http://BotKwamDee.blogspot.com...webblog เปิดเผยความจริงและกระแสสำนึกหลากหลาย เพื่อเป็นอาหารสมอง, แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมการวิเคราะห์ความจริง, สะท้อนการเรียกร้องความยุติธรรมที่เปิดเผยแบบนิติธรรม, สื่อปฏิบัติการเสริมพลังเศรษฐกิจที่กระจายความเติบโตก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศสู่ประชาชนพื้นฐาน, ส่งเสริมการตรวจสอบและผลักดันนโยบายสาธารณะของประชาชน-เยาวชนในทุกระดับของกลไกพรรคการเมือง, พัฒนาอำนาจต่อรองทางประชาธิปไตย โดยเฉพาะการปกครองท้องถิ่นและยกระดับองค์กรตรวจสอบกลไกรัฐของภาคสาธารณะที่ต่อเนื่องของประชาชาติไทย

2555-11-06

กทม.รั้งที่ 7 เสี่ยงน้ำท่วมทั่วโลก

.
บทก่อนๆ - เตือนกรุงเทพ-มหานครเอเชีย เสี่ยง ‘โคตรพายุ’
บทก่อนๆ - กทม.ติด1ใน10 เมืองของโลก เสี่ยง‘สตอร์มเซิร์จ’ทำลายล้าง


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

กทม.รั้งที่ 7 เสี่ยงน้ำท่วมทั่วโลก
จาก http://news.voicetv.co.th/thailand/55099.html
by Supatsorn . . 5 พฤศจิกายน 2555 เวลา 07:10 น.


กทม. ติดอันดับที่ 7 เมืองใหญ่ที่เสี่ยงเสียหายหนักจากเหตุการณ์น้ำท่วมและภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น ภายในปี 2070

สถาบันวิจัยแกรนแธม ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมในกรุงลอนดอน เปิดเผยว่า เมืองต่างๆ ตามแนวชายฝั่ง ตั้งแต่ประเทศจีนไปจนถึงทะเลอาหรับ มีการขยายตัวเร็วมาก ขาดการวางผังเมือง ซึ่งไม่เพียงแต่มีความเสี่ยงต่อระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น แต่ยังเสี่ยงต่อพายุไซโคลนเขตร้อนด้วย และยังมีคนจนจำนวนมากอาศัยอยู่ในบ้านเรือนที่ไม่มั่นคงแข็งแรง โดยมี 20 อันดับเมืองใหญ่ที่เสี่ยงเสียหายหนัก
จากเหตุการณ์น้ำท่วมและภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น ภายในปี 2070 ซึ่ง กทม. ติดอันดับที่ 7 ขณะที่เมืองในเอเชียติดอันดับถึง 15 เมือง เช่น โกลกาตา, มุมไบ และ ธากา ของประเทศอินเดีย กว่างโจวและเซี่ยงไฮ้ ของประเทศจีน โฮจิมินห์ และไฮฟอง ของประเทศเวียดนาม, กรุงเทพมหานคร, เมืองย่างกุ้ง ของประเทศพม่า และไมอามี่ ของประเทศสหรัฐ

นักวิเคราะห์ ยังเปิดเผยว่า เมืองใหญ่ๆ ในเอเชียที่ติดอันดับนั้นไม่เพียงแต่จะเสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วมจากภาวะโลกร้อนที่ทำให้ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังเสี่ยงต่อการถูกพายุไซโคลนถล่ม ซึ่งอาจสร้างความเสียหายหนักมาก ด้วยปัจจัยที่ว่ายังมีประชาชนที่อาศัยอยู่ในบ้านเรือนที่มีความแข็งแรงน้อย คุณภาพต่ำ และเปราะบางต่อภัยธรรมชาติมาก ดังนั้นหากรัฐบาลในเมืองเหล่านี้ยังไม่มีการรับมืออย่างจริงจัง อาจนำมาซึ่งความเสียหายมหาศาลได้ในอนาคต

ขณะที่ ซูซาน แฮนสันผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมชายฝั่ง แห่งศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศทินดอลในอังกฤษ กล่าวว่า ปัจจัยที่ทำให้เอเชียมีความเสี่ยงต่อโคตรพายุอย่างแรก คือ ระดับน้ำทะเล ซึ่งจะสูงขึ้น 20 นิ้ว ภายใน 2070 อย่างที่ 2 คือ คลื่นพายุหมุนซัดฝั่ง หรือ สตอร์ม เซิร์จ จากพายุไซโคลน ซึ่งทำให้เกิดฝนตกหนัก



+++

เตือนกรุงเทพ-มหานครเอเชีย เสี่ยง ‘โคตรพายุ’
จาก http://news.voicetv.co.th/global/54746.html
by sathitm . . 31 ตุลาคม 2555 เวลา 13:50 น.


ผู้เชี่ยวชาญออกโรงเตือนภัย มหานครริมฝั่งทะเลทั่วเอเชีย รวมทั้งกรุงเทพ ไม่มีขีดความสามารถมากพอที่จะรับมือโคตรพายุในระดับเดียวกับแซนดี้ เหมือนอย่างนิวยอร์กได้ 

มหานครนิวยอร์กมีความพร้อมที่รับมือผลกระทบจากพายุลูกใหญ่ที่รุนแรง เพราะมีระบบวิศวกรรมโยธาที่ดี มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างสหรัฐก็มีกำลังเงิน 
แต่บรรดาเมืองตลอดแนวชายฝั่ง ตั้งแต่ประเทศจีนไปจนถึงทะเลอาหรับ ล้วนเติบโตอย่างพรวดพราด ขาดการวางผังเมือง ไร้ระบบและไม่มีระเบียบ

บ็อบ วอร์ด ผอ.ฝ่ายนโยบายของสถาบันวิจัยแกรนแธมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและสภาพแวดล้อม ในกรุงลอนดอน บอกว่า เมืองเหล่านี้มีการขยายตัวเร็วมาก ไม่เพียงแต่มีความเสี่ยงต่อระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น แต่ยังเสี่ยงต่อพายุไซโคลนเขตร้อนด้วย และยังมีคนจนจำนวนมากอาศัยอยู่ในบ้านเรือนที่ไม่มั่นคงแข็งแรง
รายงานของโออีซีดีฉบับหนึ่งเมื่อปี 2550 ระบุว่า โลกมีเมืองท่า 20 แห่ง ซึ่งตกอยู่ในความเสี่ยงต่อภาวะน้ำท่วมชายฝั่งภายในปี ค.ศ. 2070 ในจำนวนนี้เป็นเมืองของเอเชีย 15 แห่ง โดย 8 อันดับแรกนำโดยกัลกัตตา ตามด้วยมุมไบ, ธากา, กวางโจว, โฮจิมินห์, เซี่ยงไฮ้, กรุงเทพ (อันดับ 7) และย่างกุ้ง
ในเอเชียยังมีความเสี่ยงอีกหลายเมือง คือ ไฮฟอง (อันดับที่ 10), เทียนจิน (อันดับ 12), กุลนาในบังกลาเทศ (อันดับ 13), หนิงโปในจีน (อันดับ 14), จิตตกอง  (อันดับ 18), โตเกียว (อันดับ 19) และจาการ์ตา (อันดับ 20) ทั้งนี้ นิวยอร์กอยู่ในอันดับที่ 17

ซูซาน แฮนสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมชายฝั่ง แห่งศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศทินดอล ในอังกฤษ บอกว่า ปัจจัยที่ทำให้บรรดามหานครของเอเชียมีความเสี่ยงต่อโคตรพายุ
อย่างแรกคือ ระดับน้ำทะเลซึ่งจะสูงขึ้น 20 นิ้วภายในค.ศ. 2070 
อย่างที่สองคือ คลื่นพายุหมุนซัดฝั่ง หรือ storm surge จากพายุไซโคลน ซึ่งทำให้เกิดฝนตกหนัก



+++

กทม.ติด1ใน10 เมืองของโลก เสี่ยง‘สตอร์มเซิร์จ’ทำลายล้าง
จาก http://news.voicetv.co.th/thailand/44406.html
by Boonyisa . . 12 กรกฎาคม 2555 เวลา 08:28 น.


โออีซีดีรายงาน กรุงเทพฯ ติดอันดับ 10 ของโลกเมืองที่สุ่มเสี่ยงจะถูกสตอร์มเซิร์จทำลายล้าง ในอีก 58 ปี ประเมินความเสียหายสูงถึง 34.9 ล้านล้านบาท ส่วนเมืองที่เสี่ยงสูงสุดคือไมอามี

องค์การว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ โออีซีดี ระบุว่า กรุงเทพมหานคร ติดอันดับ 10 ของโลก และอันดับ 1 ในอาเซียน ในฐานะเมืองใหญ่ที่มีความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก และถือเป็นเมืองสุ่มเสี่ยงอย่างยิ่งยวดต่อภัยคุกคามจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น การทำลายล้างของคลื่น"สตอร์มเซิร์จ" โดยคาดว่ามูลค่าทรัพย์สินในกรุงเทพฯ ที่สุ่มเสี่ยงต่อหายนะดังกล่าวอาจพุ่งสูงถึง 1.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 34.9 ล้านล้านบาท ในปี ค.ศ.2070 หรืออีก 58 ปีนับจากนี้
ทั้งนี้ โออีซีดีก่อตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1961 และมีฐานอยู่ที่กรุงปารีสของฝรั่งเศส ระบุในรายงานว่า มีเมืองท่ามากกว่า 130 แห่งทั่วโลกที่กำลังตกอยู่ในความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆต่อภัยคุก คามจากเหตุน้ำท่วม เพราะคลื่น"สตอร์มเซิร์จ" ภัยคุกคามจากพายุ รวมถึงการที่ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น และมีอุณหภูมิอุ่นขึ้นกว่าปกติ ซึ่งทางโออีซีดีระบุว่ากรุงเทพมหานครเป็นหนึ่งในเมืองใหญ่ ที่ขาดการวางแผนด้านการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ และยังมีการบริหารจัดการในเชิงโครงสร้างที่ย่ำแย่ ซึ่งแน่นอนว่าจะยิ่งส่งผลให้มีคนกรุงเทพฯ ต้องตกอยู่ในความเสี่ยงจากภัยคุกคามดังกล่าวมากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับในอีกหลายเมืองใหญ่ทั่วโลก

ผลการศึกษาขององค์การระหว่างประเทศซึ่งมีสมาชิก 34 ชาติดังกล่าวระบุว่า กรุงเทพฯ ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่ไม่ต่ำกว่า 12 ล้านคน และครั้งหนึ่งเคยถูกขนานนามว่า "เวนิซตะวันออก" อาจตกอยู่ในอันตรายจากภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกมากขึ้น ซึ่งภายในปี ค.ศ.2070 ประชากรของกรุงเทพฯ ไม่ต่ำกว่า 5.1 ล้านคน จะตกอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากสารพัดภัยธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นปรากฏการณ์คลื่นซัดกระหน่ำชายฝั่ง น้ำท่วม หรือพายุ

โฮเซ อังเฆล กูร์เรีย อดีตนักการทูตชาวเม็กซิกัน วัย 62 ปี ในฐานะเลขาธิการใหญ่ของโออีซีดี ออกมาเปิดเผยว่า เหตุน้ำท่วมครั้งใหญ่ในประเทศไทยที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางปีที่แล้ว และสร้างความเสียหายเป็นวงเงินมากกว่า 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1.43 ล้านล้านบาท นั้น ถือเป็นสัญญาณเบื้องต้นที่บ่งชี้ว่า นับจากนี้เมืองหลวงของไทยจะต้องเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น

รายงานของโออีซีดีระบุว่า 10 เมืองใหญ่ของโลกที่สุ่มเสี่ยงจะถูกทำลาย หรือเสี่ยงได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลกมากที่สุด คือ เมืองไมอามี มลรัฐฟลอริดา ของสหรัฐ นครกว่างโจว ของจีน มหานครนิวยอร์กและเมืองนวร์ก ของสหรัฐ เมืองกัลกัตตาของอินเดีย นครเซี่ยงไฮ้ของจีน เมืองมุมไบของอินเดีย เมืองเทียนจินหรือเทียนสินของจีน กรุงโตเกียว เมืองหลวงของญี่ปุ่น เขตปกครองพิเศษฮ่องกงของจีน

และอันดับ 10 กรุงเทพมหานคร




.