http://BotKwamDee.blogspot.com...webblog เปิดเผยความจริงและกระแสสำนึกหลากหลาย เพื่อเป็นอาหารสมอง, แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมการวิเคราะห์ความจริง, สะท้อนการเรียกร้องความยุติธรรมที่เปิดเผยแบบนิติธรรม, สื่อปฏิบัติการเสริมพลังเศรษฐกิจที่กระจายความเติบโตก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศสู่ประชาชนพื้นฐาน, ส่งเสริมการตรวจสอบและผลักดันนโยบายสาธารณะของประชาชน-เยาวชนในทุกระดับของกลไกพรรคการเมือง, พัฒนาอำนาจต่อรองทางประชาธิปไตย โดยเฉพาะการปกครองท้องถิ่นและยกระดับองค์กรตรวจสอบกลไกรัฐของภาคสาธารณะที่ต่อเนื่องของประชาชาติไทย

2555-03-27

เกษตรกรเหนือจี้ปรับโครงสร้างหนี้../ "วิไลวรรณ" แจงความจำเป็นผลักร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมเข้าสภา

.
โพสเพิ่ม - เดินหน้าร้องรัฐฯ 20 ปี แก้ปัญหาเขื่อน “โครงการโขง-ชี-มูล” ไม่คืบ
- สภาประชาชน 4 ภาค ปักหลักกางเต็นท์หน้าทำเนียบ ทวงสัญญารัฐบาล

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

นักข่าวพลเมือง: ตัวแทนเกษตรกรเหนือจี้ปรับโครงสร้างหนี้ตามมติ ครม. 7 เม.ย. 53
จาก www.prachatai.com/journal/2012/03/39824 . . Mon, 2012-03-26 22:51


26 มี.ค. 55 - ในช่วงบ่ายของวันนี้ (26 มี.ค.) กลุ่มเกษตรกรภาคเหนือประมาณ 100 คน ได้เดินทางไปยังศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่เพื่อยื่นหนังสือเรื่อง "การดำเนินโครงการปรับโครงสร้างหนี้ตาม มติ ครม. 7 เมษายน 2553" ถึงรองนายกรัฐมนตรี ชุมพล ศิลปะอาชา โดยผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล

โดยในรายละเอียดของจดหมายมีดังต่อไปนี้

...............

ที่ คสกฟก.0005 / 2555

119 ม.9 ต.สารภี อ.สารภี
จ. เชียงใหม่ 50140
26 มีนาคม 2555

เรื่อง การดำเนินโครงการปรับโครงสร้างหนี้ตามมติคณะรัฐมนตรี 7 เมษายน 2553

เรียน พณฯ ท่าน รองนายกรัฐมนตรี ชุมพล ศิลปะอาชา

ตามที่ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เมื่อวันที่ 7 เมายน 2553 ให้แก่เกษตรกรจำนวน 510,000 รายโดยมอบหมายให้กองทุนฟื้นฟูเกษตรกรและสถาบันเจ้าหนี้ของรัฐ 4 แห่งได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และธนาคารอาคารสงเคราะห์ ดำเนินการร่วมกัน โดยคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบอนุมัติงบประมาณเพื่อดำเนินการในโครงการปรับโครงสร้างหนี้ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการกับเกษตรกรให้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูอาชีพ ที่ผ่านมาแล้วนั้น

ข้อเท็จจริงในการดำเนินการตามโครงการปรากฏว่าไม่เป็นไปตามมติ ครม. 7 เมษายน 2553 แต่อย่างใด กล่าวคือมีเกษตรกรจำนวนเพียง 3,000 รายเท่านั้นที่สถาบันเจ้าหนี้ยืนยันต่อกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตร ประการสำคัญสถาบันการเงินโดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เมื่อได้จัดทำบัญชีรายชื่อเกษตรกรก็ไม่ตรงกับบัญชีของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรทำให้เกษตรกรจำนวนมากสับสน ไม่ทราบเหตุผลที่แท้จริงอันจะเป็นเหตุให้เกษตรกรเสียสิทธิในการได้รับการปรับโครงสร้างหนี้และประโยชน์ที่จะพึงได้จากพระราชบัญญัติกองทุนฯและมติคณะรัฐมนตรี 7 เมษายน 2553 ซึ่งขณะนี้สมาชิกกองทุนในพื้นที่ได้ดำเนินการยื่นหนังสือเพื่อของทราบมูลเหตุในการจัดทำบัญชีรายชื่อที่คลาดเคลื่อนและไม่ตรงต่อความเป็นจริงต่อธนาคารสาขาในพื้นที่จังหวัดชี้แจงเป็นเบื้องต้นแล้ว

สำหรับความผิดพลาดและความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสมาชิกกองทุนฯครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลหรือหน่วยงานดำเนินการไม่เอาใจใส่ และกำกับดูแลนโยบายให้บังเกิดผลอย่างจริงจังแก่ประชาชนและเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ เครือข่ายสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรภาคเหนือตอนบนจำเป็นจะต้องปกป้องสิทธิ์ของตนเองและครอบครัว จึงใคร่ขอให้ท่านในฐานะผู้มอบและกำกับนโยบาย ดำเนินการดังต่อไปนี้

1.ดำเนินการชี้แจงข้อเท็จจริงในการมอบหมายนโยบายและกำกับนโยบายแก่หน่วยงานและสถาบันเจ้าหนี้ที่เกี่ยวข้องอย่างไร?และมีผลความก้าวหน้าจนถึงปัจจุบันอย่างไร?

2.การที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจะปิดรับการปรับโครงสร้างหนี้ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2555 นั้น กรรมการบริหารกองทุนจะดำเนินการประสานงานหรือสั่งการให้มีการยืดระยะเวลาหรือสำรวจตรวจแก้คุณสมบัติที่ถูกต้องเพื่อรักษาสิทธิ์ของสมาชิกกองทุนอย่างไร

3.ในการที่เกษตรกรที่เป็นสมาชิกกองทุน มีรายชื่อไม่ตรง และจะเสียสิทธิ์ในการรับผลประโยชน์จากมติ คณะรัฐมนตรี 7 เมษายน 2553 ขอให้มีการเร่งรัดให้มีการตรวจสอบและชี้แจงการจัดทำบัญชีรายชื่อที่ไม่ตรงกันและสั่งการให้ชัดเจนเพื่อทำให้สิทธิของสมาชิกจะคงยังมีและได้รับประโยชน์ต่อไป

ทั้งนี้ขอให้ท่านได้โปรดไปชี้แจงข้อเท็จจริงให้แก่สมาชิกของทุนและเครือข่ายสมาชิกสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรภาคเหนือตอนบนในวันที่ 28 มีนาคม 2555 พร้อมกับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องโดยพร้อมกัน ณ ศาลากลางจังหวัดเชียงให้จงได้

หากเครือข่ายสมาชิกสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรภาคเหนือตอนบนไม่ได้รับคำชี้แจงและปฏิบัติต่อกันด้วยความจริงใจ และไม่ตรงต่อเจตนารมณ์ของมติคณะรัฐมนตรี 7 เมษายน 2553 จำเป็นอย่างยิ่งที่เครือข่ายสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรภาคเหนือตอนบนจะต้องดำเนินการเคลื่อนไหวตามมาตรการที่กำหนดทั้งแนวทางของกฎหมายและแนวทางของมวลชนต่อไป


จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการ
ขอแสดงความนับถือ

วัชรินทร์ อุปโจง
ตัวแทนเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่

สมศักดิ์ โยอินชัย
ตัวแทนเกษตรกรจังหวัดเชียงราย

รังสรรค์ แสนสองแคว
ตัวแทนเกษตรกรจังหวัดลำพูน



++

"วิไลวรรณ แซ่เตีย" แจงความจำเป็นผลักร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม เข้าสภา
จาก www.prachatai.com/journal/2012/03/39797 . . Fri, 2012-03-23 23:40

(22 มี.ค.55) วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ในฐานะประธานคณะทำงานขับเคลื่อนและผลักดันร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ เล่าถึงที่มาที่ไปของร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับที่ น.ส.วิไลวรรณ กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 14,264 คนเป็นผู้เสนอ พร้อมย้ำถึงความต้องการให้มีนำร่าง พ.ร.บ. เข้าสู่การประชุมสภาเพื่อรับหลักการก่อนปิดประชุมสภาสมัยนิติบัญญัติวันที่ 18 เมษายนนี้


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
Push for social security draft: พ.ร.บ.ประกันสังคม
www.youtube.com/watch?v=JL22i_a8w4g



+++

เดินหน้าร้องรัฐฯ 20 ปี แก้ปัญหาเขื่อน “โครงการโขง-ชี-มูล” ไม่คืบ
จาก www.prachatai.com/journal/2012/03/39837 . . Tue, 2012-03-27 19:34

เครือข่ายผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการโขง-ชี-มูล 7 กรณีปัญหา เดินหน้าร้องรัฐฯ จ่ายค่าชดเชยที่ดินให้ผู้เดือดร้อน ก่อนผลักดันสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ และการผันน้ำโขง-เลย-ชี-มูล แนะกระจายอำนาจ-งบประมาณให้ท้องถิ่นจัดการน้ำ










































+++

เดินหน้าร้องรัฐฯ 20 ปี แก้ปัญหาเขื่อน “โครงการโขง-ชี-มูล” ไม่คืบ
สภาประชาชน 4 ภาค ปักหลักกางเต็นท์หน้าทำเนียบ ทวงสัญญารัฐบาล
ใน www.prachatai.com/journal/2012/03/39842 . . Wed, 2012-03-28 04:37


เครือข่ายประชาชนภาคอีสาน พร้อมสภาประชาชน 4 ภาค ชุมนุมหน้าทำเนียบฯ ทวงสัญญารัฐบาลวันที่ 2 จี้แก้ปัญหาหนี้สิน ที่ดินทำกิน ยันปักหลักรอนายกฯ รับดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม


27 มี.ค.55 บริเวณถนนพิษณุโลก ด้านหน้าทำเนียบรัฐบาล สภาเครือข่ายประชาชนภาคอีสาน (สอส.) สภาประชาชน 4 ภาค หลายร้อยคน ยังคงชุมนุมต่อเนื่องเพื่อทวงสัญญาข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เป็นวันที่ 2 โดยได้กางเต็นท์ปักหลักชุมนุมบริเวณริมถนน และหุงอาหารรับประทานเองตั้งแต่เชิงสะพานชมัยมรุเชฐ ทั้งฝั่งทำเนียบ และฝั่งสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.)

ต่อเนื่องจากเมื่อวันที่ 26 มี.ค.55 ผู้ชุมนุมได้ยื่นหนังสือข้อเรียกร้อง 7 กรณี ประกอบด้วย 1.การจัดสรรที่ดินรายละ 15 ไร่ 2.การแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรและข้าราชการ 3.การฟื้นฟูอาชีพให้เกษตรกรและข้าราชการ 4.การเยียวยาสมาชิกเครือข่ายประชาชนอีสาน ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์บุกเผาไล่ที่ ต.คลอง 1 อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 5.ทุนประกอบอาชีพของกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย (ผรท.) รายละ 650,000 บาท 6.กรณีป่าไม้และที่ดินทับที่ทำกินและที่อยู่อาศัย และ 7.การชดเชยโครงการอ่างเก็บน้ำ ฝาย และเขื่อนในภาคอีสาน ต่อนายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ ส.ส.ชัยภูมิ พรรคเพื่อไทย ในฐานะรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี


นอกจากนั้น กลุ่มผู้ชุมนุมมีการตั้งเวทีปราศรัยโดยนำพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมราชินีนาถ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มาประดับเวที พร้อมผลัดกันขึ้นปราศรัยถึงความเดือดร้อนที่แต่ละเครือข่ายได้รับ

นายอุทัยรัตน์ ปรีชา โฆษกสภาประชาชน 4 ภาค กล่าวยืนยันว่าจะปักหลักชุมนุมจนกว่ารัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรจะให้คำตอบที่เป็นรูปธรรมต่อการแก้ไขปัญหาของสภาเครือข่ายฯ เนื่องจากการแต่งตั้งคณะทำงานติดตามและเร่งรัดรัดแก้ไขปัญหาของสภาเครือข่ายฯ ตามคำสั่งที่ 150/2554 ลงวันที่ 1 ก.ย.54 ที่ผ่านมากว่า 8 เดือน ไม่มีผลในการปฏิบัติจริง อีกทั้งก่อนหน้านี้ นายสุรทิน พิจารณ์ คณะทำงานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ได้ลาออกจากประธานคณะกรรมการติดตามและเร่งรัดแก้ไขปัญหาของสภาเครือข่ายฯ โดยให้เหตุผลว่าไม่สามารถทำงานได้


รัฐบาลมีเครื่องมือคือราชการ แต่ราชการไม่ใช้หลักรัฐศาสตร์และเมตตาธรรมในการดูแลประชาชน มี 2 มาตรฐาน โดยคนด้อยโอกาสขาดการดูแล ขณะที่พรรคพวกเพื่อนพ้องของข้าราชการและนักการเมืองบางส่วนรับผลประโยชน์เต็มที่” นายอุทัยรัตน์กล่าว

นายอุทัยรัตน์กล่าวด้วยว่า การแก้ไขปัญหาของสภาเครือข่ายฯ หากกระทรวงหลักที่เกี่ยวข้องคือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมไปถึงกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) รับไปดำเนินการก็จะสามารถแก้ไขได้ทันที

อย่างไรก็ตามหากข้อเรียกร้องไม่ได้รับการแก้ไข สมาชิกเครือข่ายที่มีอยู่ทั่วประเทศก็พร้อมที่จะเดินทางเข้ามาร่วมชุมนุมเรื่อยๆ

ทั้งนี้ สภาเครือข่ายประชาชนภาคอีสาน (สอส.) สภาประชาชน 4 ภาค เริ่มต้นจากการเคลื่อนไหวปัญหาราคามันตกต่ำในภาคอีสาน แล้วเครือขายครอบคลุมปัญหาต่างๆ ทั่วประเทศ จึงมาเป็นสภาประชาชน 4 ภาค และมีกลุ่มร่วมพัฒนาชาติไทย (ผรท.) เข้าร่วมเคลื่อนไหวเรียกร้องการแก้ปัญหาด้วย

กลุ่มเราไม่ได้ทำความเดือดร้อน แต่มาเพื่อรักษาแผ่นดินไทยไว้ให้ลูกหลาน เพื่อลดช่องว่างของสังคม ธำรงไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์” นายอุทัยรัตน์กล่าว



.