http://BotKwamDee.blogspot.com...webblog เปิดเผยความจริงและกระแสสำนึกหลากหลาย เพื่อเป็นอาหารสมอง, แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมการวิเคราะห์ความจริง, สะท้อนการเรียกร้องความยุติธรรมที่เปิดเผยแบบนิติธรรม, สื่อปฏิบัติการเสริมพลังเศรษฐกิจที่กระจายความเติบโตก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศสู่ประชาชนพื้นฐาน, ส่งเสริมการตรวจสอบและผลักดันนโยบายสาธารณะของประชาชน-เยาวชนในทุกระดับของกลไกพรรคการเมือง, พัฒนาอำนาจต่อรองทางประชาธิปไตย โดยเฉพาะการปกครองท้องถิ่นและยกระดับองค์กรตรวจสอบกลไกรัฐของภาคสาธารณะที่ต่อเนื่องของประชาชาติไทย

2554-12-31

'คอป.' เสนอแก้ 'ม.112' หนักสุดคุกไม่เกิน7ปี, 6กลุ่ม นศ.ประณามเครือ ผจก.กรณีข่าว'ก้านธูป'

.
โพสต์เพิ่ม บันทึกการวางอำนาจของคนบาปที่ไล่ 'ล่าแม่มด ' - ลือ! ก้านธูป ณัฐกานต์ ..ได้ทุนไปเรียนนอก

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * ** * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

'คอป.' เสนอรัฐสภาแก้ 'ม.112' หนักสุดคุกไม่เกิน 7 ปี
ใน www.prachatai.com/journal/2011/12/38535 . . Fri, 2011-12-30 17:49


'คอป.' เสนอแก้ ม.112 เสนอต่อรัฐสภา โทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 14,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ การสอบสวนดำเนินคดีจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอำนาจจากเลขาธิการพระราชวัง ด้านประธานศาล รธน.ค้านแก้

30 ธ.ค. 54 - เว็บไซต์คมชัดลึก รายงานว่า นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ(คอป.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 29 ธ.ค.ที่ผ่านมา คอป.ได้ประชุมหารือร่วมกันเพื่อกำหนดทิศทางการทำงานในปี 2555 โดยคณะกรรมการเห็นตรงกันที่จะเน้นการทำงานในด้านการออกเดินสายรับฟังข้อมูลจากทุกภาคส่วนในสังคม เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับมาสังเคราะห์ เพื่อแก้ไขปัญหาให้บ้านเมืองเกิดความสงบ นอกจากนี้ในวันที่ 15-17 ก.พ.55 นายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ(ยูเอ็น) จะเดินทางมายังประเทศไทย เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้สังคมไทยรับรู้ว่าการแก้ปัญหาในประเทศแอฟริกาใต้ที่เคยทำได้สำเร็จนั้น ทำอย่างไร แม้ว่านายโคฟีจะเคยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับ คอป.แล้ว แต่เพื่อให้สังคมได้รับทราบนายโคฟีจึงต้องการเผยแพร่ความคิดเห็นในวงกว้างให้สาธารณะและคนไทยได้รับทราบอย่างทั่วถึง

นายคณิต กล่าวอีกว่า ล่าสุดคอป.ได้ทำหนังสือด่วนที่สุดลงวันที่ 30 ธ.ค. 54 เรื่องข้อเสนอแนะของ คอป.เกี่ยวกับความผิดที่ต้องให้อำนาจหรือการดำเนินคดีมาตรา 112 ซึ่งสังคมมีความสับสนมาก ฝ่ายหนึ่งได้ใช้ความผิดฐานดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการดำเนินการทางการเมืองของตน อ้างว่าเพื่อเป็นการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์โดยเรียกร้องให้ดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหา ม.112 อย่างเคร่งครัด ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าเป็นเรื่องของการใช้เสรีภาพในทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งหากกระทำเป็นความผิดอาญาย่อมขัดต่อเสรีภาพในการแสดงความเห็นจึงเสนอให้ยกเลิก ม.112

ทั้งนี้คอป.ได้รับแต่งตั้งโดยฝ่ายการเมืองและดำรงอยู่โดยฝ่ายการเมืองหรือได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลก่อนและดำรงอยู่ได้เพราะได้รับการยอมรับจากรัฐบาลปัจจุบัน ที่ผ่านมาคอป.ทำงานอยู่บนพื้นฐานความรับผิดชอบต่อรัฐ และประชาชน ข้อเสนอแนะจึงเป็นการเสนอต่อทุกภาคส่วนของสังคม โดยตระหนักดีว่าสังคมปัจจุบันไม่ว่าความสงบจะเกิดขึ้นในประเทศใดก็ย่อมกระทบกับสังคมนานาประเทศด้วย


นายคณิต ระบุในหนังสือคอป.ด้วยว่า ในส่วนของความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้น คอป.ได้ทำการศึกษาในแง่มุมของกฎหมายควบคู่ไปด้วย เพราะประโยชน์ในการแก้ไขปรับปรุงตัวบทกฎหมาย เพื่อให้เกิดความปรองดองต่อคนในชาติ โดยได้ทำการศึกษาถึงพื้นฐานความแตกต่างในสังคมประชาธิปไตยในต่างประเทศกับในสังคมไทย พบว่าในประเทศประชาธิปไตยคนในกระบวนการยุติธรรมจะมีความเป็นเสรีนิยมสูง แต่คนในกระบวนการยุติธรรมของไทยมีความเป็นอำนาจนิยมสูง

ในส่วนของพรรคการเมืองประเทศประชาธิปไตยอื่นๆ พรรคการเมืองจะมีหน่วยที่ปรึกษาด้านกฎหมาย และเศรษฐกิจทำงานอย่างต่อเนื่องจนเป็นสถาบันควบคู่กับพรรคการเมือง เพื่อศึกษาและแก้ปัญหาของชาติโดยใช้กฎหมาย แต่ในประเทศไทยพรรคการเมืองยังไม่พัฒนาไปถึงสถาบันทางการเมือง มีลักษณะเป็นพรรคเฉพาะกิจ หน่วยที่ปรึกษากฎหมายจึงมีฐานะเฉพาะกิจตามไปด้วย ความแตกต่างด้วยพื้นฐานจึงส่งผลถึงการแก้ปัญหาของประเทศที่แตกต่างกันไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรัฐประสบปัญหาทางการเมือง ที่ต้องแก้ปัญหาความรุนแรงในทางการเมือง

คอป. ได้ศึกษาเหตุการณ์ในอดีตจากกลุ่มกองทัพแดงในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นกลุ่มที่นิยมคอมมิวนิสต์และนิยมความรุนแรงในรัฐบาล ซึ่งหัวหน้ากลุ่มกองทัพแดงถูกดำเนินคดี เนื่องจากกระบวนการยุติธรรมของญี่ปุ่นมีประสิทธิภาพสูงหรือกรณีกองทัพแดงในเยอรมันที่ใช้ความรุนแรงล้มล้างรัฐบาลในลักษณะอาชญากรก่อการร้าย ซึ่งนำไปสู่การแก้กฎหมายของเยอรมันในเวลาต่อมา ครั้งนี้การที่ คอป.หยิบยกเหตุการณ์ที่แสดงถึงบทบาทของฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติของประเทศต่างๆ ขึ้นมา เพื่อชี้ให้เห็นว่าในระบอบประชาธิปไตยย่อมมีทางแก้ปัญหาในระบบในทางการเมืองอย่างมีหลักการหลักเกณฑ์ได้เสมอ เพียงแต่นักการเมืองของประเทศต้องมีเจตจำนงในการเมืองที่ถูกต้องและจริงจังเท่านั้น ในประเทศไทยทุกฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตยมาตลอด ประชาชนก็เบื่อหน่ายการยึดอำนาจของทหาร ครั้งหลังสุดกลุ่มนิติราษฎร์ได้เสนอให้ประกาศให้การกระทำบางอย่างอันเกี่ยวกับการยึดอำนาจให้เป็นโมฆะ ซึ่งถือเป็นการตื่นตัวที่ดีมาก


นายคณิต ระบุด้วยว่า เกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่กำลังเป็นที่โต้เถียงและขัดแย้งกันมา คอป.เห็นว่าการจะยกเลิก ม.112 เสียเลยน่าจะยังไม่เหมาะสมกับสภาพสังคมไทย แต่การที่จะคงสภาพเป็นความผิดอาญาในลักษณะปัจจุบันโดยไม่มีทางออกใดๆ ในการดำเนินคดีกับผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดก็ไม่ถูกต้องเช่นกัน เพราะยังมีการใช้ความผิดฐานนี้เป็นเครื่องมือทางการเมือง จากการศึกษาของ คอป.พบว่าความผิดฐานนี้มีช่องทางในทางกฎหมายที่จะสร้างความสมดุลได้ เช่น ในเยอรมันมีการบัญญัติความผิดอาญาบางฐานที่ไม่ร้ายแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นความผิดที่ผู้เสียหายเป็นบุคคลสาธารณะ ซึ่งอาจแปลเป็นภาษาไทยได้ว่าเป็นความผิดที่ต้องให้อำนาจกล่าวคือ แม้การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาจะเป็นความผิดอาญาแต่การดำเนินคดีขึ้นอยู่กับความสมัครใจของผู้เสียหายเป็นสำคัญ เช่นการดูหมิ่นประธานาธิบดี การสอบสวนจะเริ่มได้ต่อเมื่อประธานาธิบดีให้อำนาจดำเนินการเท่านั้น

นโยบายทางอาญาในระบบกฎหมายเยอรมันแสดงให้เห็นว่าประเทศที่เป็นประชาธิปไตย นโยบายทางอาญาก็ต้องเป็นนโยบายที่ส่งเสริมการฝึกและพัฒนาคน นักการเมืองก็ต้องฝึกและพัฒนาในด้านจิตสำนึกความเป็นประชาธิปไตย ในเมืองไทยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) ได้กล่าวไว้ว่า กฎหมายมีสองแบบ ถ้าเน้นอำนาจก็เป็นกฎหมายที่เด่นในด้านกำจัดคนชั่ว แต่ถ้าเป็นกฎหมายที่เน้นการศึกษาซึ่งมุ่งสร้างคนดีจะมีลักษณะในการจัดสรรโอกาส ในทางปกครองและกฎหมายจะต้องทำหน้าที่สองด้านคือ ส่งเสริมคนดีและกำราบคนร้าย แต่คอป.เห็นว่ากฎหมายของไทยเน้นที่การบังคับด้านเดียว ส่วนมากจะจบลงด้วยบทกำหนดโทษ นโยบายทางอาญาของไทยทำให้เกิดสภาพกฎหมายอาญาเฟ้อ รัฐควรวางเป็นนโยบายเพื่อให้กฎหมายและระบบกฎหมายเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องและดีขึ้น

สำหรับการแก้ปัญหาของชาติโดยเฉพาะการสร้างความปรองดอง คอป.เห็นว่านอกจากฝ่ายกระบวนการยุติธรรมแล้ว ฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติควรพิจารณาร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยคอป.ขอยื่นข้อเสนอแนะดังนี้

1.ควรตรากฎหมายกำหนดให้ความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นความผิดที่ต้องให้อำนาจ โดยถือว่าการตรากฎหมายดังกล่าวมีความสำคัญและเร่งด่วน

2.ความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เป็นความผิดที่คุ้มครองความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร อันเป็นคุณธรรมทางกฎหมายที่เป็นส่วนรวม เป็นเรื่องของสถาบันหาใช่เรื่องส่วนพระองค์ไม่ ดังนั้น การจะให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้มอบอำนาจให้ดำเนินคดีย่อมเป็นการไม่เหมาะสมและขัดต่อจารีตประเพณีของบ้านเมืองที่ต้องเทิดทูนสถาบัน เลขาธิการพระราชวังเป็นข้าราชการพลเรือนในประองค์ที่ได้รับการแต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัยจึงอาจกำหนดให้เลขาธิการพระราชวังเป็นผู้ให้อำนาจดำเนินคดี

3.ในส่วนของระวางโทษตาม ม.112 ควรมีความเป็นเสรีนิยมมากกว่าในปัจจุบันหรือโทษควรเบาลง อย่างน้อยควรกลับไปนำโทษที่เคยกำหนดไว้เดิมมาใช้

4. คอป.เสนอให้แก้กฎหมายอาญา ม.112 เสนอต่อรัฐสภา ดังนี้ ใครหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทหรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 14,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ความผิดตามวรรค 1 เป็นความผิดที่ต้องให้อำนาจการสอบสวนดำเนินคดีจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอำนาจจากเลขาธิการพระราชวัง

5. ความผิดตาม ม.112 และ ม.133 เป็นเรื่องที่ยึดโยงกันเมื่อแก้ ม.112 ก็ต้องแก้ ม.133 ในคราวเดียวกัน โดยให้บัญญัติว่าผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาต มาดร้ายต่อราชาธิบดี ราชินี ราชสามี รัชทายาท หรือประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

นายคณิต ระบุท้ายข้อเสนอว่า คอป.ทำงานตั้งอยู่บนพื้นฐานความรับผิดชอบต่อประชาชน ข้อเสนอแนะของคอป.ข้างต้นถือเป็นข้อเสนอแนะของทุกฝ่ายต่อรัฐสภาและประชาชนด้วย ในส่วนของรับสภานั้นคอป.เห็นว่าเหมาะสมที่จะผลักดันกฎหมายดังกล่าวและประชาชนเองก็ควรที่จะผลักดันให้กฎหมายดังกล่าวเกิดขึ้นด้วย เพื่อช่วยกันสร้างสันติและความปรองดองของคนในชาติ โดยคอป. ได้ส่งเอกสารแนบท้ายข้อเสนอแนะประกอบด้วยหนังสือรวมบทความการก่อการร้ายกับการมอบอำนาจให้ดำเนินคดี หนังสือนิติศาสตร์แนวพุทธของ ป.อ.ปยุตโต เอกสารเกี่ยวกับกลุ่มก่อการร้ายญี่ปุ่นและเอกสารเกี่ยวกับกลุ่มก่อการร้ายในเยอรมัน



ประธานศาล รธน.ค้านแก้ '112' ย้อนถาม 'คุ้มครองเฉพาะประมุข ตปท.เหรอ'?

ด้านกรุงเทพธุรกิจออนไลน์รายงานว่า นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ แสดงความคิดเห็น กรณีที่มีข้อเสนอให้ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เกี่ยวกับเรื่องหมิ่นสถาบัน ว่า ไม่เห็นด้วย ในประมวลกฎหมายอาญามีหมวดความผิดต่อสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ อยู่ในมาตรา 130-135 ที่บัญญัติในลักษณะเป็นการคุ้มครองประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ หรือผู้แทนรัฐต่างประเทศ ว่าใครจะดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายมิได้ มีทั้งโทษจำคุกและปรับ

ดังนั้น ถ้ายกเลิกป.วิอาญามาตรา 112 ถามว่า เราจะคุ้มครองแต่ประมุขรัฐต่างประเทศเท่านั้นใช่หรือไม่ จะไม่คุ้มครองประมุขรัฐไทยใช่หรือไม่ ซึ่งตนเห็นเหมือนกับนักกฎหมายหลายคนที่แสดงความเห็นก่อนหน้านี้ว่า คนที่คิดจะเลิกมาตรา 112 เขาต้องการที่จะหมิ่นสถาบัน โดยไม่ผิดกฎหมายใช่หรือไม่ กฎหมายอยู่ดี ๆ ถ้าเขาไม่ไปหมิ่นก็ไม่มีใครเดือดร้อน

ถ้าจะยกเลิกมาตรา 112 มันก็ต้องยกเลิกรัฐธรรมนูญมาตรา 8 ที่บัญญัติว่า องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้ด้วย และถ้าเราทำจริง ประเทศไทยก็จะเป็นประเทศแรกที่ยกย่องประมุขต่างประเทศ ยิ่งกว่าประมุขของเราเอง แล้วก็จะได้ลงบันทึกกินเนสส์บุ๊คเลย” นายวสันต์ กล่าว



++

6 กลุ่มนักศึกษาประณามเครือผู้จัดการ กรณีข่าว 'ก้านธูป'
ใน www.prachatai.com/journal/2011/12/38538 . . Sat, 2011-12-31 02:46

นักศึกษา 6 กลุ่มนำโดย สนนท. ออกแถลงการณ์ประณามเครือผู้จัดการ กรณีเสนอข่าวละเมิดสิทธิ "ก้านธูป" พร้อมเรียกร้องให้สมาคมนักข่าว-กรรมการสิทธิ์ออกมาทำงาน

หมายเหตุ: เมื่อวานนี้ (30 ธ.ค.) องค์กรนักศึกษา 6 กลุ่ม ได้แก่ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย กลุ่มประชาคมจุฬาเพื่อประชาชน กลุ่มประชาคมศิลปากรเพื่อประชาชน กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย กลุ่มประชาคมมหิดลเสรีเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มเสรีเกษตรศาสตร์ ได้เผยแพร่แถลงการณ์กรณีเว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์ นำเสนอข่าว “ธรรมศาสตร์ในวันที่อ้าแขนรับ “ก้านธูป”” มีรายละเอียดดังนี้



จากกรณีที่เว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์หรือ ASTV ได้นำเสนอข่าวในวันที่ 26ธันวาคม 2554 เวลา 16:46 น. โดยใช้หัวเรื่องว่า “ธรรมศาสตร์ในวันที่อ้าแขนรับ “ก้านธูป”” ซึ่งเนื้อหามีการเขียนถ้อยคำโจมตีตัวบุคคลอย่างรุนแรง นำเสนอข้อความอย่างเป็นเท็จ และยังเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลผู้อื่นอย่างร้ายแรง โดยไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ต่อสาธารณะ และยังเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล ตามรัฐธรรมนูญในมาตราที่ 35 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจนความเป็นอยู่ส่วนตัวย่อมได้รับความคุ้มครอง การกล่าวหรือไขข่าวแพร่ หลายซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชน อันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวจะกระทำมิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากการแสวงประโยชน์โดยมิชอบจากข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

เราเห็นว่าบทบาทของผู้จัดการออนไลน์ในฐานะสื่อมวลชนควรนำเสนอข้อมูลอย่างตรงไปตรงมาไม่บิดเบือนและสร้างข้อมูลที่เป็นเท็จอันนำไปสู่ความแตกแยกของประชาชน การนำข้อมูลมาบิดเบือน แต่งเติม เพื่อโจมตีตัวบุคคลนั้น เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจและกล่าวได้ว่าไร้จรรยาบรรณของสื่อมวลชนอย่างยิ่ง แม้ว่าสิ่งที่ทางผู้จัดการออนไลน์กล่าวหาจะเป็นความจริงหรือไม่ก็ตาม หรือบุคคลที่ถูกกล่าวหาจะกระทำการดังเช่นว่าจริงหรือไม่ก็ตาม แต่มันก็เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลตามรัฐธรรมนูญ เราขอแสดงจุดยืนในการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลในการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวโดยที่เจ้าตัวไม่ยินยอมของผู้ถูกกล่าวหา และจะไม่ยอมให้ผู้จัดการออนไลน์ในฐานะสื่อมวลชนกระทำการที่เห็นแก่ความสะใจ เพียงอย่างเดียว เหยียบย่ำความเป็นมนุษย์และริดรอนสิทธิเสรีภาพของนักศึกษาประชาชนอย่างเป็นอันขาด

เราขอประณามการกระทำเหล่านี้และเรียกร้องให้ผู้จัดการออนไลน์ในฐานะสื่อมวลชนแสดงความรับผิดชอบต่อการกระทำที่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลนี้ด้วยการนำข่าวดังกล่าวออก และหยุดการเผยแพร่ข่าวดังกล่าว เพื่อไม่ให้เกิดการเข้าใจผิดและนำไปใช้ในการเผยแพร่หรืออันจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลต่อไป และยังเป็นการส่งเสริมการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งไม่ควรจะเกิดขึ้นในสังคมประชาธิปไตย

ทั้งนี้เราขอเรียกร้องไปยังสามองค์กรหลักต่อไปนี้ที่มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าว ไม่ให้นิ่งเฉยต่อการกระทำที่ลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เช่นนี้ ได้แก่

1. สมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ต้องออกมาตรวจสอบจรรยาบรรณของสื่อที่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลโดยการนำข้อมูล ส่วนบุคคลมาเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต อีกทั้งยังนำเสนอข้อมูลอันไม่มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นความจริง และก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลในข่าว

2. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ต้องออกมาปกป้องสิทธิส่วนบุคคลที่มนุษย์ทุกคนพึงมี และตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนว่าด้วยการหมิ่นประมาทและเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต

3. องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต้องออกมาแสดงจุดยืนในการปกป้องนักศึกษาของตนที่ถูกคุกคาม

เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้จัดการออนไลน์ในฐานะสื่อมวลชน จะมีจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม ตระหนักถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มากพอที่จะทำตามข้อเรียกร้องของเรา และเราหวังอย่างยิ่งว่าองค์กรหลักที่เกี่ยวข้องดังที่กล่าวมาข้างต้นจะไม่นิ่งเฉยกับปัญหาเหล่านี้ มิฉะนั้นแล้ว องค์กรเหล่านี้จะมีไว้เพื่ออะไร

ด้วยจิตคารวะ
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
กลุ่มประชาคมจุฬาเพื่อประชาชน
กรุมประชาคมศิลปากรเพื่อประชาชน
กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย
กลุ่มประชาคมมหิดลเสรีเพื่อประชาธิปไตย
กลุ่มเสรีเกษตรศาสตร์



++

ลือ! ก้านธูป ณัฐกานต์ ..ได้ทุนไปเรียนนอก
< เรียบเรียงข้อมูลใหม่ จากกระปุกดอทคอม ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล >


ลือ! ก้านธูป ณัฐกานต์ .. สาวเฟรชชี่เสื้อแดง ได้ทุนไปเรียนนอก หลังสละสิทธิ์ ม.เกษตรฯ และถูกตัดสิทธิ์เรียนที่ ม.ศิลปากร ปมหมิ่นสถาบัน

กลายเป็นข่าวร้อนประเด็นฮอตขึ้นมาทันที เมื่อหนังสือพิมพ์ "เอเอสทีวี-ผู้จัดการ" รายงานข่าวกรณี นางสาวณัฐกานต์ .. หรือ ก้านธูป สอบติดคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร แต่ถูกตัดสิทธิ์ไม่ให้เข้าเรียน เนื่องจากพบว่า ณัฐกานต์ มีประวัติหมิ่นสถาบันเบื้องสูง และเคยขึ้นเวที นปช. ในนามกลุ่ม "สมัชชาแดงก้าวหน้า" โดยมีการเรียกร้องให้เด็กและเยาวชนออกมาร่วมชุมนุมด้วย

เกี่ยวกับเรื่องนี้ รศ.ดร.มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร เปิดเผยว่า ก้านธูป ณัฐกานต์ .. สอบติดคณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร จริง โดยเป็น 1 ใน 200 คนที่ผ่านการคัดเลือกจากผู้สมัครหลายพันคน ที่ได้ศึกษาในโครงการพิเศษ สาขาเอเชียศึกษา

รศ.ดร.มณีปิ่น กล่าวต่อว่า ความจริงแล้ว ก้านธูป ได้รับโอกาสที่ดี เธอสามารถทำข้อสอบได้ สอบสัมภาษณ์ผ่าน จนกระทั่งได้เข้าร่วมเรียนในโครงการพิเศษของ ม.ศิลปากร แต่ขณะเดียวกัน มีผู้ส่งข้อมูล และประวัติของ ก้านธูป เพื่อคัดค้านการรับเธอเข้าศึกษาต่อเป็นจำนวนมาก ซึ่งจากการพิจารณาเอกสารหลักฐาน ก็พบว่า ก้านธูป ขาดคุณสมบัติในข้อที่ว่า นักศึกษาต้องมีความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของประเทศ อันถือเป็นกฎหลักของมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังพบว่า เป็นผู้ที่บุคลิกภาพมีปัญหา หากเข้ามาเรียน อาจเข้ากับเพื่อนไม่ได้ จึงจำเป็นต้องตัดสิทธิ์ ก้านธูป ไม่ให้เข้าเรียน

อย่างไรก็ตาม มีรายงานข่าวว่า ก้านธูป ณัฐกานต์ ..ไปสมัครสอบที่ ม.เกษตรศาสตร์ หลังเธอต้องพลาดหวังจาก ม.ศิลปากร โดยมีการ์ดคนเสื้อแดงกว่า 40 คน ไปให้กำลังใจ ทว่าในวันที่ 25 พ.ค. กลับไม่ปรากฎตัว ก้านธูป มารายงานตัวสอบสัมภาษณ์ที่ ม.เกษตรฯ แต่อย่างใด นั่นหมายความว่า เธอสละสิทธิ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ก็ไม่วายมีข่าวลือออกมาอีกว่า เหตุผลที่ ก้านธูป สละสิทธิ์ เป็นเพราะเธอได้ทุนการศึกษาไปเรียนฟรีถึงเมืองนอก ส่วนได้จากใครอย่างไรนั้นไม่มีการเปิดเผย

ทั้งนี้ จากการสืบประวัติของ ก้านธูป ณัฐกานต์ .. พบว่า เธอคือผู้โพสต์ข้อความ 'หมิ่นฯ' ในเฟซบุ๊กของตัวเอง และในเวบไซต์ใต้ดิน จนถูกกระแส 'ล่าแม่มด'กดดันอย่างหนัก เธอถูกไล่ออกขณะเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี

ต่อจากนั้น ก้านธูป ก็ได้ย้ายมาศึกษาต่อที่โรงเรียนธารปราสาทเพชรวิทยา จ.นครราชสีมา ซึ่งขณะเรียนอยู่ที่นี่เธอมักจะถูกว่ากล่าวตักเตือนเรื่องการสำนึกรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้เธอเปลี่ยนความคิดแต่อย่างใด ทุกคนต่างรู้จักเธอดีในฐานะคนประชาธิปไตยหัวรุนแรง โดย ก้านธูป เคยได้รับรางวัลชนะเลิศ และรางวัลดีเด่น โครงการประกวดเรียงความส่งเสริมประชาธิปไตย หัวข้อ "ประชาธิปไตยสมบูรณ์" ขณะเรียนอยู่ชั้น ม.5 ก่อนจะจบการศึกษาชั้น ม.6 เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

......

ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แสดงความคิดเห็นในกรณีประเด็นร้อนนี้ว่า หากธรรมศาสตร์ไม่รับ ก้านธูป เข้าเรียนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คงไม่แคล้วโดนฟ้อง และแปลกใจที่เขาไม่ฟ้อง ม.ศิลปากร ม.เกษตรศาสตร์



.