http://BotKwamDee.blogspot.com...webblog เปิดเผยความจริงและกระแสสำนึกหลากหลาย เพื่อเป็นอาหารสมอง, แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมการวิเคราะห์ความจริง, สะท้อนการเรียกร้องความยุติธรรมที่เปิดเผยแบบนิติธรรม, สื่อปฏิบัติการเสริมพลังเศรษฐกิจที่กระจายความเติบโตก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศสู่ประชาชนพื้นฐาน, ส่งเสริมการตรวจสอบและผลักดันนโยบายสาธารณะของประชาชน-เยาวชนในทุกระดับของกลไกพรรคการเมือง, พัฒนาอำนาจต่อรองทางประชาธิปไตย โดยเฉพาะการปกครองท้องถิ่นและยกระดับองค์กรตรวจสอบกลไกรัฐของภาคสาธารณะที่ต่อเนื่องของประชาชาติไทย

2555-01-16

เปิดปัญญาชน 112 คนแรก ลงนามเสนอร่างแก้ไข ม.112 ฉบับ"นิติราษฎร์"

.
โพสต์ประกอบ - "นิธิ เอียวศรีวงศ์" ชี้เหตุต้องแก้มาตรา 112 ป้องกันการฉ้อฉล
- นักวิชาการมั่นใจแก้ม.112 ลดการใช้อารมณ์วิจารณ์ ระบุไม่ผิดกฎหมายหมิ่น

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * ** * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

เปิดรายชื่อปัญญาชน 112 คนแรก ที่ลงนามเสนอร่างแก้ไข ม.112 ฉบับ "นิติราษฎร์"
ในมติชน ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555 เวลา 16:58:15 น.
ที่มาข้อมูล / ฟังเสียงเสนอข่าว ที่ http://news.voicetv.co.th/thailand/27885.html


วอยซ์ทีวี รายงานว่า จากกรณี นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แกนนำคณะนิติราษฎร์ ประกาศจุดยืนการผลักดันเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ของคณะนิติราษฎร์ และกระบวนการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยจะใช้เวลา 112 วัน รวบรวบรายชื่อ รวมทั้งจะขับเคลื่อนการรวบรวมรายชื่อผ่านกลุ่มคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 หรือ ครก.112 อีกทั้ง ระบุถึงเป้าประสงค์ที่พยายามทำให้บทบัญญัติในเรื่องนี้ได้มาตรฐานสากล และเป็นที่ยอมรับของนานาอารยประเทศนั้น

ทั้งนี้ จากข้อมูลแผ่นพับของการรณรงค์แก้มาตรา 112 ปรากฎรายชื่อบุคคลสำคัญ ๆ ที่ลงนามสนับสนุนข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ โดยผู้เสนอร่างแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 ของคณะนิติราษฎร์ 112 คนแรกที่มีการประกาศเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2555 ได้แก่


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการอิสระ
ผาสุก พงษ์ไพจิตร เศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุจิตต์ วงษ์เทศ นักวิชาการ นักเขียน
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ วุฒิสมาชิกและอัยการ
เสกสรรค์ ประเสริฐกุล อดีตคณบดีรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ทักษ์ เฉลิมเตียรณ มหาวิทยาลัยคอร์แนล
อภิชาติพงษ์ วีระเศรษฐกุล ผู้กำกับภาพยนตร์/ศิลปิน
ชัยศิริ จิวะรังสรรค์ ศิลปิน
ธงชัย วินิจจะกูล มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน
ธเนศวร์ เจริญเมือง รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อานันท์ กาญจนพันธุ์ สังคมและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ยศ สันตสมบัติ สังคมและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เกษียร เตชะพีระ รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา สิงคโปร์
กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ศรีประภา เพชรมีศรี โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล
ขวัญระวี วังอุดม โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล
เอกกมล สายจันทร์ รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โกสุมภ์ สายจันทร์ รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สมชาย ปรีชาศิลปกุล นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ฉลาดชาย รมิตานนท์ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วัฒนา สุกัณศีล สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชัชวาล ปุญปัน อดีตอาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ ม.เชียงใหม่
วรเจตน์ ภาคีรัตน์ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จันทจิรา เอี่ยมมยุรา นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ธีระ สุธีวรางกูร นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปิยะบุตร แสงกนกกุล นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สาวตรี สุขศรี นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปูนเทพ ศิรินุพงษ์ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประจักษ์ ก้องกีรติ รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อภิชาต สถิตนิรามัย เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันรัก สุวรรณวัฒนา ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์ ประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ยุกติ มุกดาวิจิตร สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อนุสรณ์ อุณโน สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นลินี ตันธุวนิตย์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มรกต ไมยเออร์ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อัครพงษ์ ค่ำคูณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วาด รวี นักเขียน
ปราบดา หยุ่น นักเขียน
วรพจน์ พันธุ์พงศ์ นักเขียน
ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักเขียน นักแปล
มุกหอม วงษ์เทศ นักเขียน
สุรพศ ทวีศักดิ์ นักวิชาการ
ไอดา อรุณวงศ์ วารสาร "อ่าน"
พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ นักแปลอิสระ
วิจักขณ์ พานิช นักเขียน นักแปล
สฤณี อาชวานันทกุล นักเขียน-นักวิชาการอิสระ
นิธินันท์ ยอแสงรัตน์ สื่อมวลชน
สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี สื่อมวลชน
นพ. กิตติภูมิ จุฑาสมิต ผู้อำนวยการ รพ.ภูสิงห์ จ.ศรีษะเกษ
อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน
จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการ สำนักข่าวประชาไท
จิตรา คชเดช ผู้นำแรงงาน, กลุ่ม Try Arm
สมบัติ บุญงามอนงค์ นักกิจกรรมสังคม
แดนทอง บรีน ประธานสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
เยาวลักษ์ อนุพันธุ์ ทนายความ
รัตนมณี พลกล้า ทนายความ
พูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความ
ภาวิณี ชุมศรี ทนายความ
อานนท์ นำภา ทนายความ
ประเวศ ประภานุกูล ทนายความ
อนุสรณ์ ธรรมใจ เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
อันธิฌา ทัศคร ปรัชญาและศาสนา ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
กานดา นาคน้อย เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเพอร์ดู (Purdue) สหรัฐอเมริกา
เก่งกิจ กิติเรียงลาภ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พฤกษ์ เถาถวิล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ดร.พงศาล มีคุณสมบัติ นักวิชาการอิสระด้านพลังงานนิวเคลียร์
ไชยันต์ รัชชกูล มหาวิทยาลัยพายัพ
คมลักษณ์ ไชยยะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ชัชวาลย์ ศรีพาณิชย์ อดีตนายกสมาคมธรรมศาสตร์แห่งแคลิฟอร์เนีย
ชาตรี ประกิตนนทการ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ชาญณรงค์ บุญหนุน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
เชษฐา พวงหัตถ์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
โกวิท แก้วสุวรรณ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
พิพัฒน์ สุยะ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
เอมอร นิรัญราช คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
พวงทอง ภวัครพันธุ์ รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เวียงรัฐ เนติโพธิ์ รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นิติ ภวัครพันธุ์ รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นฤมล ทับจุมพล รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สิริพรรณ นกสวน สวัสดี รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ฉลอง สุนทรวาณิชย์ อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุวิมล รุ่งเจริญ อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ธนาพล ลิ่มอภิชาต อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เกษม เพ็ญภินันท์ อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คำสิงห์ ศรีนอก ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์
วัฒน์ วรรยางกูร นักเขียนรางวัลศรีบูรพา
อธิคม คุณาวุฒิ บรรณาธิการบริหาร นิตยสารเวย์
เวียง-วชิระ บัวสนธ์ บรรณาธิการ สำนักพิมพ์สามัญชน
ดวงมน จิตร์จำนงค์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
พิเชฐ แสงทอง มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ผู้กำกับภาพยนตร์
อนุสรณ์ ติปยานนท์ นักเขียน
อุทิศ เหมะมูล นักเขียนรางวัลซีไรต์
เรืองรอง รุ่งรัศมี นักเขียน นักแปล
ทองธัช เทพารักษ์ นักเขียน การ์ตูนนิสต์ ศิลปิน
เดือนวาด พิมวนา นักเขียนรางวัลซีไรต์
ประกาย ปรัชญา กวี
ซะการีย์ยา อมตยา กวีรางวัลซีไรต์
วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล นักเขียน
กฤช เหลือละมัย กวี
วินัย ปราบริปู นักเขียน ศิลปิน

* * * * * * *
มีผู้ลงนามอีกมาก เช่น สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, สุดา รังกุพันธุ์, วินัย ผลเจริญ, จรัล ดิษฐาอภิชัย, บินหลา สันกาลาคีรี, อติภพ ภัทรเดชไพศาล, ดวงฤทัย เอสะนาชาตัง, ดวงฤทัย เอสะนาชาตัง, ธิติ มีแต้ม, ศุภชัย เกศการุณกุล ฯลฯ

และอ่านความคิดเห็นเกี่ยวกับการประชุมครั้งนี้ ที่ www.prachatai.com/journal/2012/01/38774 ( ถ้าไม่รำคาญการค้านตะบันแบบเย้ยหยันของบางชื่อ ) และอ่าน "ฟังบรรยายวิชาแก้ ม.112 โดย วรเจตน์ ภาคีรัตน์" ที่ http://prachatai.com/journal/2012/01/38762



+++

"นิธิ เอียวศรีวงศ์" ชี้เหตุต้องแก้มาตรา 112 ป้องกันการฉ้อฉล
ในมติชน ออนไลน์ วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555 เวลา 14:58:19 น.


ผู้สื่อข่าวรายงานจากหอประชุมศรีบูรพา (หอประชุมเล็ก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อเวลา13.15 - 13.30 น. คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก.112) นำเทปบันทึกปาฐกถา "ทำไมจึงต้องแก้ไขมาตรา 112" โดยนายนิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ มาเปิดในงาน

นายนิธิ กล่าวว่า กฎหมายประมวลอาญามาตรา 112 ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของผู้พิพากษา ไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน ไม่มีนิยามว่าเนื้อความ ดูหมิ่น ส่งผลกระทบให้เกิดความเสียหายเกิดขึ้นกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ขณะที่เราไม่ควรทำให้สถาบัน เป็นปฏิปักษ์ กับประชาธิปไตย ระบอบกษัตริย์ ที่ยังเหลือในโลกล้วนอนุวัฒน์ ตามประชาธิปไตย หากใครไปทำให้คนรู้สึกว่าสถาบันเป็นปรปักษ์ ก็เป็นการทำร้ายสถาบันโดยตรง

นายนิธิกล่าวว่า ประเด็นต่อมาสัดส่วนการลงโทษ มาตรานี้ ไม่สอดคล้องความผิดที่เขาทำ เพราะเป็นข้อบังคับตายตัว อย่างน้อย 3 ปี แล้วลองไปเทียบหมิ่นประมาทคนธรรมดา จะต่างกันมาก โทษที่ได้รับแรงเกินจำเป็น ทั้งหมดเพราะ มาตรา 112 อยู่ในหมวดความมั่นคงแห่งรัฐ ทำให้ความผิดไปเชื่อมโยงความมั่นคงแห่งรัฐ เป็นปัญหาค่อนข้างมาก เมื่อเอามาตรานี้ไว้ในหมวดความมั่นคง


"อำนาจในการฟ้องร้องกล่าวหา ไม่ควรปล่อยให้ทุกคนมีสิทธิ์ให้ใครไปฟ้องใครก็ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ คนใช้พร่ำเพรื่อ ทางการเมือง หรือส่วนตัว เวลาใครไม่ชอบใคร ฉะนั้น ต้องมอบให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเท่านั้นมีสิทธิ์ฟ้อง"นายนิธิกล่าว

นายนิธิกล่าวว่า มาตรา 112 จึงมีนัยยะทางการเมืองอยู่ด้วย บางครั้งไม่ส่งฟ้องอาจจะเป็นผลดีมากกว่า จึงจำเป็นต้องมีหน่วยงานที่อาศัยวิจารณญาณในการตัดสินใจ ตัวกฎหมายปัจจุบันเปิดทางให้ใช้โดยฉ้อฉลในเจตจำนงค่อนข้างมาก ภายใต้เงื่อนไขปัจจุบันยิ่งทำให้การใช้กฎหมายฉ้อฉล เพราะเจ้าหน้าที่ไม่กล้าตัดสินใจไม่ฟ้อง เกรงการกดดันจากสังคม จึงจำเป็นต้องแก้ตัวกฎหมายเพื่อป้องกันการฉ้อฉล



+++

นักวิชาการมั่นใจแก้ม.112 ลดการใช้อารมณ์วิจารณ์ ระบุไม่ผิดกฎหมายหมิ่น
ในมติชน ออนไลน์ วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555 เวลา 19:50:01 น.
ภาพจาก thaienews.blogspot.com


บรรยากาศบนเวทีบนเวทีวิชาการ - ศิลปวัฒนธรรม "แก้ไขมาตรา 112" ช่วงที่สองเป็นการ “ตอบคำถามคาใจ: ทำไมต้องแก้ 112”ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ที่หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เวลา 15.50 -17.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานกิจกรรมวิชาการในเวทีวิชาการ - ศิลปวัฒนธรรม "แก้ไขมาตรา 112" ช่วงที่สองเป็นการ “ตอบคำถามคาใจ: ทำไมต้องแก้ 112” ดำเนินรายการโดย ผศ.เวียงรัฐ เนติโพธิ์ กลุ่มสันติประชาธรรม และอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ กลุ่มสันติประชาธรรม เป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวว่า การวิจารณ์สถาบันฯ โดยสุจริตทำให้เกิดการปรับตัว เป็นหัวใจของความมั่นคงของสถาบัน สื่อต่างประเทศบอกว่า ในไทย ห้ามวิจารณ์ ไม่เป็นผลดีเพราะไม่มีสถาบันทางการเมืองใด อยู่ได้โดยไม่ปรับเปลี่ยน ดังนั้น การเสนอแก้ไข ตามร่างนิติราษฎร์ นี้ ยังมีพระมหากษัตริย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญ การแก้ไขต้องสอดคล้องสิทธิเสรีภาพประชาชน

ส่วนหากแก้ไขแล้วจะยิ่งมีการหมิ่นหรือไม่นั้น ดร.พวงทอง เชื่อว่า การใช้อารมณ์วิจารณ์จะลดลง เพราะ ถ้ามีกฎหมายที่คุ้มครองการวิจารณ์โดยสุจริต มีหลักฐาน การแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ถูกต้อง การหมิ่นในทางลับอย่างไม่เปิดเผยจะลดน้อยลง

ดร.พวงทองกล่าวถึงสาเหตุที่ไม่รณรงค์ยกเลิก มาตรา 112 ว่า ไม่ใช่ความขี้ขลาด เพราะถ้าหากขี้ขลาดคงอยู่บ้าน แต่ร่างฯ ที่เสนอนี้ ให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในระดับที่พึงพอใจ

"ประเด็นสำคัญคือ เราอยู่ในสังคมที่มีความคิดผู้คนหลากหลาย ต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ ไม่ใช่แค่เรื่องกฎหมาย แต่มีเรื่องวัฒนธรรมความเชื่อ เราต้องคำนึงถึงด้วย เพราะมีกระแสอนุรักษ์นิยมอยู่ ถ้าข้อเสนอนิติราษฎร์ ได้รับการตอบรับก็เป็นความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ส่วนคนที่เห็นว่าควรยกเลิกก็ควรจัดเวทีขึ้นมาอีกได้แล้วเราจะไปร่วมฟัง" ดร.พวงทองกล่าว

สำหรับความเห็นว่าลักษณะเฉพาะของสถาบันฯของไทยไม่ควรเปรียบเทียบที่อื่น ดร. พวงทอง กล่าวว่า ทุกที่มีลักษณะเฉพาะ ตามพิธีกรรม แต่ทุกที่ต้องปรับตัว อยู่เหนือการเมือง อย่าเอาความกลัวเข้ามาเป็นลักษณะเฉพาะ


ขณะที่ ผศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร กลุ่มสันติประชาธรรม และอาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงการแก้มาตรา 112 ว่า ถ้าฟื้นฟูประชาธิปไตยต้องกลับไปที่หลัก 6 ประการคณะราษฎร จะมีได้ก็เมื่อปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ การมี มาตรา112 ไม่ได้ให้หลักประกันสิทธิเสรีภาพ ไม่สามารถวิจารณ์ได้เพราะหากวิจารณ์จะถูกตั้งข้อหาหมิ่น แต่กลับมีความไม่เสมอภาคในสิทธิการแสดงออก เพราะคนบางกลุ่มวิจารณ์สถาบัน แต่กฎหมายไม่สามารถเอาผิดได้ เช่น ในวิกิลีคส์ มีคนวิจารณ์สถาบันแต่คนอื่นวิจารณ์ไม่ได้

"ส่วนเรื่องเอาเจ้าหรือไม่เอาเจ้า ก็ไม่เป็นประเด็น เพราะข้อเสนอนิติราษฎร์ ไม่ได้เสนอให้ล้มล้างระบอบประชาธิปไตยอันมี กษัตริย์เป็นประมุข " ดร.ยุกติกล่าว

ดร.ยุกติ กล่าวว่า ลักษณะมาตรา 112 ที่เป็นอยู่ ก่อให้เกิดความกลัวที่จะใช้เสรีภาพ แม้แต่เรื่องเล็กน้อย มีบางคนบอกว่าขอพื้นที่ให้ความศรัทธาบ้าง อยากจะบอกเช่นกันว่า ขอพื้นที่ที่ใช้เหตุใช้ผลบ้าง

ส่วนคำถามว่าคนคิดจะแก้มาตรานี้ เป็นคนไทยหรือเปล่านั้น ดร.ยุกติ กล่าวว่า ถ้าคิดแตกต่างกันไม่ได้ ก็ไปอยู่เกาหลีเหนือดีกว่า

"เราต้องยอมรับความเปลี่ยนแปลง ความคิดที่หลากหลาย ขณะที่ปัญหานี้ มีความไม่ไว้วางใจกัน คนชั้นสูงไม่ไว้ในคนชั้นล่าง คนชั้นล่างไม่ไว้ใจคนชั้นสูง ซึ่ง เราควรวางใจกัน ผมอยากบอกว่า ไว้ใจเราเถอะครับ เรายังไม่เปลี่ยนแปลงอะไรไปไกลกว่านี้หรอกครับ " ดร.ยุติกล่าว


อ.สาวตรี สุขศรี กลุ่มนิติราษฎร์ กล่าวว่า ประเด็นมีข้อสงสัยว่า กษัตริย์ควรถูกคุ้มครองเป็นพิเศษหรือไม่นั้น ขอเรียนว่า ในประชาธิปไตย มีบุคคลที่ถูกคุ้มครองเป็นพิเศษได้ ไม่เฉพาะกษัตริย์ แต่หมายถึงประมุขแห่งรัฐทุกรูปแบบเพราะมีภาระต้องแบบรับมากกว่า แต่ไม่ใช่คุ้มครองเพราะมีฐานันดรพิเศษ หากแต่เป็นเหตุผลเพราะต้องแบกรับเรื่องสาธารณะเป็นพิเศษ ไม่ใช่ชาติกำเนิดพิเศษ หรือฐานันดรพิเศษ แล้วข้อเสนอนิติราษฎร์ ก็ให้ความคุ้มครองเป็นพิเศษ แต่ต้องพอสมควรแก่เหตุ ขณะที่โทษใน มาตรา 112 ขณะนี้ไม่เหมาะอย่างยิ่ง

อ.สาวตรี กล่าวถึงความเห็นนักกฎหมายที่ว่ามาตรา 112 มีบัญหาที่การบังคับใช้ ไม่ใช่บัญหาตัวบท ว่า ไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องทั้งหมด เพราะจริงๆ แล้วก็มีปัญหาบทบัญญัติเช่นกัน อาทิ อัตราโทษ ศาลไม่สามารถใช้ดุลพินิจลงโทษน้อยกว่า 3 ปี อีกปัญหาคือ ไม่มีบทยกเว้นความผิดและยกเว้นโทษ ข้อเสนอนิติราษฎร์ เห็นว่า ต้องมีบทยกเว้นโทษ ยกเว้นความผิด นอกจากนั้น มาตรา 112 เป็นอาญาแผ่นดิน จึงเปิดโอกาสให้ใครก็ได้แจ้งความต่อเจ้าพนักงาน นี่เป็นปัญหาบทบัญญัติ ไม่ใช่เพียงการบังคับใช้

อ.สาวตรี กล่าวว่า การรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 ทำได้ และไม่ใช่ความผิดตามมาตรา 112 เพราะ มาตรานี้ ไม่ใช่ตัวสถาบัน แต่เป็นเพียงมาตราหนึ่งเท่านั้นในประมวลกฎหมายอาญา สังคมยังแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ แล้วทำไมจะแก้ไขมาตรา 112 ในประมวลกฎหมายอาญาไม่ได้ คำพูดแบบนี้ ถ้าออกมาจากปากนักการเมือง หรือนายทหาร ต้องไล่ให้กลับไปอ่านกฎหมายก่อน แต่ถ้าคนพูดเป็นนักกฎหมาย ขอให้คืนปริญญานิติศาสตร์มาเลย



.