.
โพสต์เพิ่ม - ครก.112 ผิดหวังสภา ยันเกี่ยวข้องสิทธิเสรีภาพ-ควรเรียกชี้แจงก่อนปัดตก
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ขัดผลประโยชน์ พี่ชายซัดน้องชายด้วยมาตรา 112
ใน http://thaienews.blogspot.com/2012/10/112.html . . วันพฤหัสบดี, ตุลาคม 25, 2555
ผลประโยชน์ไม่เข้าใครออกใคร แม้แต่พี่กับน้อง พี่ชายหยิบช่องโหว่กฎหมายมาตรา 112 "ใครก็ฟ้องร้องใครก็ได้" ว่า "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"แจ้งจับน้องชายหลังจากมีปากเสียงกันเรื่องธุรกิจ
Nithiwat Wannasiri
รายงานข่าวสถานการณ์ 112 ประจำวันนี้
ศาลชั้นต้นยกคำร้องการขอประกันตัวครั้งที่ 2 คดี พี่แจ้งจับน้อง ของนาย ยุทธภูมิ มาตรนอก ซึ่งถูกกล่าวหาว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จากพี่ชายของตนเอง ซึ่งขัดแย้งและมีปากเสียงกันจากเรื่องธุรกิจมาก่อน
ช่วงเย็นที่ผ่านมา ศาลมีคำสั่ง"ไม่ให้ประกัน"
"พิเคราะห์แล้ว ศาลอาญาและศาลอุทธรณ์เคยสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวโดยศาลระบุเหตผลไว้ชัดแจ้งแล้ว กรณีไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงไม่อนุญาติให้ปล่อยตัวชั่วคราว
ยกคำร้อง!!"
จากคำวินิจฉัยเดิมแบบเดียวกับคดี"อากง" นั่นคือ"คดีความมั่นคง อัตราโทษสูง เกรงจำเลยจะหลบหนี"
Note จากทนายจำเลย : เมื่อพี่ชายแท้ๆมีเหตุขัดแย้งกับน้องชายแล้วแกล้งแจ้งจับด้วย ม.๑๑๒
วันนี้เพิ่งยื่นประกันตัวจำเลยคดีหมิ่นฯคดีหนึ่งที่ศาลอาญา ซึ่งน่าสนใจถึงการขยายความขัดแย้งไปสู่ครอบครัวเสียแล้ว เหตุเกิดเมื่อปี ๕๓ เมื่อพี่ชายมีเหตุทะเลาะกับน้องชายเรื่องส่วนตัวและธุรกิจไปแจ้งความจับน้องชายว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
ผมได้สอบถามจำเลย จำเลยยืนยันว่าไม่ได้กระทำความผิด แต่เกิดจากกการกลั่นแกล้งของพี่ชายแท้ๆ โดยได้แสดงหลักฐานเป็นบันทึกการแจ้งความไว้เป็นหลักฐานว่าพี่ชายเคยจะใช้มีดทำร้ายและหนังสือข่มขู่ ซึ่งได้เสนอเข้าสู่สำนวนเพื่อให้ศาลเห็นแล้ว รวมทั้งได้เพิ่มเงินประกันจากเดิม ๓๖๐,๐๐๐ บาทเป็น ๕๐๐,๐๐๐ บาท
จำเลยยืนยันว่ามีความจงรักภักดี แต่ถูกกลั่นแกล้งโดยพี่ชายซึ่งมีความความขัดแย้งกันข้างต้น ทั้งนี้จำเลยโดนขังที่เรือนจำมาแล้ว เกือบสองเดือน จะขึ้นศาลนัดแรก ๑๒ พฤศจิกายนนี้
--------------------------------------------------
ครั้งนี้พิสูจน์ได้อย่างแน่ชัดแล้วว่า กฎหมายหมิ่นกษัตริย์นั้นนอกจากตอกย้ำความ"ไม่เท่ากัน"ในความเป็นมนุษย์แล้ว ยังสามารถถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทำลายคู่ขัดแย้งของตนเองได้ ไม่เว้นแม้แต่ทำลาย"สถาบันครอบครัว"ให้ย่อยยับแหลกสลายได้อย่างไม่ต้องสงสัยเลย
ถึงเวลายกเลิกแล้วหรือยัง?
+++
ครก.112 ผิดหวังสภา ยันเกี่ยวข้องสิทธิเสรีภาพ-ควรเรียกชี้แจงก่อนปัดตก
ใน www.prachatai.com/journal/2012/11/43441 . . Thu, 2012-11-01 20:13 มีความคิดเห็นท้ายบท
( และ www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1351785338&grpid=03&catid=01 )
พวงทอง ภวัครพันธุ์ ตัวแทนครก.112 ระบุเสียใจที่สภาไม่รับพิจารณาร่างกฎหมายแก้ไข มาตรา 112 ชี้ควรเรียกผู้เสนอร่างเข้าชี้แจงก่อนจำหน่ายออก นักวิชาการหลายกลุ่มเตรียมออกแถลงการณ์โต้ - เปิดบันทึกหลักการและเหตุผลประกอบร่างกฎหมายและใบปะหน้าระบุเรื่องนี้เข้าหมวด 3 รธน.
1 พ.ย.55 พวงทอง ภวัครพันธุ์ นักวิชาการตัวแทนคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก.112) ให้สัมภาษณ์กรณีรัฐสภาจำหน่าย ร่างพ.ร.บ.แก้ไขมาตรา 112 ไปตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา ว่า ไม่มีการแจ้งให้ผู้เสนอกฎหมายทราบก่อนหน้านี้ แต่เมื่อทราบข่าวแล้วเราก็รู้สึกเสียใจที่รัฐสภาตัดสินใจไม่แตะต้องกฎหมายนี้เลย นอกจากนี้ยังเห็นด้วยว่า ก่อนจะจำหน่ายร่างกฎหมายนี้ออกไป ควรเรียกตัวแทนของ ครก.112 หรือตัวแทนกลุ่มนิติราษฎร์ซึ่งเป็นผู้ร่างกฎหมายฉบับนี้ไปชี้แจงว่าร่างนี้เข้าหมวดสิทธิเสรีภาพหรือนโยบายแห่งรัฐหรือไม่
พวงทองกล่าวอีกว่า ถ้าสภาไม่กลัวจนเกินไป และมีแนวคิดในการมองปัญหาสิทธิเสรีภาพที่กว้างกว่านี้ ก็จะเห็นได้ไม่ยากว่า มาตรานี้ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตาม ครก.112 และนิติราษฎร์เตรียมจะออกแถลงการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วย
ทั้งนี้ ในบันทึกหลักการและเหตุผล ประกอบร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ..... ระบุว่า
“โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา เนื่องจากกฎหมายเกี่ยวกับความผิดหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ มีความไม่เหมาะสมทั้งในแง่ของโครงสร้างของบทบัญญัติ อัตราโทษ และการบังคับใช้ ประกอบกฎหมายดังกล่าวไม่มีการยกเว้นความผิดในกรณีที่บุคคลติชม แสดงความคิดเห็น หรือแสดงข้อความโดยสุจริตเพื่อรักษาไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญและการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อีกทั้งในปัจจุบันปรากฏชัดว่ากฎหมายดังกล่าวเปิดช่องให้บุคคลนำไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง หรือนำไปใช้โดยไม่สุจริตและไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อรักษาไว้ซึ่งเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้”
นอกจากนี้ในใบปะหน้าของ ครก. 112 ที่ยื่นต่อประธานสภา ยังระบุเหตุผลว่าการรวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อแก้ไขกฎหมายครั้งนี้ เข้าเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับหมวด 3 ของรัฐธรรมนูญ โดยระบุว่า
“โดยที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๑ แห่งคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519 มีบทกำหนดโทษที่ไม่ได้สัดส่วนกับการกระทำความผิด ไม่ได้แยกการคุ้มครองตำแหน่งพระมหากษัตริย์ออกจากตำแหน่งพระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทำนองเดียวกับความผิดฐานอื่น ๆ ในหมวดเดียวกัน ไม่มีการกำหนดเหตุยกเว้นความผิดกรณีผู้กระทำวิพากษ์วิจารณ์ติชมโดยสุจริต ไม่มีการกำหนดเหตุยกเว้นโทษกรณีที่ผู้กระทำกล่าวถ้อยคำที่เป็นความจริงและการพิสูจน์เป็นประโยชน์สาธารณะ นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้บุคคลใดก็ตามสามารถร้องทุกข์กล่าวโทษได้ และในทางปฏิบัติ การที่บทบัญญัติมาตรานี้อยู่ในลักษณะ 1 ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ยังส่งผลกระทบต่อการใช้และตีความกฎหมายของศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไม่ให้ผู้ถูกกล่าวหาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว จึงสมควรที่จะต้องแก้ไขเพิ่มเพิ่มบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเพื่อขจัดตลอดจนบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นจากบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญามาตรานี้
เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่ใช้บังคับอยู่นั้นเป็นกฎหมายที่มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพที่ปรากฏในหมวด 3 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กล่าวคือ การที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ไม่มีบทบัญญัติกำหนดเหตุยกเว้นความผิดและเหตุยกเว้นโทษ ส่งผลกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และการกำหนดอัตราโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี ถือได้ว่ามีลักษณะเป็นการล่วงละเมิดเสรีภาพในร่างกายของบุคคลเกินสมควรกว่าเหตุ ไม่ได้สัดส่วนกับการกระทำความผิด มีลักษณะเป็นการกระทบแก่นหรือสาระสำคัญของสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 32 ประกอบมาตรา 29 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคนจึงร่วมกันเข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติตามที่กำหนดในหมวด 3 มายังประธานรัฐสภา ตามสิทธิที่ได้รับการรับรองไว้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 163 และตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเช้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ.2542
จึงกราบเรียนมาเพื่อบรรจุร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. … เข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาโดยเร็วต่อไป จักเป็นพระคุณยิ่ง”
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
Attachment Size
หลักการและเหตุผล.pdf 119.77 KB
http://www.prachatai.com/sites/default/files/112.pdf
ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขมาตรา 112.pdf 165.22 KB
http://www.prachatai.com/sites/default/files/ พรบ แก้ไข ๑๑๒.pdf
.
Selected Messages & Good Article for People Ideas and Social Justice .. หวังความต่อเนื่องของพลังประชาธิปไตยและการเลือกตั้งของปวงชนอันเป็นรากฐานอำนาจอธิปไตย เพื่อกำกับกติกาและอำนาจการเมือง-อำนาจตุลาการ ไม่ว่าต่อคนชั่ว(เพราะใคร?) และคนดี(ของใคร?) ไม่ให้อยู่เหนือนิติรัฐของประชาชน
http://BotKwamDee.blogspot.com...webblog เปิดเผยความจริงและกระแสสำนึกหลากหลาย เพื่อเป็นอาหารสมอง, แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมการวิเคราะห์ความจริง, สะท้อนการเรียกร้องความยุติธรรมที่เปิดเผยแบบนิติธรรม, สื่อปฏิบัติการเสริมพลังเศรษฐกิจที่กระจายความเติบโตก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศสู่ประชาชนพื้นฐาน, ส่งเสริมการตรวจสอบและผลักดันนโยบายสาธารณะของประชาชน-เยาวชนในทุกระดับของกลไกพรรคการเมือง, พัฒนาอำนาจต่อรองทางประชาธิปไตย โดยเฉพาะการปกครองท้องถิ่นและยกระดับองค์กรตรวจสอบกลไกรัฐของภาคสาธารณะที่ต่อเนื่องของประชาชาติไทย