http://BotKwamDee.blogspot.com...webblog เปิดเผยความจริงและกระแสสำนึกหลากหลาย เพื่อเป็นอาหารสมอง, แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมการวิเคราะห์ความจริง, สะท้อนการเรียกร้องความยุติธรรมที่เปิดเผยแบบนิติธรรม, สื่อปฏิบัติการเสริมพลังเศรษฐกิจที่กระจายความเติบโตก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศสู่ประชาชนพื้นฐาน, ส่งเสริมการตรวจสอบและผลักดันนโยบายสาธารณะของประชาชน-เยาวชนในทุกระดับของกลไกพรรคการเมือง, พัฒนาอำนาจต่อรองทางประชาธิปไตย โดยเฉพาะการปกครองท้องถิ่นและยกระดับองค์กรตรวจสอบกลไกรัฐของภาคสาธารณะที่ต่อเนื่องของประชาชาติไทย

2555-08-20

สรกล อดุลยานนท์: ความรับผิดชอบ

.
คอลัมน์ ชกไม่มีมุม - ใกล้เข้ามาแล้ว โดย วงค์ ตาวัน

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ความรับผิดชอบ 
โดย สรกล อดุลยานนท์
คอลัมน์สถานีคิดเลขที่ 12
ในมติชน ออนไลน์  วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เวลา 21:00:13 น.
(ที่มา คอลัมน์สถานีคิดเลขที่ 12 นสพ.มติชนรายวัน ฉบับวันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555 )


การออกโรงตอบโต้ "ดีเอสไอ" ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายเข้าใจได้ 
เข้าใจในความเป็น "ผู้บังคับบัญชา" ที่ต้องปกป้อง "ลูกน้อง"
แต่....
"ความจริง" ที่เราต้องไม่ลืม คือ เหตุการณ์เดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 มีคนตาย 98 ศพ และบาดเจ็บกว่า 2,000 คน

แม้จะเข้าใจความรู้สึกของ พล.อ.ประยุทธ์
แต่การค้นหา "ความจริง" ยังต้องดำเนินต่อไป
เพื่อค้นหา "ความผิดพลาด" และ "คนรับผิดชอบ"

ถ้าจำกันได้ช่วงต้นปี 2554 มีคนเผยแพร่บทความเรื่อง "เอกสารแนวทางในการปฏิบัติทางทหาร : กรณีศึกษาการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในเมือง" ตามสื่อต่างๆ
บทความนี้ตีพิมพ์อยู่ในวารสารเสนาธิปัตย์ กรมยุทธศึกษาทหารบก ฉบับเดือนกันยายน-ธันวาคม 2553
คนเขียนในนามปากกาว่า "หัวหน้าควง" เป็นนายทหารปฏิบัติการประจำกรมยุทธศึกษาทหารบก
เอกสารชิ้นนี้ระบุชัดว่า ความสำเร็จในการสลายการชุมนุมครั้งนี้เกิดขึ้นจาก "ความชัดเจนทางการเมือง"


อะไรคือ "ความชัดเจนทางการเมือง"
คำตอบคือ...
"นโยบายรัฐบาลชัดเจนมาตลอดที่จะใช้มาตรการทางทหารกดดันม็อบกลุ่ม นปช. ความชัดเจนก็คือ นโยบายกระชับวงล้อม เพื่อการยุติการชุมนุม ไม่ใช่การกระชับวงล้อมเพื่อเปิดการเจรจา
ดังนั้น ถ้าการเดินทางยุทธศาสตร์ทหารนั้น ถ้าเป้าหมายทางการเมือง (Political will) ชัดเจน การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ทางการทหารก็ไม่ยาก

และเมื่อนายกรัฐมนตรีได้สั่งการในที่ประชุม ศอฉ.ในวันที่ 12 พฤษภาคม ให้ฝ่ายทหารเริ่มต้นปฏิบัติการตามแผนยุทธการที่ได้วางไว้"
12 พฤษภาคม คือ จุดเริ่มต้นของ "ความชัดเจนทางการเมือง" ว่าจะ "กระชับวงล้อม เพื่อ "ยุติ"
ไม่ใช่ "กระชับวงล้อม" เพื่อ "เปิดการเจรจา"


อย่าแปลกใจที่ความพยายามเป็น "คนกลาง" ของ "วุฒิสมาชิก" จึงไม่ได้ผล
เพราะฝ่ายการเมือง "ชัดเจน" ว่าจะ "ยุติ" ไม่ใช่ "เจรจา"
เมื่อการเมืองบอกว่าต้อง "ยุติ" ให้ได้
"กองทัพ" ก็ต้องวางแผนยุทธการเพื่อสลายการชุมนุม


ยุทธการกระชับวงล้อมแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ 1.ช่วง 14 พฤษภาคม 2.ช่วง 15-18 พฤษภาคม
และ 3 ช่วงวันที่ 19 พฤษภาคม ตั้งแต่เวลา 03.00 น. จนกระทั่งแกนนำประกาศยุติการชุมนุม 13.20 น.
ใช้กองกำลังขนาดใหญ่ถึง 3 กองพล และอนุญาตให้ใช้กระสุนจริงได้

ถามว่า "ทหาร" กล้าใช้ "กระสุนจริง" หรือไม่
ถ้ารัฐบาลไม่เปิด "ไฟเขียว"

ถามว่า "ทหาร" กล้าสลายการชุมนุมหรือไม่
ถ้ารัฐบาลไม่เปิด "ไฟเขียว"

ถามว่าใครควรรับผิดชอบกับความตาย 98 ศพ

"อภิสิทธิ์" หรือ "พล.อ.ประยุทธ์" 



+++

ใกล้เข้ามาแล้ว
โดย วงค์ ตาวัน คอลัมน์ ชกไม่มีมุม
ในข่าวสดออนไลน์  วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เวลา 00:01 น. 


เป็นจังหวะก้าวที่น่าสนใจอย่างมาก เมื่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยนายธาริต เพ็งดิษฐ์ และพ.ต.อ.ประเวศน์ มูลประมุข รองอธิบดี ซึ่งเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนคนใหม่ ในคดีนองเลือดปี 2553
เริ่มเปิดคดีชุดใหม่ 

จากเดิมที่มุ่งเฉพาะคนตาย 98 ศพ บัดนี้หันมาจับประเด็นที่มีผู้บาดเจ็บกว่า 2 พันราย
จากเดิมที่มีแต่คดีฆ่า
บัดนี้กำลังจะมีกระบวนการคดีชุดใหม่ คือ คดีพยายามฆ่าหรือเจตนาทำให้บาดเจ็บสาหัส!

ต้องไม่ลืมว่าเหตุการณ์ที่ ศอฉ.สั่งเจ้าหน้าที่ใช้อาวุธจริงกระสุนจริง เริ่มตั้งแต่คืนวันที่ 10 เมษายน จนถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
เป็นเวลานานกว่าเดือน
ทำลายสถิติเหนือกว่าผู้นำทหารปราบปรามประชาชนทุกยุค
ยังผลให้มีผู้เสียชีวิต 98 ศพ บาดเจ็บกว่า 2 พัน

ต่อมามีผู้ได้รับบาดเจ็บ เข้าแจ้งความให้ดำเนินคดีกับศอฉ. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในข้อกล่าวหาพยายามฆ่า
โดยระบุว่าไปร่วมการชุมนุมแล้วถูกยิงจนบาดเจ็บ โดยเห็นชัดเจนว่าเจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้ยิงตามที่ ศอฉ.สั่ง
มาล่าสุดดีเอสไอเริ่มเข้ามาเดินหน้าในสำนวนพยายามฆ่านี้แล้ว
ทั้งนี้ในกระบวนการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานคดีพยายามฆ่า
อาจจะรวดเร็วฉับไวกว่าคดีฆ่า 98 ศพด้วยซ้ำ!
เพราะคดีฆ่า 98 ศพนั้น ต้องมีกระบวนการไต่สวนชันสูตรศพ ซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินอยู่ในศาลราว 21 ศพ
แต่คดีพยายามฆ่า เนื่องจากผู้เสียหายยังมีชีวิตอยู่ เจ้าทุกข์สามารถให้ปากคำได้เลย
แล้วหากไปสอดรับกับพยานหลักฐานอื่น เช่น ภาพถ่าย วิดีโอ ก็ง่าย
จะเป็นขั้นตอนการดำเนินคดีอาญาปกติ ส่งอัยการฟ้องศาลฉับไวกว่า


อีกทั้งขณะนี้พนักงานสอบสวน มีรายละเอียด เจ้าหน้าที่บางชุด มีหลักฐานเป็นภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียง ขณะลงมือยิงใส่ผู้ชุมนุมชัดเจน
ไม่ว่าจะเป็นชุดสไนเปอร์บนตึกใกล้สนามมวยลุมพินี เมื่อ 15 พฤษภาคม 2553
หรือแม้แต่เจ้าหน้าที่บนรางรถไฟฟ้าหน้าวัดปทุมวนาราม เมื่อเย็นวันที่ 19 พฤษภาคม 2553

ดีเอสไอเข้าถึงตัวและนัดสอบสวนกันแล้ว
วันเวลาลงโทษผู้สั่งการในคดีพยายามฆ่าคงอีกไม่นานนัก!



.