http://BotKwamDee.blogspot.com...webblog เปิดเผยความจริงและกระแสสำนึกหลากหลาย เพื่อเป็นอาหารสมอง, แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมการวิเคราะห์ความจริง, สะท้อนการเรียกร้องความยุติธรรมที่เปิดเผยแบบนิติธรรม, สื่อปฏิบัติการเสริมพลังเศรษฐกิจที่กระจายความเติบโตก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศสู่ประชาชนพื้นฐาน, ส่งเสริมการตรวจสอบและผลักดันนโยบายสาธารณะของประชาชน-เยาวชนในทุกระดับของกลไกพรรคการเมือง, พัฒนาอำนาจต่อรองทางประชาธิปไตย โดยเฉพาะการปกครองท้องถิ่นและยกระดับองค์กรตรวจสอบกลไกรัฐของภาคสาธารณะที่ต่อเนื่องของประชาชาติไทย

2554-06-20

"HATE speech"ฯ และ อนาคตสื่อไทยฯ

.

"HATE speech" VS. "FREE speech" กับการเมืองไทยในโลกออนไลน์
ในมติชน ออนไลน์ วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554 เวลา 20:30:00 น.


"สื่อเป็นกระจกสะท้อนความเป็นไปของสังคมการเมือง ยิ่งภาพสะท้อนดังกล่าวครบถ้วนและเป็นปัจจุบันมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้การใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจทางการเมืองของประชาชนมีประสิทธิภาพและแหลมคมยิ่งขึ้น"

ดร.ศุภชัย เยาวะประภาษณ์ กล่าวเปิดเวทีอภิปรายสาธารณะ "ความท้าทายของสื่อใหม่กับการเมืองไทยช่วงก่อนและหลังการเลือกตั้ง" วันนี้ ณ อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดยในงานมีการอภิปรายหัวข้อ "พรมแดนของ free speech และ hate speech ในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง" ซึ่งผู้ร่วมอภิปรายได้แก่ ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ, ดร. พิรงรอง รามสูต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ และ ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โดยมี ดร. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ รองคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เป็นผู้ดำเนินรายการ


อะไรเป็นพรมแดนระหว่าง free speech กับ hate speech ?

ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ กล่าวว่า "เสรีภาพในการพูดแสดงความคิดเห็น หรือ free speech เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในระบอบประชาธิปไตย" การประกันเสรีภาพดังกล่าวมีประโยชน์ คือเป็นการเปิดโอกาสให้แนวคิดต่างๆ "เกิดขึ้นและไหลเวียนอย่างเสรี" ส่วนในเรื่อง hate speech นั้น ดร. โสรัจจ์ได้อ้างคำนิยามที่ว่า hate speech คือ "การสื่อสารไม่ว่าจะในรูปแบบใดๆก็ตาม ที่เป็นการดูถูกกลุ่มคนหรือกลุ่มบุคคลใดๆ บนพื้นฐานของลักษณะเฉพาะของกลุ่มคนหรือบุคคลนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่อง สีผิว เพศ ชนชาติ ศาสนา หรือลักษณะเฉพาะอื่นๆ" และ hate speech นั้นถือเป็นเรื่องใหญ่มากในโลกตะวันตก

"ในแต่ละสังคมนั้นมีhate speechที่ต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น ในโลกตะวันตกที่มีคำดูถูกผู้หญิงเอเชีย หรือการพูดว่า 'ทุกคนที่เลือกพรรคก. เป็นคนโง่ ไม่จงรักภักดี' ในบ้านเรา"

ดร.โสรัจจ์กล่าวว่า ทั้งนี้เมื่อมี free speech ก็ย่อมมีผู้คนที่ใช้เสรีภาพนี้สร้าง hate speech ขึ้นมา ดังนั้น "อะไรเป็นพรมแดนระหว่าง hate speech กับ free speech "เราควรออกกฏบังคับ hate speech หรือไม่?" ดร.โสรัจจ์ตั้งคำถามชวนคิดดังกล่าว

"อะไรที่คนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยจะตายไปเองโดยธรรมชาติ การไปควบคุม โดยเฉพาะการไปมีกฏหมายลงโทษอาจก่อให้เกิดกระแสโต้กลับหรือก่อให้เกิดการท้าทายกฏหมายนั้น ซึ่งทำให้วัตถุประสงค์ในการมีกฏหมายนั้นๆเป็นไปในทางตรงกันข้าม"


ถัดมา ดร.พิรงรอง รามสูต อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ ได้กล่าวถึงบทบาทในเรื่อง hate speech และ free speech ของสื่อว่า "นิวมีเดีย" หรือ "สื่อใหม่" ไม่ได้หมายถึงเพียงสื่อออนไลน์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงเคเบิลทีวี และวิทยุชุมชนด้วย และกล่าวถึงกฏหมายสากลที่ให้ความคุ้มครอง free speech ว่ามีหลายกฏหมาย เช่น "ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ19"

ดร.พิรงรอง กล่าวว่า hate speech และ hate crime นั้นมีความสัมพันธ์กัน เช่น hate speech ของฮิตเลอร์ทำให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว hate speech ของกลุ่ม Klu Klux Klan ได้ปลุกปั่นให้ทำให้คนผิวดำเป็นจำนวนมากถูกฆ่าตาย

นอกจากนี้ ดร.พิรงรอง ยังได้กล่าวถึงบทบาทของสื่อใหม่อย่างอินเตอร์เน็ตว่า อินเตอร์เน็ตเป็นพื้นที่ใหม่ที่ทำให้การเผยแพร่ hate speech เป็นไปอย่างง่ายดาย การเป็นนิรนามบนอินเตอร์เน็ตเปิดช่องให้ผู้คนสามารถปิดบังตัวตนในการแพร่กระจาย hate speech

ซึ่งจะทำให้ผู้กระทำไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ พร้อมทั้งยังยกตัวอย่างกฏหมายควบคุม hate speech ของต่างประเทศ เช่นในแคนาดาที่กำหนดให้ hate speech เป็นสิ่งผิดกฏหมาย รวมทั้งในเยอรมันและออสเตรียที่ห้ามเผยแพร่ hate speech บางประเภทโดยสิ้นเชิง

"free speech เป็นสิ่งที่มีในสังคมแบบเสรีประชาธิปไตย คงเป็นเรื่องลำบากหากเราจะไปคาดหวังสิ่งนี้ในสังคมเผด็จการ"


ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย จากคณะนิติศาสตร์ พูดในด้านของกฏหมายว่า

เสรีภาพในการพูดและแสดงออกนั้นมีการรับรองอยู่ในกฏหมายระหว่างประเทศและกฏหมายในประเทศ ทั้งใน "Universal Declaration of Human Right article 19" และใน "Inter Convenant on Civil and Political Rights (Article 19)" รวมถึงใน รัฐธรรมนูญมาตรา 49

"สิทธิเสรีภาพในการพูดและการแสดงออกเป็นสิทธิขึ้นพื้นฐานของการเป็นมนุษย์ เสรีภาพใน 'การคิด' นำไปสู่ เสรีภาพในการแสดงออกหรือการแสดงความคิดเห็น และการแสดงความคิดเห็นที่พื้นฐานที่สุดก็คือ 'การพูด' ถ้าคุณปิด free speech ก็เท่ากับเป็นการทำหมันเสรีภาพใน 'การคิด' ของคนอื่น" ดร. พรสันต์กล่าว

"รัฐจำต้องรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนทุกคน และรัฐไม่สามารถไปจำกัดสิทธิและเสรีภาพดังกล่าวได้ และหากว่ารัฐจะไปจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกนั้น รัฐก็จำต้องอธิบายได้ว่าที่ทำไปนั้นเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ เช่น "เพื่อความมั่นคงของประเทศ" หรือ "เพื่อความสงบเรียบร้อย" ซึ่งก็มีปัญหาว่าอะไรคือ "ความมั่นคง" อะไรคือ "ความสงบเรียบร้อย"

การบังคับใช้กฏหมายที่จะไปจำกัดสิทธิและเสรีภาพนั้นต้องบังคับใช้เป็นการทั่วไป กับคนทุกคน ไม่"สองมาตรฐาน"
และต้องกระทำเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ส่วนเครื่องมือในการกระทำดังกล่าวจะทำได้ในรูปกฏหมายที่ต้องผ่านสภาเท่านั้น มิใช่กฏหมายที่ไม่ต้องผ่านสภา เช่น พระราชกฤษฎีกา"

นอกจากนี้ ดร.พรสันต์ ยังกล่าวว่า free speech และ hate speech ยังเป็นสิ่งใหม่สำหรับสังคมไทย ซึ่งถึงแม้ว่ามีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญตั้งแต่ฉบับปี พ.ศ. 2475 แต่ก็ไม่เคยมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเลยว่าเสรีภาพในการพูดการแสดงความคิดเห็นคืออะไรกันแน่

ทั้งนี้ ดร. พรสันต์ กล่าวว่า การห้ามการจำกัดสิทธิเสรีภาพของ free speech ดังกล่าวไม่ได้ห้ามแต่เฉพาะรัฐ แต่ยังรวมไปถึงประชาชนด้วย เช่น การไปทำลายป้ายหาเสียง "เพราะนี่แปลว่าคุณเองก็ไม่ยอมรับการแสดงความคิดเห็นของคนอื่นเช่นกัน"

ท้ายนี้ ดร.พรสันต์ ได้ยกคำวินิจฉัยของศาลสหรัฐฯในปี 2004 ซึ่งเขียนไว้ว่า "It is the duty of citizens to criticize the government" ("เป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล") และกล่าวทิ้งท้ายว่า "และนี่คือระบอบประชาธิปไตยและหลักนิติรัฐ อย่างแท้จริง"

"การที่ประชาชนไม่กล้าพูด ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น เป็นการบั่นทอนประชาธิปไตยในระยะยาว"



++

อนาคตสื่อไทย : รัฐ ทุน และ เทคโนโลยี .."อำนาจรัฐจะลดลง สื่อจะเข้มแข็งขึ้น"
ในมติชนสุด ออนไลน์ ฉบับวันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554 เวลา 11:13:18 น.


วันที่ 18 มิ.ย. 54 ที่วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา จ.ชลบุรี สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยและสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย จัดวงสนทนา“อนาคตสื่อไทย: ความท้าทายภายใต้รัฐ ทุน และเทคโนโลยี” ในงานประชุมใหญ่วิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชนระดับชาติประจำปี 2554


ฐากูร บุนปาน” กรรมการและผู้จัดการทั่วไปบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) วิเคราะห์ว่า สิ่งที่ไม่น่าห่วงเลยคือรัฐ เพราะเลยยุคของการใช้อำนาจผ่านปากกระบอกปืน ล่ามโซ่แท่นพิมพ์มาแล้ว ขณะที่กฎหมายซึ่งเคยเป็นเครื่องมือของอำนาจก็เปลี่ยนไป บริบทการใช้แม้ยังมีการดึงกฎหมายอื่นๆมาควบคุมบ้าง แต่ดีขึ้นกว่าแต่ก่อน ต่อไปรัฐจะเล็กลงเรื่อยๆ อำนาจในการควบคุมน้อยลง หากมองเป็นกราฟ รัฐจะลดลง สื่อจะเข้มแข็งขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคไม่ยอมให้รัฐทำแบบเดิม

ส่วนสิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือ ทุนและเทคโนโลยี เพราะประเทศไทยมีข้อด้อยผลิตเองไม่ได้ การลงทุนสำหรับผู้ประกอบการสื่อแพงขึ้นบวกกับการสื่อสารที่ไปอย่างรวดเร็วเป็นปรากฏการณ์ใหม่ซ้ำใหม่เรื่อยๆ หากมีความเป็นไปได้ที่จะกระตุ้นให้สังคมทำได้เอง จะไม่ใช่แค่สื่อที่ได้ประโยชน์แต่เป็นรากฐานของอื่นๆ ด้วย

เมื่อถามว่าจำนวนทุนในการขยับจากสื่อกระแสหลักไปสู่การเป็นสื่อใหม่ (New Media) นายฐากูร กล่าวว่า การเตรียมคนให้พร้อมเป็นปัจจัยหลัก เพราะสื่อมวลชนบางกลุ่มยังมีข้อจำกัดในการใช้เทคโนโลยี และช่องทางต่างๆ ที่เพิ่มมานี้ยังไม่สำคัญเท่ากับคุณภาพ

ซึ่งเป็นทุนส่วนตัวที่ควรมีไว้สู้กับทุนข้างนอก สำคัญที่สุดอยู่ที่ความน่าเชื่อถือ จุดยืนที่ถูกต้อง คุณภาพในงาน และความสม่ำเสมอ หากคิดว่าวันนี้ดีแล้วพรุ่งนี้อย่างน้อยต้องดีเท่ากันหรือดีกว่า ไม่ใช่วันนี้ดีแล้วเอาไว้กินวันหน้าไม่ได้ อิทธิพลของเทคโนโลยีการสื่อสารยุคใหม่ไม่มีใครคุมใครได้ เหมือนเซลล์ที่กระจายแต่ไม่ได้จัดตั้ง อาจกลายเป็นดาบสองคม


เทพชัย หย่อง” ผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในอดีตสื่อมวลชนสอบผ่านความท้าทายภายใต้อำนาจรัฐอย่างสวยหรู หรืออาจเรียกว่าได้คะแนนเอบวกด้วยซ้ำ เพราะบทบาทและจุดยืนในการต่อสู้มีความชัดเจนมั่นคงมาก และไม่ได้สู้เพื่อเสรีภาพในการเสนอข่าวเท่านั้น แต่ยังสู้เพื่อเสรีภาพของคนในสังคมด้วย ข้อกังวลจริงๆ ที่ทำให้สั่นคลอนความมั่นใจคือ ความท้าทายจากทุนในรูปของเงินที่ทำให้เกิดคำถามว่าวันนี้สื่อไทยยังมีจุดยืนตามที่สังคมคาดหวังแค่ไหน

“บทพิสูจน์เรื่องนี้เห็นได้จากเหตุการณ์ก่อนรัฐประหารปี 2549 ที่นักการเมืองเข้าไปมีบทบาทต่อสื่ออย่างแฝงเล่ห์เหลี่ยมเพทุบาย ช่วงนั้นอำนาจทางการเมืองล้นหลาม ประชาชนชื่นชมในผู้นำการเมืองอย่างสุดโต่ง องค์กรสื่อส่วนใหญ่ยังเดือดร้อนตกค้างจากวิกฤติเศรษฐกิจ กลายเป็นเครื่องมือทุนโดยไม่รู้ตัว ทำหน้าที่ตรวจสอบสอดส่องความจริงไม่ได้อย่างที่สังคมคาดหวัง ซึ่งสื่อเองก็คงได้บทเรียนหลายอย่างจากเหตุการณ์นี้”

การมีทุนเข้ามาไม่ได้หมายความว่า จะต้องประนีประนอมจุดยืนของตน โดยเฉพาะความท้าทายใหม่ในสถานการณ์การเลือกตั้งครั้งนี้

เชื่อว่าสื่อต่างๆ คงเริ่มเได้กลิ่นแปลกๆ ถึงความไม่แน่ใจ หากเป็นเช่นนั้นจริงสื่อจะเข้าสู่จุดตกต่ำมากกว่าเดิม เพราะครั้งก่อนผู้มีอำนาจยังคุมสื่อไม่ได้ 100% แต่เชื่อว่าคราวนี้ใครก็ตามที่มีอำนาจสูงสุดแบบนั้นจะไม่เปิดโอกาสอีก

“แต่ยังมีแสงสว่างจากบทบาทของสื่อใหม่ เทคโนโลยีทำให้เกิดการแทรกแซงยากขึ้น เป็นพลวัตรของสื่อโดยรวม แต่ทั้งนี้ต้องระมัดระวังเพราะสื่อใหม่จำนวนไม่น้อยมีหลักคิดดี แต่ส่วนใหญ่ยังเป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก ถ้าปล่อยไปโดยที่คนใช้ยังไม่รับผิดชอบต่อสังคม ไม่ว่าทวิตเตอร์หรือเฟสบุ๊คจะเป็นแค่หนึ่งข้อความธรรมดา เหมือนกับคนที่แค่ร้องเพลงได้แต่ไม่ดี”

ความท้าทายของสื่อมวลชนจริงๆ จึงเป็นเรื่องสื่อมวลชนต้องมีบทบาทในการทำให้สังคมกลับมาในภาวะปกติ ทุกวันนี้สื่อยังรู้สึกว่าตัวเองเป็นแค่ผู้เฝ้าดูอย่างเดียว ต้องย้อนมาดูตัวว่ามาได้ทำหน้าที่เป็นเสาหลักให้ประชาชนได้เพียงพอหรือยังผ่านเนื้อหาสาระที่ออกมาสู่คนรับสาร ต่อไปข้างหน้าประเทศไทยมองเรื่องการปรองดองเป็นสำคัญ ขณะที่สื่อมวลชนยังไม่ได้ตั้งคำถามต่อตัวเองเลยว่าอนาคตจะเดินอย่างไร แน่นอนอาจไม่ได้เป็นตัวชี้เป็นชี้ตายแต่อย่างน้อยๆ ต้องทำให้เกิดการอภิปราย แสดงความคิดเห็น ดึงคนกลุ่มต่างๆ ของสังคมเข้ามา อย่างไรก็ตามวันนี้ยังไม่สาย หากสื่อจะรับมือกับภาวะการเมือง ซึ่งจะเป็นสึนามิลูกที่สอง

“จะทำอย่างไรเมื่อทักษิณกลับมาเมืองไทย ขณะที่สื่อกระแสหลักซึ่งเคยเป็นปากเป็นเสียงทำให้สังคมเชื่อถือ แล้ววันหนึ่งถูกสื่อเสื้อเหลืองและเสื้อแดงมาแทน คงเป็นเรื่องต้องตั้งคำถาม ต้องทำให้เข้าใจและเชื่อว่าคุณเป็นกลาง ถ้าประกาศชัดว่าเลือกข้างก็ต้องเอาความจริงที่รอบด้าน ซื่อตรงที่สุดไม่บิดเบือนที่สุดมาเสนอ ที่เหลือปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคนดู คนฟัง คนอ่านพิจารณาเอง


รศ.สดศรี เผ่าอินจันทร์” อาจารย์ประจำคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า รัฐเป็นความท้าทายซ้ำซากจากอดีตถึงปัจจุบัน และระดับความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ หัวใจสำคัญอยู่ที่คนทำสื่อ หากด้อยคุณภาพ ขาดความรู้ ไม่มีคุณธรรมเชิงจริยธรรมอย่างไร ก็ต้องอยู่ภายใต้รัฐที่มีทั้งอำนาจโดยตัวเองและอำนาจทุนแฝงอยู่ หากคนทำสื่อไม่เข้มแข็ง องค์กรสื่อไม่ผนึกกำลังสร้างคนในองค์กรให้เข้มแข็งจะเป็นปัญหา

“ยุคทองของการปฏิรูปสื่อจริงๆ คือรัฐธรรมนูญ 2540 การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพสื่อมีมากขึ้น กฎหมายไดโนเสาร์ถูกยกเลิก นี่คือสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้น เพียงแต่อุปสรรคจากทุนที่แฝงมาในอำนาจ เป็นตัวทำให้บทบาทบิดเบือนบ้าง ไม่ว่าจะเป็นในรูปงบประมาณประชาสัมพันธ์หรือคณะกรรมการสรรหา

ยุคนี้เป็นยุคที่ทุนกำหนดชะตากรรมประเทศ อนาคตจะมีเทคโนโลยีมากมาย คนชอบข่าวสารแบบรวดเร็วคืออะไรที่สั้นๆ บรรทัดเดียว เน้นความเร็ว สุดท้ายสื่อกระดาษจะลดความนิยมลงทั้งกระแสหลักและท้องถิ่นแต่ไม่ถึงกับตาย หากไม่มีสายป่านยาวพอสื่อมวลชนอาจต้องลดจิตวิญญาณ ดีเอ็นเอในวิชาชีพจะค่อยๆ เลือนไป โซเชี่ยลมีเดียแม้มีประโยชน์แต่ก็มีอันตรายด้วย หากคนติดตามอ่านอย่างเดียวโดยไม่ได้ตามสื่ออื่นๆ เรียกได้ว่าอนาคตอาจหนักหนาสาหัส

“ทางออกอยู่ที่ “คน” สำคัญกว่าอะไรทั้งสิ้น ความคิดและเนื้อหาของคนที่เกิดมาเป็นสื่อมวลชน จะเป็นตัวทำความจริงให้ปรากฏ ทำความถูกต้องให้เกิดในสังคม สถาบันการศึกษาคือจุดเริ่มต้นที่จะสร้างจิตวิญญาณความเป็นสื่อ

แต่สถาบันการศึกษากลับไปเน้นการแข่งขัน หลักสูตรยังขาดความเชื่อมต่อกับสังคม ขาดความรู้เชิงลึก มีแต่วิชาที่สอนผลิตเนื้อหา แต่ไม่สนับสนุนความเป็นสื่อมวลชน องค์กรวิชาชีพต่างๆ อาจมีบทบาทในการเป็นเทรนเนอร์ ดึงคนที่มีประสบการณ์เชี่ยวชาญมาฝึกตั้งแต่ต้นทาง ก่อนออกไปสู่สนามจริง



+ + + + + + +

ข่าวที่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อด้วยอคติ ทำลายคู่แข่งขันทางการเมือง

สำนักข่าวรอยเตอร์ ชี้กองทัพเลือกข้างแล้ว คำพูดของ ผบ.ทบ.เผยนัยยะสกัดพรรคเพื่อไทย
http://m.thairath.co.th/content/oversea/180492

รวบ 6 น.ศ. ม.ราม แจกซีดี-แผ่นพับ "ทักษิณล้มเจ้า" ดิสเครดิตเพื่อไทย สารภาพรับค่าจ้างวันละ 500 บาท
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=8&contentID=146378
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERXdNekl3TURZMU5BPT0=

ติงยุทธศาสตร์ตอกย้ำ'เผาเมือง' ชี้ปชป.เพิ่มอุณหภูมิขัดแย้ง-ยิ่งเสียเปรียบเอง
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROMmIzUXdNakl3TURZMU5BPT0=

สิทธิการเลือกตั้ง เงินซื้อเสียง ใครโง่ ?
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1306557498&grpid=&catid=02&subcatid=0200


.