http://BotKwamDee.blogspot.com...webblog เปิดเผยความจริงและกระแสสำนึกหลากหลาย เพื่อเป็นอาหารสมอง, แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมการวิเคราะห์ความจริง, สะท้อนการเรียกร้องความยุติธรรมที่เปิดเผยแบบนิติธรรม, สื่อปฏิบัติการเสริมพลังเศรษฐกิจที่กระจายความเติบโตก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศสู่ประชาชนพื้นฐาน, ส่งเสริมการตรวจสอบและผลักดันนโยบายสาธารณะของประชาชน-เยาวชนในทุกระดับของกลไกพรรคการเมือง, พัฒนาอำนาจต่อรองทางประชาธิปไตย โดยเฉพาะการปกครองท้องถิ่นและยกระดับองค์กรตรวจสอบกลไกรัฐของภาคสาธารณะที่ต่อเนื่องของประชาชาติไทย

2557-02-20

สื่อเทศชี้ คำสั่งศาลแพ่ง คล้าย‘ตุลาการรัฐฆาต’

.

สื่อเทศชี้ คำสั่งศาลแพ่ง คล้าย‘ตุลาการรัฐฆาต’
ใน http://thaienews.blogspot.com/2014/02/blog-post_9740.html
. . Posted by Maitri at Thu 2/20/2557 10:01:00 

( ที่มา Voice TV http://news.voicetv.co.th/thailand/97787.html )


นิวยอร์กไทมส์กับวอลสตรีทเจอร์นัลชี้ คำสั่งศาลแพ่งทำหมันพรก.ฉุกเฉิน ละม้าย 'รัฐประหารโดยศาล' ฝ่ายตุลาการทำเกินอำนาจ ไม่ได้เล่นบทกรรมการ แต่โดดขึ้นสังเวียนชกเอง

เมื่อวันพุธ (19 กุมภาพันธ์ 2557) ศาลแพ่งมีคำพิพากษา "คุ้มครองการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ" ของกลุ่มต่อต้านรัฐบาล ภายหลังรัฐบาลประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยศาลแพ่งสั่งห้ามฝ่ายบริหารสลายการชุมนุมของกลุ่มต่อต้านรัฐบาล, ห้ามรื้อถอนทำลายสิ่งกีดขวางของผู้ชุมนุม, ห้ามสั่งห้ามการเข้าอาคาร, ห้ามสั่งห้ามเข้าออกพื้นที่ชุมนุม และอื่นๆ

เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ นิวยอร์กไทมส์ รายงานเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557 ว่า ศาลแพ่งของไทยได้จำกัดอำนาจของทางการอย่างมาก เป็นคำพิพากษาที่นักวิเคราะห์ด้านนิติศาสตร์บอกว่าเป็น "การขยับอีกก้าวไปสู่ตุลาการรัฐฆาตอย่างเต็มรูปแบบ"

ผู้สื่อข่าว Thomas Fuller รายงานในหัวข่าว "ศาลไทยห้ามสลายผู้ประท้วง" ว่า คำพิพากษานี้มีขึ้นหนึ่งวันหลังเหตุปะทะรุนแรงระหว่างตำรวจกับผู้ประท้วง ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 5 ราย รวมทั้งตำรวจนายหนึ่ง ทั้งนี้ หลังจากเกิดการเผชิญหน้ากันหลายครั้งตลอดหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา และมีภาพถ่ายแพร่หลายแสดงให้เห็นว่า มีกลุ่มชายติดอาวุธหนักในหมู่ผู้ชุมนุม ขบวนการประท้วงในไทยยิ่งดูเหมือนเป็นการก่อกบฏด้วยอาวุธต่อรัฐบาลของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ทอมัส ฟุลเลอร์ อ้างคำให้สัมภาษณ์ทางโทรทัศน์ของแซมดิน เลิศบุศย์ แกนนำผู้ประท้วง ว่า กลุ่มชายติดอาวุธที่ "เป็นมืออาชีพมาก" กำลังช่วยผู้ประท้วง และ "ทำให้ตำรวจถอยร่น"

แต่แม้กระนั้น ศาลแพ่งของประเทศไทย บอกว่า การประท้วงดำเนินไป "โดยสงบ ปราศจากอาวุธ" และสั่งคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ประท้วง "ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ"

นิวยอร์กไทมส์รายงานว่า ประเทศไทยมีจารีตประเพณีมาช้านานในการโค่นล้มรัฐบาลด้วยการยึดอำนาจโดยกองทัพ หรือโดย "ตุลาการรัฐฆาต"  ซึ่งผู้นำรัฐบาลถูกปลดด้วยคำพิพากษาของศาล ดังเช่นกรณีนายสมัคร สุนทรเวช ซึ่งไม่เป็นที่ถูกอกถูกใจของกลุ่มผู้ถืออำนาจในกรุงเทพ ต้องพ้นเก้าอี้นายกรัฐมนตรีเมื่อปี 2551 เพราะรับค่าตอบแทนจากรายการทำกับข้าวทางทีวี


รายงานข่าวอ้างความเห็นของนายสุณัย ผาสุข แห่งกลุ่มสิทธิมนุษยชน ฮิวแมนไรท์วอทช์ ซึ่งเขียนข้อความทางทวิตเตอร์ ว่า คำพิพากษาของศาลแพ่งทำให้พรก.ฉุกเฉิน "หมดความหมาย"


นายสวัสดิ์ เจริญผล ทนายความของผู้ประท้วง บอกว่า คำพิพากษานี้เป็นชัยชนะของฝ่ายตน รัฐบาลจะ "ไม่สามารถทำอะไรผู้ประท้วงได้"


นายวีรพัฒน์ ปริยะวงศ์ นักกฎหมายฮาร์วาร์ด ให้ความเห็นว่า คำพิพากษาเมื่อวันพุธช่วยให้ผู้ประท้วงมีข้ออ้าง "ความชอบธรรมจอมปลอมที่จะโค่นล้มรัฐบาล" และว่า ศาลแพ่งอ้างคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก่อนหน้านี้ว่า การประท้วงเป็นไปโดยสงบ แต่ทว่า "นับเป็นความไร้ตรรกกะทางกฎหมายที่ศาลแพ่งไม่พิจารณาสถานการณ์ปัจจุบัน" ซึ่งเขาหมายถึงเหตุรุนแรงเมื่อวันก่อน


นิวยอร์กไทมส์ ยังวิเคราะห์ด้วยว่า รัฐบาลยิ่งลักษณ์กำลังถูกรูดบ่วงรัดคออย่างช้าๆ คณะกรรมการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ได้เร่งรัดเล่นงานนางสาวยิ่งลักษณ์ด้วยโครงการรับจำนำข้าว นักกฎหมายบอกว่า คดีนี้อาจนำไปสู่การตัดสิทธิ์ทางการเมืองของเธอ

ขณะเดียวกัน คณะกรรมการการเลือกตั้ง ยังทำงานอย่างล่าช้า หรือที่นักวิจารณ์บอกว่า เป็นการขัดขวาง ที่จะจัดการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ ให้เสร็จสิ้น ตราบที่การเลือกตั้งยังไม่จบ รัฐบาลจะต้องมีสถานะรักษาการไปเรื่อยๆ โดยแทบไม่มีอำนาจใดๆเลย



"เชือกบ่วงกำลังรัดคอเธอแน่นเข้าๆ สถานการณ์ของเธอดูจะไปไม่รอด" นายฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ ผอ.สถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว "สถานการณ์จะเป็นอย่างไร ขึ้นกับผลลัพธ์ต่อจากนี้ ถ้าฝ่ายต่างๆตกลงกันได้ ประเทศไทยก็ไปรอด แต่ถ้าไม่ได้ บ้านเมืองจะวุ่นวายหนักขึ้น"



เว็บไซต์หนังสือพิมพ์วอลสตรีทเจอร์นัล รายงานข่าวนี้ในหน้าแรกของเพจ ด้วยหัวข่าว "ศาลไทยหนุนผู้ประท้วง" โดยบรรยายว่า ศาลไทยสั่งห้ามมิให้นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ใช้กำลังสลายผู้ประท้วง ทำให้รัฐบาลตกเป็นเบี้ยล่างในการรับมือกับการประท้วงที่ดำเนินมาหลายเดือน

รายงานของผู้สื่อข่าว Warangkana Chomchuen และ Nopparat Chaichalermmongkol ระบุว่า นักวิเคราะห์บางรายมองว่า คำพิพากษาศาลแพ่งดังกล่าวได้ตีกรอบในการใช้บังคับกฎหมายของรัฐบาล ซึ่งพรก.ฉุกเฉินเปิดทางแก่การใช้อำนาจอย่างกว้างขวาง

แต่บางรายเห็นว่า ศาลทำเกินเขตอำนาจของตุลาการ ไม่ยอมรับอำนาจของฝ่ายบริหาร นับเป็นการตอกย้ำภาพลักษณ์ที่ว่า ตุลาการไทยเป็นผู้เล่นทางการเมือง แทนที่จะเป็นกรรมการตัดสิน.



.