http://BotKwamDee.blogspot.com...webblog เปิดเผยความจริงและกระแสสำนึกหลากหลาย เพื่อเป็นอาหารสมอง, แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมการวิเคราะห์ความจริง, สะท้อนการเรียกร้องความยุติธรรมที่เปิดเผยแบบนิติธรรม, สื่อปฏิบัติการเสริมพลังเศรษฐกิจที่กระจายความเติบโตก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศสู่ประชาชนพื้นฐาน, ส่งเสริมการตรวจสอบและผลักดันนโยบายสาธารณะของประชาชน-เยาวชนในทุกระดับของกลไกพรรคการเมือง, พัฒนาอำนาจต่อรองทางประชาธิปไตย โดยเฉพาะการปกครองท้องถิ่นและยกระดับองค์กรตรวจสอบกลไกรัฐของภาคสาธารณะที่ต่อเนื่องของประชาชาติไทย

2555-05-31

ข้อสงสัยหลังกรณีขับไล่เลดี้กาก้า หรืออินโดนีเซียยอมรับความต่างน้อยลง?

.

ข้อสงสัยหลังกรณีขับไล่เลดี้กาก้า หรืออินโดนีเซียยอมรับความต่างน้อยลง? 
ใน www.prachatai.com/journal/2012/05/40772 . . Thu, 2012-05-31 09:33


อินโดนีเซียเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องการยอมรับความหลากหลาย แต่กรณีทีมงานของเลดี้กาก้าประกาศยกเลิกทัวร์ ก็ไม่ใช่กรณีเดียวเท่านั้นที่ทำให้คนกลัวว่า อินโดฯ จะเปลี่ยนไป

จากกรณีที่ผู้จัดทัวร์คอนเสิร์ทของเลดี้กาก้าสั่งยกเลิกการแสดงคอนเสิร์ตในอินโดนีเซีย เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดความไม่ปลอดภัย หลังจากที่มีกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงขู่จะออกมาก่อความวุ่นวายหากเลดี้กาก้าเข้ามาในประเทศอินโดนีเซีย 

ล่าสุดในเว็บไซต์ของสำนักข่าว BBC มีรายงานเรื่องนี้ในชื่อ "อินโดนีเซียเริ่มยอมรับต่อความต่างได้น้อยลงจริงหรือ?"

ปูตรี นูรายนี ผู้จัดการแผนกขายอายุ 28 ปีชาวอินโดนีเซีย หลังว่าการแสดงของเลดี้กาก้าจะจัดขึ้นในอินโดนีเซียตามแผน แต่เมื่อวันอาทิตย์ (27) ที่ผ่านมา ทางผู้จัดก็สั่งยกเลิกด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยหลังจากที่กลุ่มอิสลามสุดขั้วขู่จะก่อความวุ่นวาย
ปูตรี บอกว่าเธอไม่เข้าใจว่าเหตุใดคนกลุ่มนี้ถึงต่อต้านเลดี้กาก้ามากนัก 
"ฉันก็เป็นชาวมุสลิมคนหนึ่ง แต่ไม่เข้าใจว่าพวกเขาต้องการอะไร" ปูตรีกล่าวอย่างเผ็ดร้อน "มันไม่มีเหตุผลเลย เลดี้กาก้าได้ขึ้นไปทำรักบนเวทีเสียที่ไหน ไม่เลย เธอแค่มาแสดง มันน่าตลกจริงๆ" 
แต่เอฟฟีและลูกชายอายุ 9 ชวบของเธอ อาเดดูจะไม่เห็นด้วยกับปูตรี  
ในขบวนผู้ชุมนุมชาวมุสลิมอนุรักษ์นิยมที่ต่อต้านเลดี้กาก้า เจ้าหนูอาเดก็ยุ่งอยู่กับการถือป้ายโปสเตอร์ขนาดใหญ่เกือบเท่าตัวเขา ป้ายที่เขียนไว้ว่า "จงปฏิเสธปีศาจเลดี้กาก้า" 

เอฟฟีเล่าว่า เธอพาลูกชายของเธอมาในการประท้วงเช่นนี้ตั้งแต่เขายังอยู่ในครรภ์แล้ว มันเป็นเรื่องที่ดีสำหรับมุสลิมคนหนุ่มสาวที่จะลุกขึ้นปกป้องความเชื่อของตน  
ผู้สื่อข่าว BBC ถามว่าเหตุใดเธอถึงไม่พอใจดารานักร้องผู้นี้นัก หากเธอไม่ชอบดนตรีก็แค่ไม่ต้องไปคอนเสิร์ทก็ได้ ทำไมถึงไม่ยอมให้ชาวอินโดนีเซียคนอื่นๆ ได้เข้าร่วมคอนเสิร์ท  
"ทุกคนมักจะบอกว่าชาวมุสลิมในอินโดนีเซียเป็นคนที่อดทนต่อความต่างได้" เอฟฟีกล่าวอย่างหนักแน่น "พวกเราเป็นเช่นนั้นจริง แต่พวกเราก็ไม่ได้อยากถูกเหยียบย่ำอยู่ตลอดเวลา พวกเราต้องลุกขึ้นเรียกร้องเพื่อศาสนาอิสลามแล้ว"


กรณีทำร้ายนักสตรีนิยม

กรณีของเลดี้กาก้าเป็นเพียงแค่หนึ่งในกรณีที่แสดงให้เห็นถึงความอดทนอดกลั้นต่อความแตกต่างมีน้อยลงในกลุ่มศาสนาของอินโดนีเซีย 
อินโดนีเซียเป็นประเทศมุสลิมที่มีประชากรมากที่สุด แต่ในขณะเดียวกันก็มีความเป็นรัฐฆราวาสด้วย
อินโดนีเซียมีประวัติศาสตร์ยาวนานด้านการยอมรับต่อความต่างทางศาสนาที่มีระบุเอาไว้ในรัฐธรรมนูญ และถูกทางชาติตะวันตกนำไปใช้เป็นพิมพ์เขียวแบบอย่างชาติมุสลิมที่เป็นประชาธิปไตย เพื่อนำไปใช้กับชาติตะวันออกกลาง  

แต่ในช่วงไม่นานมานี้กลุ่มมุสลิมฝ่ายสุดขั้วก็เริ่มออกมาเรียกร้องมากขึ้น มีความกังวลว่ารัฐบาลจะไม่ได้หาทางหยุดยั้งพวกเขา  
มีความกลัวว่า อินโดนีเซียกำลังมีความอดทนอดกลั้นต่อความต่างน้อยลงเรื่อยๆ และพวกสุดขั้วจะเริ่มฉวยโอกาสได้เปรียบ

อรีชาด แมนจิ มุสลิมนักปฏิรูปนิยมและนักสตรีนิยมเชื่อเช่นนี้  
เธอและทีมงานของเธอถูกกลุ่มมุสลิมสุดโต่งโจมตีขณะที่ออกงานเสวนาเปิดตัวหนังสือเล่มใหม่ของเธอชื่อ "องค์อัลเลาะห์ เสรีภาพ และความรัก" ในประเทศอินโดนีเซีย มีเพื่อนร่วมงานของเธอคนหนึ่งถึงขั้นเข้าโรงพยาบาลจากการบาดเจ็บที่แขน 
"พวกเขา (กลุ่มมุสลิมสุดโต่ง) เข้ามาพร้อมกับหมวกเหล็กและหน้ากากซ่อนหน้าตา ใช้ไม้เหล็กและไม้กระบองทุบตีคน" อรีชาดกล่าว "พวกเขาไม่เพียงแค่ทำลายทรัพย์สิน แต่ทำให้มีคนเจ็บจนต้องเข้าโรงพยาบาลหลายคน มีเพื่อนของฉันรวมอยู่ด้วย
"พวกเราไม่ได้รับความช่วยเหลือใดๆ จากเจ้าหน้าที่เลย" เธอเล่าต่อ แสดงความขุ่นเคืองใจออกมาให้เห็น "มีชาวอินโดนีเซียจำนวนมากบอกฉันว่า พวกเขารู้สึกว่าพวกเขาไม่สามารถรายงานเรื่องการข่มขู่คุกคามและการใช้กำลังแบบอันธพาลได้ เพราะจะไม่มีคนระดับสูงคนไหนทำอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้"  
"หากพวกเขารายงานเรื่องนี้ พวกเขาก็จะกลายเป็นคนที่ถูกกระทำรุนแรงในท้ายที่สุด หากพวกเขาไม่ ความรุนแรงก็ยังจะดำเนินต่อไป ดังนั้นพูดตรงๆ เลยคือ สิ่งที่ควรจะเกิดขึ้นกับรัฐพหุนิยมนี้ กำลังเดินไปตามรอยทางของปากีสถาน แทนที่จะไปในทิศทางเดียวกับประชาธิปไตยที่แท้จริง"


กลัว 'การไม่ยอมรับความต่าง' กลายเป็นเรื่อง 'ตกสำรวจ'

ผู้สังเกตการณ์การเมืองในอินโดนีเซียหลายคนเป็นห่วงในเรื่องนี้  
"ในเดือน ส.ค. 2011 มีเหตุเผาโบสถ์ 3 แห่งในสุมาตรา" แอนเดรีย ฮาร์โซโน จากฮิวแมนไรท์วอทช์ เขียนไว้ในบทบรรณาธิการล่าสุดของนิวยอร์กไทม์  
"ไม่มีใครถูกตั้งข้อหาเลยสำหรับกรณีนั้น... ต่อมาเกิดการจู่โจมที่โหดเหี้ยมที่สุดในเดือนก.พ. ชายชาวอาเมดิส 3 คนถูกสังหาร ศาลได้ดำเนินคดีกับกลุ่มติดอาวุธ 12 คนในกรณีนี้ แต่ก็ตัดสินคดีแบบโทษไม่หนักมากเพียงแค่จำคุก 4-6 เดือน"

นักสิทธิมนุษยชนกลัวว่า การไม่ยอมรับความต่างทางศาสนาในอินโดนีเซียกำลังกลายเป็นเรื่องที่ตกสำรวจ   
"ในตอนนี้มีกรณีการไม่อดทนยอมรับความแตกต่างเกิดขึ้นในอินโดนีเซียเกือบทุกวัน" โบนาร์ ไนโปโปส นักวิจัยจากสถาบันเซทารากล่าว  
"มีการเพิ่มขึ้นของกรณีแบบนี้ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา รัฐบาลไม่ได้ทำอะไรกับมันเลยเพราะว่าพวกเขากลัวว่าจะเสียคะแนนเสียงของชาวมุสลิม แม้ว่าชาวมุสลิมส่วนมากในอินโดนีเซียจะเป็นสายกลาง เป็นพลังเงียบที่เป็นเสียงข้างมาก ถ้าหากพวกเราไม่แก้ไขตรงนี้ พวกเราอาจจะแปรสภาพจากประเทศสายกลางกลายเป็นประเทศที่ถูกควบคุมโดยพวกหัวรุนแรง

แต่รัฐบาลอินโดนีเซียก็ปฏิเสธคำวิจารณ์นี้  
รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์ตี นาตาเลกาวา กล่าวปกป้องจุดยืนของรัฐบาลอย่างแข็งขัน  
"เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเหตุหนึ่งก็ถือว่ามากเกินไป" มาร์ตีกล่าว "แต่สถานการณ์มันไม่ได้ย่ำแย่หนักขนาดที่คุณพูดถึง . . อินโดนีเซียในตอนนี้เป็นประชาธิปไตยและเป็นสังคมที่เปิดกว้างมาก... พวกเรามีพันธกิจในการส่งเสริมการยอมรับความแตกต่างทางศาสนา
"และในเหตุการณ์ที่อ้างพูดถึงนั้น ผมจะกล่าวอย่างชัดเจนและเด็ดขาดว่า การกระทำเหล่านี้ไม่มีพื้นที่ให้กระทำแน่ พวกเราจะประณามมันอย่างเต็มที่ให้ถึงที่สุด"

แต่นักวิจารณฺ์ก็บอกว่า แค่การประณามไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้นนัก  
อินโดนีเซียเป็นประเทศที่สร้างตัวขึ้นมาจากปรัชญาของพหุนิยม คำขวัญประจำชาติของประเทศนี้คือ "มีเอกภาพในความหลากหลาย" (Unity in Diversity)  
แต่การที่รัฐบาลไม่ทำอะไรเลย ทำให้ประเทศนี้ ซึ่งเคยเป็นประเทศแห่งการยอมรับความแตกต่างหลากหลายในภูมิภาคนี้ เริ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียคุณค่าตรงจุดนี้ และขณะเดียวกันก็ได้ทำลายรากฐานที่ใช้สร้างประเทศนี้ขึ้นมา


ที่มา
- Is Indonesia becoming less tolerant?, Karishma Vaswani, BBC, 29=05-2012
- http://www.bbc.co.uk/news/world-asia-18243430




.