.
ฟุคุชิมาสะเทือนโลก (5) “ศัตรูที่มองไม่เห็น”
โดย ทวีศักดิ์ บุตรตัน คอลัมน์ สิ่งแวดล้อม
ในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2555 ปีที่ 32 ฉบับที่ 1654 หน้า 40
ตลอด
สองข้างทางถนนมุ่งสู่ชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น
ทีมนักวิทยาศาสตร์สวมหน้ากากป้องกันสารพิษพากันก้มเก็บรวบรวมตัวอย่างแมลง
ดอกไม้ป่านานาพันธุ์ พืชชนิดต่างๆ รวมทั้งต้นข้าว
บางคนนั้นนับจำนวนนกที่เกาะอยู่ตามต้นไม้
บางครั้งหยุดวัดปริมาณกัมมันตรังสีด้วยเครื่อง "โดซิมีเตอร์" ขนาดพกพา
นั่น
เป็นฉากของจังหวัดฟุคุชิมาเมื่อก่อนนี้มีความหลากหลายทางชีวภาพที่อุดม
สมบูรณ์มาก แต่เดี๋ยวนี้ปนเปื้อนไปด้วย "กัมมันตรังสี"
ที่ฟุ้งกระจายออกมาจากโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุคุชิมา ไดอิจิ
ภายหลังเกิดการระเบิดและไฟไหม้เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์
เนื่องจากแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวขนาด 9.0 ริกเตอร์ และคลื่นสึนามิ
เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554
กัมมันตรังสีปนเปื้อนในพื้นที่ฟุคุชิมา "นาโอโตะ คัง" อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เรียกว่า "ศัตรูที่มองไม่เห็น"
"เจน แบรกซ์ตัน ลิตเติล" เกริ่นเบื้องต้นในบทความชื่อว่า "มหันตภัยนิวเคลียร์" ฟุคุชิมามีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร? ตีพิมพ์ในนิตยสาร "Audubon" ของสหรัฐเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
"ลิตเติล" รายงานว่า กลุ่มนักวิทยาศาสตร์นำโดย "ทีโมธี มูส์ซู" ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์ชีววิทยา แห่งมหาวิทยาลัยเซาธ์ แคโรไลนา สหรัฐอเมริกา
เริ่มสำรวจเมื่อฤดูร้อนปีที่แล้วจนกระทั่งถึงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลความแตกต่างและนำผลการศึกษาทั้งหมดนี้ไปประเมินความ
เสี่ยงของกัมมันตรังสีต่อระบบนิเวศน์และมนุษย์
พวกเขาเดินข้ามเนินเขา บุกเข้าไปในหมู่บ้านรอบๆ โรงไฟฟ้า เพื่อติดตามผลกระทบจาก "ศัตรูที่มองไม่เห็น" ที่มีต่อพืชพันธุ์และสัตว์ป่า
"มู
ส์ซู" บอกว่า เราแทบจะไม่รู้เลยว่า
หลังการฟุ้งกระจายของกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้าฟุคุชิมาแล้วจะมีผลอย่างไรกับ
การเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ
ฉะนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คณะนักวิทยาศาสตร์ต้องเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าที่เราจะทำได้
นัก
วิทยาศาสตร์กลุ่มนี้มีทั้งชาวอเมริกันและนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนางาซากิ,
มหาวิทยาลัยโตเกียวและมหาวิทยาลัยฟุคุชิมาเริ่มต้นศึกษาระบบนิเวศวิทยาใน
จังหวัดฟุคุชิมาหลังเกิดเหตุสี่เดือน โดยเก็บตัวอย่างจำนวน 300
จุดในป่าฝั่งตะวันตกของโรงไฟฟ้า รัศมี 19 กิโลเมตร
รวมถึงนับจำนวนนกและบันทึกเสียงนกร้อง
เหตุที่นักวิทยาศาสตร์เน้น
ศึกษา "นก"
เพราะถือเป็นสัตว์ปีกที่มีความอ่อนไหวต่อสภาวะแวดล้อมอย่างสูงและสามารถจะ
สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของนกได้ง่าย
"มูส์ซู"
เคยนำทีมไปศึกษาวิเคราะห์สัตว์ปีกในพื้นที่ที่มีกัมมันตรังสีปนเปื้อน
หลังเกิดเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล ในยูเครนระเบิด เมื่อปี 2529
เวลานั้นประเมินว่า กัมมันตรังสีที่ฟุ้งกระจายจาก "เชอร์โนบิล" ปนเปื้อนครอบคลุมพื้นที่ราว 199,430 ตารางกิโลเมตร
ทีม
ของ "มูส์ซู" พบว่า นกที่มีถิ่นอาศัยในแถบนั้นมีจำนวนลดลง อายุสั้นลง
น้ำเชื้อของนกเพศผู้มีจำนวนลดลง นกบางสายพันธุ์มีก้อนสมองเล็กลง
ส่วนนกนางแอ่นมีภาวะผ่าเหล่า และบางชนิดมีนัยยะบ่งชี้ว่าพันธุกรรมถูกทำลาย
นอกจากนี้ ในบางพื้นที่นกกระจิบ นกนางแอ่นบ้านประจำถิ่นสูญพันธุ์
ประสบการณ์
ที่ได้จาก "เชอร์โนบิล" ทีมของ "มูส์ซู"
นำมาเป็นเกณฑ์ประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมกับนกนางแอ่น นกพงใหญ่
นกอุ้มบาตร และนกชนิดอี่นๆ อีกกว่า 10 สายพันธุ์ ในพื้นที่รอบๆ
โรงไฟฟ้าฟุคุชิมา
ผลจากศึกษาพบตัวเลขที่น่าตกใจ
ระหว่างเดือนกรกฎาคม ปีที่แล้ว นกที่นับได้ในพื้นที่ฟุคุชิมามีจำนวนลดลง 30 เปอร์เซ็นต์
ถือได้ว่าเป็นความสูญเสียมากถึงสองเท่าตัว เมื่อเทียบกับ "เชอร์โนบิล"
ทีม
"มูส์ซู" ประเมินว่า ปริมาณนกที่ลดน้อยลงอย่างน่าตกใจนั้น
เนี่องจากได้รับกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้าฟุคุชิมา โดยเฉพาะสารไอโอดีน
ซีเซียม
ในช่วงฤดูร้อนที่จะ
ถึงนี้
ทีมนักวิทยาศาสตร์ชุดดังกล่าวเดินทางเข้าไปเก็บตัวอย่างศึกษาผลกระทบทางสิ่ง
แวดล้อมในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าฟุคุชิมาอีกครั้ง
เพื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลปีที่แล้ว โดยเฉพาะประวัติของนกในช่วง 10 อายุขัย
และการตรวจสอบกระบวนการสังเคราะห์แสงของต้นไม้ว่ามีความเปลี่ยนแปลงอย่างไร
ภายหลังกัมมันตรังสีรั่วไหลออกมา
นอกจากนี้แล้ว
ยังติดตามการย้ายถิ่นของนกนางแอ่นบ้าน ปกติจะบินออกจากญี่ปุ่นไปอินโดนีเซีย
ระยะทางราว 5,630 กิโลเมตร ทีมงานติดเครื่อง "โดซิมีเตอร์"
ขนาดจิ๋วกับตัวนก เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลว่า
หากนกเปื้อนกัมมันตรังสีจะมีผลต่ออนุมูลอิสระหรือระยะทางการบินมากน้อยแค่
ไหน รวมไปถึงการอยู่รอด หรืออายุขัยของนกและการผ่าเหล่า
ข้อมูลเหล่านี้ เป็นตัวช่วยสำคัญให้นักวิทยาศาสตร์ทำความเข้าใจ "ศัตรูที่มองไม่เห็น" ได้มากขึ้น
++
ฟุคุชิมาสะเทือนโลก (6) บุราคูมิน “เหยื่อ”รังสี
โดย ทวีศักดิ์ บุตรตัน คอลัมน์ สิ่งแวดล้อม
ในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันศุกร์ที่ 04 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ปีที่ 32 ฉบับที่ 1655 หน้า 40
หลัง
โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุคุชิมา ระเบิด กัมมันตรังสีฟุ้งกระจายไปทั่ว
บรรดานักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน
นักนิวเคลียร์รวมไปถึงวงการอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ทั่วโลกพากันตื่นตัว
บ้างพยายามรวบรวมข้อมูลเหตุที่เกิดขึ้น
บางฝ่ายหาข้อสรุปแนวทางการป้องกันอันตรายของกัมมันตรังสี
บ้างก็คิดหาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อฟื้นความเชื่อมั่น
ที่มหานคร
นิวยอร์ก สหรัฐ กลุ่มนักวิชาการและนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทั้งชาวอเมริกัน
ญี่ปุ่น รวมตัวถกเถียงกันถึงอุบัติเหตุของโรงไฟฟ้าฟุคุชิมา
หลังเหตุการณ์ผ่านพ้นไปหนึ่งปี
บนโต๊ะเสวนา มีการหยิบยกเรื่องราวของ "ชาวบุราคูมิน" เป็นชนชั้นล่างสุดของญี่ปุ่นมาพูดถึง
หลายคนอาจจะงงๆ สังคมญี่ปุ่นยังแบ่งชนชั้นกันอีกหรือทั้งๆ ที่เป็นสังคมไฮเทคก้าวหน้าล้ำยุค
ความจริงแล้ว สังคมญี่ปุ่นเหมือนกับสังคมอื่นๆ ในโลกซึ่งแบ่งแยก "คน"
"บุ
ราคูมิน" เป็นกลุ่มคนที่ถูกผลักให้ไปอยู่ชายขอบของสังคมมาหลายร้อยปี
ตั้งแต่ยุคซามูไรครองเมืองขีดเส้นให้ชาวบุราคูมินทำงานที่ไม่มีใครใน
สังคมอยากทำ ประเภทเหม็นๆ สกปรก เช่น เป็นคนเก็บขยะ
ทำงานในโรงฆ่าสัตว์หรือเป็นสัปเหร่อ
"บุราคูมิน" ถ้าเปรียบเทียบวรรณะของอินเดีย คือพวกจัณฑาล ชาวอินเดียวรรณะอื่นๆ เหยียดหยามว่าเป็นชนชั้นต่ำ ไม่ควรคบค้าสมาคมด้วย
เมื่อราวๆ เกือบยี่สิบปี สมัยไจก้า ให้ทุนไปดูงานที่ญี่ปุ่น ผมก็เคยไปพบกับชาว "บุราคูมิน" แถวๆ ท่าเรือโยโกฮามา
คน
เหล่านี้ทำงานเป็นกรรมกรของท่าเรือ อยู่กระต๊อบเล็กๆ โทรมๆ ถึงจะมีการศึกษา
ก็เป็นศึกษาขั้นต่ำที่รัฐบาลญี่ปุ่นสนับสนุน แต่ไม่มีโอกาสได้เรียนสูงๆ
เพราะงานที่ทำเป็นงานรายวัน ได้ค่าจ้างขั้นต่ำ
ไม่มีเงินเพียงพอเขยิบฐานะตัวเอง
อีกทั้งในสังคมญี่ปุ่นด้วยกันก็รังเกียจเดียดฉันท์ ไม่ยอมรับ "บุราคูมิน" เข้าทำงานที่มีรายได้สูง
แม้ "บุราคูมิน" จะมีผิวพันธุ์เหมือนคนญี่ปุ่นทั่วไปคือมีผิวเหลือง แต่สามารถแยกแยะ "บุราคูมิน" จากพื้นเพถิ่นกำเนิดและอาชีพการงาน
ถ้าเป็นกรรมกร เป็นคนเก็บขยะ สัปเหร่อ บ้านอยู่ในสลัมนอกเมือง ใช่เลย "บุราคูมิน"
ปัจจุบัน "บุราคูมิน" ยังดำรงอยู่ในสังคมญี่ปุ่น แต่ไม่มีใครพูดถึงกันนัก
จน
กระทั่งเกิดเหตุแผ่นดินไหว คลื่นสึนามิถล่มโรงไฟฟ้า "ฟุคุชิมา" ระเบิด
ชื่อของ "บุราคูมิน"
ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงเนื่องจากสภาพของโรงไฟฟ้าที่ได้รับความเสียหาย
เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์พังยับเยิน กัมมันตรังสีรั่วไหล
ชาวบุราคูมิน กลายเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เลือกให้เป็นคนงานเข้าไป กำจัดซากปรักหักพังและขยะเปื้อนรังสี
เจ้าของโรงไฟฟ้าฟุคุชิมาคือโตเกียว อิเล็กทริก เพาเวอร์ หรือเทปโก้ ว่าจ้างบริษัทรับเหมาให้เข้าไปกำจัดซากขยะเปื้อนรังสี
บริษัทผู้รับเหมาจะจ้าง "บุราคูมิน" เป็นคนงานรายวัน ฝึกอบรมให้เรียนรู้การเก็บซากอันตรายภายในโรงไฟฟ้า
แต่คนงานรายวันจะแต่งชุดหมีแตกต่างจากวิศวกรหรือพนักงานเทปโก้ทั่วๆ ไป
ชุด
หมีหรือ "ไทเวค สูท" ทำด้วยโพลีเมอร์ มีหลายชนิด
บางชนิดเคลือบด้วยสารพิเศษสามารถป้องกันกัมมันตรังสีได้ดี
บางชนิดแค่ป้องกันความร้อนหรือสารเคมีเท่านั้น
คนงาน
ที่เป็นชาวบุราคูมิน แต่งชุดหมีป้องกันสารเคมีธรรมดาๆ
มีหน้าที่เข้าไปเก็บเศษเหล็ก
ซากปรักหักพังบริเวณเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของโรงไฟฟ้าฟุคุชิมา
เมื่อ
เสร็จงาน
บริษัทผู้รับเหมาจะวัดระดับความเข้มข้นของกัมมันตรังสีที่ปนเปื้อนมากับชุด
หมี หน้ากากและแว่นตาป้องกันรังสี
ถ้าหากมีปริมาณปนเปื้อนสูงจะเปลี่ยนหน้ากากและแว่นตาให้ใหม่
ใช้แอลกอฮอล์ล้างตัวทำความสะอาด
บริษัทมีกติกาห้ามคนงานอาบน้ำ เพราะเกรงว่าน้ำที่ชำระล้างตัวปนเปื้อนด้วยกัมมันตรังสีทำให้เกิดผลกระทบกับสภาวะแวดล้อมในบริเวณนั้นๆ
จากนั้น ฝ่ายบุคคลของเทปโก้จะสัมภาษณ์ "คนงาน" ทุกคนว่าเข้าไปทำงานในบริเวณใดของโรงไฟฟ้า ทำอะไรบ้าง ใช้ระยะเวลานานแค่ไหน
คน
งานที่ทำงานในโรงไฟฟ้าฟุคุชิมา
มีข้อจำกัดให้ทำในพื้นที่ที่อันตรายหรือฮอตโซนเพียงสองเดือนเท่านั้น
และห้ามกลับเข้าไปทำงานในพื้นที่ดังกล่าวเป็นเวลา 4 ปี
รัฐบาลญี่ปุ่นมีสวัสดิการด้านประกันสุขภาพ
แต่ค่าประกันแพงมากโดยเฉพาะการประกันภัยจากกัมมันตรังสีที่ต้องดูแลรักษาเป็นพิเศษ
คนจนๆ อย่าง "บุราคูมิน" ไม่มีเงินจ่าย เป็นแค่ลูกจ้างรายวัน เมื่อถึงกำหนดเลิกจ้าง จะย้ายไปอยู่ในพื้นที่อื่นๆ
นัก
วิชาการที่ร่วมเสวนาในครั้งนั้นบอกว่า การเฝ้าศึกษาติดตาม "บุราคูมิน"
จะได้รับผลกระทบจากกัมมันตรังสีของโรงไฟฟ้าฟุคุชิมาอย่างไรบ้างนั้น
เป็นเรื่องยาก
อีกทั้งการกำจัดกัมมันตรังสีที่ฟุคุชิมาเป็นเรื่องของ "เทปโก้" ไม่ใช่เรื่องของรัฐบาลญี่ปุ่น
.
Selected Messages & Good Article for People Ideas and Social Justice .. หวังความต่อเนื่องของพลังประชาธิปไตยและการเลือกตั้งของปวงชนอันเป็นรากฐานอำนาจอธิปไตย เพื่อกำกับกติกาและอำนาจการเมือง-อำนาจตุลาการ ไม่ว่าต่อคนชั่ว(เพราะใคร?) และคนดี(ของใคร?) ไม่ให้อยู่เหนือนิติรัฐของประชาชน
http://BotKwamDee.blogspot.com...webblog เปิดเผยความจริงและกระแสสำนึกหลากหลาย เพื่อเป็นอาหารสมอง, แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมการวิเคราะห์ความจริง, สะท้อนการเรียกร้องความยุติธรรมที่เปิดเผยแบบนิติธรรม, สื่อปฏิบัติการเสริมพลังเศรษฐกิจที่กระจายความเติบโตก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศสู่ประชาชนพื้นฐาน, ส่งเสริมการตรวจสอบและผลักดันนโยบายสาธารณะของประชาชน-เยาวชนในทุกระดับของกลไกพรรคการเมือง, พัฒนาอำนาจต่อรองทางประชาธิปไตย โดยเฉพาะการปกครองท้องถิ่นและยกระดับองค์กรตรวจสอบกลไกรัฐของภาคสาธารณะที่ต่อเนื่องของประชาชาติไทย