http://BotKwamDee.blogspot.com...webblog เปิดเผยความจริงและกระแสสำนึกหลากหลาย เพื่อเป็นอาหารสมอง, แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมการวิเคราะห์ความจริง, สะท้อนการเรียกร้องความยุติธรรมที่เปิดเผยแบบนิติธรรม, สื่อปฏิบัติการเสริมพลังเศรษฐกิจที่กระจายความเติบโตก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศสู่ประชาชนพื้นฐาน, ส่งเสริมการตรวจสอบและผลักดันนโยบายสาธารณะของประชาชน-เยาวชนในทุกระดับของกลไกพรรคการเมือง, พัฒนาอำนาจต่อรองทางประชาธิปไตย โดยเฉพาะการปกครองท้องถิ่นและยกระดับองค์กรตรวจสอบกลไกรัฐของภาคสาธารณะที่ต่อเนื่องของประชาชาติไทย

2555-09-14

หลักสูตร“คอนเน็กชั่น”ในดีย่อมมีเสีย, “รื้อกม. 37 ฉบับ” อย่าข้ามหัวชาวบ้าน โดย ทวี มีเงิน

.
บทความที่ 3 - โชคดีที่มีผู้นำไม่โกง แต่..?  โดย ทวี มีเงิน

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

หลักสูตร“คอนเน็กชั่น”ในดีย่อมมีเสีย
โดย ทวี มีเงิน คอลัมน์ เมืองไทย 25 น.
จาก ข่าวสด ออนไลน์  วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555 เวลา 22:35:32 น.


พูดถึงกันไม่น้อยสำหรับงานวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร "คอนเน็กชั่น" ที่กลายเป็นการแบ่งปันความมั่งคั่งไปสู่กันเองมากกว่าไปสู่ประชาชน หากจะพูดถึงหลักสูตรเหล่านี้ที่กำลังได้รับความนิยมมากๆ มีอยู่ 5-6 หลักสูตร ความนิยมขึ้นอยู่กับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมทางสังคมและการเมือง ยุคทหารมีอำนาจ บรรดานักธุรกิจ ข้าราชการพลเรือนก็อยากใกล้ชิดพากันไปเรียนหลักสูตร วปอ. แต่เรียกว่า "วปรอ." และ "ปรม." เมื่อกระบวนการยุติธรรมมีบทบาทหลายคนก็ไปเรียน บยส. อยากใกล้ชิดนักการเมืองก็ไปเรียนสถาบันพระปกเกล้า ในหลักสูตร ปปร.

ระยะหลังๆ หลักสูตรน้องใหม่มาแรงที่สุดคือ วตท.ของตลาดหลักทรัพย์ที่ล้วนแต่นักธุรกิจใหญ่ๆ และเป็นแม่เหล็กดูดนักการเมืองแห่เข้าเรียนกันคึกคัก แต่กว่าจะได้โอกาสต้องบอกว่าเส้นต้องใหญ่ คุณสมบัติต้องถึง และต้องอดทนรอ

จากงานวิจัยของจุฬาฯ ระบุว่าในตระกูลเศรษฐี 40 ตระกูล หลักสูตรวตท.ที่ฮิตที่สุดเศรษฐีเข้าเรียน 19 ตระกูล วปอ.13 ตระกูล และบยส.กับ ปปร.ของพระปกเกล้า 6 ตระกูล

แต่ที่กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมากในระยะหลังๆ ว่าหลักสูตรดังกล่าวเป็นแหล่ง "สร้างคอนเน็กชั่น" หลายคนเป็นนักธุรกิจก็อยากใกล้ชิดกับผู้มีอำนาจเพื่อความสะดวกในการทำธุรกิจ นักธุรกิจที่หางานราชการก็หวังจะมีเพื่อนเป็นนักการเมือง หลายคนเป็นล็อบบี้ยิสต์ก็ต้องการสร้างเครือข่าย คนกลุ่มนี้กลายเป็น "นักล่าหลักสูตร" ตระเวนเรียนกันคนละ 5-6 หลักสูตรมีเพื่อนอยู่ทุกวงการ

กระแสวิพากษ์วิจารณ์ไม่แพ้กันคือ "กิจกรรม" แข่งขันกันจัดกิจกรรมแบบเวอร์ๆ รับน้องใหม่ใช้งบเป็นสิบๆ ล้าน จัดเลี้ยงในโรงแรมหรูๆ มื้อละกว่าล้าน แต่ละหลักสูตรแข่งกันดูดนักธุรกิจใจถึงไปเป็นเจ้ามือ


แต่ในดีก็มีเสีย ข้อดีก็มีไม่น้อยคอนเน็กชั่นบางครั้งก็เป็นประโยชน์ในการประสานงานในหน่วย งานราชการสะดวกและคล่องตัวเพราะคุ้นเคยกันดี หลายๆ คนก็ตั้งใจมาเรียนเอาความรู้จริงๆ 

แต่น่าห่วงบางหลักสูตรสถาบันที่จัดมีอำนาจให้คุณให้โทษ เช่น "พตส." ของกกต.ที่มีนักการเมืองแห่ไปเรียนเพื่อจะได้ ใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่กกต. วตท.ที่คนมาร่วมเรียนมีทั้งเจ้าของธุรกิจในตลาดหุ้นและคนที่คุมกฎกติกา หรือแม้แต่บยส.ที่หลายคนอยากใกล้ชิดผู้พิพากษาที่ปกติมักจะอยู่แบบสมถะ

ไม่รู้ว่าเคยมีกรณีใช้ "คอนเน็กชั่น" เอื้อประโยชน์หรือไม่ แต่ก็น่าเป็นห่วงเพราะเราอยู่ในสังคมแบบไทยๆ



++

“รื้อกม. 37 ฉบับ” อย่าข้ามหัวชาวบ้าน
โดย ทวี มีเงิน คอลัมน์ เมืองไทย 25 น.
จาก ข่าวสด ออนไลน์  วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555 เวลา 00:01 น.


คณะกรรมการความร่วมมือ 3 สถาบันเอกชน หรือ "กกร." ประกอบด้วยสมาคมธนาคารฯ สภาหอการค้าฯ และสภาอุตฯ เสนอรัฐบาลปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจ 37 ฉบับที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันเชิง ธุรกิจ การค้าและการลงทุนของประเทศไทย 
ในจำนวนนี้มี 4 ฉบับที่ "กกร." ระบุว่ามีระดับความสำคัญสูงและเร่งด่วนที่สุด คือ ร่างพ.ร.บ.หลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ.... ต้องการให้ขยายหลักประกันให้สามารถนำทรัพย์สิน อื่นๆ มาเป็นหลักประกัน เช่น เงินฝาก สินค้าในคลังสินค้า สิทธิเรียกร้องตามสัญญาเพื่อเสริมสภาพคล่องทำให้เงินในระบบหมุนเวียน

กฎหมายพ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2499 โดยขอให้ปรับปรุงแก้ไขบทกำหนดโทษทางศุลกากรให้เหมาะสม กฎหมายสรรพากร เสนอให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคล เนื่องจากของไทยสูงค่อนข้างมาก อ้างว่าหากไม่แก้ไขจะมีผลกระทบอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปิดเสรีอา เซียนในปี"58  
แต่ไม่แน่ใจว่าข้อเสนอนี้เกิดขึ้นก่อนที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์มี นโยบายลดภาษีนิติบุคคลในปีนี้จาก 30% เหลือ 23% และจะเหลือ 20% ในปีหน้าหรือไม่ อีกฉบับร่างพ.ร.บ.องค์กรอิสระ สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ พ.ศ..... ตอนนี้กฎหมายนี้ตกไปจึงอยากให้มีการตราพ.ร.บ.ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็วผู้ ประกอบการจะได้ดำเนินการให้ครบองค์ประกอบมาตรา 67 วรรค 2

อันที่จริงมีข้อเสนอมากมายแต่ไม่สามารถลงรายละเอียดได้ 
ข้อเสนอเหล่านี้ส่วนหนึ่งคือผลประโยชน์โดยตรงของภาคเอกชนก็เป็นเรื่องที่ เข้าใจได้ ต้องยอมรับว่ากฎหมายบางฉบับก็เก่าคร่ำครึไม่ทันสถานการณ์ ทำให้การแข่งขันขาดความคล่องตัวเสียเปรียบคู่แข่ง

แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าข้อเสนอนี้ส่วนหนึ่งก็ไปกระทบกับคนส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นอัตราภาษีสรรพากรหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม คนส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสได้แสดงความเห็น

รัฐบาลควรเปิดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง อย่าให้คิดกันแค่กลุ่มธุรกิจไม่กี่กลุ่ม ต้องทำทุกอย่างให้โปร่งใส อย่าดูแค่มิติทางธุรกิจให้เกิดความคล่องตัวหวังดันจีดีพีโตเท่านั้นโดยไม่ คำนึงถึงผลกระทบตามมาเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งแวดล้อม

แปลกใจตรงที่ธุรกิจเอกชนหารือแค่ 3 ฝ่ายก็เสนอครม.ถึง 37 ฉบับ ต่างกันลิบลับกับพ.ร.บ.ป่าชุมชนของชาวบ้าน ไม่รู้กี่ปี ไม่รู้กี่รัฐบาล จนป่านนี้ยังไปไม่ถึงไหน



+++ 

โชคดีที่มีผู้นำไม่โกง แต่...?
โดย ทวี มีเงิน คอลัมน์ เมืองไทย 25 น.
จาก ข่าวสด ออนไลน์  วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555 เวลา 00:43 น.


ตั้งแต่รัฐบาลเปิดแคมเปญ "คอร์รัปชั่นเป็นวาระแห่งชาติ" จัดงานใหญ่มี "นายกฯ ยิ่งลักษณ์" เป็นประธานเมื่อราวๆ ต้นเดือนก่อน กระทั่งวันที่ 6 ก.ย. "ภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น" ก็จัดงานวัน "ต่อต้านคอร์รัปชั่น" ที่ทำให้เรื่องนี้ดูคึกคัก
อย่างไรก็ตาม ในห้วงเวลาใกล้ๆ กันกลับมีเรื่องน่าเศร้าใจ 2 เรื่อง เรื่องแรก สำนักโพลแห่งหนึ่งสำรวจความคิดเห็นประชาชนผลสำรวจชาวบ้านส่วนใหญ่เห็นว่า "คอร์รัปชั่น ไม่เป็นไร ถ้าได้ประโยชน์ด้วย"

อีกข่าวครม.มีมติให้ย้าย "พ.ต.อ.ดุษฎี อารยวุฒิ" เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (ป.ป.ท.) ไปเป็นรองปลัดยุติธรรม ข่าววงในรัฐบาลอ้างว่าสาเหตุที่ต้องย้าย พ.ต.อ.ดุษฎี เพราะไม่มีผลงานเป็นชิ้นเป็นอันแค่เปิดประเด็นให้หวือหวา แต่คดีไม่มีความ คืบหน้า 
แต่เมื่อพลิกแฟ้มผลงานแค่ 10 เดือน ที่พ.ต.อ.ดุษฎีดำรงตำแหน่ง เลขาฯ ป.ป.ท.ทำให้หน่วยงานนี้เป็นที่รู้จักของชาวบ้าน ฉะนั้นอย่าได้แปลกใจที่ พ.ต.อ.ดุษฎี จะโดนเด้งแบบค้านความรู้สึกประชาชนจากผลงานการทำคดีใหญ่ๆ ที่มีอดีตนักการเมืองถูกโยงเข้าไปเอี่ยวทั้งสิ้น

ทั้งสามเรื่องนัยว่ามีตัวละครที่เข้าไปเกี่ยวข้องเป็นสุภาพสตรีที่มีบทบาท ทางการเมืองที่หลายคนต้องเกรงใจ แต่ที่น่าหดหู่ที่คนดีๆ โดนเชือดแต่คนในสังคมเงียบกริบ อยากจะเรียกร้องให้ภาคีเครือข่ายต้านคอร์รัปชั่น หยิบประเด็นนี้มาเคลื่อนไหว เพื่อรักษาคนมีความตั้งใจให้ได้ทำหน้าที่ดีกว่าจะไปจัดแค่อีเวนต์ จัดเสวนาแล้วก็จบ

แต่ล่าสุดพ.ต.อ.ดุษฎีออกมาแถลงเอง ปฏิเสธว่าไม่มีการเมืองมาบีบย้าย 
เป็นข้อมูล 2 ด้านให้ประชาชนไปพิจารณากันเอาเอง

วันที่ 14 ก.ย.นี้ รัฐบาลประกาศผลงานด้านคอร์รัปชั่น ยังนึกไม่ออกว่าที่ผ่านมามีผลงานอะไรบ้าง คดีรถหนีภาษี คดีรุกป่า และคดีทุจริตงบแก้ปัญหาภัยพิบัติรัฐบาลจะดำเนินการอย่างไร

ตั้งแต่รัฐบาลอภิสิทธิ์จนรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เราโชคดีผู้นำไม่โกง แต่ก็ไม่สนใจปราบโกง



.