http://BotKwamDee.blogspot.com...webblog เปิดเผยความจริงและกระแสสำนึกหลากหลาย เพื่อเป็นอาหารสมอง, แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมการวิเคราะห์ความจริง, สะท้อนการเรียกร้องความยุติธรรมที่เปิดเผยแบบนิติธรรม, สื่อปฏิบัติการเสริมพลังเศรษฐกิจที่กระจายความเติบโตก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศสู่ประชาชนพื้นฐาน, ส่งเสริมการตรวจสอบและผลักดันนโยบายสาธารณะของประชาชน-เยาวชนในทุกระดับของกลไกพรรคการเมือง, พัฒนาอำนาจต่อรองทางประชาธิปไตย โดยเฉพาะการปกครองท้องถิ่นและยกระดับองค์กรตรวจสอบกลไกรัฐของภาคสาธารณะที่ต่อเนื่องของประชาชาติไทย

2555-10-30

ปริญญา: “นักผังเมือง!”ที่กรมทางหลวง

.
บทความเพิ่ม - ฮือฮา “บ้านพื้นที่แคบที่สุดของโลก” ท้าทาย"วิถีอยู่อาศัย“ไม่จำเป็นต้องใหญ่”

___________________________________________________________________________________________________

นักผังเมืองที่กรมทางหลวง
โดย ปริญญา ตรีน้อยใส คอลัมน์ มองบ้านมองเมือง
ในมติชนสุดสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ปีที่ 32 ฉบับที่ 1679 หน้า 37


ในประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมไทยนั้น เจ้าผู้ครองนครจะเป็นผู้กำหนดรูปแบบบ้านเมือง
เริ่มตั้งแต่การเลือกทำเลที่ไม่มีปัญหาน้ำป่าหลากทางภาคเหนือ ที่ไม่มีปัญหาน้ำท่วม (ส่วนที่เป็นชุมชน) ทางภาคกลาง ที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำใหญ่ทางภาคอีสาน หรือที่ใกล้แม่น้ำลำคลองทางภาคกลาง จากนั้นก็จะกำหนดรูปแบบบ้านเมืองตามความเชื่อหรือคติต่างๆ หรือตามยุทธศาสตร์การป้องกันเมือง
อย่างกรุงเทพฯ ของเรา ศ.ม.ร.ว.แน่งน้อย ศักดิ์ศรี สรุปว่า มีลักษณะตรงตามตำราที่เรียกขานว่า นาคนาม คือตั้งตามทำเลที่ดอนตรงคุ้งแม่น้ำเจ้าพระยา ตำแหน่งพระบรมมหาราชวังอยู่ตรงศูนย์กลาง มีพระราชวังและวังอื่นๆ โอบล้อมทางทิศต่างๆ เหมือนกับการตั้งค่ายยามสู้ศึกสงคราม

เชียงใหม่และสุโขทัย มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมเหมือนกัน มีคูน้ำคันดินล้อมรอบเหมือนกัน
เชียงใหม่มีดอยสุเทพ ส่วนสุโขทัยมีเขาประทักษ์อยู่ทางทิศตะวันตกเหมือนกัน ประตูเมืองหลักจะอยู่ฝั่งตรงข้ามคือทางทิศตะวันออกเหมือนกัน
เชียงใหม่มีคลองแม่ข่าและแม่น้ำปิงไหลผ่าน แต่สุโขทัยนั้น มีคลองแม่รำพันและแม่น้ำยม รูปแบบเมืองอื่นๆ อาจไม่เป็นเหลี่ยมชัดเจนเหมือนสองเมืองที่กล่าวมา แต่ก็จะมีโครงร่างใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะเป็น แนวถนนสายหลัก ที่จะตัดผ่าเมืองไปยังศูนย์กลาง คือ วังและวัดหลวง
บริเวณนอกประตูเมืองที่เป็นทางสัญจรหลัก มักจะเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของพ่อค้าต่างถิ่น ที่พัฒนาต่อเนื่อง จนกลายเป็นย่านการค้าในเวลาต่อมา
เมืองเก่าและย่านการค้านอกเมืองที่เกิดขึ้นมาภายหลัง ก็จะกลายเป็นจุดเริ่มต้นเมืองในปัจจุบัน



ครั้นเมื่อจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น กิจการต่างๆ ทั้งอุตสาหกรรม คลังสินค้า สันทนาการและนันทนาการเพิ่มขึ้น จึงมีการวางผังเมืองรวมเพื่อเป็นกรอบสำหรับการจัดการจราจร ระบบสาธารณูปโภค และอื่นๆ โดยกำหนดประเภทการใช้ที่ดินต่างๆ อย่างชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนวุ่นวาย 
อันเป็นที่มาของการกำหนดสีต่างๆ จนมีคนเข้าใจว่า ผังเมืองก็แค่การระบายสีพื้นที่ต่างๆ ให้ดูสวยงามเท่านั้น 

ส่วนการปลูกสร้างอาคาร และการใช้ประโยชน์ที่ดิน ยังทำได้ตามใจปรารถนาของเจ้าของที่ดินและพนักงานท้องถิ่น จึงเป็นที่มาของสภาพบ้านเมืองที่วุ่นวายในทุกวันนี้ ประกอบกับเทศบาลท้องถิ่นมีงบประมาณและพนักงานจำกัด ไม่มีการก่อสร้างถนนใหม่ ไม่มีการจัดการจราจร จึงเป็นที่มาของสภาพบ้านเมืองที่ขัดข้องในทุกวันนี้ 
นอกจากปัญหาความสับสนวุ่นวายภายในเมืองแล้ว การสัญจรผ่านเมืองยังเพิ่มปัญหามากขึ้น
วิศวกรกรมทางหลวงจึงสร้างทางเลี่ยงเมืองหรือถนนวงแหวนอย่างที่เห็นทั่วไป


ในต่างประเทศ การก่อสร้างทางหลวง (แผ่นดิน) Highway หรือ Super Highway ที่เชื่อมต่อเมืองหรือภูมิภาคนั้น มักจะเป็นถนนแนวตรง มีเขตทางกว้าง เพื่อความสะดวกรวดเร็ว และปลอดภัย จึงไม่ให้มีการเชื่อมทาง โดยจะมีแนวรั้วกั้นตลอดเส้นทาง 
ส่วนทางหลวง (ชนบท) หรือ Local Road ที่เป็นทางเชื่อมระหว่างชุมชน จะเป็นการปรับจากทางเกวียนหรือถนนเล็กๆ ที่มีอยู่เดิม จึงยอมให้มีการเชื่อมทางหรือใช้ประโยชน์ตลอดสองฝั่งถนน 

แต่ในประเทศไทย วิศวกรกรทางหลวงคงเป็นคนเดียวกับวิศวกรทางหลวงชนบท จึงมิได้ห้ามเชื่อมทางหลวง อีกทั้งขยันให้ใบอนุญาตเชื่อมทางหลวง ส่งผลให้ทางเลี่ยงเมืองและถนนวงแหวน กลายเป็นพื้นที่ขยายตัวของเมือง ศูนย์การค้า ร้านวัสดุก่อสร้าง ร้านอาหาร โรงแรม โรงพยาบาล และอื่นๆ เกิดขึ้นตามยถากรรม โดยไม่มีกฎระเบียบใดมาควบคุม 
นำไปสู่ความวุ่นวายสับสนเหมือนภายในเมือง นำไปสู่ปัญหาจราจรคับคั่ง จนต้องมีทางเลี่ยงเมือง และถนนวงแหวน ที่สองสามสี่ไปเรื่อยๆ


การวางผังเมืองไม่รู้จบแบบนี้ ดูจะเป็นที่นิยมในบ้านเรา 
กรมทางหลวงก็มีเหตุเปิดโครงการของบประมาณใหม่ 
เอกชนก็มีอิสระที่จะขยายธุรกิจต่างๆ ได้ตามใจชอบ ส่วนประชาชน ต่างนิยมชมชอบถนนกว้างใหญ่ และใช้สอยตามร้านค้าและสถานบริการก็แค่บ่นกล่าวโทษคนอื่นๆ ในขณะที่ บ้านเมืองยังคงวุ่นวาย การจราจรยังคงติดขัดต่อไป
(ฮา)

จนมีคนกล่าวว่า ทุกวันนี้ หาใช่นักผังเมืองกรมโยธาธิการและผังเมืองกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้วางผังเมือง 
แต่เป็นวิศวกรกรมทางหลวงแผ่นดิน กระทรวงคมนาคม (ฮา)



+++

ฮือฮา “บ้านพื้นที่แคบที่สุดของโลก” ท้าทาย"วิถีอยู่อาศัย“ไม่จำเป็นต้องใหญ่”
ในมติชน ออนไลน์ วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เวลา 13:20:05 น.
ชมภาพ ที่ www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1351401742&grpid=&catid=06&subcatid=0600


สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 28 ต.ค.ว่า นายจาคับ แซคเซสนี่ สถาปนิกโปแลนด์ได้เปิดเผย"บ้านแคบที่สุดของโลก"ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงวอร์ซอร์ เมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยบ้านหลังนี้ ซึ่งถุกสร้างบริเวณซอกระหว่างตึก ถูกสร้างเหมือนงานศิลปะ ชั้นล่างประกอบด้วยครัว ห้องน้ำ ห้องอาบน้ำ พื้นที่กินอาหาร และผู้เช่าสามารถเข้าถึงห้องนอนชั้นบนผ่านบันไดเหล็ก โดยนายจาคับ แซคเซสนี่ เผยว่า พื้นที่อาศัยที่แคบๆ  นี้ มีสิ่งพื้นฐานทุกอย่างที่ผู้เช่าต้องการ รวมทั้งครัว ห้องน้ำเล็ก พื้นที่ทำงานเล็ก ซึ่งสามารถเข้าไปได้ผ่านบันไดเหล็ก และว่า ไอเดียนี้ถูกคิดขึ้นเพื่อท้าทายหลักการว่า พื้นที่แคบ ๆ ไม่สามารถสร้างเป็นบ้านได้ และสามารถพิสูจน์ได้ว่า คนเราไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่มากมายในการอยู่อาศัย และเป็นสิ่งคุ้มค่าถ้าจะหาบ้านที่ถูกกว่า และมีพื้นที่เล็ก ๆ

รายงานระบุว่า บ้านดังกล่าวถึงขณะนี้ มีผู้ใช้บริการแล้ว ซึ่งเป็นนักเขียนชาวอิสราเอล ซึ่งเคยมีครอบครัวเป็นชาวยิวที่ถูกขังในค่ายกักกันในโปแลนด์ และบ้านดังกล่าวถูกสร้างในย่านชุมชนยิวใหญ่ที่สุดในยุโรปด้วย





.