรับความพ่ายแพ้ไปตามผลการเลือกตั้ง

สังเกตได้จากการรับรอง ส.ส. ของ กกต. ซึ่งมีการดองคนสำคัญบางคนไว้ คาดว่าคงได้รับแรงกดดันจากพลังลึกลับพอสมควร

แต่พลัง 16 ล้านเป็นกำแพงใหญ่ที่ไม่อาจฝ่าได้ง่าย คงต้องใช้เวลาเป็นตัวช่วยให้ตัวเองรอดจากแรงบีบทั้งสองด้าน

บทเรียนของกรรมการสิทธิฯ ในการสรุปรายงานการต่อสู้ในปี 2553 ทำให้ทุกฝ่ายต้องระวังตัวมากขึ้น จะไปทำอะไรตามใจผู้มีอำนาจต่างๆ คงไม่ง่ายอย่างเดิมแล้ว หลังจากนี้ ถ้าใครไม่รู้จักปรับตัวให้เข้าสู่มาตรฐานความยุติธรรม โอกาสจะถูกคิดบัญชีย้อนหลังก็จะมีสูงขึ้น

ผู้สันทัดกรณีบอกว่า อย่าไปตื่นเต้นกับความขัดแย้งและอุปสรรค ร่างกายที่แข็งแรงจะสามารถสร้างภูมิต้านทานเพื่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บได้เสมอ เช่นเดียวกับความขัดแย้งจะช่วยพัฒนาสังคมให้ก้าวหน้าต่อไป


.

2554-07-28

การปรับตัวเพื่ออนาคต โดย ผาสุก และ สิทธิมนุษยชน โดย ฐากูร

.

การปรับตัวเพื่ออนาคต
โดย ผาสุก พงษ์ไพจิตร คอลัมน์ ดุลยภาพ ดุลยพินิจ
ในมติชน ออนไลน์ วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 21:30:00 น.


ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับผลการเลือกตั้งเมื่อ 3 กรกฎาคม 2554 ที่น่าสนใจมาก นอกเหนือจากที่ว่า พรรคเพื่อไทย (พท.) ได้ ส.ส.จำนวนสูงสุด เทียบกับพรรครองลงมา 265 ต่อ 159 แล้ว ยังมีอีกหลายเรื่อง

หากนับจำนวนผู้ออกเสียงเลือกตั้งแบบปาร์ตี้ลิสต์ มีคนเลือก พท.ถึง 15.7 ล้านเสียง มากกว่าเมื่อปี 2550 อยู่ 3.4 ล้าน พรรค พท.ได้มากกว่า ปชป. อยู่ถึง 4.3 ล้านเสียง

เฉพาะพรรค ปชป. นั้น พ.ศ.2554 ได้คะแนนปาร์ตี้ลิสต์ 11.4 ล้านเสียง ต่ำกว่าเมื่อปี 2550 ที่ได้ 12.1 ล้านเสียง

แสดงว่าโดยรวมพรรค ปชป.มีคะแนนนิยมลดลง แม้แต่พรรคพันธมิตร เช่นภูมิใจไทย ก็ยังได้คะแนนไม่เข้าเป้า ขณะที่ พ.ท.คะแนนนิยมเพิ่มขึ้นมาก

สำหรับการเลือก ส.ส.พรรค ปชป.ชนะแบบขาดลอยที่ภาคใต้ แต่ที่ภาคเหนือตอนบนและอีสาน พท.ชนะแบบขาดลอย แสดงให้เห็นว่าความพอใจพรรคการเมือง แยกตามภาคเด่นชัดใน 3 ภาคนี้

ที่กรุงเทพฯ แม้ ปชป.จะชนะ พท.โดยได้ ส.ส. 23 ต่อ 10 หากดูรายละเอียด พบว่า ปชป. ไม่ได้ชนะแบบขาดลอยถึง 18 เขต คือคะแนนต่างกันเพียงไม่กี่พันเท่านั้น

จึงมีผู้กล่าวว่า ที่กรุงเทพฯยังไม่มีลักษณะแยกพรรคที่เด่นชัด ดังที่ภาคเหนือตอนบน อีสาน และภาคใต้ ถึงกระนั้นชัยชนะก็คือ ชัยชนะของ ปชป.ที่กรุงเทพฯ ดังนั้น จึงยังไม่อาจกล่าวได้ว่า พ.ท.ชนะทั้งประเทศแบบถล่มทลาย


อย่างไรก็ตาม ชัยชนะของพรรค พท. โดยรวมในปี 2554 นี้ได้ส่งสัญญาณถึงความเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ทางการเมืองของสังคมไทยที่ยากจะปฏิเสธ ที่สำคัญคือ

ก.การออกเสียงเลือกตั้งมีแนวโน้มสู่การเลือกพรรคใหญ่ 2 พรรค ชัดเจนขึ้น และพรรคใหญ่ที่ว่านี้เป็นตัวแทนของ 2 ขบวนการสังคมไทยที่ย้อนแย้งกันอยู่ด้วย คือกลุ่มคนเสื้อเหลืองและผู้มีใจให้ (แม้จะไม่เห็นด้วยทุกเรื่อง) กับอีกกลุ่มคือคนเสื้อแดงและผู้มีใจให้

ข.การตัดสินใจเลือกตั้งมีแนวโน้มว่า เกิดจากความนิยมชมชอบพรรคมากกว่าเรื่องบุคคล (personality) หรือเงิน หรือการกำกับโดยภาคราชการ (มหาดไทย กองทัพ) ดังเช่นในอดีต การใช้เงินยังมีอยู่ เพราะเกิดเป็นประเพณีไปแล้ว อีกทั้งยังมีปัญหารายได้ต่ำ แต่มีข้อมูลน่าเชื่อถือว่า แม้จ่ายเงินก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้ที่ต้องการ ชาวบ้านรับเงินแต่จะเลือกใครเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ค.ผลของการเลือกตั้งทั่วไปตามแนวโน้มที่กล่าวมา เกิดขึ้นซ้ำๆ มาเป็นเวลา 10 ปี แล้ว

ง.ราษฎรที่ตื่นตัวทางการเมืองไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งในอัตราสูงเป็นประวัติการณ์ คือร้อยละ 75 ส่อแสดงความต้องการระบอบรัฐสภาประชาธิปไตยภายใต้หลักการ 1 คน 1 เสียง ที่ค่อนข้างเด่นชัด


ข้อมูลข้างต้นนี้ บันดาลใจให้คิดถึงข้อเสนอเพื่ออนาคต ให้พิจารณาถกเถียงกันอย่างน้อยหกข้อด้วยกัน คือ

หนึ่ง ถึงเวลายกเลิกแนวคิดความเป็นหนึ่งเดียว (unity) ยอมรับการอยู่ร่วมโดยสันติ

ความเป็นหนึ่งเดียว บางทีก็ว่า ความสามัคคี เป็นแกนของอุดมการณ์ชาติมาโดยเฉพาะตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อมาใส่กล่องใหม่ใช้คำว่า "ปรองดอง" โดยจะพบว่ากองทัพใช้คำนี้มาก แต่แนวคิดนี้ตกขอบไปแล้ว เพราะขณะที่สังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป และมีความสลับซับซ้อนขึ้น ความปรองดองกลับถูกใช้เพื่อปราบปรามผู้มีความคิดต่าง และได้นำไปสู่การข่มขู่ การจับกุมคุมขัง การปิดสื่อสาธารณะ ฯลฯ จึงควรยกเลิกเสีย ทดแทนด้วยยอมรับการอยู่ร่วมกัน ยอมรับนับถือความคิดต่าง

จะเป็นไรไปถ้าจะอยู่กลุ่มเสื้อเหลือง จะเป็นไรไปถ้าจะอยู่กลุ่มเสื้อแดง สีอะไรก็อยู่ร่วมกันได้

สอง ระบอบรัฐสภาประชาธิปไตย เป็นกลไกการเมืองเพื่อบริหารจัดการความคิดต่าง และความขัดแย้งต่างๆ ในสังคมสมัยใหม่ที่มากด้วยความสลับซับซ้อนที่มีประสิทธิภาพที่สุดในขณะนี้ และสากลโลกก็ยอมรับ จงยอมให้กลไกนี้ทำงานและพัฒนาไปตามครรลอง แน่นอนว่า กรอบกติกาที่กำกับระบบนี้คือ รัฐธรรมนูญและกฎหมายลูก จะต้องได้รับการออกแบบและมีการพัฒนาแบบลองผิดลองถูก ผ่านกระบวนการเรียนไปทำไป จนก่อเกิดเป็นประเพณีและหลักปฏิบัติอันเหมาะสมกับสภาพของเศรษฐกิจสังคมที่มีการพัฒนาไปเรื่อยๆ

โดยไม่ให้มีการสะดุดหยุดและถูกแทรกแซงเป็นระยะๆดังที่ผ่านมา

สาม กองทัพต้องยุติบทบาททางการเมืองโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้ เพื่อความอยู่รอด และศักด์ศรีของกองทัพนั้นเองและเพื่อชาติ กองทัพคงไม่อยากจะถูกโยงกับเรื่อง 91 ศพ อีก

เริ่มต้นเลย พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ที่รัฐบาลรัฐประหาร 2549 ผ่านออกมา ต้องยกเลิก เพราะว่า พ.ร.บ.สถานการณ์ฉุกเฉินก็เพียงพอแล้ว การคงอยู่ของ พ.ร.บ. นี้เป็นช่องให้กองทัพมีบทบาททางการเมืองสูงขึ้น

สี่ สถาบันพระมหากษัตริย์

กลุ่มอนุรักษนิยมในช่วงที่ผ่านมาสนับสนุนแนวคิด สถาบันอยู่เหนือการเมือง แล้วพยายามใช้อำนาจที่อิงสัญลักษณ์ของสถาบัน เพื่อประโยชน์ส่วนตัวหรือโดยไม่ระบุเป้าหมายที่ชัดเจน

การใช้อำนาจที่อิงกับสัญลักษณ์ของสถาบัน ได้สร้างความเสียหาย เพื่อหลีกเลี่ยงความสุ่มเสี่ยงนี้ ทางออกทางหนึ่งคือการพัฒนาสู่ "ceremonial role" ในทำนองเดียวกับที่อังกฤษเป็นอยู่

ห้า ระบบตุลาการและศาล ต้องได้รับการปฏิรูปอย่างครอบคลุม

ในอดีต ศาลไม่มีบทบาททางการเมือง แต่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในเรื่องนี้ ขณะที่ยังไม่มี rule of law ที่ชัดเจน พัฒนาการนี้สุ่มเสี่ยงและเป็นอันตราย กับชื่อเสียงความน่าเชื่อถือของศาลได้ เนื่องจากศาลอาจจะยังไม่เป็นอิสระจากส่วนอื่นๆ ของระบบรัฐบาลอย่างเต็มที่

คำว่า สองมาตรฐาน มีหลายความหมาย แต่ก็มีนัยเป็นข้อวิจารณ์ระบบศาลด้วย

การปฏิรูประบบศาล ต้องรวมถึงการปรับระบบการเรียนการสอนกฎหมาย การตรวจสอบระบบศาล และการให้ความช่วยเหลือผู้ถูกดำเนินคดีที่เป็นระบบ (legal aid)

หก รัฐบาลจำเป็นต้องใช้งบประมาณแผ่นดินอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการสร้างสินค้าสาธารณะเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

การนี้ต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก แต่ความสามารถเก็บภาษี ขณะนี้ได้เพียงร้อยละ 17 ของจีดีพี การศึกษาชี้ว่าถ้าการจัดเก็บมีประสิทธิภาพขึ้น แม้ไม่เพิ่มอัตราภาษีเลย ก็จะได้รายได้รัฐเพิ่มเป็นร้อยละ 22 ของจีดีพี

และหากปรับปรุงระบบภาษี นำภาษีทางตรง เช่นภาษีที่ดิน และ capital gain tax เข้ามาปรับใช้อย่างเหมาะสม ก็จะสามารถเพิ่มรายได้รัฐได้อีกอักโข พอที่จะนำไปสร้างระบบสวัสดิการพื้นฐานแบบถ้วนหน้าให้ราษฎรได้ โดยไม่ต้องมีหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น



++

สิทธิมนุษยชน
โดย ฐากูร บุนปาน คอลัมน์ สถานีคิดเลขที่ 12
ในมติชน ออนไลน์ วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 21:00:00 น.


ถึงจะดึงรายงานการสอบสวนข้อเท็จจริงจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมของประชาชนในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ชุดที่ นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นประธาน กลับไปแล้ว

แต่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ก็ยังเผชิญแรงกดดันมหาศาล

จากทั้งญาติของผู้เสียชีวิตผู้บาดเจ็บในเหตุการณ์ดังกล่าว ไปจนกระทั่งถึงผู้มีใจรักความเป็นธรรมและผู้ที่ยึดกุมหลักการสิทธิมนุษยชนเอาไว้มั่นคง

ในด้านหนึ่งเพราะพฤติกรรมที่ผ่านมาของ กสม.เอง ที่มักจะเอียงเข้าหาอำนาจมากกว่าความเป็นธรรม

อีกด้านหนึ่งก็เนื่องจากรายงานสาระของฉบับที่ว่านั้น "เหลือทน" จริงๆ

เพราะไม่เพียงแต่ "บิดเบือน" หลักการสิทธิมนุษยชนจนไม่เหลือชิ้นดี

ยัง "กล้าหาญ" พอที่จะบรรจุข้อมูลเท็จเอาไว้ในนั้นด้วย


ในประเด็นแรก ถ้าคนที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนไม่มีจิตสำนึกว่า การที่เอาทหารเข้ามาปราบปรามประชาชนที่มาชุมนุมทางการเมืองเป็นความผิด

เอาปืนที่ควรจะชี้ออกนอกบ้าน เข้ามาชี้ในบ้านเป็นเรื่องผิดปกติ

ควรจะกลับไปตรวจสมองของตัวเองใหม่


ไม่ได้อ่านวารสาร "เสนาธิปัตย์" ของทหารเขาบ้างหรือว่า ที่เขาจัดกำลังกันมาครั้งนี้ เขามากันเป็นกองทัพ เพื่อจะทำสงครามในเมือง และได้รับอนุญาตให้ใช้กระสุนจริง

ปฏิบัติการทั้งหมดนี้รัฐบาลเป็นผู้อนุมัติและสนับสนุนอย่างจริงจัง

จนกระทั่งผู้ปฏิบัติ "สบายใจ"


ในประเด็นต่อมา รายงานนี้สรุปเอาแบบผู้มีตาทิพย์ว่า พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม เสียชีวิตด้วยฝีมือ "ชายชุดดำ"

ทั้งที่นี่คือหนึ่งในคดีปริศนาที่สุดของเหตุการณ์ช่วงดังกล่าว

ขณะที่ในกรณี 6 ศพวัดปทุมวนาราม ท่านบอกดื้อๆ ว่าไม่รู้ว่าเป็นฝีมือใคร

แถมยังมีข้อมูลใหม่ล่าสุด ชนิดที่ไม่เคยมีคนรู้อีกว่า มีคนถูกฆ่านอกวัด แต่ถูกลากมาตายอยู่ในวัด

ท่านเอาข้อมูลนี้มาจากไหนครับ?

ทำไมเรื่องนี้ไม่เคยปรากฏในข่าว ไม่อยู่ในสำนวนของตำรวจ และที่สำคัญคือไม่เคยมีคนนับพันที่หลบอยู่ในวัดพูดถึง



เอากลับไปทบทวนกันใหม่น่ะถูกต้องแล้ว

และถ้าจะให้ดี ลองไปหารายงานเรื่องเดียวกันขององค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศหรือ "ฮิวแมน ไรต์ วอตช์ "

หรือรายงานของอาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ประธานคณะทำงานด้านยุทธศาสตร์สันติวิธี ของ สกว.

ไปจนกระทั่งรายงานสรุป 6 เดือนแรกของคณะกรรมการอิสระเพื่อการค้นหาคามจริงและการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)มาอ่านบ้างก็ได้

ไม่ได้หวังว่าอ่านแล้วจะเกิดความ "กล้าหาญทางจริยธรรม" และความรับผิดชอบอื่นๆ ตามมาในทันใด

แต่อยากให้รู้ว่า หลักสิทธิมนุษยชนในโลกนี้ยังมีอยู่จริง

ถ้าท่านไม่เชื่อ ท่านไม่ต้องลำบากมาทำก็ได้



.

2554-07-27

ปากพล่อย พลอยล่มจมฯ และ วันสุข คืนมาฯ โดย ศุภาศิริ สุพรรณเภสัช

.

บทความโพสต์ก่อนบทความหลัก

ใครกดดัน"กกต."
โดย สมิงสามผลัด คอลัมน์ เหล็กใน
ใน ข่าวสดรายวัน หน้า 6 วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 21 ฉบับที่ 7545


หวังว่าภายในสัปดาห์นี้ กกต.คงรับรองส.ส. ได้ครบ 475 คน

เพราะเป็นช่วงสัปดาห์สุดท้ายแล้ว หากปล่อยให้ล่วงเลยไปถึงสัปดาห์หน้าก็สุ่มเสี่ยงเกินไป

โอกาสจะรับรองส.ส.ไม่ถึง 95 เปอร์เซ็นต์ภายใน 30 วันหลังการเลือกตั้งนั้นเป็นไปได้สูง

อย่างที่ย้ำกันมาตลอดว่า "ใคร" จะเป็นคนรับผิดชอบ

หากเปิดสภาไม่ทันตามรัฐธรรมนูญกำหนด !?

วันก่อน นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล นักวิชาการจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความเห็นกรณีที่ กกต.แขวน นายจตุพร พรหมพันธุ์ อดีตแกนนำนปช. ที่มีการร้องเรียนเรื่องคุณสมบัติ

ระบุว่ากกต.รับรองคุณสมบัตินายจตุพรแล้วตั้งแต่ก่อนเลือกตั้งส.ส. และประชาชนก็เลือกผู้สมัครส.ส. ตามที่ กกต. รับรองมา ถ้า กกต.พิจารณาตามเนื้อผ้ากรณีนายจตุพรก็ไม่น่าจะมีปัญหา !?

คนที่เลือกปาร์ตี้ลิสต์พรรคเพื่อไทยก็แปลกใจว่าทำไมถึงยังมีปัญหาอยู่

ส่วนเรื่องที่นายจตุพรถูกดำเนินคดีข้อหาหมิ่นและโดนคุมขังในเรือนจำนั้น

ควรส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าขาดคุณสมบัติหรือไม่ในภายหลัง

การทำงานของกกต.จึงเป็นที่จับจ้องของคนเสื้อแดง

เฝ้าดูว่าจะเกิดอุบัติเหตุทางการเมืองหรือไม่ ?


เช่นเดียวกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่จับจ้องกกต.เช่นกัน

แต่จับจ้องในอีกด้าน กลัวรับรองอดีตแกนนำเสื้อแดงเข้าสภา

เพราะนายอภิสิทธิ์ออกมาประกาศปาวๆ แทบทุกวันว่า คนเสื้อแดงหยุด "กดดัน" กกต.ได้แล้ว

นายสุเทพก็ไม่น้อยหน้าไปกว่ากัน ประกาศห้ามกกต.รับรองพวกเผาบ้านเผาเมืองเข้าสภา

ก็เลยงงๆ ว่าใครกันแน่ที่กดดันกกต.

เพราะยังไม่เห็นมีคนเสื้อแดงออกมาแสดงพลังกดดันการทำงานของกกต.เลย

ล่าสุด นายเทพไท เสนพงศ์ ก็ออกมาทั้งประณามทั้งข่มขู่กกต. หากพิจารณาปล่อยอดีตแกนนำนปช. เข้าสู่สภา

แบบนี้ไม่เรียกว่า "กดดัน" แล้วจะเรียกว่าอะไร

ความจริงทั้งนายอภิสิทธิ์ นายสุเทพ และนายเทพไท ควรอยู่นิ่งๆ รอทำงานเป็นฝ่ายค้านในสภาจะดีกว่า

เพราะการออกมาตอกย้ำเรื่อง "เผาบ้านเผาเมือง" ก็ได้รับการพิสูจน์ไปแล้วในเบื้องต้น
ผลการเลือกตั้งครั้งล่าสุดยืนยันได้
ประชาชน 16 ล้านคนไม่เชื่อคำพูดของนายสุเทพเลย


. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .


ปากพล่อย พลอยล่มจม LOOSE LIPS SINK SHIPS
โดย ศุภาศิริ สุพรรณเภสัช คอลัมน์ For a Song ท่องโลกผ่านเพลง
ในมติชน ออนไลน์ วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 17:40:16 น.


ช่วงรอยต่อระหว่างรัฐบาลเก่ากับรัฐบาลใหม่ นักการเมืองบางคนเก็บปากเก็บคำอย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน ในขณะที่บางคนก็พูดจาเปิดเผยเรื่องราวในพรรคอย่างไม่เคยทำมาก่อนเหมือนกัน

ประเภทหลังทำให้คนพรรคเดียวกันไม่ค่อยพอใจ วิจารณ์ตรงๆ ว่ามีอะไรควรพูดกันในพรรค

ไม่น่าจะให้ "คนนอก" ได้รับรู้

"คนนอก" ที่ว่าคือประชาชน ซึ่งหากเป็นไปได้ก็ไม่ควรจะให้รับรู้ไส้ในของพรรค เพราะอาจจะหมดศรัทธาหรือจะทำให้การสร้างภาพยากเย็นขึ้นเปล่าๆ ปลี้ๆ

ว่ากันตรงๆ คือ หากปากพล่อย จะพลอยทำให้พรรคล่มจม

http://www.youtube.com/watch?v=t7e1AXWMGA8&feature=player_embedded


ฟังแล้วอดไม่ได้ที่จะนึกถึงสำนวนของเหล่านาวีสหรัฐในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง...
Loose lips sink ships
สำนวนง่ายๆ นี้แปลง่ายๆ เหมือนกันว่า "ปากพล่อย (ทำให้) เรือจม"

เคยเล่าให้ฟังตรงนี้ว่า ในยามสงครามนั้น บ้านเมืองไหนก็ต้องขอร้องประชาชนให้สงวนปากสงวนคำกันทั้งนั้น เพราะอาจจะมีสปาย-สายลับ หรือที่คนไทยรุ่นคุณปู่คุณทวดเรียกว่า "แนวที่ห้า" บ้าง "จารบุรุษ" บ้าง พยายามทำจารกรรม หากความลับต่างๆ ไปให้ฝ่ายศัตรู

ก่อนที่โลกจะเข้าสู่ยุคไซเบอร์ ความลับกระจายได้เชื่องช้าเต็มที สปีดเร็วระดับพี่หอยทาก แค่ปากต่อปาก ไม่ใช่สองสามคลิกก็รู้กันทั้งโลกเหมือนที่เป็นอยู่

หลายคนอาจเคยผ่านตา รูปโปสเตอร์ที่พิมพ์โดยรัฐบาลไทยสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่มีข้อความเตือนใจว่า "ระวัง...กำแพงมีหู ประตูมีช่อง จารบุรุษกำลังฟังอยู่ตลอดเวลา อย่าพูดความลับของทางราชการ"

ช่วงเดียวกัน สหรัฐเพิ่งโดนญี่ปุ่นส่งเครื่องบินไปถล่มอ่าวเพิร์ล ฮาร์เบอร์ รัฐบาลอเมริกัน ซึ่งเคยพยายามถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองไม่ใช่ธุระของตน ก็เจ็บแค้นจนตัดสินใจกระโจนเข้าร่วมสงคราม และเดินหน้าสร้างอาวุธเต็มกำลัง

พร้อมๆ กัน รัฐบาลก็เตือนประชาชนว่าต้องไม่พูด-ไม่บอกต่อ ไม่เล่าสิ่งที่ตัวเห็นหรือได้ยินให้ใครฟัง โดยเฉพาะพวกที่ทำงานโรงงานผลิตอาวุธ หรือทำงานในค่ายทหาร ต้องปิดปากให้สนิท ไม่ปากโป้งว่าทำอะไร ที่ไหน ผลิตอะไร จำนวนเท่าไหร่ เพราะไม่รู้ว่าใครรอบๆ ตัวเป็นสปายให้นาซีเยอรมันบ้าง

ขนาดบริษัทขายหมากฝรั่งยังโหนกระแสกับเขาด้วย เพราะโฆษณาว่า Don?t talk, chum. Chew gum. อย่าพูดเลย, เกลอ เคี้ยวหมากฝรั่งเหอะ



สำนวน Loose lips sink ships ที่มาจากเหตุการณ์อ่าวเพิร์ล เป็นแรงบันดาลใจให้ Duke Ellington อัครบุรุษแห่งโลกแจ๊ซใช้เป็นชื่อเพลง A Slip of the Lip (Can Sink a Ship)

การใช้เพลงเป็นเครื่องเตือนใจนี้ ดียิ่งกว่าติดโปสเตอร์เสียด้วยซ้ำ

เพลง A Slip of the Lip จึงกลายเป็นเพลงโดนใจนักฟังสมัยสงครามโลกครั้งที่สองไปในทันที

เสียงชู้วววว...เบาๆ ในตอนขึ้นต้นของเพลง ฟังเหมือนใครคนหนึ่งกำลังบอกให้เงียบไว้ เบาไว้ เสียงชู้วววว...ของฝรั่งมีความหมาย

แบบเดียวกันกับที่คนไทยเราทำเสียง "จุ๊ๆๆๆ" เตือนเด็กหรือผู้ใหญ่ที่กำลังจะพูดอะไรที่ไม่สมควร

เนื้อเพลงตอนต้นบอกว่า
Don?t talk too much / Don?t know too much / Don?t be too hip / "Cause a slip of the lip can sink a ship.
อย่าพูดมากไป อย่า (ทำ) รู้มากไป อย่าซ่ามากไป ปากพล่อยจะพลอยให้เรือ (ชาติล่ม) จม

เนื้อเพลงยังบอกด้วยว่า "Walls have ears / Night has eyes / So let?s be wise? กำแพงมีหู ราตรีมีตา เราต้องสุขุมรอบคอบ...

เดาเอาว่าเราคงได้สำนวน "กำแพงมีหู" มาจากฝรั่ง แต่เติม "ประตูมีช่อง" ให้คล้องจองน่าฟังแบบไทยๆ บางครั้งก็ใช้ว่า "กำแพงมีหู ประตูมีตา" ส่วน "หน้าต่างมีหู ประตูมีตา" ก็มีคนใช้บ้างเหมือนกัน



ใน YouTube มี "ครูทูบ" http://www.krutubechannel.com/?page=video_view&vid_id=1684 ที่น่ารัก เล่าเรื่องราวของสำนวนนี้ให้ฟัง ใครสนใจก็เปิดเข้าไปดูได้

แต่คนปากโป้งหรือเก็บความลับไม่เป็น ไม่ใช่ประชาชนเสมอไป ช่วงรัฐบาลที่มาจากการปฏิวัติ 2549 มีนายทหารใหญ่ๆ ออกมาพูดจาในเรื่องที่ไม่ควรพูดไม่น้อย

ยังจำได้ว่า มีพลเอกรายหนึ่งพลั้งปากเรื่องยุทธศาสตร์การแก้วิกฤตภาคใต้ออกมาจนหมด แล้วออกมายอมรับภายหลังว่า เรื่องที่พูดไปไม่ควรนำมาเปิดเผยผ่านสื่อ เพราะไม่ถูกต้อง แถมยังเจื้อยแจ้วต่อไปด้วยว่า ตัวเองเป็นคน "พูดตรงๆ" หลอกนักข่าวไม่เป็น เมื่อโดนซักก็หลุดปากพูดจนได้

แต่ทั้งหมดไม่ใช่เรื่องพูดตรงหรือพูดโกหก ไม่ใช่เรื่องว่าจะ "พูดอย่างไร" แต่เป็นเรื่องว่า "ต้องไม่พูด"

ทำนองเดียวกับที่พลเอก โอมาร์ แบรดลีย์ หนึ่งในผู้บัญชาการทหารอเมริกัน เคยให้ข้อคิดพวกทหารไว้ว่า

"It?s NOT HOW to say it - it?s HOW NOT to say it ! "

ตรองดูดีๆ ข้อคิดของคนพูดน้อยอย่างนายพล แบรดลีย์ ไม่ได้มีประโยชน์แก่ทหารเท่านั้น แต่มีประโยชน์สำหรับคนทั่วไปอย่างเราๆ ท่านๆ ด้วย

แปลกแท้ๆ พูดน่ะง่าย ไม่พูดกลับยาก

ยิ่งเป็นนักการเมือง หากไม่พูด จะมีคนยกป้าย "ดีแต่ไม่พูด" ใส่ไหมนี่ ฮึ?




++

วันสุข คืนมา HAPPY DAYS ARE HERE AGAIN
โดย ศุภาศิริ สุพรรณเภสัช คอลัมน์ For a Song ท่องโลกผ่านเพลง
ในมติชน ออนไลน์ วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 14:41:45 น.


หลายปีที่ผ่านมา คนไทยจำนวนมากทำ "วันสุข" หล่นหายคงคล้ายๆ สตางค์ที่หายไป

บางครั้งทำหล่นเอง

บางครั้งถูกล้วงหรือกรีดกระเป๋า

ความสุขที่ทำหล่นเองก็มีมาก ที่ถูกกลุ่มมิจฉาหรือมือที่มองไม่เห็นล้วงหรือกรีดเอาไปก็มากมี

พวกนักล้วงหรือนักกรีดชั้นครู เชี่ยวชาญ มากด้วยประสบการณ์ ล้วนเป็นมือที่มองไม่เห็น มือล่องหนทั้งสิ้น ยิ่งในยุคปัจจุบัน นักล้วง-นักกรีดทำงานเป็นทีม คนหนึ่งลงมือเสร็จแล้วส่งต่อ-ส่งต่อ-ส่งต่อไปเรื่อยๆ เกือบไม่มีทางที่จะจับได้

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=gqsT4xnKZPg


เมื่อร่วมๆ80 ปีมาแล้วคนในสหรัฐก็เป็นอย่างที่ว่าคือเมื่อเศรษฐกิจถล่มทลาย ทั้งเงินและความสุขหายวับไปพร้อมๆกัน

ฐานะของคนส่วนมากรูดลงเหมือนเด็กเล่นไม้ลื่น อยู่ข้างบนดีๆ ลื่นปรื๊ดลงมาโดยไม่ทันตั้งตัว หกคว่ำคะมำหงาย

คล้ายกันแต่ไม่เหมือนกัน เด็กๆ สนุก แต่ผู้ใหญ่ไม่สนุกเลย

คนตกงานก็มาก ทำนองเดียวกันกับอเมริกายุคนี้ เพียงแต่จำนวนสูงกว่า

มีบางคนพูดซื่อๆ ว่าไม่ได้กำลัง "หา"งาน แต่กำลัง "ขอทาน" งาน อะไรก็เอาทั้งนั้น เพื่อที่ตัวเองและครอบครัวจะไม่อดตาย

คนเข้าคิวยาวเพื่อขอปันอาหาร อย่างที่อเมริกันเรียกว่า bread line มีอยู่ทั่วไปในทุกรัฐ อย่างที่เคยเขียนไว้ตอนที่เล่าให้ฟังเรื่องเพลงชื่อ Brother, Can You Spare a Dime...พี่ พี่ ปันให้สักสิบสตางค์ได้ไหม



เจ้ากรรม! ราวกับแกล้ง อีกเพลงที่ฮิตขึ้นมาในช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มถล่มครั้งนั้น มีชื่อว่า Happy Days Are Here Again (วันแห่งความสุขคืนมาอีกครั้ง)

คนอเมริกันชอบกันมาก ร้องกันทั้งบ้านทั้งเมือง ราวกับจะท้าทายโชคชะตา

ไม่ท้าทายก็เย้ยหยัน
ไม่อีกทีก็ปลอบใจตัวเอง

ช่วงนั้นรัฐบาลของประธานาธิบดีฮูเวอร์ ดีแต่พูดเหมือนกัน มีโครงการดีๆ มาคุยฟุ้งกับประชาชน จะลดภาษี จะสร้างงาน จะแจกนั่น ช่วยนี่ ฯลฯ แต่เอาจริงแล้วทำไม่ได้สักอย่าง

ผู้คนจนลงไปทุกที บ้านช่องถูกยึด หมดทางทำมาหากิน คนพากันเดินทางเข้าเมืองใหญ่เพื่อหางานทำ

สลัมปุปะเกิดขึ้นทั่วไป เพราะพวกคนจนสร้างไว้พอคุ้มหัว สลัมพวกนี้มีชื่อเรียกอย่างเสียดสีว่า Hoovervilles หรือหมู่บ้านประธานาธิบดีฮูเวอร์

คนที่เคยอยู่ฮูเวอร์วิลล์สเล่าให้นักประวัติศาสตร์ฟังว่า เป็นภาพที่บอกไม่ถูก กลุ่มคนจนนั่งล้อมกองไฟท่ามกลางอากาศหนาวสั่น แล้วร้องเพลง Happy Days Are Here Again ประสานเสียงกัน

พระเจ้ามองลงมาคงไม่รู้จะร้องไห้หรือหัวเราะ


บุหรี่ยี่ห้อ Lucky Strike นำเพลงนี้ไปนำรายการดนตรีทางวิทยุ Happy Days Are Here Again จึงยิ่งติดหูคนฟังทั่วประเทศ

รายการของบุหรี่ลักกี้สไตรก์มีเพลงไพเราะ นักร้องดังๆ ที่มาบอกคนฟังว่าสูบบุหรี่แล้วสดชื่น สมองปลอดโปร่ง แถมยังทำให้เสียงดีอีกด้วย

คุณสมบัติอันเลิศต่างๆ ของบุหรี่ ที่คนสมัยนี้ได้ยินแล้วต้องโห่ไล่ แต่คนสมัยนั้นเชื่อกันเต็มหัวใจ

อดสงสัยไม่ได้ว่า มีอะไรบ้างหนอที่เราเชื่อกันในสมัยนี้ ที่อนาคตข้างหน้าเราจะต้องประหลาดใจตัวเอง ว่าเชื่อเข้าไปได้ยังไง


ในปี ค.ศ.1932 หมดเทอมของประธานาธิบดีฮูเวอร์ พรรคฝ่ายตรงข้ามเสนอนักการเมืองขาพิการที่ชื่อ Franklin D. Roosevelt (FDR) เข้ามาให้คนอเมริกันเลือก

วันที่แฟรงก์ลิน โรสเวลต์ ประกาศตัวเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี วงดนตรีบรรเลงเพลง Happy Days Are Here Again ต้อนรับ ราวกับจะบอกว่าหากได้คนนี้มาบริหารบ้านเมืองแทนอีตาห่วยคนเก่า ผู้คนในประเทศก็จะกลับไปเป็นสุขอีกครั้งหนึ่ง

Happy Days Are Here Again จึงกลายเป็นเพลงหาเสียงหรือ campaign song ของ FDR ไปโดยปริยาย


อารมณ์ของเพลง เข้ากับบุคลิกแจ่มใส เป็นมิตรของ FDR ยิ่งทำให้ประธานาธิบดีฮูเวอร์ดูจืดสนิท

ชัยชนะใสๆ จึงเป็นของ FDR ชายขาพิการที่ประชาชนจะฝากให้ปกครองดูแลประเทศอีกหลายสมัย

เพลง Happy Days Are Here Again จึงกลายเป็นเพลงประจำตัวของ FDR ไปด้วย



การแก้ไขเศรษฐกิจวินาศ ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างที่นักการเมืองพล่อยให้เราฟัง ประธานาธิบดี FDR ใช้เวลาร่วมสิบปี กว่าวันแห่งความสุขจะกลับมาเยือนสหรัฐอีกครั้งหนึ่ง

ความสำเร็จไม่ได้มาจากความสามารถของ FDR เท่านั้น แต่เป็นความสามารถ ความอดทน และความเป็นนักสู้ของประชาชนด้วย

So long sad times/Go long bad times/We are rid of you at last ?

Happy days are here again/The skies above are clear again/So let?s sing a song of cheer again/Happy days are here again

ลาก่อนช่วงเวลาเศร้าโศก-เลวร้าย จงหมดไปเสียที วันสุข-วันฟ้าใสได้กลับมาอีกครั้ง


+ + + +

ข่าวที่เกี่ยวกับการพูดจนคนไม่เชื่อถือ

"ประยุทธ์"ฉุนขาดนักวิชาการด่าทหารโกงโยง ฮ.ตก
http://www.thairath.co.th/content/pol/188996
ผบ.ทบ.ปฏิเสธใช้วิกฤตฮ.ร่วง ขอรบ.ซื้อใหม่ 30 ลำ ลั่นเป็นแผนระยะยาวจัดหาทดแทน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1311754054&grpid=00&catid=&subcatid=
'มาร์ค'ออกตัว ไม่รู้กองทัพบก ของบซื้อฮ.ใหม่
http://www.thairath.co.th/content/pol/189510

และ
http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P10862471/P10862471.html
http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P10861548/P10861548.html
http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P10860835/P10860835.html

.

2554-07-26

'เผด็จการทางรัฐสภา', ชาติพันธุ์กับสังคมพหุลักษณ์ โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์

.

เผด็จการทางรัฐสภา
โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
ในมติชน ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 21:00:00 น.


คําว่า "เผด็จการทางรัฐสภา" คงเกิดขึ้นจากนักวิชาการที่สนับสนุน รสช. เพราะคณะรัฐประหารชุดนี้ใช้คำนี้โฆษณาให้ความชอบธรรมแก่การยึดอำนาจจากรัฐบาล ชาติชาย ชุณหะวัณ โดยอ้างว่ารัฐบาลนั้นมีเสียงข้างมากเด็ดขาดในสภา ฉะนั้นจะดำเนินนโยบายอย่างไร ก็ไม่มีทางที่ใครจะขัดขวางได้ แม้แต่จะโกงกินกันอย่างเปิดเผย ก็ต้องปล่อยให้ทำไปตามกฎหมาย

ดังนั้นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง จึงเป็นเผด็จการ เพียงแต่เป็น "เผด็จการทางรัฐสภา" เท่านั้น

เราจะพูดอย่างนี้กับรัฐบาลในระบอบรัฐสภาได้ทุกแห่งหรือไม่? ไม่มีคำตอบที่ชัดเจนจาก รสช. แต่ดูเหมือนมีนัยยะว่า หากรัฐบาลที่มีเสียงข้างมากไม่ได้โกงไม่ได้กิน ก็ไม่ถือว่าเป็นเผด็จการทางรัฐสภา ฟังดูดีนะครับ

แต่ใครจะเป็นคนชี้ว่านโยบายที่รัฐบาลดำเนินอยู่นั้น คือเจตนาที่จะเปิดโอกาสให้โกงกิน ใครโกงกิน และโกงกินอย่างไร หากสามารถพิสูจน์ได้อย่างน่าเชื่อถือด้วยพยานหลักฐาน เหตุใดจึงไม่มีกลไกอื่นใดที่จะยับยั้งหรือจับคนผิดมาลงโทษได้ (นอกจากทำรัฐประหาร)

แสดงให้เห็นว่า "เผด็จการทางรัฐสภา" นั้น หากมีจริง ย่อมไม่ได้เกิดขึ้นจากรัฐสภาเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีความล้มเหลวของกลไกทางการเมือง ทางกระบวนการยุติธรรม และทางสังคม ที่จะถ่วงดุลอำนาจที่มาจากตัวเลขในรัฐสภาด้วย

ในสังคมอย่างนั้น จะมีการปกครองอย่างอื่นเกิดขึ้นได้อย่างไร นอกจากเผด็จการในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง



น่าประหลาดที่แนวคิดกลวงๆ อันนี้ ไม่ได้ตายไปกับ รสช. แต่ยังอ้อยอิ่งอยู่ในความคิดของนักวิชาการและนักเคลื่อนไหวทางการเมือง (ทั้งอย่างจริงใจ และเพื่อประโยชน์ส่วนตน) สืบมาจนถึงทุกวันนี้ ว่ากันที่จริงแล้ว ผมคิดว่ามันแฝงอยู่ลึกๆ ในการร่างรัฐธรรมนูญ 2540

ซึ่งเป็นแม่แบบส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญ 2550 ด้วย

(เพื่อความเป็นธรรม ผมควรกล่าวด้วยว่า รัฐธรรมนูญ 2540 ต้องการจะสร้างฝ่ายบริหารที่เข้มแข็ง แต่เพราะกลัวเผด็จการทางรัฐสภา จึงสร้างกลไกถ่วงดุลเสียงข้างมากไว้หลายอย่าง อันเป็นกลไกที่เชื่อมโยงมาถึงประชาชน ในขณะที่รัฐธรรมนูญ 2550 ต้องการฝ่ายบริหารที่ไม่เข้มแข็ง นอกจากวางข้อกำหนดที่ทำให้ฝ่ายบริหารเข้มแข็งได้ยากแล้ว ยังรักษากลไกถ่วงดุลเสียงข้างมากในรัฐสภาไว้เหมือนหรือยิ่งกว่ารัฐธรรมนูญ 2540 แต่ล้วนเป็นกลไกที่ไม่เชื่อมโยงกับอำนาจของประชาชน เพราะตรงข้ามกับรัฐธรรมนูญ 2540 . .ประชาชนนั่นแหละคือตัวอันตรายที่สุดในทรรศนะของรัฐธรรมนูญ 2550 )

และในปัจจุบัน เมื่อผลการเลือกตั้งออกมาเช่นนี้ แนวคิดเรื่อง "เผด็จการทางรัฐสภา" ก็ไม่ได้อ้อยอิ่งในความคิดเท่านั้น แต่เริ่มมีเสียงดังขึ้นมาอีก ปูทางไว้สำหรับการล้มรัฐบาลนอกรัฐสภา โดยวิธีใดวิธีหนึ่งในอนาคต

"เผด็จการทางรัฐสภา" นั้น ในทรรศนะของผมมีจริง แต่ไม่ใช่ในความหมายที่ตื้นเขินอย่างที่กล่าวกัน คือแค่มีเสียงข้างมากเด็ดขาดในรัฐสภา ก็กลายเป็นเผด็จการทางรัฐสภาไปแล้ว ความเข้าใจที่ตื้นเขินเช่นนี้ นำไปสู่ข้อสรุปอย่างมักง่ายว่า ต้องทำให้เสียงข้างมากในสภาไม่เด็ดขาดนัก นั่นคืออย่าได้มีรัฐบาลพรรคเดียว แต่ต้องเป็นรัฐบาลผสม ยิ่งผสมโดยพรรคที่เข้าร่วมมีอำนาจต่อรองค่อนข้างมาก โอกาสที่จะเกิดเผด็จการทางรัฐสภาก็ยิ่งยากขึ้น

แต่รัฐบาลอภิสิทธิ์ที่เพิ่งผ่านมา ก็พิสูจน์แล้วว่าไม่จริง เพราะพรรคแกนนำและพรรคร่วมอาจเกี้ยเซี้ยแบ่งผลประโยชน์กัน โดยไม่ต้องฟังเสียงประชาชนเลยก็ได้

การจัดสรร "โควตา" รัฐมนตรีตอนจัดตั้งรัฐบาลผสมต่างๆ ก็ชี้ให้เห็นแล้วว่า เป็นการเตรียมตัวไปยึดเสียงข้างมากเด็ดขาดในรัฐสภา เพื่อดำเนินนโยบายอย่างไรก็ได้ โดยไม่มีกลไกที่จะสามารถกลั่นกรองถ่วงดุล ถ้า "เผด็จการทางรัฐสภา" มีความหมายเพียงแค่นี้ อย่างไรเสียเราก็หลีกหนีจากเผด็จการประเภทนี้ในระบอบรัฐสภาไม่ได้

และนี่อาจเป็นเหตุให้คนไทยจำนวนไม่น้อยที่ท้อใจ จนพร้อมจะหันไปหาเผด็จการรูปแบบอื่นๆ เช่น รัฐสภาที่มาจากการแต่งตั้ง ระบอบทหาร ฯลฯ


รัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งมีความสำคัญในระบอบประชาธิปไตยแน่ เพราะเป็นสถาบันสำคัญที่เปิดให้แก่การควบคุมตรวจสอบของประชาชน (ผ่านทั้งการเลือกตั้ง และพื้นที่สาธารณะชนิดอื่นๆ เช่น สื่อ หรือการจัดองค์กรเพื่อการเคลื่อนไหวทางการเมือง)

แต่รัฐสภาและการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอที่จะป้องกันการฉ้อฉลในรูปแบบต่างๆ ได้ โดยเฉพาะในระบอบรัฐสภา ซึ่งถึงอย่างไรฝ่ายบริหารก็ต้องคุมเสียงข้างมากได้เสมอ ปราศจากกลไกทางสังคมที่เข้มแข็งพอจะกำกับควบคุมรัฐสภา อย่างไรเสียก็ย่อมเกิด "เผด็จการทางรัฐสภา" ขึ้นจนได้

จะมาฟูมฟายกับพฤติกรรมของนักการเมืองก็ไร้ประโยชน์ ซ้ำยังชวนให้ไปเพ้อฝันถึงระบอบเผด็จการรูปอื่นๆ ด้วย ดังคำพูดของท่านผู้ใหญ่ที่ผมนับถือท่านหนึ่ง ซึ่งกล่าวว่า

"ระบบรัฐสภาในประเทศไทยไม่ใช่ประชาธิปไตยที่แท้จริง แต่เป็นเผด็จการ เพราะในระบบรัฐสภาที่เป็นประชาธิปไตยจริง ส.ส.ต้องเป็นอิสระ ไม่ขึ้นอยู่กับกลุ่มอำนาจใดๆ แต่เนื่องจากรัฐสภาไทยตกอยู่ใต้การบัญชาของบุคคลคนหนึ่ง (ท่านคงหมายถึงคุณทักษิณ ชินวัตร) ระบบรัฐสภาจึงไม่ใช่ทางแก้ปัญหา" (แปลจากภาษาอังกฤษ อาจไม่ตรงกับคำพูดของท่านทุกคำ)

แต่มี ส.ส.ที่ไหนในโลกนอกจินตนาการเชิงอุดมคติล่ะครับ ที่เป็นอิสระอย่างแท้จริง อย่างน้อยเขาก็ต้องจำนนต่ออคติของผู้เลือกตั้งเขามา วุฒิสมาชิกหัวก้าวหน้าบางคนของสภาสูงสหรัฐ ไม่เคยลงคะแนนเสียงให้แก่กฎหมายใดที่มุ่งจะให้สิทธิเสมอภาคแก่คนดำเลย

เหตุผลก็เพราะเขาเป็นวุฒิสมาชิกของรัฐทางใต้ที่รังเกียจผิวอย่างรุนแรง แต่เมื่อกระแสเคลื่อนไหวทางสังคมอเมริกัน สนับสนุนความเสมอภาคของคนสีผิว นักการเมืองเหล่านี้ก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง หรือต้องเปลี่ยนแนวทางทางการเมืองในเรื่องสีผิวไป


การที่มีบุคคลบางคนสามารถบัญชา ส.ส.ได้เกือบทั้งสภา จึงไม่ใช่ความบกพร่องของระบบรัฐสภา แต่เป็นความบกพร่องที่ใช้ระบบรัฐสภาในสังคมที่ภาคประชาชนไม่เข้มแข็งพอจะกำกับควบคุมรัฐสภาได้ มีแต่การเลือกตั้ง 4 ปีครั้งเพียงอย่างเดียวเป็นเครื่องมือ

"เผด็จการรัฐสภา" จึงเป็นสิ่งที่ป้องกันได้ แต่ไม่ใช่ด้วยการรัฐประหาร รอนอำนาจประชาชนลงด้วยการมีวุฒิสภา (หรือสภาผู้แทนฯ) ที่มาจากการแต่งตั้ง หรือใช้ฝูงชนยึดทำเนียบรัฐบาล แต่อาจป้องกันได้ด้วยการสร้างเงื่อนไขทางกฎหมาย ทางการบริหาร ทางเศรษฐกิจ และสังคม เพื่อให้ประชาชนสามารถจัดองค์กรเพื่อเคลื่อนไหวทางการเมืองได้โดยสะดวก

ในขณะเดียวกันก็อาจออกแบบรัฐธรรมนูญให้รองรับการเมืองภาคสังคม เช่น ลดอำนาจควบคุม ส.ส.ของพรรคการเมืองลง เปิดให้มี ส.ส.ที่ไม่สังกัดพรรค ให้สิทธิการ "เรียกคืน" ส.ส.แก่ประชาชนภายใต้เงื่อนไขอันหนึ่ง มีการลงประชามติในเรื่องแนวนโยบายสำคัญๆ ทุกครั้งที่มีการเลือกตั้งทั่วไป การบริหารในรูปกรรมการต้องมีภาคสังคมร่วมเป็นกรรมการในสัดส่วนที่มีความหมาย

รัฐสภาก็ไม่อาจลอยอยู่โดดเดี่ยวได้ แต่ต้องคอยฟังเสียงและการเคลื่อนไหวของภาคสังคม (ทุกภาคส่วน) อยู่ตลอดเวลา อีกทั้งอำนาจของรัฐสภาเองก็ถูกจำกัดลงด้วยเงื่อนไขต่างๆ ดังกล่าวแล้ว "เผด็จการทางรัฐสภา" จึงเกิดขึ้นได้ยาก แม้ว่าอาจมีนักการเมืองบางคนสั่งสมบารมีมาก ก็ไม่สามารถครอบงำรัฐสภาได้เด็ดขาดนัก



น่าเสียดายที่ความเข้าใจอันตื้นเขินเกี่ยวกับ "เผด็จการทางรัฐสภา" ในเมืองไทย แพร่หลายมากเสียจนกระทั่ง แทนที่จะช่วยกันคิดหาทางป้องกัน กลับเป็นการชวนกันหันไปหาเผด็จการรูปแบบอื่น

ยิ่งกว่านี้ ในสองปีที่ผ่านมายังมีความพยายามที่จะทำให้การเมืองของภาคสังคมอ่อนแอลง มีการปิดเว็บไซต์และสื่อ ซึ่งเป็นอริกับรัฐบาลหลายพันแห่ง มีการจับกุมคุมขังผู้คนจำนวนมากด้วยข้อกล่าวหาที่คลุมเครือต่างๆ เช่น มาตรา 112 ในกฎหมายอาญา (คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ) และกฎหมายคอมพิวเตอร์ ซ้ำยังมีความพยายามแก้กฎหมายหรือออกกฎหมายใหม่ที่ยิ่งทำลายพลังของการเมืองภาคสังคมลง เช่น พยายามแก้กฎหมายคอมพิวเตอร์ซึ่งเลวร้ายอยู่แล้วให้เลวร้ายยิ่งขึ้น ออกกฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุม ซึ่งคือการยึดพื้นที่สาธารณะไปจากประชาชนนั่นเอง ให้อำนาจ กกต.ซึ่งมาจากการแต่งตั้งไว้อย่างไร้ขีดจำกัด จนกระทั่งการตัดสินใจของประชาชนไม่มีน้ำหนักเหลืออยู่อีกเลย

เมื่อดูแนวโน้มทั้งหมดเหล่านี้แล้ว ก็อาจกล่าวได้ว่า "เผด็จการรัฐสภา" ย่อมจะยังเป็นลักษณะเด่นในการเมืองไทยต่อไป ทำให้การต่อสู้ช่วงชิงทางการเมืองระหว่างฝ่ายต่างๆ โน้มเอียงไปทางความรุนแรง เพราะฝ่ายที่ได้ชัยชนะจะได้หมด ในขณะที่ประชาชนจำนวนหนึ่งซึ่งไร้อำนาจต่อรอง ย่อมหันไปพึ่งอำนาจนอกระบบ ทำความเสื่อมเสียแก่อำนาจนอกระบบทั้งหลาย ที่ไม่ต้องการเข้ามาแทรกแซงการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก



++

ชาติพันธุ์กับสังคมพหุลักษณ์
โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
ในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 31 ฉบับที่ 1614 หน้า 28


เพื่อจะเป็นรัฐที่ใหญ่กว่าหมู่บ้าน รัฐไหนๆ ก็ย่อมประกอบขึ้นด้วยประชากรหลากหลายชาติพันธุ์ทั้งสิ้น มิฉะนั้น ก็ไม่สามารถรวบรวมกำลังทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างที่รัฐควรมีได้

นักวิชาการฝรั่งท่านหนึ่งซึ่งศึกษาไทดำเสนอว่า ตอนที่รัฐเล็กๆ ของพวกที่พูดภาษาไทย กำลังขยายจากรัฐเล็กๆ ใน "นาน้อยอ้อยหนู" ไปเป็นราชอาณาจักร เช่น เมืองเซ่าหรือหลวงพระบาง รัฐก็เลิกให้อภิสิทธิ์แก่ประชากรกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ไต แต่มาจัดลำดับขั้นแห่งสิทธิ ตามแต่การพระราชทานของกษัตริย์

แปลว่า จะมีหรืออยู่ในชาติพันธุ์อะไรก็ไม่สำคัญ หากการดำรงสถานภาพสูงหรือต่ำในสังคม ขึ้นอยู่กับว่ากษัตริย์จะเป็นผู้กำหนดให้

พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ไม่แต่สังคมไทยเท่านั้นที่เป็นพหุลักษณ์ รัฐเองก็กลายเป็นรัฐพหุลักษณ์ด้วย เลิกเป็นรัฐชาติพันธุ์ไปเด็ดขาด

ราชอาณาจักรที่เคยเกิดในดินแดนอันเป็นประเทศไทยปัจจุบัน ก็ล้วนเป็นรัฐพหุลักษณ์ทั้งสิ้น กล่าวคือ นอกจากจะมีคนหลายชาติพันธุ์อยู่ในราชอาณาจักรแล้ว รัฐยังไม่ได้แบ่งแยกให้ชาติพันธุ์ใดได้สิทธิพิเศษเหนือชาติพันธุ์อื่น ทุกชาติพันธุ์ต่างเป็นข้าไพร่ของกษัตริย์เสมอเหมือนกัน

สมอเหมือนนะครับ ไม่ใช่เสมอภาค เพราะในท่ามกลางความเสมอเหมือนทางชาติพันธุ์นั้น มีบางคนบางกลุ่มที่ได้รับความไว้วางใจจากกษัตริย์ ยกย่องหัวหน้าขึ้นเป็นขุนนาง มีอำนาจราชศักดิ์และสิทธิเหนือคนอื่นๆ

พระเจ้าแผ่นดินของรัฐต่างๆ ในแถบนี้ ต่างแสดงพระเกียรติด้วยการเป็นเจ้าเหนือชนหลากหลายชาติพันธุ์ บ้าน-เมืองใดที่มีเดชานุภาพและรุ่งเรือง ย่อมมีประชากรหลากหลายชาติพันธุ์อยู่ร่วมกัน ซ้ำยังรักษาความเป็นชาติพันธุ์ (ภาษา-วัฒนธรรม) ของตนให้ต่างจากกลุ่มอื่นด้วย ในวรรณคดีไทย แสดงเดชานุภาพของนครเช่นนี้ด้วยการ "ออกสิบสองภาษา" (และเทียบได้กับวรรณคดีของสังคมอุษาคเนย์อื่นๆ เหมือนกัน)



สังคมที่มีคนหลากหลายชาติพันธุ์อยู่ร่วมกัน และดูเหมือนจะอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืนพอสมควรนี้ เกิดขึ้นได้อย่างไร?

นักวิชาการแต่ก่อนท่านอธิบายปัจจัยสำคัญไว้สองประการ คือศาสนาและระบบปกครองหรือกษัตริย์ ผมก็เห็นด้วยนะครับ แต่อาจขยายความสองปัจจัยนี้ไม่ตรงกับท่านแต่ก่อนนัก

ศาสนาที่สามารถเชื่อมประสานคนต่างชาติพันธุ์ให้อยู่กันได้อย่างกลมกลืนนี้ ต้องเป็นศาสนาที่ไม่มีข้อกำหนดชัดเจนในเรื่องวัตรปฏิบัติและหลักธรรม ฝรั่งเรียกว่าเป็นศาสนาที่ไม่มี "พรมแดน" (boundary) และด้วยเหตุดังนั้น คนต่างศาสนาหรือแม้แต่คนในศาสนาเดียวกัน จึงอาจข้ามไปข้ามมาได้โดยสะดวก ไม่มีหน่วยงานภาครัฐหรือคณะนักบวชที่มาคอยชี้นิ้วว่าอันนั้นผิดอันนี้ถูก

ไม่มีใครรู้สึกว่ามีความต่างระหว่างพุทธและผี ต้นพระศรีมหาโพธิต้นเดียวกัน คนหนึ่งอาจไปกราบไหว้ในงานเทศกาลด้วยสำนึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อีกคนอาจไปกราบไหว้ด้วยสำนึกว่าถึงเทศกาลไหว้ผีใหญ่ประจำถิ่น ก็ต้องไปกระทำบูชาเพื่อขอความคุ้มครอง และอีกหลายคนมีสำนึกปนๆ กันไปทั้งสองอย่าง

ชาวป่าชาวดอยก็อาจเข้าไปร่วมในเทศกาลไหว้พระศรีมหาโพธิด้วย อย่างน้อยก็เพราะสนุกดี และเมื่อพระศรีมหาโพธิเป็นผีดี การไหว้ผีดีก็ไม่น่าจะมีอะไรเสียหาย

เช่นเดียวกับวัตรปฏิบัติด้านอื่นๆ ของ "ชาวพุทธ" ไม่มีระเบียบชัดเจนแน่นอนนัก หรือถึงมีจะแถมอย่างอื่นเข้าไปด้วยก็ได้ เช่น นอกจากถือศีล 5 แล้ว อาจกินมังสวิรัติด้วย โดยไม่ต้องเอาคุยโตโอ้อวด ไม่ต่างจากอีกหลายคนอาจไม่ไปงานศพใครเลย เพราะครูหรือผีที่ตนได้รับการครอบแล้วสั่งห้ามมิให้กราบไหว้ "ผี" อื่นใด

คนต่างศาสนานอกจากศาสนาผีแล้ว ก็อาจข้ามเข้ามาในพุทธศาสนาแบบไม่มีพรมแดนได้เสมอ เช่น เข้ามาร่วมงานบุญเดือนสิบ โดยไม่มีใครรู้สึกอะไร และในทางตรงข้าม ชาวพุทธก็อาจข้ามไปยังศาสนาอื่นได้เหมือนกัน เช่น สนุกสนานในเทศกาลหะรีรายอ เป็นต้น

ผมคิดว่า เรื่องนี้สำคัญ ถ้าเราเข้าใจว่าศาสนาเป็นพลังกลมกลืนคนต่างชาติพันธุ์ในสังคมอุษาคเนย์โบราณ ก็ต้องเป็นศาสนาแบบนี้ ไม่ใช่ศาสนาอย่างที่เราเข้าใจในปัจจุบันซึ่งกลายเป็นศาสนาที่มีพรมแดนชัดเจนขึ้นทุกที



ปัจจัยด้านที่เป็นระบบปกครองหรือกษัตริย์ ก็อาจมีส่วนในการทำให้ความต่างชาติพันธุ์ไม่เกิดปัญหากับรัฐได้ - และผมขอย้ำนะครับว่า ปัญหากับรัฐ ไม่ใช่กับคนอื่นร่วมสังคม - เพราะรัฐปฏิบัติต่อแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์เหมือนกัน

ผมนึกถึงกรณีที่เจ้านายในราชวงศ์มักกะสันซึ่งลี้ภัยมาอยู่กรุงศรีอยุธยาในสมัยพระนารายณ์ แล้วในภายหลังก่อกบฏขึ้น มีการรบกันใหญ่ สูญเสียชีวิตมากมาย สาเหตุก็ไม่ได้เกิดจากศาสนา และไม่ได้เกิดจากความเป็นชาติพันธุ์ที่แตกต่างออกไป แต่สาเหตุเป็นเรื่องการเมืองภายในของกรุงศรีฯ เอง ซ้ำในการกบฏก็พวกมักกะสันก็ไม่ได้ดึงเอากลุ่มชาติพันธุ์ใกล้เคียง เช่น ชวา-มลายูมาร่วมด้วย รวมทั้งไม่ได้ปลุกปั่นให้มุสลิมอื่นเข้าร่วมด้วย และก็ไม่มีกลุ่มชาติพันธุ์หรือศาสนาอื่นใดเข้าร่วมกับฝ่ายมักกะสัน

ปัญหาที่เกิดกับรัฐจึงไม่ได้มาจากชาติพันธุ์ แต่เป็นปัญหาของกลุ่มคนที่มีกำลังของตนเองระดับหนึ่ง กลุ่มคนเหล่านี้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองของอยุธยาเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม ญี่ปุ่น, เติร์ก, อิหร่าน, จีน, หรือไทย เป็นปัญหาของการจัดองค์กรเพื่อคุมกำลังคนของอยุธยาเอง ไม่ใช่ชาติพันธุ์

โดยสรุปก็คือ พระเจ้าแผ่นดินดึงเอาชาติพันธุ์ที่หลากหลายมาอยู่ภายใต้ระบบช่วงชั้นทางสังคมอันเดียวกัน ระเบียบแห่งช่วงชั้น (hierachical order) ซึ่งมีพระเจ้าแผ่นดินอยู่สูงสุดนี้แหละครับ ที่ทำให้เกิดความกลมกลืนทางการเมืองระหว่างคนต่างชาติพันธุ์ได้



ยังมีปัจจัยอีกอันหนึ่งที่ทำให้ความหลากหลายชาติพันธุ์สามารถอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนได้ ซึ่งไม่ค่อยมีคนพูดถึง นั่นก็คือ ส่วนใหญ่ของความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในสังคมไทย ไม่ได้เกิดขึ้นจากการมา "พึ่งพระบรมโพธิสมภาร" แต่เกิดขึ้นจากคนซึ่งอยู่ติดพื้นที่มาก่อนจะสถาปนาราชอาณาจักร (เช่น ชาวลัวะและเม็งในภาคเหนือ, ชาวมลายูในภาคใต้, ฯลฯ) หรือคนที่อพยพเข้ามาเองโดยไม่ผ่านการจัดตั้งของรัฐ (เช่น ชาวเขาทั้งหมด หรือส่วนใหญ่ของชาวลาวในอิสาน)

คนเหล่านี้เข้ามาตั้งถิ่นฐานและอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน หากมีขนาดใหญ่ ก็อาจดำรงรักษาอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ไปได้ หากมีขนาดเล็กก็อาจถูกผสมกลมกลืนโดยคนรอบข้าง ไม่ควรลืมด้วยว่า ในสังคมโบราณ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ, สังคม, การเมือง และวัฒนธรรมระหว่างชุมชนต่างๆ มีไม่มากนักหรือไม่เข้มข้นเพียงพอที่จะทำให้เกิดความขัดแย้งกันได้บ่อยนัก ต่างพึ่งพากันก็จริง แต่พึ่งพาอย่างห่างๆ

ผมจำได้ว่า เมื่อปีแรกที่ผมไปเรียนที่สหรัฐ ซึ่งก็ 40 ปีมาแล้ว มีฝรั่งคนหนึ่งเสนอรายงานการวิจัยชุมชนมอญแถบปทุมธานี เขาเล่าว่าส่วนใหญ่ของคนแก่ผู้หญิง (อายุเกิน 50) พูดภาษาไทยไม่ได้หรือไม่คล่อง ทั้งๆ ที่สามีของคนเหล่านี้นำโอ่งไหดินเผาลงเรือมาขายถึงกรุงเทพฯ อยู่บ่อยๆ

ดูจะสะท้อนความห่างเหินของชุมชนต่างชาติพันธุ์อย่างมาก ดังนั้น ปัจจัยอย่างหนึ่งที่ชุมชนต่างชาติพันธุ์อยู่กันได้อย่างกลมกลืน ก็เพราะไม่ได้มีโอกาสกลืนกลมกันนั่นเอง

แต่ปัจจัยที่ทำให้เกิดความกลมกลืนในสังคมพหุลักษณ์ของอุษาคเนย์โบราณได้หายไปหมดแล้ว และหลายรัฐก็ไม่ใช่รัฐพหุลักษณ์อีกแล้วด้วย เช่น มาเลเซียและพม่า เป็นต้น ยังไม่นับรัฐที่ไม่ยอมพหุลักษณ์แต่ซ่อนเงื่อนเอาไว้อีกมาก เช่น กัมพูชา, ไทย, ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น

ว่าเฉพาะสังคมไทย ชุมชนต่างๆ เข้ามาอยู่ใกล้ชิดกันและสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่นในทางเศรษฐกิจ, การเมืองและสังคม-วัฒนธรรมอย่างแยกไม่ออก ศาสนาทุกศาสนาถูกสร้างพรมแดนขึ้นจนชัดเจน จะข้ามไปข้ามมาไม่สะดวกเหมือนเคย แม้แต่จะ "แก้กรรม" ด้วยพิธีกรรมอันเป็นเรื่องปรกติในศาสนาผีที่ปนกับพุทธไทยอย่างแนบแน่นมาแต่โบราณ ก็ถูกสำนักพุทธศาสนาขมวดคิ้วนิ่วหน้าใส่

ทางด้านระบบปกครอง เราก็ยกเลิก "ระเบียบของช่วงชั้น" ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นสุดยอดไปในทางกฎหมายแล้ว แม้ในทางปฏิบัติยังดำรงอยู่ก็ตาม แต่ก่อนนี้ คนไทยยอมรับระเบียบแห่งช่วงชั้นในทางปฏิบัติ แต่มาตอนนี้คนไทยจำนวนมากขึ้นทุกทีที่เริ่มไม่ยอมรับ และยืนยันในสิทธิเสมอภาคตามที่ตราไว้ในกฎหมาย

จึงเป็นธรรมดาที่เราจะเห็นความปั่นป่วนวุ่นวายในทุกด้านของสังคม เพราะสังคมไทยไม่ได้เตรียมตัวจะอยู่ร่วมกันภายใต้หลักการแห่งความเสมอภาค เราเคยชินและแสวงหาความปลอดภัยจาก "ระเบียบแห่งช่วงชั้น" มานาน



สังคมได้เปลี่ยนมาถึงจุดที่ "ระเบียบแห่งช่วงชั้น" ไม่อาจทำงานได้แล้ว ทัศนะแบบผู้ใหญ่ในพรรคประชาธิปัตย์ท่านหนึ่งที่เห็นว่า คนอีสานเป็นได้แค่เด็กปั๊มหรือคนใช้ในบ้านได้เท่านั้น เป็นทัศนะที่ไม่อาจดำรงอยู่ได้ในประเทศไทยปัจจุบัน เพราะคนอิสานไม่ได้คิดอย่างนั้นอีกแล้ว

ความหวังที่จะฟื้นฟู "ระเบียบแห่งช่วงชั้น" กลับคืนมา ไม่ว่าในรูปใด รังแต่จะทำให้เกิดความรุนแรงในสังคมยิ่งขึ้น เพราะสังคมได้เปลี่ยนไปอย่างไม่มีทางหวนคืนกลับไปเหมือนเดิมได้อีก หนทางเดียวคือการหันมาช่วยกันคิดถึงการจัดการทางการเมือง, เศรษฐกิจ, สังคม และวัฒนธรรมที่วางอยู่บนความสัมพันธ์ที่เสมอภาค

หากไทยทำได้สำเร็จ เราอาจเป็นสังคมพหุลักษณ์แรกของอุษาคเนย์ ที่สามารถสร้างความกลมกลืนในสังคมพหุลักษณ์ของยุคสมัยปัจจุบันได้


.