ข้อเสนอจาก "สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล-ชาญวิทย์ เกษตรศิริ" หลังเกิดกระแส "ฝ่ามืออากง" ใน FB
เรียบเรียงจาก มติชน ออนไลน์ วันเสาร์ที่ 03 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เวลา 21:00:00 น.
(ที่มา เฟซบุ๊กส่วนตัว) สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
* * * * * * * * * * * * *
รณรงค์ เรื่องอากง ต่อไป ขยายให้มากขึ้นอีก รณรงค์ เรื่องคุณสมยศ (พฤกษาเกษมสุข - มติชนออนไลน์) สุรชัย (แซ่ด่าน - มติชนออนไลน์) ฯลฯ และ 112 ด้วย แต่ผมอยากเสนอว่า จากนี้ ต้องหาทางที่ realistic (เป็นจริง) มากที่สุด ในการช่วยคนเหล่านี้ ให้ออกมาได้จริงๆ
เท่าที่ผมคิดออก รูปธรรมที่สุด คือ ผมคิดว่า ต้องเรียกร้องให้ ส.ส.รัฐบาล ผลักดัน กฎหมายนิรโทษกรรม สำหรับผู้ต้องโทษจากความขัดแย้งทางการเมืองหลัง 19 กันยา โดยรวมเอาคนเหล่านี้เข้าไว้ด้วย (และคนระดับล่างของ พันธมิตร) โดยไม่จำเป็นต้องรวมแกนนำ ก็ได้ ไม่ใช่เพราะผมไม่อยากให้รวม แต่ผมเห็นว่า หลายคนยังอยากเห็นการดำเนินคดีกับ ผู้นำของ "อีกฝ่าย" (ไม่ว่า จะรัฐบาล หรือพันธมิตร) ซึ่งถ้ารวมระดับนำของฝ่ายเสื้อแดง เป็นการยาก ที่จะไม่รวมระดับนำของ "อีกฝ่าย" ด้วย อีกอย่าง "อีกฝ่าย" ก็คงไม่ยอมแน่ๆ ในการรวมหมดทั้งระดับนำด้วย
แต่ว่า ผมว่า มีความเป็นไปได้ ที่ในการผลักดันกฎหมาย จะเขียนในลักษณะ ยกเลิกคดี สำหรับคนที่ไม่ใช่ระดับแกนนำทั้งหมด และมีโอกาสที่การเสนอแบบนี้ จะได้รับแรงต้านน้อย หรือไม่มากด้วย จาก "กระแสสังคม"
* * * * * * * * * * * * *
พูดอย่างเป็นรูปธรรม อย่างกรณีอากง ตอนนี้ อากง ตัดสินใจอุทธรณ์ คือเข้าสู่กระบวนการศาลอีกขั้นหนึ่ง ต่อให้ จับพลัดจับผลู อากง ได้ประกัน (เพราะทาง "อีลีต" อาจจะต้องการ "ลดกระแสกดดัน") แต่ว่า ตราบเท่าที่คดีติดอยู่ ยิ่งถ้ายังอยู่ในคุก การเรียกร้อง "ปล่อย อากง" คงทำไม่ได้ คือ จู่ๆ จะมีการปล่อยเฉยๆ หรือ หยุดคดี คงไม่ได้ ยกเว้นเสียแต่จะต้องมีกฎหมายนิรโทษกรรม อย่างที่ว่า
พูดง่ายๆคือ การ "ปล่อย" ที่เป็นไปได้จริงๆ คือ ปล่อย ด้วยกฎหมายนิรโทษกรรม (ถ้ามองโลกในแง่ดี อาจจะบอกว่า ถ้าสมมุติ อากง ได้ประกัน แล้วสู้คดีขั้นอุทธรณ์ แล้วรอ ศาลอุทธรณ์ อาจจะยกฟ้อง ... นี่มองในแง่ดีล้วนๆ แต่ผมก็ว่า ไม่มีหลักประกัน ว่าจะเป็นไปได้ ที่สำคัญ ต่อให้ได้ประกัน คดีก็ยังติดอยู่ คำตัดสิน 20 ปี ก็ยังติดอยู่ สำหรับคนธรรมดาๆ ไมใช่เรื่องสบายอะไร ต่อให้ไม่อยู่ในคุก
อันนี้ ความจริง รวมถึงคดีเสื้อแดงอื่นๆ พวกที่โดนตัดสิน 30 ปีไปแล้ว เป็นต้น
* * * * * * * * * * * * *
ขออนุญาติ ตั้งเป็นกระทู้ใหม่ชัดๆ
เพื่อเรียนปรึกษา อ.Pavin Chachavalpongpun (ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์) ผู้ริเริ่ม "ฝ่ามือ อากง", คุณแขก คำ ผกา ผู้ทุ่มเทกับการรณรงค์มากกว่าใครๆ, บรรดาท่าน อาจารย์กฎหมาย นิติราษฎร์ ธีระ สุธีวรางกูร Piyabutr Saengkanokkul (ปิยบุตร แสงกนกกุล) Phuttipong Ponganekgul (พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล) คุณทนาย อานนท์ นำภา ประเวศ ประภานุกูล
และท่านอื่นๆทุกท่าน
ผมว่า เราควรต้องซีเรียส หามาตรการที่ realistic (เป็นจริงได้) ในการปล่อยอากง (หรือทำให้อากง หลุดคดี ต่อให้ได้ประกัน) รวมทั้งคนอื่นๆ เช่น คดีเผาจวน ฯลฯ
ผมจึงเสนอเรื่อง น่าจะพยายาม "พ่วง" ข้อเรียกร้อง เรื่องให้ ส.ส.รัฐบาล ผลักดัน กม.นิรโทษกรรม ให้คนที่ต้องหาคดีอันเนื่องมาจากความขัดแย้งการเมือง หลังรัฐประหาร 19 กันยา ทั้งหมด (โดยต้องแยก กับกรณีคุณทักษิณ และแกนนำ ทั้ง 2 ฝ่าย มิเช่นนั้น โอกาสจะเป็นไปได้ จะยิ่งน้อยลง เพราะจะมีการต่อต้านมากขึ้น สู้กันไม่รู้จบ)
อยากเรียน ให้ทุกท่าน ได้โปรดช่วยกันพิจารณา
ผมนึกวิธีที่ realistic กว่านี้ไม่ออก - ยินดีรับฟังความเห็น หรือข้อเสนอ ว่า ท่านอื่นมีข้อเสนออะไรไหม แต่จุดสำคัญที่อยากย้ำ คือ เรื่อง realistic ที่ จะทำให้ปล่อย อากง และคนอื่นๆ ออกมาได้จริงๆ
ด้วยความนับถือ
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
* * * * * * * * * * * * *
_ _ _ _ _ _ _
ผมเห็นด้วยในแง่ที่ว่า การรณรงค์ทาง fb การชุมนุม "เชิงสัญลักษณ์" (ที่เรียกกันว่า "จัดอีเว้นต์" อะไรแบบนั้น) เขียนชื่ออากง ฯลฯ
มีข้อจำกัด
คืออาจจะ "ฮือฮา" กันอยู่สักระยะ (อาจจะเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน)
แต่ถ้าลำพังการเคลื่อนไหวแบบนี้ โดยตัวเอง ยากจะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลง ที่เป็นจริงได้
ผมเน้นคำว่า "ลำพัง..." เพราะผมมองว่า จะว่าการเคลื่อนไหวในลักษณะนี้ "ไม่ได้ประโยชน์อะไร" ล้วนๆ ผมว่า ไม่ใช่นะ มันมีประโยชน์อยู่จริง ในแง่ของการทำให้คนที่ไม่มาสนใจ มาสนใจ หรือทำให้เป็นการแสดงความเห็น ความรู้สึกของคนจำนวนมาก ให้สื่อ ให้บรรดาคนในระดับการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ผลักดัน (เช่น พวก นปช. อย่างนี้แหละ) อะไรแบบนี้ มองเห็น ...
ครับใช่ แต่ถ้าลำพังแค่นี้ เท่านั้น โอกาสที่มัน จะ frizzle out (แตกกระสานกันไป) หลังจากระยะหนึ่ง โดยไม่เกิดอะไรขึ้นตามมา (ยกเว้นที่บรรยายในย่อหน้าที่แล้ว ที่อาจจะเรียกว่าทำให้ เกิด awareness (การรับรู้ - มติชนออนไลน์) ในระดับหนึ่ง)
อย่างกรณี อากง ผมจึงเสนอว่า ต้อง "พ่วง" หรือพูดให้ถูก คือ เสนอ มาตรการอะไรที่จะมีผลในเชิง realistic ด้วย
ซึ่งสำหรับโทษทีตัดสินแล้ว อย่าง อากง หรือ เผาจวน นั้น มีทางทำให้หลุดได้เพียง 2 ทางเท่านั้น ในทางกฎหมาย คือ อภัยโทษ (ซึ่งต้อง "ยอมรับสารภาพ" และขออภัยโทษ และต้องมีประวัติ มีความผิดตัดตัว ซึ่งโดยรวมแล้ว ไม่ดี) กับ นิรโทษกรรม
ผมจึงเสนอว่า บรรดาท่านผู้ร่วมรณรงค์ครั้งนี้ ควรต้องช่วยกันผลักดันเสนอ รบ. สส. ให้ออกนิรโทษกรรม กรณีอากง กรณีเผาจวน และอื่นๆ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ภาพของหนึ่งในผู้เข้าร่วมโครงการรณรงค์ "ฝ่ามืออากง"
(ที่มา เฟซบุ๊กส่วนตัว) ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
_ _ _ _ _ _ _
ถ้าท่านไม่เป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหา ท่านก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญหา
ถ้าท่านต้องการรักษา สถาบันฯ และสันติสุข
เพื่อชาติ และราษฎรไทย
ท่านต้องปฏิรูป กม. หมิ่นฯ ม. 112
(ปล่อยอากง ปล่อยอากง ปล่อยอากง)
คำว่า "การเมือง" เป็นคำที่ถูกใช้บ่อยที่สุด คำหนึ่ง
และเป็นคำที่ถูกตีความต่างๆนานา
ไม่ว่าจะในทางดีหรือเลว
ถ้าเราจะลองเปิดพจนานุกรมดู
เราจะพบว่า "การเมือง" มีความหมายหลายอย่าง
คือ ทั้งความหมายอย่างแคบ
และความหมายอย่างกว้าง
ความหมายอย่างแคบก็มี
เช่น การเมืองหมายถึง
"ศาสตร์หรือศิลปะในการปกครอง"
หรือหมายถึง "ศาสตร์และศิลปะ เกี่ยวกับการนำทาง หรือสร้างอิทธิพล ต่อนโยบายการปกครอง"
หรือหมายถึง "ศาสตร์และศิลปะ เกี่ยวกับการเอาชัยชนะ และมีอำนาจเหนือ ในการปกครอง"
ดังนั้น ในความหมายแคบๆ
"การเมือง" อาจจะดูได้ว่าเป็นกิจกรรมของบรรดานักการเมืองทั้งหลาย
และเป็นกิจกรรมในระดับสูง
เป็นเรื่องของการแย่งอำนาจกันในการปกครอง
และก็บ่อยครั้งทีเดียว ที่ความหมายนี้
ถูกมองไปในแง่ของความเลว
ในแง่ของการแก่งแย่งอำนาจ
หรือความทะเยอทะยาน มักใหญ่ใฝ่สูง
ในเรื่องของคนอยากจะเป็นรัฐบาล
หรือ มีอิทธิพลในรัฐบาลระดับสูง
แต่ความหมายของ "การเมือง" มิได้มีอยู่อย่างแคบๆ เท่านั้น
"การเมือง" ยังมีความหมายอย่างกว้างๆ อีกด้วย
และก็เป็นความหมาย ที่ไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในระดับสูงเสมอไป
เป็นเรื่องของระดับต่ำ และของสามัญชนด้วย
"การเมือง" ไม่ใช่เรื่องของการผูกขาด
ในความหมายอย่างกว้างๆ พจนานุกรม
จะให้ความหมายว่า "การเมือง เป็นเรื่องของมนุษย์ต่างๆในสังคม"
ซึ่งก็หมายถึงพฤติกรรมทั้งหมด
ของความสัมพันธ์ ทุกๆด้าน ของมนุษย์ที่อยู่ในสังคม
(ไม่มีมนุษย์ใด อยู่นอกสังคมได้เลย)
ดังนั้น การที่แม่ค้าพ่อค้าหาบเร่ ต่อรองเพื่อขายของบนทางเท้า
ก็เป็นเรื่องการเมือง
และในทางกลับกัน การที่เทศบาล พยายามไม่ให้มาขายบนทางเท้า
ก็เรื่องการเมืองด้วย
หรือการที่นายจ้าง จัดการโรงงานของตน ให้ลูกจ้างมีค่าจ้างชั่วโมงทำงานในอัตราหนึ่ง
เป็นเรื่องการเมือง
ซึ่งในทางกลับกัน ลูกจ้างต้องการอีกแบบหนึ่ง
ก็เป็นการเมืองอีก นั่นแหละ
ทั้งนี้เพราะ ทั้งหมดเป็นความสัมพันธ์ของมนุษย์ต่างๆ ในสังคม
ในโลกของเรา หรือในประเทศของเรา
เป็นโลกของปัญหา
ไม่มีที่ไหน ไม่ว่าในเวลาใด ที่จะไม่มีปัญหา
จะแตกต่างกันก็แต่ว่า จะมีปัญหามาก หรือน้อยเท่านั้น
ในเมื่อมีปัญหาอยู่ในโลกเป็นประจำ
ก็จะต้องมีการแก้ปัญหาอยู่เป็นเปลาะๆ ไป เป็นประจำ อีกเช่นกัน
ฉะนั้น ความพยายามแก้ปัญหา ก็เป็นการเมืองอย่างหนึ่ง
และการอยู่นิ่งเฉย โดยไม่ยอมแก้ปัญหา ก็เป็นการเมืองอีกอย่างหนึ่งด้วย
มีคำพูดของนักปราชญ์ที่ว่า
"คนที่ว่าตนเองไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง
ก็เป็นการเมืองตั้งแต่เริ่มพูด เสียแล้ว"
ทั้งนี้เพราะ คนที่ไม่ยอมเกี่ยวข้องแก้ไขปัญหา
ก็กลับกลายเป็นคนที่ดึงให้ทุกอย่างอยู่กับที่
ก็เลยกลายเป็นตัวปัญหาไปเองโดยไม่รู้ตัว
หรือจะพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ
"ถ้าท่านไม่เป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหา ท่านก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญหานั่นเอง"
(ประชาชาติ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๑๗)
If you are not part of the solution, you are part of the problem
(Eldridge Cleaver ? or Charles Rosner ? 1968)
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * ** * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
มีลิ้งค์ย่อยของข่าวสารและหลายบทความ ใน
www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1322831254&grpid=&catid=02&subcatid=0202
.