http://BotKwamDee.blogspot.com...webblog เปิดเผยความจริงและกระแสสำนึกหลากหลาย เพื่อเป็นอาหารสมอง, แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมการวิเคราะห์ความจริง, สะท้อนการเรียกร้องความยุติธรรมที่เปิดเผยแบบนิติธรรม, สื่อปฏิบัติการเสริมพลังเศรษฐกิจที่กระจายความเติบโตก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศสู่ประชาชนพื้นฐาน, ส่งเสริมการตรวจสอบและผลักดันนโยบายสาธารณะของประชาชน-เยาวชนในทุกระดับของกลไกพรรคการเมือง, พัฒนาอำนาจต่อรองทางประชาธิปไตย โดยเฉพาะการปกครองท้องถิ่นและยกระดับองค์กรตรวจสอบกลไกรัฐของภาคสาธารณะที่ต่อเนื่องของประชาชาติไทย

2555-02-22

..ควรยุติการสาดโคลนใส่กันเสียที, ฝ่าแนว"ปิดล้อม" ผลผลิต"การเมืองแยกขั้ว" โดย แมวน้ำสีคราม, sao..เหลือ..noi

.
เสนอกระทู้ที่ 3 - คนดีของประชาชนนิยมระบอบประชาธิปไตย ส่วนคนดีของอำมาตย์นิยมระบอบอำมาตยาธิปไตย โดย วิทย์ศิลป์
บทความเพิ่ม - สุภาพบุรุษ โดย ฐากูร บุนปาน

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ศาลรัฐธรรมนูญ ใช้วิจารณญาณที่ถูกต้องสมควรแล้วครับ..และทุกฝ่ายควรยุติการสาดโคลนใส่กันเสียที
โดย แมวน้ำสีคราม
กระทู้ในเวบพันทิป www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P11742026/P11742026.html


ผมว่าศาลรัฐธรรมนูญ ใช้วิจารณญาณที่ถูกต้องสมควรแล้วครับ
สำหรับพรก.กู้เงิน 3.5 แสนล้านบาทด้วยมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0
และพรก.โอนหนี้ฯ ด้วยมติ 7 ต่อ 2
เพราะเป็นการใช้ดุลยพินิจ ในเชิง นิติวิธี โดยอาศัยอำนาจเชิงวินิจฉัยตรวจสอบ..ไม่ใช่อำนาจเชิงวางแผนปฏิบัติการ ซึ่งจะเป็นการก้าวล่วงอำนาจของฝ่ายบริหารไป..

แต่ที่ผมประทับใจ ก็คือคำว่า... “ครม.มีความสุจริตใจกับการออกพรก.ทั้ง 2 ฉบับนี้..

จริงๆแล้วผมก็ไม่อยากทับถมใครหรอกน่ะครับ..แต่เมื่อศาลฯตัดสินมาเป็นเช่นนี้ ก็ควรเคารพในดุลยพินิจคำตัดสิน ไม่ควรจะเอามาเป็นเรื่องกระแนะกระแหน หรือเอาไปเป็นประเด็นการเมือง..

ฝ่ายรัฐบาลก็ต้องนำพรก.ทั้ง 2 ผ่านสภาฯในสัปดาห์หน้า ก็ได้แต่หวังว่าคงไม่มีการป่วนสภาฯ เหมือนที่แล้วๆมา..
รัฐบาลก็ต้องเตรียมหาแหล่งเงินกู้ และวางโครงการใช้เงินอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ เพื่อเรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุน และประชาชนคนไทย ขออย่าให้มีข่าวอื้อฉาวเหมือนโครงการไทยเข้มแข็งของรัฐบาลที่แล้ว ..ก็แล้วกัน

ส่วนฝ่ายค้านก็กรุณาทำหน้าที่ตรวจสอบด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่ใช่เอาแต่จ้องจับผิดจนกลายเป็นพวกมือไม่พาย เอาแต่เท้าไปราน้ำ..

ประเทศเราเสียเวลาไปมากแล้วกับเรื่องไร้สาระ..น่าจะถึงเวลาเดินหน้าได้ซักที..

ท่านเห็นเป็นเช่นไร..ส่วนผมขออนุญาตไปฟาดเบียร์เชลยที่พนันกับผมไว้เมื่อคืนนี้ สักครึ่งโหลก่อนน่ะครับ..?

จากคุณ : แมวน้ำสีคราม [FriendFlock]
เขียนเมื่อ : 22 ก.พ. 55 17:43:23 A:180.180.210.104 X:



++

การพบปะ ณ ชั้น 7 ปฏิบัติการฝ่าแนว"ปิดล้อม" ผลผลิต"การเมืองแยกขั้ว"
โดย sao..เหลือ..noi
กระทู้ในเวบพันทิป www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P11741200/P11741200.html


(ที่มา:มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555)
การพบปะ ณ ชั้น 7 ปฏิบัติการฝ่าแนว 'ปิดล้อม' ผลผลิต 'การเมืองแยกขั้ว'


มีคำถามว่า นักธุรกิจ 6-7 คน หวาดเกรงอะไรหรือ

จึงไม่ออกมาชี้แจงการพบปะกับ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ณ The Executive Club ชั้น 7 โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ เมื่อวันที่ 8 ก.พ.

ปล่อยให้ทีมงานสุภาพบุรุษ และ ส.ส. หญิง แห่งพรรคฝ่ายค้าน ละเลงการพบปะ ณ ชั้น 7 ให้เป็น "เรื่องอื่น" ไป

ขณะที่กระแสสองแง่สามง่าม การวิเคราะห์เชิงหยาบโลน ก็สะพัดไปอย่างรวดเร็วและสะใจในหมู่ "คนเกลียดปู"

เป็นการวิเคราะห์วิจารณ์แบบ "มือเปล่า" ไม่ต้องมี "ข้อมูล"ในมือเป็นพื้นฐาน ใช้การชะเง้อชะแง้คาดเดาจากระยะไกลเป็นหลัก


แม้จะมีการเปิดเผยแล้วว่าชั้น 7 ของโรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ เป็นสถานที่โอ่โถงเปิดเผย เป็นสโมสรพบปะของบุคคลระดับบริหาร ที่ตั้งอยู่ในย่านธุรกิจของกรุงเทพฯ
และการพบปะ เป็นการตั้งวงสนทนาระหว่างนักธุรกิจกลุ่มหนึ่งกับนายกฯ ขณะที่โรงแรมกำลังจัดเสวนาเกี่ยวกับเอสเอ็มอี
แต่ก็ยังหยุดจินตนาการอันเสียวซ่านของนักการเมืองบางพรรคไม่ได้
เหตุการณ์ที่โฟร์ซีซั่นส์คืออะไร คำอธิบายของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง และ รมว.คลัง ที่ระบุว่า ตนเองอยู่ที่ชั้น 7 ของโรงแรมดังกล่าว น่าจะเชื่อถือได้มากกว่า

สรุปจากคำให้สัมภาษณ์ของนายกิตติรัตน์ ได้สาระดังนี้

ประการหนึ่ง เป็นการพบปะเพื่อรับฟังข้อคิดเห็นของนักธุรกิจ ที่มีตั้งแต่นายธนาคาร เจ้าของกิจการอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ

ประการหนึ่ง ที่ไม่เข้าพบปะนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล ตามข้อสังเกตของบางฝ่ายที่ยึดมั่นในหลักการว่า นายกฯต้องทำงานที่ทำเนียบรัฐบาลเท่านั้น เพราะนักธุรกิจเหล่านี้ไม่ต้องการเปิดเผยตัวเอง เกรงจะถูกมองว่า มาเอาใจช่วยรัฐบาล ซึ่งอาจทำให้คนที่ไม่ชอบรัฐบาลนี้ พาลไม่ชอบอกชอบใจไปด้วย

ประการหนึ่ง การพบปะให้ข้อคิดเห็นดังกล่าวเป็นเรื่องปกติ และเป็นเรื่องที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ดังที่นายกิตติรัตน์กล่าวย้ำว่า ตนเองรับฟังเสมอ ตั้งแต่ประธานสภาอุตสาหกรรมฯ หรือสภาหอการค้าฯ ไปจนถึงภาคเอกชนอื่นๆ และบุคคลที่มีคุณวุฒิ

ประการหนึ่ง การพบปะที่โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ แทนที่จะเป็นทำเนียบรัฐบาล อีกเหตผลหนึ่ง เพราะไม่อยากพบผู้สื่อข่าว ซึ่งจะต้องถูกซักถามต่อ ยิ่งสังคมมีการต่อสู้เป็นขั้วเป็นฝ่าย คนที่จะให้ความคิดเห็นกับรัฐบาล ต้องระมัดระวังตัวเป็นธรรมดา

และบทสรุปจากนายกิตติรัตน์ คือ วิงวอนภาคเอกชนที่ต้องการให้ความคิดเห็นกับรัฐบาล ต้องให้ต่อไป ไม่ต้องกลัวอะไร

"ใครจะมาตั้งข้อสังเกตว่ามาสนิทกับรัฐบาลเป็นพิเศษ ให้สังคมจับตาดูเอาแล้วกันว่า เขามาแสวงประโยชน์อะไรหรือไม่ " นายกิตติรัตน์กล่าว


ภายใต้สภาพการเมืองที่แตกร้าวอย่างหนักดังที่เห็นกันอยู่ ความหวาดวิตกของนักธุรกิจที่ต้องหลีกเลี่ยงไม่เข้าไปผูกพันเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมือง เป็นเรื่องเข้าใจได้

เข้าใจได้ว่า ความพยายาม "ปิดล้อม"รัฐบาลพรรคเพื่อไทย โดย "คนที่ไม่ชอบรัฐบาล"ยังดำรงอยู่อย่างเข้มข้น

เป็น"อาณาจักรแห่งความหวาดกลัว"ที่ซ้อนอยู่ในรัฐที่พยายามจะเป็นประชาธิปไตย

แม้พรรคเพื่อไทยจะกลายเป็นรัฐบาลไปแล้ว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กลายเป็นนายกรัฐมนตรีไปแล้ว แต่การขยับเข้าใกล้รัฐบาล ยังเป็นเรื่องต้องห้าม เป็นเรื่องคอขาดบาดตาย

แม้รัฐบาลได้ทำงานผ่านมาแล้วกว่า 5 เดือน แต่การสร้างกระแสปฏิเสธความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นเมื่อ 5 เดือนก่อน ก็ยังเดินหน้าต่อไปอย่างคึกคักเข้มแข็ง

ด้วยการโจมตี กล่าวหาและให้ร้าย สร้างภาพให้เป็น "ผู้ร้าย" หรือ "นางร้าย" เป็นพวก "บ้านๆ"ที่ไม่รู้จักอารยธรรม ทำอะไรล้วนเลวไปหมด

แตกต่างราวฟ้ากับดินกับ "พระเอก" ที่ฉลาดล้ำเลิศ สะอาด หล่อเหลา พูดภาษาฝรั่งปร๋อ แม้ไม่ต้องทำอะไร ก็ดีไปหมด

เหตุการณ์ที่ชั้น 7 จึงสะท้อนภาพบิดเบี้ยวอัปลักษณ์ของการเมืองไทยที่แตกร้าวจนเกิน"มาตรฐานสากล"

และฟ้องต่อสังคมไปพร้อมกันว่า "ใคร" ที่ร่วมสร้างความบิดเบี้ยวนี้ขึ้นมาอย่างไม่เคยเหน็ดเหนื่อยท้อถอย

<http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1329883664&grpid=01&catid=&subcatid=>



เห็นบทความนี้ในหน้าฉบับตีพิมพ์แต่เช้า เพิ่งเจอในเว็ปก็ต้องเอามาให้อ่านกัน
ในบอร์ดยังเล่นเรื่องนี้กันไม่จบ พอดีกับที่ "มติชน" ก็ไม่ยอมจบเช่นเดียวกัน
มติชนเขียนบทความเรื่องนี้เกือบทุกวัน แต่ก็ยังเห็นการถามไถ่กันแบบซ้ำแล้วซ้ำอีก
จะให้นายก ฯ ชี้แจงให้ได้ ว่าคุยอะไรกัน
รองนายก ฯ กิติรัตน์ ชี้แจงแล้วก็ดูยังไม่เพียงพอ เขาก็อยู่ในกลุ่มการคุยกันด้วย ...ยังไม่พอ

เหมือนกับเหตุการณ์ที่วัดพระแก้ว ถึงขั้นที่สำนักพระราชวังต้องออกมาแถลง
เหมือนกับการรับพระราชทานเครื่องราช ฯ ของนายก ฯ และคู่สมรส
เหมือนกับการพิมพ์นามบัตรของนายก ฯ ที่มีชื่อ คู่สมรส อยู่ในนามบัตรทางราชการ

ครั้งนี้จัดหนัก เอามายำ อำกันในรายการทีวี ถึงกับยื่นเป็นกระทู้ในสภา ถึงกับจะยื่นถอดถอนกัน

เออ...วะ การเมืองวันนี้ ไร้สาระกันได้ถึงขนาดนี้ ย้อนกลับไปอ่านบทความข้างบนกันอีกรอบ
ทำไมถึงเป็นเช่นนี้ได้ ทำไมถึงไม่ชนะการเลือกตั้งสักที นี่คือคำตอบ

คุณม่วงคัน บอกว่ามีวันแพ้ ก็ต้องมีวันชนะ จัดหนักคราวนี้เป็นไงบ้างคะ
แนวหน้า ...จัดหนัก..ที่สุด
เทียบกับ "มติชน" ที่เป็นสื่อยักษ์ใหญ่ที่คอการเมืองเลือกอ่าน สื่อที่ยืนยงในตลาดหลักทรัพย์ ใครน่าเชื่อถือกว่ากันคะ

จากคุณ : sao..เหลือ..noi [FriendFlock]
เขียนเมื่อ : 22 ก.พ. 55 14:52:16 A:58.8.244.74 X:



+++

คนดีของประชาชนนิยมระบอบประชาธิปไตย ส่วนคนดีของอำมาตย์นิยมระบอบอำมาตยาธิปไตย
โดย วิทย์ศิลป์
กระทู้ในเวบพันทิป www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P11740967/P11740967.html


{กระทู้นี้แตกประเด็นมาจาก P11740462}
" สถานการณ์บ้านเมืองทุกวันนี้
คนดีไม่มีเสียง เพราะคนเลวมันปกครองอยู่ "จากคุณ : มหาบุรุษ
_____________________________________________________________________________________________________________


คนดีของประชาชนนิยมระบอบประชาธิปไตย ส่วนคนดีของอำมาตย์นิยมระบอบอำมาตยาธิปไตย

ในสังคมไทยเราตอนนี้มีคนดีสองกลุ่มคือคนดีของประชาชน กับคนดีของอำมาตย์
คนดีของประชาชนออกมาต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย แต่ถูกคนดีของอำมาตย์ฆ่าตายไปก็มากและถูกขังคุกก็เยอะ

เป็นสังคมของคนดีฆ่าคนดี

สำคัญว่าเป็นคนดีของใคร

คำถามที่ไว้ถามตนเองก็คือเราเป็นคนดีของประชาชนหรือไม่เท่านั้นเอง


จากคุณ : วิทย์ศิลป์
เขียนเมื่อ : 22 ก.พ. 55 14:08:43 A:118.174.92.188 X:



+++

สุภาพบุรุษ
โดย ฐากูร บุนปาน คอลัมน์ สถานีคิดเลขที่ 12
ในมติชน ออนไลน์ วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เวลา 20:00:15 น.


จุดอ่อนที่สุดของรัฐบาลชุดปัจจุบันก็คือพูดไม่เป็น
พูดไม่เป็นในที่นี้ก็คือ เรื่องที่ควรจะพูดจาทำความเข้าใจกับชาวบ้านอย่างง่ายๆ ได้ก็ไม่ทำ
ผ่าไปพูดอะไรที่ไม่เป็นเรื่องเป็นราวแข่งกับพรรคฝ่ายค้านที่พูดเก่งกว่า

อย่างเรื่อง "ชั้น 7 โฟร์ซีซั่นส์" นั้น ถ้านายกรัฐมนตรีจะรักษาจุดยืนเดิมคือไม่พูดจาโต้ตอบทางการเมือง เพื่อรักษาภาพของคนตั้งใจก้มหน้าก้มตาทำงานอยู่ต่อไป
แต่ขณะเดียวกันก็ยืนยันว่าไม่ได้มีเรื่องส่วนตัวหรือผลประโยชน์ทับซ้อนอะไร
ก็ควรจะต้องมีโฆษกรัฐบาลหรือใครก็ตามออกมาอธิบายเรื่องให้เข้าใจอย่างตรงๆ ง่ายๆ

ว่าวันนั้นท่านไปโรงแรมห้าดาวกลางกรุงทำไม พบกับใคร พูดจาหารือกันด้วยเรื่องอะไร
ถ้าไม่ได้มีอะไรประหลาดพิสดาร เรื่องแค่นี้จะยากกับการทำความเข้าใจแค่ไหนนักเชียว


ตัดฉากกลับมาที่พรรคฝ่ายค้านอย่างประชาธิปัตย์ ซึ่งชอบนึกว่าตัวเองพูดเก่งพูดดี
"ชั้น 7 โฟร์ซีซั่นส์" เป็นอีกหนที่ความสับสนระหว่าง "พูดดี" กับ "ดีแต่พูด" ทำร้ายพรรคได้อย่างมหาศาล
เพราะตั้งแต่เนื้อหาของรายการสายล่อฟ้าที่ นายศิริโชค โสภา นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต และ นายเทพไท เสนพงศ์ ร่วมกันจัด ปรากฏต่อสาธารณชน
ยังไม่เห็นสาธุชนและคนปกติที่ไหน (นอกไปจากท่านที่รักกันอย่างไม่ลืมหูลืมตา ไม่ต้องสนใจว่าอะไรคือผิดถูก หรือผิดชอบชั่วดี) แสดงออกว่าเห็นด้วยกับการพูดจาสองแง่สองง่ามส่อไปในทางลามกอนาจารครั้งนี้เลย

ที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้นก็คือการที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ตอบคำถามเรื่องนี้ว่า
ใครทำอะไรก็รับผิดชอบกันไปเองตามกฎหมาย

ฟังเผินๆ นั้นเหมือนพูดจารักษาหลักการเป็นอย่างยิ่ง
แต่ตีความได้อีกอย่างหนึ่งว่า ท่านไม่ได้เห็นขัดแย้งอะไรเลยกับที่ลูกพรรคทั้งสามคนแสดงออก

เพราะ "ถ้าเห็นว่าผิด ก็ไปฟ้องสิ"

ในทางกฎหมายถูกต้องโป๊ะเชะ
แต่ถามว่าแล้วเอาความเป็นสุภาพบุรุษ เอาความเป็นวิญญูชน เอาความเป็นนักการเมืองที่มีคุณภาพไปวางกองเสียที่ตรงไหน
ถ้าไม่มีความเป็นสุภาพบุรุษ ไม่มีความเป็นวิญญูชน ไม่รักษามาตรฐานและคุณภาพการทำงานแล้ว
ชาวบ้านจะพึ่งหรือหวังอะไรจากท่านทั้งหลายได้

หรือจะให้เข้าใจว่า ขนาดเรื่องใหญ่อย่าง 91 ศพ บาดเจ็บพิการ 2,000 คน ท่านยังเฉยๆ ชาๆ ไม่รู้สึกรู้สมอะไร

เพราะฉะนั้นเรื่องอย่าง "ชั้น 7 โฟร์ซีซั่นส์" ก็แค่เศษขี้เล็บขี้ผง

เหมือนภาษาจีนที่ว่า "ผ่านทะเลมาแล้ว เห็นน้ำไร้ความหมาย"

ใหญ่กว่านี้ก็ยังทำมาอย่างหน้าตาเฉย ประสาอะไรกับเรื่องสูงไม่เกินไส้ติ่งที่เป็น "ของมัก" ทำไมจะพูดไม่ได้

เห็นแล้วน่ากรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้มากกว่าอย่างอื่น



.