.
เปิด"แถลงการณ์"เพื่อน สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล" วอนรัฐหยุดคุกคามเสรีภาพ
ในมติชน ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554 เวลา 11:00:25 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 24 เม.ย. ภายหลังนายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ มธ. แถลงข่าวถึงผลกระทบต่อเสรีภาพทางวิชาการ กรณีการอภิปรายเรื่อง สถาบันกษัตริย์-รัฐธรรมนูญ-ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2553 ที่ผ่านมา ได้มีนักวิชาการจากกลุ่มสันติประชาธรรม และกลุ่มต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐยุติการคุกคามเสรีภาพของประชาชน
เริ่มจาก แถลงการณ์จากเครือข่ายสันติประชาธรรม ในหัวข้อ"หยุดคุกคามสิทธิเสรีภาพของประชาชน"
ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองที่ทวีความเข้มข้นมากขึ้นนับตั้งแต่การรัฐประหารปี 2549 ประชาชนที่มีความคิดเห็นทางการเมืองแตกต่างจากผู้ยึดกุมอำนาจรัฐ ก็ต้องเผชิญกับการคุกคามสิทธิและเสรีภาพมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะนี้ เงาทะมึนของการคุกคามได้ลุกลามเข้าสู่ผู้คนในวงวิชาการด้วยเช่นกัน ล่าสุดคือการคุกคามที่เกิดขึ้นกับอาจารย์ ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ด้วยสาเหตุที่อาจารย์ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทและสถานะของสถาบันกษัตริย์ในสังคมไทยในเวทีวิชาการต่าง ๆ หลายครั้งหลายครา
พวกเราในฐานะนักวิชาการเครือข่ายสันติประชาธรรม และประชาชนที่เห็นด้วยกับแถลงการณ์นี้ เชื่อว่าการแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาและเปิดเผยของอาจารย์สมศักดิ์ วางอยู่บนเจตจำนงที่ต้องการเห็นสถาบันกษัตริย์ดำรงควบคู่อย่างสอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งต่อความมั่นคงของทั้งสถาบันกษัตริย์และต่อสังคมไทยโดยรวม แต่เป็นสิ่งที่น่ากังวลอย่างยิ่งที่การแสดงความคิดเห็นของอาจารย์สมศักดิ์ ที่มุ่งเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจได้ตระหนักถึงปัญหาที่สังคมไทยกำลังเผชิญอยู่นี้ ได้ถูกโจมตีว่าเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มุ่งล้มล้างสถาบันกษัตริย์ และอาจถึงขั้นถูกนำไปเป็นข้ออ้างสำหรับการรัฐประหารครั้งต่อไปก็ได้ นอกจากนี้ อาจารย์สมศักดิ์ไม่ใช่คนแรกและคนสุดท้ายที่จะแสดงความเห็นในเรื่องดังกล่าวอย่างแน่นอน คำถามคืออำนาจรัฐจะติดตามคุกคามประชาชนด้วยประเด็นปัญหานี้อีกกว้างขวางแค่ไหน
พวกเราจึงขอเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องยุติการคุกคามเสรีภาพทางวิชาการของอาจารย์สมศักดิ์ และต่อประชาชนกลุ่มอื่น ๆ ที่มีความคิดทางการเมืองที่แตกต่าง โปรดตระหนักว่าในสังคมประชาธิปไตย ทุกสถาบันควรได้รับการตรวจสอบและวิพากษ์วิจารณ์ได้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จะเป็นประโยชน์กับสังคมประการสำคัญ การเปิดกว้างยินยอมให้มีการแสดงความคิดที่แตกต่างได้อย่างเปิดเผย โดยปราศจากภัยคุกคามและความกลัวต่างหาก ที่จะช่วยนำสังคมไทยฝ่าออกไปจากวิกฤติในขณะนี้ได้
ด้วยความเคารพต่อสิทธิ เสรีภาพ และความยุติธรรม
เครือข่ายสันติประชาธรรม
1.กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
2.ศรีประภา เพชรมีศรี ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
3.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4.ธงชัย วินิจจะกูล ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน
5.พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
6.เวียงรัฐ เนติโพธิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
7.จักรกริช สังขมณี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
8.เกษม เพ็ญภินันท์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
9.นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
10.ภูมิอินทร์ สิงห์ชวาลา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
11.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
12.เสาวนีย์ อเล๊กซานเดอร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบล
13.ลักขณา ปันวิชัย นักเขียน
14.บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
15.จีรพล เกตุจุมพล คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
16.ธนาพล อิ๋วสกุล สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน
17.กานต์ ทัศนภักดิ์ นักเขียน ช่างภาพ และคนทำงานศิลปะ
18.นภัทร สาเศียร นิสิตปริญญาโท สาขาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
19.วันรัก สุวรรณวัฒนา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
20.อภิชาต สถิตนิรมัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
21.ไอดา อรุณวงศ์ สำนักพิมพ์อ่าน
22.เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
23.วิภา ดาวมณี คณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519
24.สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ คณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
25.เชษฐา พวงหัตถ์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
26.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
27.อาดาดล อิงคะวณิช มหาวิทยาลัยเว็สต์มินสเตอร์
28.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
29.อรอนงค์ ทิพย์พิมล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
30.นวลน้อย ตรีรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
31.ดาริน อินทร์เหมือน สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน
32.ชาตรี ประกิตนนทการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาศิลปากร
33.มุกหอม วงษ์เทศ นักเขียน
34.รักนิรันดร์ วรรณวีรพงษ์
35.ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์
36.อัจฉรา รักยุติธรรม คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
37.นิรมล ยุวนบุณย์
38.นายพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ
39.เยาวลักษ์ อนุพันธุ์ ทนายความ
40.ชญานิน เตียงพิทยากร
41.อุเชนทร์ เชียงเสน
42.ชาตรี สมนึก
43.วิทยา พันธ์พานิชย์
44.พิภพ อุดมอิทธิพงศ์
45.รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช International Crisis Group
46.กิตติศักดิ์ สฤษดิสุข
47.ธนศักดิ์ สายจำปา
48.จอน อึ๊งภากรณ์
49.ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
50.ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
51.วรวิทย์ ไชยทอง นิสิตภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงณ์มหาวิทยาลัย
52.นันทา เบญจศิลารักษ์
53.สุขุม ชีวาเกียรติยิ่งยง
54.ปกป้อง เลาวัณย์ศิริ นักสิทธิมนุษยชน
55.ธร ปีติดล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
56.กรรณิกา เพชรแก้ว
57.วิโรจน์ อาลี รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
58.วีระ หวังสัจจะโชค
59.นิภาพร รัชตพัฒนากุล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
60.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการ
61.ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักเขียน-นักแปล
62.อานันท์ กาญจนพันธ์ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
63.คริส เบเกอร์ นักวิชาการ
64.โกวิท แก้วสุวรรณ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
65.ชาญณรงค์ บุญหนุน มหาวิทยาลัยศิลปากร
66.กฤษณะ มณฑาทิพย์ มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์
67.คมลักษณ์ ไชยยะ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
68.บุญยืน สุขใหม่
69.โกวิท แก้วสุวรรณ
70.ทองทัช เทพารักษ์
71.ศรีสมร กิจภู่สวัสดิ์
72.วสันติ ลิมป์เฉลิม มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
73.ณัฐนพ พลาหาญ นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
74.ดิน บัวแดง กลุ่มประชาคมจุฬาฯเพื่อประชาชน
75.ฉลอง สุนทราวาณิชย์ นักวิชาการ
ต่อด้วยจดหมายเปิดผนึก (จากนักวิชาการด้านไทยศึกษาในต่างประเทศ)
ในนามของนักวิชาด้านไทยศึกษาซึ่งพำนักอยู่นอกประเทศไทย เราได้เฝ้าสังเกตการลิดรอนพื้นที่ของการแลกเปลี่ยนทางความคิดที่เกิดขึ้นเรื่อยมานับตั้งแต่เหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และมีความกังวลใจอย่างถึงที่สุด ทั้งนี้การคุกคามเสรีภาพของการคิดและการแสดงออกนี้ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นนับตั้งแต่เหตุการณ์ความรุนแรงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ดังตัวอย่างที่สำคัญ
เช่น การจับกุมกักขัง ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์อำนวยการภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินในเดือนเมษายน 2553 การตั้งข้อกล่าวหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพต่อนายใจ อึ๊งภากรณ์ และการดำเนินคดีต่อนางสาวจีรนุช เปรมชัยพร ผู้ดูแลเว็บไซต์ประชาไท
ตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นอีกผู้หนึ่งซึ่งถูกคุกคาม อันเนื่องมาจากการวิพากษ์วิจารณ์รัฐ สถาบันพระมหากษัตริย์และความสัมพันธ์ระหว่างสองสถาบันนี้ เราจึงต้องการที่จะแสดงออกซึ่งความห่วงใยอย่างที่สุดต่อกรณีนี้
การคุกคามที่มีต่อ ดร.สุธาชัย นายใจ นางสาวจีรนุช และ ดร.สมศักดิ์ เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นต่อประชาชนชาวไทยอีกจำนวนนับไม่ถ้วนนั้น เป็นลักษณะบ่งชี้ถึงการปฏิบัติอย่างกว้างขวางและหลายรูปแบบของรัฐ ซึ่งการกระทำเหล่านี้คุกคามต่อสิทธิเสรีภาพและอนาคตของประชาธิปไตยไทยอย่างรุนแรง สิ่งที่ชัดเจนในขณะนี้คือ ความขัดแย้งจะไม่มีทางหมดไปจากระบบการปกครองของไทย ไม่ว่ารัฐไทยจะเลือกใช้มาตรการจัดการที่รุนแรงเพียงใด ผู้ซึ่งอยู่ในอำนาจควรจะตระหนักได้แล้วว่าการอภิปรายและการวิพากษ์วิจารณ์เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อกระบวนการทางประชาธิปไตย
เราซึ่งมีชื่อด้านล่างนี้ขอแสดงจุดยืนเคียงข้างเพื่อนร่วมวิชาชีพจากเครือข่ายสันติประชาธรรม ขอเรียกร้องให้หยุดการข่มขู่คุกคามต่อดร.สมศักดิ์ และหยุดการปฏิบัติใดๆอันเป็นการลิดรอนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
1.Dr.Michael K. Connors, La Trobe University
2.Dr.Nancy Eberhardt, Knox College
3.Dr.Nicholas Farrelly, Australian National University
4.Dr.Arnika Fuhrmann, Hong Kong University
5.Dr.Jim Glassman, University of British Columbia
6.Dr.Tyrell Haberkorn, Australian National University
7.Dr.Kevin Hewison, University of North Carolina-Chapel Hill
8.Dr.CJ Hinke, Freedom Against Censorship Thailand
9.Dr.Soren Ivarsson, University of Copenhagen
10.Dr.Andrew Johnson, Sogang University
11.Dr.Tomas Larsson, Cambridge University
12.Dr.Charles Keyes, University of Washington
13.Mr.Samson Lim, Cornell University
14.Dr.Tamara Loos, Cornell University
15.Dr.Mary Beth Mills, Colby College
16.Ms.Nattakant Akarapongpisak, Australian National University
17.Dr.Craig Reynolds, Australian National University
18.Mr.Andrew Spooner, Nottingham Trent University
19.Mr.Sing Suwannakij, University of Copenhagen
20.Dr.Michelle Tan, Independent Scholar, USA
21.Mr.Giles Ji Ungpakorn, Independent Scholar, UK
22.Dr.Andrew Walker, Australian National University
23.Dr.Thongchai Winichakul, University of Wisconsin-Madison
24.Mr.Kritdikorn Wongswangpanich, Aberystwyth University
25.Dr.Adadol Ingawanij, University of Wesminster, UK.
26.Dr.Rachel V Harrison, University of London
27.Dr. Abner Soffer, Tel Aviv University
และแถลงการณ์จากนักสันติวิธี เรื่อง "ขออย่าทวีความร้าวฉานในสังคม"
ความขัดแย้งของสังคมไทยในช่วง 5-6 ปีมานี้ มีลักษณะที่แตกต่างไปจากช่วงอื่นๆอย่างชัดเจน กล่าวคือ เป็นความขัดแย้งที่ขยายวงไปยังทุกภาคส่วนและสังคมหน่วยต่างๆ ตั้งแต่ภายในครอบครัว กลุ่มอาชีพ หน่วยงาน ไปจนถึงสถาบันต่างๆ เช่น สถาบันยุติธรรม พรรคการเมือง การบริหารราชการ การบัญญัติกฎหมาย ฯลฯ ทั้งยังเป็นปฏิปักษ์ต่อกันโดยไม่มีแนวโน้มว่าจะลดราลง ความขัดแย้งในลักษณะเช่นนี้อาจเป็นเหตุก่อให้เกิดผลได้ทั้งทางบวกและทางลบ ทั้งนี้ขึ้นกับวิธีการแก้ไขความขัดแย้งนี้ในระยะสั้นและระยะยาว
กรณีการออกหมายจับ ดร. สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งกำลังเกิดขึ้นในวันเวลานี้นั้น เป็นดัชนีที่ชี้ให้เห็นถึง มรรควิธีในการจัดการความขัดแย้งอย่างไม่คำนึงถึงหลักวิชา ไม่ว่าจะในเชิงนิติศาสตร์ และสังคมศาสตร์สาขาต่างๆ ทั้งยังไม่เป็นไปตามหลักที่ถือปฏิบัติกันของประชาคมโลกสมัยปัจจุบัน ตั้งแต่ สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ไปจนถึงเสรีภาพในทางวิชาการ การแสดงความคิดเห็นโดยไม่ได้มีเจตนาให้ก่อการจลาจล หรือ มุ่งร้ายหมายชีวิตบุคคลหรือกลุ่มคนใดๆ
เป็นที่หวั่นเกรงว่า การดำเนินการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยการใช้อำนาจและกำลังที่ละเมิดศีลธรรมและนิติธรรมซึ่งสังคมไทยควรยึดถือ โดยน้ำมือเจ้าหน้าที่ของรัฐและบุคคลบางกลุ่มบางฝ่ายที่อาจจะกำหนดอยู่เบื้องหลังนี้นั้น ส่อถึงเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์และไร้ความปรารถนาดีต่อการคลี่คลายความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ อันจะยิ่งทำให้ปัญหาที่สั่งสมอยู่แล้วทวีความรุนแรงขึ้น
ผู้มีรายนามท้ายนี้ ขอเสนอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและฝ่ายอื่นๆที่พยายามดำเนินการใส่ร้าย กล่าวหา ดร. สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้ล้มเลิกการคุกคามและความประสงค์ที่จะทำร้ายไม่ว่าจะทางกายภาพและทางจิตใจ ทั้งในกรณีนี้และอื่นๆที่อาจจะตามมา เช่น การถอดถอนประกันที่สาธารณชนรู้จักกันในนาม ‘แกนนำนปช.’ การออกหมายจับบุคคลต่างๆที่อาจมีการเตรียมการไว้ และการกระทำต่างๆนานาที่มิได้เอื้อต่อการประคับประคองการเปลี่ยนแปลงสังคมด้วยหลักสันติธรรม
วันที่ 24 เมษายน 2554
1.ไชยันต์ รัชชกูล สถาบันศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ
2.สุชาติ เศรษฐมาลินี สถาบันศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ
3.ชาญชัย ชัยสุขโกศล ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล
4.เอกรินทร์ ต่วนศิริ ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5.งามศุกร์ รัตนเสถียร ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล
6.ประทับจิต นีละไพจิตร นิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
7.ใจสิริ วรธรรมเนียม ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล
8.อธิษฐาน์ คงทรัพย์ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล
9.เอกพันธ์ ปิณฑวณิช ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล
++
แถลงการณ์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เรื่อง การคุกคามเสรีภาพในการแสดงความเห็น คือ การคุกคามประชาธิปไตย
ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งอย่างรุนแรงในสังคมไทย เสรีภาพในการแสดงความเห็นเป็นเงื่อนไขพื้นฐานสำคัญประการหนึ่งสำหรับการแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อลดความขัดแย้งและความรุนแรง เพราะช่วยให้สามารถแลกเปลี่ยน ถกเถียง โต้แย้ง ระหว่างผู้คนกลุ่มต่างๆ ที่มีความคิดเห็นแตกต่างเพื่อนำไปสู่การแสวงหาทางออกร่วมกัน รวมทั้งการหาข้อตกลงในการดำรงอยู่ร่วมกันอย่างสันติในระยะยาว ด้วยเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างเสมอภาคและปราศจากการคุกคามเท่านั้นที่จะนำมาสู่การต่อรองและการสร้างกติกาที่ทุกฝ่ายยอมรับร่วมกัน
ส่วนการใช้อำนาจเพื่อให้บางฝ่ายมีโอกาสพูดและสื่อสารกับสังคมในขณะที่บางฝ่ายถูกปิดกั้น มีแต่จะนำไปสู่ความแค้นเคืองและขยายความขัดแย้งให้สูงขึ้น เพราะตอกย้ำความไม่เป็นธรรมที่มีอยู่แล้วให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น โดยไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อส่วนรวมแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าการคุกคามต่อเสรีภาพในการแสดงความเห็นจากฝ่ายผู้ถืออำนาจรัฐกลับทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นในสังคมไทยปัจจุบัน ทั้งโดยการใช้อำนาจนอกกฎหมายและอำนาจตามกฎหมาย ทั้งที่ปรากฏให้เห็นอย่างชัดแจ้งและอย่างแฝงเร้น ทำให้มีคนจำนวนมากที่ต้องเผชิญกับการคุกคามหรือแม้แต่การจับกุมคุมขังเมื่อ มีการแสดงความเห็นของตนออกมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการดำเนินการหลายรูปแบบเพื่อปิดปากประชาชนภายใต้ข้อ กล่าวอ้างเรื่องความจงรักภักดีและการปกป้องสถาบัน รวมทั้งกรณีการเคลื่อนไหวของนายทหารบางกลุ่มในระยะนี้
สังคมไทยพึงตระหนักว่า กฎหมายของไทยมิได้เปิดให้มีการใส่ร้ายป้ายสีต่อบุคคลหรือสถาบันใดๆ ได้อย่างเสรี ตรงกันข้ามมีกฎเกณฑ์และบทลงโทษอย่างรุนแรงอยู่แล้ว ไม่จำเป็นที่ทหารจะต้องออกมาสำแดงกำลังแม้แต่น้อย อนึ่ง ในฐานะหน่วยราชการหน้าที่หลักขององค์กรทหารย่อมอยู่ที่การปกป้องอธิปไตยของชาติ สถาบันทหารควรหลีกเลี่ยงจากการกระทำใดๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงบทบาทในทางการเมือง เพื่อป้องกันการนำสถาบันทหารเข้ามาเป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์ของบุคคลหรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
ในสังคมประชาธิปไตย บุคคลและสถาบันใดก็ตามที่เข้ามามีบทบาทและใช้อำนาจในทางการเมืองย่อมไม่อาจพ้นไปจากการวิพากษ์วิจารณ์จากผู้คนในสังคมได้ เพราะในสังคมที่ประกอบด้วยกลุ่มคนหลากหลายซับซ้อน การใช้อำนาจไม่ว่าจะเป็นไปด้วยเจตนาดีเพียงใด ก็ย่อมมีทั้งผู้ได้ประโยชน์และผู้เสียประโยชน์ หรือย่อมส่งผลดีในบางด้านและส่งผลเสียในบางด้าน การวิพากษ์วิจารณ์เพื่อต่อรองหรือเพื่อตรวจสอบตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง การใช้อำนาจโดยไม่ต้องการถูกวิพากษ์วิจารณ์แตะต้อง หรือถูกตรวจสอบจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในโลกปัจจุบัน ความพยายามในการปิดปากผู้คนต่อการแสดงความเห็นตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดๆ ก็ตาม จึงไม่เพียงแต่เป็นการคุกคามต่อเสรีภาพในการแสดงความเห็นของบุคคลเท่านั้น หากยังหมายความถึงการคุกคามต่อระบอบประชาธิปไตยอย่างสำคัญ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจึงขอเรียกร้องให้สังคมไทยร่วมกันปกป้องเสรีภาพในการแสดงความเห็น และร่วมกันแสดงการคัดค้านต่อบุคคล, สถาบัน, การกระทำ หรือกฎหมายใดๆ ก็ตาม ที่คุกคามต่อเสรีภาพดังกล่าวนี้ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำที่มาจากฝ่ายใดก็ตาม เพื่อให้สังคมไทยสามารถจะก้าวเดินต่อไปบนพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตย เฉกเช่น นานาอารยประเทศได้อย่างสันติและเสมอภาคกัน
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
26 เมษายน 2554
.
Selected Messages & Good Article for People Ideas and Social Justice .. หวังความต่อเนื่องของพลังประชาธิปไตยและการเลือกตั้งของปวงชนอันเป็นรากฐานอำนาจอธิปไตย เพื่อกำกับกติกาและอำนาจการเมือง-อำนาจตุลาการ ไม่ว่าต่อคนชั่ว(เพราะใคร?) และคนดี(ของใคร?) ไม่ให้อยู่เหนือนิติรัฐของประชาชน
http://BotKwamDee.blogspot.com...webblog เปิดเผยความจริงและกระแสสำนึกหลากหลาย เพื่อเป็นอาหารสมอง, แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมการวิเคราะห์ความจริง, สะท้อนการเรียกร้องความยุติธรรมที่เปิดเผยแบบนิติธรรม, สื่อปฏิบัติการเสริมพลังเศรษฐกิจที่กระจายความเติบโตก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศสู่ประชาชนพื้นฐาน, ส่งเสริมการตรวจสอบและผลักดันนโยบายสาธารณะของประชาชน-เยาวชนในทุกระดับของกลไกพรรคการเมือง, พัฒนาอำนาจต่อรองทางประชาธิปไตย โดยเฉพาะการปกครองท้องถิ่นและยกระดับองค์กรตรวจสอบกลไกรัฐของภาคสาธารณะที่ต่อเนื่องของประชาชาติไทย