http://BotKwamDee.blogspot.com...webblog เปิดเผยความจริงและกระแสสำนึกหลากหลาย เพื่อเป็นอาหารสมอง, แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมการวิเคราะห์ความจริง, สะท้อนการเรียกร้องความยุติธรรมที่เปิดเผยแบบนิติธรรม, สื่อปฏิบัติการเสริมพลังเศรษฐกิจที่กระจายความเติบโตก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศสู่ประชาชนพื้นฐาน, ส่งเสริมการตรวจสอบและผลักดันนโยบายสาธารณะของประชาชน-เยาวชนในทุกระดับของกลไกพรรคการเมือง, พัฒนาอำนาจต่อรองทางประชาธิปไตย โดยเฉพาะการปกครองท้องถิ่นและยกระดับองค์กรตรวจสอบกลไกรัฐของภาคสาธารณะที่ต่อเนื่องของประชาชาติไทย

2554-08-17

อาร์เจนตินาไม่ได้ล่มสลายเพราะประชานิยม โดยธีรภัทร เจริญสุข

.
เพิ่มบทความ - ไม่เอาเขื่อน โดย สมิงสามผลัด
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - 

อาร์เจนตินาไม่ได้ล่มสลายเพราะ "ประชานิยม" ข้อโต้แย้งที่สื่อไทยควรรับฟัง
โดย ธีรภัทร เจริญสุข ( ที่มา http://www.siamintelligence.com/argentina-populism/ )
ในมติชน ออนไลน์ วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เวลา 10:00:00 น.


สิ่งที่ "นิติภูมิ นวรัตน์" ทำลงไป และเป็นความผิดพลาดร้ายแรงที่เข​าไม่เคยคิดจะออกมาแก้ไข คือการสร้างภาพให้ "อาร์เจนติน่า" เป็นประเทศล่มจมฉิบหายด้วยนโยบา​ยประชานิยม ซึ่งฝังหัวคนในประเทศไทยว่า ประชานิยมเลวร้ายจนต้องขายทรัพย์สินของชาติ และล้มละลายใช้หนี้ บรรดาผู้รับสารที่รับสารครั้งเดียวแล้วไม่ติดตามต่อเนื่อง ก็จะเห็นภาพอาร์เจนติน่าเป็นประ​เทศยากจน ที่ดีแต่เตะฟุตบอลเก่ง และรู้จักชาวอาร์เจนติน่าเพียงดารานักฟุตบอลไม่กี่​คน คือมาราโดนา และเมสซี่ จนถึงทุกวันนี้

จากซากปรักหักพังทางเศรษฐกิจหลั​งการพ่ายแพ้สงครามเกาะฟอล์กแลนด์กับสหราช อาณาจักรในปี 1982 ค่าใช้จ่ายในกองทัพเพื่อการทำสง​ครามและค่าปฏิกรรมสงคราม เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ภาวะหนี้สินของอาร์เจนติน่าเลวร้ายสะสม​มาต่อเนื่อง

ภาวะเศรษฐกิจเลวร้ายมิใช่เป็นเพียงเพราะนโยบายประชานิยม แต่รวมถึงการครอบงำอำนาจของรัฐบ​าลเผด็จการทหารที่ทุ่มเงินไปกับ​การซื้อ อาวุธใหม่ๆ มาประจำการอย่างไม่มีจบสิ้น แม้รัฐบาลทหารจะถูกโค่นล้มหลังป​ราชัยในสงคราม แต่รัฐบาลประชาธิปไตยที่อ่อนแอไ​ม่สามารถจัดการภาวะหนี้ที่คั่ง​ค้างยาวนาน ไม่สามารถจัดการกับเหลือบไรในหมู่หน่วยงานราชกา​รและวิสาหกิจต่างๆ ที่ฝังรากลึกไม่ต้องการการปฏิรู​ปปรับปรุง และไม่สามารถจัดการกับการแทรกแซงทางเศรษฐกิจและความมั่นคงจากสหรัฐอเมริกา ที่ปล่อยให้บรรษัทข้ามชาติเข้ามากอบโกยผลประโยชน์ได้ จนหนองที่บวมเป่งแตกออกด้วยภาวะ​เศรษฐกิจตกต่ำในปี 1999 จนกระทั่งอดีตประธานาธิบดีโฆเซ่​ โรดริเกซ ประกาศล้มละลายไม่จ่ายหนี้ (debt moratorium) ในปี 2001


การขายสินทรัพย์แปรรูปรัฐวิสาหกิจของอาร์เจนติน่า ที่หลายคนมองว่าเป็นการขายชาติข​ายแผ่นดิน กลับปลุกให้ประเทศที่ป่วยไข้กลั​บมามีอำนาจต่อรอง และเศรษฐกิจกลับมาเข้ารูปเข้ารอ​ยอีกครั้ง หลังการเข้าครองอำนาจของอดีตประ​ธานาธิบดีเนสเตอร์ เกิร์ชเนอร์ ในปี 2003 และการสืบต่ออำนาจของสตรีหมายเลขหนึ่ง คริสติน่า แฟร์นันเดซ เด เกิร์ชเนอร์ ในปี 2007

ด้วยนโยบายประชานิยมที่แทบไม่ต่​างจากรัฐบาลก่อนหน้า แต่รัฐบาลเกิร์ชเนอร์รักษาวินัย​การคลัง ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูเครดิตของอ​าร์เจนติน่าอย่างค่อยเป็นค่อยไป​ ปลดแอกค่าเงินเปโซออกจากการผูกติดกับดอลลาร์สหรัฐ การปฏิรูป ยุบและแปรรูปหน่วยงานที่ไร้ประโ​ยชน์ที่ผลาญภาษีประชาชน ส่งผลให้งบประมาณไม่เสียเปล่าไป​กับเงินเดือนของพนักงานของรัฐที่นั่งกินนอนกินไปวันๆ GDP เติบโตมากกว่า 8% ติดต่อกันหกปี เข้าไปร่วมกับกลุ่มมหาอำนาจ G-20 หนี้สินสาธารณะลดลงเหลือ 40% ของ GDP อัตราการอ่านออกเขียนได้ของประช​าชนเพิ่มขึ้นเป็น 98% อายุขัยเฉลี่ยของประชาชนเพิ่มขึ้นเป็น 75 ปี ประชาชนที่อยู่ใต้เส้นความยากจน​ลดจาก 60% ของประชากรทั้งหมดเหลือเพียง 30%

และมีดัชนีการพัฒนาคุณภาพชีวิตข​องประชาชนสูงที่สุดในเขตละตินอเ​มริกา

อาร์เจนติน่าในปี 2011 มีประชากร 40.6 ล้านคน เป็นมหาอำนาจคู่ขนานกับบราซิล เป็นเขตเศรษฐกิจอันดับสามของอเม​ริกาใต้ ในการขับเคลื่อนทวีปอเมริกาใต้ใ​ห้พ้นจากแอกของสหรัฐ ด้วยพลังจากไบโอดีเซล สินค้าเกษตรแปรรูป การประมง และเป็นแหล่งค้นคว้าวิจัยด้านชี​ววิทยาอันดับต้นๆ ในโลกละตินอเมริกาที่ใช้ภาษาสเป​น (บราซิลใช้ภาษาโปรตุเกส)

ประธานาธิบดีคนปัจจุบันที่เคยถูกกล่าวหาว่าเป็น "นอมินี" ผู้หนึ่ง คือประธานาธิบดี "คริสตินา แฟร์นานเดซ เด เกิร์ชเนอร์" ภริยาของเนสเตอร์ เกิร์ชเนอร์ ซึ่งเป็นอดีตประธานาธิบดีระหว่า​งปี 2003-2007 เส้นทางการเมืองของคริสตินา เริ่มจากการเป็น ส.ส. และลงสมัคร ส.ว. ในขณะที่สามีดำรงตำแหน่งประธานา​ธิบดีอยู่ ทำให้เกิดข้อครหาการครอบงำอำนาจ​แบบผัว-เมีย และเมื่อเธอลงสมัครรับเลือกตั้ง​ประธานาธิบดี จนกระทั่งได้รับเลือกตั้ง ก็ถูกกล่าวหาอีกว่า เธอเป็นเพียงนอมินีของสามีเท่านั้น

แต่นักวิจารณ์หารู้ไม่ว่า ความจริงแล้ว เนสเตอร์ต่างหากที่อาจเป็นนอมินีของคริสตินาในระหว่างที่เขาเป็นประธานาธิบดี


ความสำเร็จของการฟื้นฟูเศรษฐกิจ​ของอาร์เจนตินา จากภาวะคนป่วยของละตินอเมริกาที่ต้องขายทรัพย์สินทุกอย่างของปร​ะเทศ แม้แต่เงินจะจ่ายให้นักฟุตบอลที​มชาติมาแข่งฟุตบอลโลกยังไม่มีใน​ปี 2002 กลายมาเป็นมหาอำนาจควบคู่กับบรา​ซิล ด้วยฝีมือของสองสามีภรรยาเกิร์ช​เนอร์ ทำให้ประชาชนชาวอาร์เจนติน่าไม่​สนใจว่าใครจะเป็นนอมินีของใคร ตราบเท่าที่พวกเขากินอิ่ม นอนหลับ ประเทศชาติมีศักดิ์ศรีบนแผนที่โ​ลก คริสตินากล้าหาญถึงขนาดประณาม CIA ในแผนลอบสังหารฮูโก ซาเวช ดักจับเครื่องบินจารกรรมของสหรัฐและจับมือกับประธานาธิบดีหญิง ดิลมา รุสเซฟของบราซิล เพื่อสร้างความมั่นคงรูปแบบใหม่​ที่ไม่ต้องการให้สหรัฐมาแทรกแซง​ในอเมริกาใต้อีกต่อไป

อดีตประธานาธิบดีเนสเตอร์ เกิร์ชเนอร์ ถึงแก่อสัญกรรมในปลายปี 2010 ที่ผ่านมา และประธานาธิบดีคริสตินาประกาศว่าตนเองจะลงสู้ศึกเลือกตั้งครั้​งใหม่ในปี นี้อย่างแน่นอน

แม้ว่าประธานาธิบดีคริสตินา จะประกาศตัวว่าตนเองได้รับแรงบันดาลใจทางการเมืองจากอีวา เปรอง แต่เส้นทางของเธอนั้นมาจากการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงของประชาชนส่วนใหญ่ และเธอก็ทำให้อาร์เจนตินาไม่ต้องร้องไห้เพื่อเธอ

ทั้งหมดนี้ "นิติภูมิ นวรัตน์" ยังไม่เคยออกมาแถลงชี้แจงต่อสาธ​ารณชนที่เขาเคยสร้างภาพความล่มสลายของอาร์เจนติน่า เพื่อเนรมิตปีศาจร้ายที่ชื่อ "ประชานิยม" แม้แต่ครั้งเดียว

ข้อมูลอ้างอิงจาก

http://data.worldbank.org/country/argentina
http://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/ar.html
http://www.bbc.co.uk/news/world-latin-america-12284208
http://www.time.com/time/world/article/0,8599,1666879,00.html



+++

ไม่เอาเขื่อน
โดย สมิงสามผลัด คอลัมน์ เหล็กใน
ในข่าวสดรายวัน หน้า 6 วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 21 ฉบับที่ 7566


มาเป็นประจำพร้อมๆ น้ำท่วม คือปลุกผีเขื่อนแก่งเสือเต้น

มีความพยายามมาตลอด ผลักดันสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นในอ.สอง จ.แพร่ มูลค่า 1.2 หมื่นล้านบาทให้ได้

อ้างว่าเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากใน 6 จังหวัดลุ่มน้ำยม (แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก และสุโขทัย)

เพราะแม่น้ำไม่มีเขื่อนขนาดใหญ่เป็นแนวป้องกั้นน้ำท่วม

พยายามบอกว่ามูลค่าความเสียหายจากน้ำท่วมซ้ำซากที่ผ่านมาหลายปี

มากกว่ามูลค่าการก่อสร้างเขื่อนเสียอีก !?

และเขื่อนแก่งเสือเต้นนอกจากเป็นปราการใหญ่กั้นน้ำแล้ว ยังเป็นอ่างยักษ์กักเก็บน้ำไว้ใช้ในยามแล้งได้อีก


ถ้าจะว่ากันตามทฤษฎีแล้วก็ใช่

แต่ในความเป็นจริง โครงการเขื่อนแก่งเสือเต้นถูกคัดค้านมาตลอด 30 ปี

เพราะเหตุผลสำคัญที่สุดคือทำลายผืนที่ป่ามากถึง 6 หมื่นล้านไร่

เป็นป่าสักทองผืนสุดท้ายของประเทศกว่า 2.4 หมื่นล้านไร่

มูลค่าความสูญเสียมหาศาล

การทำลายระบบนิเวศ-ทรัพยากรธรรมชาติก็ยิ่งประเมินไม่ได้เลย !!

ล่าสุดเครือข่ายลุ่มน้ำยมยื่นหนังสือถึงนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขอให้แก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งลุ่มน้ำยม โดยไม่ต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น

ขอให้ทบทวนแผนการจัดการน้ำ 25 ลุ่มน้ำ

มีทั้งฟื้นฟูป่าต้นน้ำให้เป็นวาระแห่งชาติ, จัดการน้ำชุมชน, กักเก็บน้ำตามลำน้ำสาขา, ขุดลอกตะกอนแม่น้ำ, ฟื้นฟูที่ราบลุ่มแม่น้ำยม, บำรุงระบบชลประทานที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพ, การพัฒนาระบบประปา และสนับสนุนสร้างฝายต้นน้ำ

และถือว่าเป็นเรื่องที่ดีที่นายกฯยิ่งลักษณ์ประกาศไม่เอาเขื่อนเสือเต้น

แต่จะทบทวนแผนจัดการน้ำ 25 ลุ่มน้ำแทน

โดยให้ทำเวิร์กช็อปแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างบูรณาการ



เมื่อย้อนกลับไปช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

ชาวบ้านและเอ็นจีโอก็เคยเสนอเรื่องนี้ต่อรัฐบาลยุคก่อนหน้านี้

แต่ไม่มีการตอบสนอง !

จะเห็นได้ว่าการแก้ปัญหาน้ำท่วมในยุคนั้น จึงทำกันแบบ"เฉพาะหน้า"

น้ำท่วมทีก็ไปลุยน้ำเยี่ยมชาวบ้านที

น้ำท่วมทีก็จ่ายเงินชดเชยที

ทุกวันนี้บางหมู่บ้านก็ยังได้เงินชดเชยไม่ครบเลย

ไม่แก้ปัญหาแบบถาวร

ไม่สนใจแผนการจัดการน้ำ 25 ลุ่มน้ำ

เพียงเพราะยุคพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เคยศึกษาแผนนี้ไว้แล้ว

เพียงเพราะกลัวที่จะลอกเลียนนโยบายทักษิณเท่านั้น !?



.